ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยDithakar Prem ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
นโยบายการป้องกัน การถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก สำหรับประเทศไทย พ
นโยบายการป้องกัน การถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2554 โดย นายแพทย์สมพงศ์ สกุลอิสริยาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย
2
นโยบายการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ เอชไอวี จากแม่สู่ลูก พ.ศ. 2554
สถานบริการสาธารณสุขทุกเครือข่าย ควรจัดให้มีบริการปรึกษาทั้งก่อน และหลังการตรวจหาเชื้อเอชไอวี อย่างมีคุณภาพ ควรให้คำปรึกษาแบบคู่ (Couple counselling) และเก็บผลการตรวจ เป็นความลับอย่างเคร่งครัด โดยแจ้ง ให้ทราบเฉพาะบุคคล และผู้ที่ได้รับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี อนุญาตเท่านั้น
3
นโยบายการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ เอชไอวี จากแม่สู่ลูก พ.ศ. 2554
หญิงตั้งครรภ์ทุกคนและสามี หรือคู่ครอง จะได้รับการปรึกษาแบบคู่ และตรวจหาเชื้อเอชไอวี ด้วยความสมัครใจ หญิงตั้งครรภ์ ที่ติดเชื้อ เอชไอวี จะได้รับการตรวจเซลล์ CD4 และได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่มีฤทธิ์สูง (HAART) หรือรักษาด้วยยาต้านไวรัสอื่น ๆ ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข
4
นโยบายการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี จากแม่สู่ลูก พ.ศ. 2554
เด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี จะได้รับ ยาต้านไวรัสเมื่อแรกเกิด ได้รับนมผสมสำหรับเลี้ยงทารก และได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อ เอชไอวี ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข แม่ ลูก และสามีหรือคู่ครอง ที่ติดเชื้อ เอชไอวี จะได้รับยาต้านไวรัสตามสภาพของการ ติดเชื้อ การส่งเสริมสุขภาพ และการติดตามการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
5
เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี จากแม่สู่ลูก
แนวทางการดำเนินงาน เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี จากแม่สู่ลูก (พ.ศ. 2554)
6
การให้บริการปรึกษาแบบคู่
หญิงตั้งครรภ์ทุกคน และสามีหรือคู่ครอง จะได้รับการปรึกษาแบบคู่ และตรวจหา เชื้อเอชไอวี ด้วยความสมัครใจ การตรวจหาเชื้อเอชไอวี ให้เป็นไปตาม มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
7
เพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก
การให้ยาต้านไวรัส เพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีทุกคน จะได้รับการตรวจเซลล์ CD4 และ จะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์สูง (Highly Active Antiretroviral Therapy : HAART)
8
กรณีหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสใด ๆ มาก่อน
ผลการตรวจเซลล์ CD4 มากกว่า 350 เซลล์ต่อไมโครลิตร ระยะตั้งครรภ์ ให้ ยา AZT +3TC+LPV/r โดยเริ่มกินยา เมื่ออายุครรภ์ 14 สัปดาห์ เช้า เย็น ห่างกัน 12 ชั่วโมง จนเจ็บท้องคลอด ระยะคลอด เมื่อเริ่มเจ็บท้องคลอด กินยาต้านไวรัส AZT เม็ดละ 300 มิลลิกรัมทุก 3 ชั่วโมง จนกระทั่งคลอด หรือ AZT 600 มิลลิกรัม ครั้งเดียว หลังคลอด ให้หยุดกินยาต้านไวรัส
9
กรณีหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสใด ๆ มาก่อน
