ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ความสำคัญของการออม เพื่อเกษียณอายุ
โดย สุรีรัตน์ สุรเดชะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับธุรกิจแนะนำการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. 24 กรกฎาคม 2549
2
หัวข้อวันนี้ แนวคิดเกี่ยวกับการออมเพื่อวัยเกษียณ
ทำไมต้องออมเพื่อเกษียณ ทางเลือกในการออมเพื่อเกษียณ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีอย่างไร
3
ทฤษฎีเสา 3 ต้น I ระบบประกันสังคม - กระจายรายได้ - ระบบบังคับ
- จ่ายจากงบประมาณ - รัฐบริหาร - กำหนดขาออก II ระบบการออมแบบบังคับ - บัญชีรายตัว - เอกชนบริหาร - กำหนดขาเข้า III ระบบการออมโดยสมัครใจ - บัญชีรายตัว - เอกชนบริหาร - กำหนดขาเข้า
4
ระบบการออมเพื่อเกษียณอายุในประเทศไทย
Pillar 3 PVD RMF Pillar 2 กบข. Pillar 1 กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการเดิม
5
ระบบราชการ vs เอกชน รายได้ในอนาคต รายได้ในปัจจุบัน
รายได้ในปัจจุบัน + รายได้ในอนาคต
6
ทำไมต้องออมเพื่อเกษียณ เราหยุดทำงาน แต่ยังไม่หยุดใช้เงิน !
คำตอบ เราหยุดทำงาน แต่ยังไม่หยุดใช้เงิน !
7
ชาย 74 ปี หญิง 79 ปี ชีวิตหลังเกษียณ
ชาย ปี หญิง 79 ปี มีรายงานการวิจัยชิ้นหนึ่ง ซึ่งจากรายงานพบว่าเมื่อเกษียณอายุแล้ว โดยเฉลี่ยผู้ชายจะมีอายุ ต่อไปอีกประมาณ 25 ปี นั่นคือมีอายุ 85 ปี ในขณะที่ผู้หญิงจะมีอายุต่อไปอีก 29 ปี นั่นคือมีอายุถึง 89 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาไม่ใช่น้อยที่เราจะต้องเลี้ยงดูตัวเองในขณะที่ไม่มีรายได้
8
ผู้สูงอายุครองเมือง *ในอีก 20 ปี ข้างหน้า ภาระของคนหนุ่มคนสาว ที่จะดูแลคนสูงอายุ มีมากขึ้น!! เมื่อเราตระหนักและเห็นความสำคัญของการออมในระดับบุคคลกันบ้างแล้ว สิ่งที่จะต้องตระหนักและให้ความสำคัญต่อไปก็คือการออมในระดับประเทศ หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมเราต้องคิดไปไกลถึงขนาดนั้น ทั้งนี้ เหตุผลก็คือโครงสร้างประชากรในประเทศไทยได้มีการ เปลี่ยนแปลงไป จากงานวิจัยพบว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าภาระของคนหนุ่มสาวที่จะดูแลผู้สูงอายุมีมากขึ้น ลองดู chart ต่อไปนี้
9
สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
พ.ศ. 2542 วัยทำงาน 20-59 ปี ต่ำกว่า 20 ปี 60 ปีขึ้นไป 9% 56% 35% พ.ศ. 2563 วัยทำงาน 20-59 ปี ต่ำกว่า 20 ปี 60 ปีขึ้นไป 18% 24% 58% ในปี 1999 สัดส่วนประชากรวัยทำงานกับประชากรผู้สูงอายุ อยู่ในสัดส่วนประมาณ 1:6 แต่ในปี 2020 สัดส่วนประชากรวัยทำงานกับประชากรผู้สูงอายุ อยู่ในสัดส่วนประมาณ 1:3 นั่นหมายความว่า คนหนุ่มสาว 6 คนต้องเลี้ยงดูผู้สูงอายุ 1 คน แต่อีก 20 ปีข้างหน้าจะเหลือคน หนุ่มสาวเพียง 3 คนที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ 1 คน ทั้งนี้เนื่องมาจากอัตราการเกิดของประชากรลดลง จะเห็นได้ว่าภาระของคนหนุ่มสาวอีก 20 ปีข้างหน้าจะหนักขึ้นในการดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้น จึงควรจะต้องรีบสร้างเงินออมไว้ในระบบมากๆ เพื่อเป็นการลดภาระของทั้งภาครัฐและเอกชนในการเลี้ยงดู ผู้สูงอายุดังกล่าว ทั้งนี้ ทุกคนสามารถช่วยได้โดยเก็บออมในระดับบุคคลอย่างเพียงพอ
10
ท่านเตรียมคำตอบ สำหรับคำถามเหล่านี้บ้างไหม
ท่านเตรียมคำตอบ สำหรับคำถามเหล่านี้บ้างไหม อีก 20 ปีข้างหน้าท่านอยากมีชีวิตแบบไหน ท่านมีลูกหลานที่หวังพึ่งได้ หรือไม่ ตอนนี้ท่านมีเงินออมอยู่เท่าไร
11
รายได้หลังเกษียณ = 50% ของรายได้ก่อนเกษียณ
