ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โครมาโตกราฟี โครมาโตกราฟี คือ การแยกสารโดย อาศัยหลักการที่ว่า สารแต่ละชนิดมีความสามารถในการละลายและดูดซับได้ไม่เท่ากัน และเหมาะอย่างยิ่งในการใช้กับสารที่มีปริมาณน้อยๆ
2
จากรูป แสดงการแยกจุดสี ออกเป็นสาร 3 ชนิด คือ ก ข ค โดยวิธีโครมาโต
กราฟีแบบกระดาษ
3
หลักของโครมาโตกราฟี 1. โครมาโตการฟี ทำให้สารแยกออกจากกันได้ เพราะสารแต่ละชนิดมีความสามารถในการละลายและดูดซับได้ไม่เท่ากัน 2. โครมาโตกราฟี เหมาะกับสารที่มีปริมาณน้อย แต่ถ้ามีปริมาณมากก็สามารถทำได้โดยใช้โครมาโตกราฟีแบบอื่นๆ 3. จากรูปด้านบน เรียงลำดับความสามารถในการละลายได้ ก > ข > ค 4. ความสามารถในการดูดซับ ค > ข > ก 5. ดังนั้น สารที่ละลายดี ดูดซับจะไม่ดี และเคลื่อนที่ได้ไกล แต่สารที่ดูดซับดี จะละลายได้ไม่ดี และเคลื่อนที่ได้ไม่ไกล
4
6.ในการทดลองทุกครั้งต้องปิดฝา เพื่อป้องกันตัวทำละลายแห้ง ในขณะเคลื่อนที่บนตัวดูดซับ
7. ลำดับความสามารถในการละลาย การดูดซับอาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าเปลี่ยนตัวทำละลายใหม่ 8. ถ้าสารเคลื่อนที่ได้ 3 จุด สรุปได้แค่ว่ามีสาร อย่างน้อย 3 ชนิด 9. ถ้าสารเคลื่อนที่ใกล้เคียงกันมาก แสดงว่ามีความสามารถในการละลายและดูดซับได้ใกล้เคียงกัน สามารถแก้ไขได้โดยการ เปลี่ยนตัวทำละลายใหม่ หรือ เพิ่มความยาวของตัวดูดซับ
5
10. วิธีนี้สามารถทำสารให้บริสุทธิ์ได้
โดยการตัดแบ่งสารตัวที่ต้องการละลายในตัวทำละลายที่เหมาะสมแล้วระเหยตัวทำละลายนั้นทิ้งไป แล้วนำสารนั้นมาทำโครมาโตกราฟีใหม่จนได้สารที่บริสุทธิ์
6
11. การคำนวณค่า Rf (Rate of flow)
ระยะทางที่เคลื่อนที่ได้ = ระยะทางหลังสุด - ระยะทางเริ่มต้น
7
12. ค่า Rf ไม่มีหน่วย และมีค่าสูงสุดเท่ากับ 1
13. ค่า Rf เป็นค่าที่บอกการเคลื่อนที่ของสาร สารใดมีค่า Rf สูงแสดงว่าสารนั้นเคลื่อนที่ได้ไกล 14. เนื่องจากค่า Rf มีได้ไม่แน่นอนจึงต้องหาจากผลการทดลองเท่านั้น 15. ค่า Rf สามารถนำไปวิเคราะห์ชนิดของสารได้ โดยการนำค่าที่ได้ไปเปิดเทียบกับตาราง ***16. สารที่เคลื่อนที่ได้ระยะทางเท่ากันในตัวทำละลายและตัวดูดซับเดียวกัน มักจะสรุปว่าเป็นสารตัวเดียวกัน แต่บางครั้งก็ไม่แน่เสมอไป
8
ประเภทของโครมาโตรกราฟีที่ควรรู้จัก
โครมาโตรกราฟีแบบคอลัมน์ (Column chromatography) เป็นวิธีที่ใช้ตัวดูดซับบรรจุในคอลัมน์แก้ว โดยนิยมใช้ อลูมินา (Al2O3) หรือ ซิลิกาเจล (SiO2) เป็นตัวดูดซับ
9
ประเภทของโครมาโตรกราฟีที่ควรรู้จัก
2. โครมาโตกราฟีแบบกระดาษ (Paper chromatography) เป็นวิธีที่ใช้กระดาษโครมาโตกราฟี หรือกระดาษกรอง เป็นตัวดูดซับ
10
ประเภทของโครมาโตรกราฟีที่ควรรู้จัก
3. โครมาโตกราฟีแบบธินเลเยอร์ (Thin-Layer chromatography) เป็นวิธีที่ใช้กระจกซึ่งฉาบไว้ด้วยอลูมินา (Al2O3) หรือ ผงซิลิกาเจล (SiO2) เกลี่ยให้เรียบบางเหมือนกระดาษโครมาโตกราฟี เป็นตัวดูดซับ
11
ข้อดีของโครมาโทกราฟี 1. สามารถแยกสารที่มีปริมาณน้อยได้ 2
ข้อดีของโครมาโทกราฟี 1. สามารถแยกสารที่มีปริมาณน้อยได้ 2. สามารถแยกได้ทั้งสารที่มีสี และไม่มีสี 3. สามารถใช้ได้ทั้งปริมาณวิเคราะห์ (บอกได้ว่าสารที่แยกออกมา มีปริมาณเท่าใด) และคุณภาพวิเคราะห์ (บอกได้ว่าสารนั้นเป็นสารชนิดใด) 4. สามารถแยกสารผสมออกจากกันได้ 5. สามารถแยกสารออกจากกระดาษกรองหรือตัวดูดซับโดยสกัดด้วยตัวทำละลาย
12
ข้อเสีย องค์ประกอบเคลื่อนที่บนตัวดูดซับได้เท่าๆกันหรือเกือบเท่ากันจะ
แยกออกจากกันไม่ได้หรือแยกได้แต่ไม่บริสุทธิ์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.