ผลการตรวจเซลล์ CD4 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 350 เซลล์ต่อไมโครลิตร ระยะตั้งครรภ์ ให้ ยา AZT +3TC+LPV/r โดยเริ่มกินยาทันที เช้า เย็น ห่างกัน 12 ชั่วโมง จนเจ็บท้องคลอด ระยะคลอด เมื่อเริ่มเจ็บท้องคลอด กินยาต้านไวรัส AZT เม็ดละ 300 มิลลิกรัมทุก 3 ชั่วโมง จนกระทั่งคลอด หรือ AZT 600 มิลลิกรัม ครั้งเดียว หลังคลอด ให้กินยาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์สูง (HAART) ต่อตามแนวทางการรักษาการติดเชื้อ เอชไอวีในผู้ใหญ่
10
กรณีหญิงตั้งครรภ์ ที่เคยได้รับการรักษา ด้วยยาต้านไวรัสมาก่อน
ระยะตั้งครรภ์ ให้กินยาต้านไวรัส ที่ได้รับ เพื่อการรักษาก่อนตั้งครรภ์ ต่อเนื่อง ระยะคลอด เมื่อเริ่มเจ็บท้องคลอด กินยาต้านไวรัส AZT เม็ดละ 300 มิลลิกรัมทุก 3 ชั่วโมง จนกระทั่งคลอด หรือ AZT 600 มิลลิกรัม ครั้งเดียว หลังคลอด ให้กินยาต้านไวรัส ที่ได้รับเพื่อการรักษา ก่อนตั้งครรภ์ ต่อเนื่อง ต่อไป
11
กรณีหญิงตั้งครรภ์ มาคลอดโดยไม่ได้ฝากครรภ์ คาดว่าจะคลอดภายใน 2 ชั่วโมง
ระยะคลอด กินยาต้านไวรัส AZT เม็ดละ 300 มิลลิกรัม ทุก 3 ชั่วโมง จนกระทั่งคลอด หรือ AZT 600 มิลลิกรัม ครั้งเดียว หลังคลอด พิจารณาให้การรักษาตามแนวทางการรักษาผู้ใหญ่ หลังได้ผล CD4
12
กรณีหญิงตั้งครรภ์ มาคลอดโดยไม่ได้ฝากครรภ์
กรณีหญิงตั้งครรภ์ มาคลอดโดยไม่ได้ฝากครรภ์ คาดว่าไม่น่าจะคลอดภายใน 2 ชั่วโมง ระยะคลอด กินยาต้านไวรัส AZT เม็ดละ 300 มิลลิกรัม ทุก 3 ชั่วโมง จนกระทั่งคลอด หรือ AZT 600 มิลลิกรัม ครั้งเดียว ร่วมกับให้ single dose nevirapine เม็ดละ 200 มก. 1 เม็ด หลังคลอด ให้ยา AZT ( มก.) +3TC (150 มก.) +LPV/r (400/100 มก.) ทุก 12 ชั่วโมง จนกว่าจะทราบผล CD4
13
กรณีหญิงตั้งครรภ์ มาคลอดโดยไม่ได้ฝากครรภ์
พิจารณาตรวจ CD4 โดยเร็ว และให้ยาต้าน ไวรัสช่วงหลังคลอด ดังนี้ หาก CD4 มากกว่า 350 เซลต่อไมโครลิตร ให้ AZT + 3TC + LPV/r จนครบ 4 สัปดาห์ แล้วหยุดยาพร้อมกันทุกตัว หากCD4 น้อยกว่า/เท่ากับ 350 เซลต่อไมโครลิตร ให้การรักษาต่อโดยเปลี่ยนยาตามแนวทาง การรักษาผู้ใหญ่
14
สูตรยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการถ่ายทอด เชื้อเอชไอวี จากแม่สู่ลูก (เริ่มตุลาคม 2553)
สถานการณ์ ก่อนคลอด ระหว่างคลอด หลังคลอด แม่ ทารก ไม่เคยรับยาต้านไวรัส CD4>350 cells/mm3 AZT+3TC+LPV/r เริ่มที่ GA14 สัปดาห์ AZT 300 mg q 3 ชั่วโมง หรือ AZT 600 mg เมื่อเจ็บท้องคลอด หยุด AZT x 4 สัปดาห์ และให้นมผสมนาน 18 เดือน ให้ HAART ต่อตามแนวทางการรักษาผู้ใหญ่ CD4<350 cells/mm3 เริ่มทันที ได้รับ HAART อยู่แล้ว ให้ยา HAART ต่อ ให้ HAART ต่อ 14
15
สูตรยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการถ่ายทอด เชื้อเอชไอวี จากแม่สู่ลูก (เริ่มตุลาคม 2553)
สถานการณ์ ก่อนคลอด ระหว่างคลอด หลังคลอด แม่ ทารก ไม่ได้ฝากครรภ์ CD4>350 cells/mm3 - AZT (300) ทุก 3 ชั่วโมง + SD NVP* AZT+3TC+ LPV/r x 4 สัปดาห์และหยุด AZT (4 สัปดาห์) +3TC (4 สัปดาห์) +NVP (2 สัปดาห์) และนมผสมนาน 18 เดือน AZT+3TC+LPV/r x 4 สัปดาห์และให้ HAART ต่อตามแนวทางการรักษาในผู้ใหญ่ CD4< 350 cells/mm3 * ไม่ต้องให้ SD NVP ในหญิงตั้งครรภ์ที่คาดว่าจะคลอดภายใน 2 ชั่วโมง 15
16
การดูแลทารกที่เกิดจากแม่ ที่ติดเชื้อ เอชไอวี
ถ้าแม่ฝากครรภ์ และได้รับการรักษาด้วย (HAART)ในระยะตั้งครรภ์ หรือได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสมาก่อน ทารกจะได้รับยาต้านไวรัส AZT ขนิดน้ำ เริ่มกินทันทีหลังคลอด ขนาด 4 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ทุก 12 ชั่วโมง กินติดต่อกัน 4 สัปดาห์
17
การดูแลทารกที่เกิดจากแม่ ที่ติดเชื้อ เอชไอวี
