ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 12 การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาองค์การ
2
ขอบเขตเนื้อหาในวันนี้
ความหมายและวัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง กระบวนการและรูปแบบของการเปลี่ยนแปลง สาเหตุที่บุคคลต่อต้านการเปลี่ยนแปลง การจัดการกับการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายและกระบวนการในการพัฒนาองค์การ ระดับของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การระดับองค์การ กลุ่มและบุคคล การดำเนินการพัฒนาองค์การ
3
การเปลี่ยนแปลง หมายถึง การปรับแต่งหรือการปรับปรุงระบบอ้างอิง
หมายถึง การปรับแต่งหรือการปรับปรุงระบบอ้างอิง ให้มีความแตกต่างจากเดิม ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาและในหลายระดับ ไม่มีองค์การ ใดที่สามารถอยู่รอดและดำเนินการได้โดยไม่ปรับตัว ให้สอดคล้องกับข้อจำกัดของสถานการณ์ โดยเฉพาะ องค์การสมัยใหม่ที่นอกจากจะปรับตัวตามให้ทันต่อ การเปลี่ยนแปลงแล้ว ยังอาจต้องเป็นผู้นำและผู้สร้าง การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในองค์การและต่อปัจจัย แวดล้อมภายนอก
4
ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลง = การปรับแต่ง หรือปรับปรุงให้ แตกต่างไปจากเดิม จะเกิดขึ้นเมื่อมีความผันแปรของ โครงสร้างองค์การ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์การ บุคลากร การสร้างการเปลี่ยนแปลง = การสร้างแผนดำเนินการ ในการปรับแต่งให้มีความแตกต่างไปจากเดิม และนำแผน การที่กำหนดขึ้นมาดำเนินการ ตลอดจนควบคุมและพัฒนา ให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์
5
ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง (ต่อ)
ตัวแทนการเปลี่ยนแปลง = บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้ รับมอบหมายให้เป็นผู้สร้าง หรือบริหารกระบวนการเปลี่ยน แปลงภายในองค์การ อาจเป็นบุคคลจากภายในหรือภายนอก ภายในองค์การ ภายนอกองค์การ ข้อดี มีความรู้ ความเข้าใจวัฒนธรรม ประเพณี และนโยบายขององค์การ ข้อเสีย มีกรอบความคิดภาพรวมขององค์การที่แคบ ข้อดี เห็นภาพรวมขององค์การได้ถูกต้อง ไม่มีอคติ มองได้กว้างกว่าบุคลากรภายใน ข้อเสีย ขาดความเข้าใจวัฒนธรรม ประเพณี ฯ
6
การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
แบบตอบสนอง วัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง แบบเตรียมพร้อม การเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากร
7
กระบวนการเปลี่ยนแปลง
ทำให้คงตัว สถานะใหม่ เคลื่อนย้าย ละลาย สถานะเดิม
8
แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงของระบบ
กระตุ้น ปรับเปลี่ยน สร้างความคุ้นเคย
9
สาเหตุที่บุคคลต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
การสูญเสียความเข้าใจ การเปลี่ยนแปลง การต่อต้าน การสูญเสียส่วนบุคคล อำนาจ ฐานะทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม ความสะดวกสบาย ความมั่นคง ความเชี่ยวชาญ
10
การจัดการกับการเปลี่ยนแปลง (Management of Change)
การติดต่อสื่อสาร การส่งเสริมการมีส่วนร่วม การอำนวยความสะดวก และการให้การสนับสนุน การเจรจาต่อรอง การแทรกแซง และการสร้างแนวร่วม การบังคับ การเปลี่ยน แปลง ลดแรงต้านทาน
11
การจัดการ การเปลี่ยนแปลง โดยผ่าน การพัฒนาองค์การ
12
การพัฒนาองค์การ (Organization Development)
กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบ ภายในองค์การ โดยที่มีการวางแผนล่วงหน้าในเรื่องต่าง ๆ อาทิ กำหนดผู้รับผิดชอบ ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงและ ศึกษาผลกระทบและวิธีการแก้ไขเพื่อให้องค์การสามารถ ดำรงอยู่ได้อย่างเหมาะสม และสามารถดำเนินงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มี ศักยภาพในการปฏิบัติงานและมีคุณภาพชีวิตการงานที่ดี ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
13
เป้าหมายการพัฒนาองค์การ
กระบวนการ (Process Goals) มุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การตัดสินใจ การติดต่อสื่อสาร ฯลฯ ผลลัพธ์รวม (Outcomes Goals) การพัฒนาองค์การจะให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานขององค์การ โดยมุ่งพัฒนาความสามารถในการปรับตัวขององค์การให้สามารถดำเนินงานภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
14
กระบวนการในการพัฒนาองค์การ
1. การวินิจฉัย 3. การเสริมแรง 2. การปฏิบัติ
15
ระดับของการพัฒนาองค์การ
ระดับองค์การ การพัฒนาองค์การ ระดับกลุ่ม ระดับ บุคคล
16
การพัฒนาองค์การระดับองค์การ
การสำรวจข้อมูลย้อนกลับ = เพื่อประมวลและสะท้อนข้อมูล ให้แก่ผู้บริหารและสมาชิกขององค์การเพื่อกำหนดแนวทางและวิธีการปรับปรุงการดำเนินงานขององค์การให้เหมาะสม การประชุมร่วมกัน = การประชุมร่วมระหว่างตัวแทนหรือสมาชิกขององค์การในหลายระดับ โดยเปิดโอกาสให้เผชิญหน้าและติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยตรง เพื่อหาแนวทางสำหรับการดำเนินการ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแก้ไขปัญหาหรือข้อขัดแย้งขององค์การ