ถ้าแม่ไม่ได้ฝากครรภ์ หรือไม่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ในระยะตั้งครรภ์ ทารกจะได้รับ ยาต้านไวรัส AZT ชนิดน้ำ + 3TC ชนิดน้ำโดยเริ่มกินทันที หลังคลอดให้ AZT ขนาด 4 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และ 3TC ขนาด 2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 12 ชั่วโมง กินติดต่อกัน นาน 4 ถึง 6 สัปดาห์ และกินยา Nevirapine ชนิดน้ำ ขนาด 4 มิลลิกรัมต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม วันละครั้ง กินติดต่อกัน ถึง 4 สัปดาห์
18
การดูแลทารกที่เกิดจากแม่ ที่ติดเชื้อ เอชไอวี
ทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี จะได้รับนมผสมสำหรับเลี้ยงทารก จนอายุครบ 18 เดือน แทนการเลี้ยงด้วยนมแม่
19
การตรวจเลือดเอชไอวีในทารก ที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ
การตรวจเลือดเอชไอวีในทารก ที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ ตรวจหาเชื้อเอชไอวีด้วยวิธี PCR ครั้งแรกเมื่ออายุ เดือน ถ้าผลเป็นบวก ให้ตรวจซ้ำทันที ถ้าผลครั้งที่ 2 เป็นบวกให้ส่งต่อเด็กเข้าสู่ระบบการดูแล รักษาด้วยยาต้านไวรัสสำหรับเด็กทันที ถ้าผลเป็นลบ ให้ตรวจครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4 เดือน และตรวจยืนยันด้วย HIV antibody เมื่ออายุ 18 เดือน กรณีผล PCR ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ขัดแย้งกัน ให้ตรวจซ้ำครั้งที่ 3 ทันที กรณีที่ไม่ได้ตรวจเลือดด้วยวิธี PCR ให้ตรวจ HIV antibody เมื่ออายุ 12 เดือน ถ้าผลเป็นบวก ให้ตรวจซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุ 18 เดือน
20
การดูแลต่อเนื่อง แม่ที่ติดเชื้อ หลังคลอด ลูก และสามี
กรณีที่หญิงหลังคลอดยินยอมเปิดเผยผลเลือดตนเองแก่สามี และยังไม่ได้รับบริการปรึกษาแบบคู่ เมื่อมาฝากครรภ์ หญิงหลังคลอดและสามี หรือคู่ครอง จะได้รับการดูแล ให้การปรึกษา การดูแลสุขภาพ และการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ตามข้อบ่งชี้ เช่น ปริมาณของเซลล์ CD4 และพยาธิสภาพของโรค สำหรับเด็กจะได้รับการดูแลต่อเนื่องที่เหมาะสม หากพบว่า มีการติดเชื้อเอชไอวี จะได้รับยาต้านไวรัสเพื่อการรักษาตามแนวทางการรักษาด้วยการให้ยาต้านไวรัสในเด็ก
21
ตัวชี้วัดความสำเร็จ อัตราการติดเชื้อเอชไอวี ในหญิงตั้งครรภ์ลดลง
อัตราการติดเชื้อเอชไอวี ในหญิงตั้งครรภ์ลดลง อัตราการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี จากแม่สู่ลูกลดลง
22
ผลการดำเนินงานปี 2552 (ตุลาคม 2550 - กันยายน 2552)
อัตราการติดเชื้อ ในหญิงตั้งครรภ์ 0.74 % หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อได้รับยาต้านไวรัส 93.50% เด็กได้รับยาต้านไวรัส % เด็กได้รับนมผสมเพื่อทดแทนนมแม่ 96.57 % รายงาน PHIMS/CHILD สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย / ตุลาคม 2552
23
Ministry of Public Health, Thailand
AIDS Cases in Children 0-4 Years from Mother-Child Transmission, Thailand, AZT short course VCT + fomula AZT 28 wks + SD NVP Ministry of Public Health, Thailand 23
25
การดำเนินงานสู่ความสำเร็จภายใน พ.ศ. 2554
การดำเนินงานสู่ความสำเร็จภายใน พ.ศ. 2554 การให้ยาต้านไวรัส ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น (สูตรยา 3 ตัว AZT+3TC+LPV/r) 2. การให้สามี / คู่เพศสัมพันธ์ มีส่วนร่วม ในการป้องกันมากขึ้น (Couple counseling) 3. การดูแลเด็กที่ได้รับผลกระทบอย่าง เป็นรูปธรรม โดยชุมชนมีส่วนร่วม 4. การลดการรังเกียจ กีดกัน และการตีตรา ผู้ติดเชื้อ
26
1. นโยบายการให้ยาต้านไวรัส
การให้ยาต้านไวรัส 3 ตัว สำหรับหญิงตั้งครรภ์ (HAART) ระบบบริการเอื้อต่อการให้บริการ - สถานบริการสาธารณสุขรับนโยบายใหม่ - สปสช. สนับสนุนยาต้านไวรัสต่อเนื่อง - ผู้ปฎิบัติได้รับการพัฒนาศักยภาพ - การนิเทศ ติดตาม ควบคุมกำกับ
27
2. การให้เพศชาย มีส่วนร่วมในการป้องกัน
2.1 การให้บริการปรึกษา - การให้การปรึกษารายบุคคล (Individual counseling) - การให้การปรึกษาแบบกลุ่ม (Group counseling) - การให้การปรึกษา แบบคู่ (Couple counseling) - การให้การปรึกษาโดยสมัครใจ (VCCT : Voluntary and Confidential Counseling and Testing) 2.2 จัดคลินิกบริการ VCT แบบ Male friendly 2.3 ให้ความรู้ สังคม ในเรื่องการป้องกัน อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
28
การตรวจเลือด สำหรับหญิงตั้งครรภ์ และสามี
นโยบายการให้บริการ ใช้แนวทางของ WHO Anti HIV antibody Test for CD count PITC : Provider initiated testing and counseling
29
3. การดูแลเด็กที่ได้รับผลกระทบ อย่างเป็นรูปธรรม โดยชุมชนมีส่วนร่วม
3. การดูแลเด็กที่ได้รับผลกระทบ อย่างเป็นรูปธรรม โดยชุมชนมีส่วนร่วม 3.1 จัดระบบฐานข้อมูลเด็กได้รับผลกระทบจากเอดส์ 3.2 ให้บริการดูแล รักษา และช่วยเหลือ อย่างต่อเนื่อง 3.3 ให้ครอบครัว มีส่วนร่วมในการดูแล 3.4 ให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการช่วยเหลือ และลดการรังเกียจ กีดกัน
30
4. การลดการรังเกียจ กีดกัน และ การตีตราผู้ติดเชื้อ เอชไอวี
4. การลดการรังเกียจ กีดกัน และ การตีตราผู้ติดเชื้อ เอชไอวี 4.1 จัดทำแนวทางปฏิบัติ - ในสถานบริการ - ในชุมชน 4.2 ดำเนินการ ตามแนวทางปฏิบัติ 4.3 ประเมินผล
31
สิ่งสนับสนุน พัฒนาศักยภาพบุคลากร และสนับสนุนวิชาการ
พัฒนาศักยภาพบุคลากร และสนับสนุนวิชาการ สนับสนุนนมผสมสำหรับเด็กที่เกิด จากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี จนถึงอายุ เดือน จัดระบบกำกับติดตามการดำเนินงาน (PHIMS/PROMS/CHILD/NAP)
32
ชุดสิทธิประโยชน์ หญิงตั้งครรภ์ ได้รับ - การตรวจ HIV Antibody
- การตรวจ CD4 count ทุก 6 เดือน - ได้รับยาต้านไวรัส เพื่อการป้องกันการติด เชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก - ได้รับยาต้านไวรัสเพื่อการรักษา สามี ได้รับ
33
และประเมินผลการดำเนินงาน
การควบคุมกำกับ และประเมินผลการดำเนินงาน ประเมินกระบวนการ โดยใช้ระบบรายงาน (PHIMS) (Perinatal HIV Monitoring System) ประเมินผลลัพธ์ / ผลกระทบ อัตราการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี จากแม่สู่ลูก (Transmission rate) 33
34
บทสรุป ผลสำเร็จของ PMTCT ของประเทศไทย: มีนโยบายรองรับ ตั้งแต่เริ่มต้น
มีผลการศึกษาวิจัยที่ชัดเจน เป็นแนวทาง มีผลการดำเนินงานในพื้นที่ทดลอง สามารถทำได้ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ ให้ความสำคัญกับการให้บริการปรึกษา มีระบบบริการอนามัยแม่และเด็กที่ดี สามารถผสมผสานเข้าไปในระบบบริการได้ มีการประสานความร่วมมือกับนานาชาติ
35
บทสรุป การดำเนินงานเพื่อเกิดความยั่งยืน
การสนับสนุนด้านนโยบาย และงบประมาณต่อเนื่อง การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญกับการควบคุมกำกับ และระบบรายงาน เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พัฒนาการให้บริการต่อเนื่อง เช่น สูตรยาที่ดี และเหมาะสมมากขึ้น พัฒนาระบบริการปรึกษาเช่น couples counseling บริการดูแลรักษาแม่ที่ติดเชื้อและครอบครัว และดุแลเด็กที่ได้รับผลกระทบ
36
สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.