17
การพัฒนาองค์การระดับองค์การ (ต่อ)
การออกแบบโครงสร้างใหม่ = การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น องค์การต้องทำการปรับโครงสร้างทั้งหมดหรือบางส่วน เพื่อให้องค์การสามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ องค์การแบบขนาน = การนำตัวแทนสมาชิกจากหลายส่วนขององค์การเข้ามารวมกลุ่มชั่วคราว เพื่อร่วมตัดสินใจและหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
18
การพัฒนาองค์การระดับกลุ่ม
การสร้างทีมงาน = การให้ความรู้และทักษะของการทำงานเป็นทีม โดยการกระทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์ระหว่างสมาชิกและการแก้ไขปัญหาเป็นกลุ่ม การให้คำปรึกษาด้านกระบวนการ = เป็นการดำเนินกิจกรรมร่วมกันระหว่างสมาชิก โดยมีตัวแทนการเปลี่ยนแปลง ที่ปรึกษาหรือนักพัฒนาองค์การให้ความช่วยเหลือ เพื่อพัฒนากระบวนการมีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่ม
19
การพัฒนาองค์การระดับกลุ่ม (ต่อ)
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม = เป็นการดำเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์และทักษะของการอยู่ร่วมกันระหว่างกลุ่ม เช่น การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การติดต่อสื่อสารและการประสานงาน เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้แต่ละกลุ่มสามารถร่วมงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากความซ้ำซ้อนและความยากของงานปัจจุบัน ทำให้หลายกลุ่มงานต้องร่วมมือประสานงานทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
20
การพัฒนาองค์การระดับบุคคล
การฝึกความอ่อนไหว = บุคคลมีความแตกต่างกัน จึงมีการพัฒนาการฝึกความอ่อนไหวเพื่อสร้างความตื่นตัวต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยการจัดการฝึกอบรมกลุ่มย่อยที่เรียกว่า “กลุ่มฝึกอบรม” หรือ “T-Group” ประกอบด้วยบุคคลที่ไม่มีความคุ้นเคยกันและมีความแตกต่างกันมากระทำกิจกรรมร่วมกัน และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้สึกระหว่างกัน เพื่อให้แต่ละฝ่ายเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
21
การพัฒนาองค์การระดับบุคคล (ต่อ)
การเจรจาเรื่องบทบาท = เป็นกระบวนการพัฒนาองค์การที่เปิดโอกาสให้สมาชิกแต่ละคนแสดงความคาดหวังในบทบาทของตนเองและเพื่อนร่วมงานในการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันและไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในการร่วมงาน การออกแบบงานใหม่ = เป็นการศึกษาและออกแบบงานใหม่ให้เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละสถานการณ์ เพื่อให้สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ตลอดจนสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
22
การพัฒนาองค์การระดับบุคคล (ต่อ)
การวางแผนอาชีพ = เป็นการจูงใจให้บุคคลปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ มีการเปิดโอกาสให้สมาชิกได้พัฒนาตนเองทั้งในตำแหน่งหน้าที่และประสบการณ์ในงาน เพื่อจะได้มีความก้าวหน้าในอาชีพในอนาคต เพื่อเป็นแนวทางให้แต่ละบุคคลทราบว่าต้องปฏิบัติตนอย่างไร และพัฒนาตนเองในด้านใด เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้ ตลอดจนเป็นการจูงใจให้บุคคลปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้บรรลุความต้องการ
23
การดำเนินการพัฒนาองค์การ 1. การให้ความนับถือต่อบุคคล
2. ความเชื่อมั่น 3. ความเท่าเทียมของอำนาจ การพัฒนาองค์การ องค์การ 4. ความเปิดเผย 5. การมีส่วนร่วม
24
สรุป การเปลี่ยนแปลง เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ประกอบ
การเปลี่ยนแปลง เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ประกอบ ด้วยขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ การละลายพฤติกรรม การเคลื่อนย้ายและการทำให้พฤติกรรมคงตัว โดยที่การ สร้างการเปลี่ยนแปลง เป็นการกำหนดแผนการดำเนินงาน ในการปรับแต่งระบบอ้างอิงให้แตกต่างไปจากเดิม และจะ เกิดแรงต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงขึ้นทุกครั้งที่เกิดการ เปลี่ยนแปลง โดยมีสาเหตุจากการสูญเสียความเข้าใจและ การสูญเสียส่วนบุคคล
25
สรุป (ต่อ) การพัฒนาองค์การ เป็นวิธีการและเทคนิคสำคัญที่หลาย
การพัฒนาองค์การ เป็นวิธีการและเทคนิคสำคัญที่หลาย หน่วยงานนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพ และความ เหมาะสมในการดำรงอยู่ขององค์การ เป็นกระบวนการที่ใช้ ในการเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบุคลากรขององค์การพร้อมกับปรับปรุงให้การ ดำเนินงานตามภารกิจขององค์การให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยสามารถแบ่งการพัฒนาองค์การออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับกลุ่มและระดับองค์การ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.