ทำอย่างไรถ้าอยากคงคุณภาพชีวิต รายได้หลังเกษียณ = 50% ของรายได้ก่อนเกษียณ เชื่อว่าทุกคนต้องการมีชีวิตที่สะดวกสบายโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสงบสุขในบั้นปลายของชีวิต ที่ไม่ต้องลำบากทำงานหาเลี้ยงดูตัวเอง ในยามชรา แล้วจะทำอย่างไรเราถึงจะมีชีวิตที่สงบสุขแบบนั้นได้...ถ้าคิดไม่ออกจะบอกให้ว่าการคงคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อยามเกษียณอายุ เราจะต้องมีรายได้หลังเกษียณประมาณ 50-80% ของรายได้ก่อนเกษียณ หมายความว่า หากมีรายได้ก่อนเกษียณ 10,000 บาทต่อเดือน เมื่อเราเกษียณอายุแล้วเราก็ควรจะต้องมีรายได้ประมาณ 5,000-8,000 บาทต่อเดือน
12
จำนวนเงินที่ต้องใช้หลังเกษียณ*
ชาย อยู่อีก 14 ปี หญิง อยู่อีก 19 ปี เงินเดือน 10,000 บาท ล.บ ล.บ. 20,000 บาท ล.บ ล.บ. 30,000 บาท 6.6 ล.บ ล.บ. 50,000 บาท ล.บ ล.บ. แม้ว่าภาระต่างๆ ในชีวิตจะลดลงเกือบครึ่ง แต่ก็ต้องมีเงินอีกครึ่งที่ยังคงต้องใช้เพื่อการดำรงชีวิต ลองดูตัวเลขต่อไปนี้ซึ่งจะแสดงถึงระดับรายได้ต่อเดือนและค่าใช้จ่ายครึ่งหนึ่งของรายได้นั้น...ในกรณีแรกรายได้ต่อเดือน 10,000 บาท ถ้าใช้จ่ายเพียง 50% ของเงินเดือน คุณผู้ชายซึ่งจะมีอายุต่อไปอีก 25 ปี จะต้องมีค่าใช้จ่าย 1.5 ล้านบาท ในขณะที่คุณผู้หญิงมีอายุต่อไปอีก 29 ปี ต้องมีค่าใช้จ่ายถึง 1.7 ล้านบาท และหากรายได้เพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 50,000 บาท คุณผู้ชายจะมีค่าใช้จ่ายหลังเกษียณสูงถึง 7.5 ล้านบาท ในขณะที่คุณผู้หญิงจะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 8.7 ล้านบาท *ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 4% ต่อปี
13
ทางเลือกในการออมเงิน เพื่อเกษียณอายุ
ทางเลือกในการออมเงิน เพื่อเกษียณอายุ 1. ฝากธนาคาร : ดอกเบี้ยน้อย เสียภาษี 2. ซื้อประกันชีวิต : ผลตอบแทนต่ำ 3. ซื้อ RMF : เงื่อนไขมาก 4. เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ : นายจ้างต้องมีส่วนร่วม
14
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีอย่างไร?
15
เคยเห็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทน
100% บ้างไหม
16
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้ผลตอบแทนมากกว่า 100%
ลูกจ้าง จ่ายเงินสะสม 100 บาท นายจ้าง จ่ายเงินสมทบ100 บาท
17
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร
กองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น ด้วยความสมัครใจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมการออมระยะยาวของลูกจ้าง มีเงินออมเมื่อเกษียณอายุหรือลาออกจากงาน ภาครัฐสนับสนุนโดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ นั่นหมายความว่าเพียงความประสงค์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวก็ไม่สามารถจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นได้ และการจัดตั้งกองทุนนี้ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นการส่งเสริมการออมระยะยาวของลูกจ้างเพื่อให้มีเงินออมไว้ใช้เมื่อเกษียณอายุ หรือเมื่อออกจากงาน และเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัวกรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต
18
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีดีตรงไหน
บริหารโดยมืออาชีพ มีความมั่นคงปลอดภัย มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี สร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่นายจ้าง ท่านเคยได้ยินคำว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาก่อนหน้านี้หรือไม่ และทราบหรือไม่ว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร? ...และมีดีตรงไหน
19
บริหารโดยนักบริหารมืออาชีพ
บริษัทจัดการ : ต้องได้รับใบอนุญาตการจัดการ กองทุนส่วนบุคคลจากสำนักงาน ก.ล.ต ปัจจุบันมีบลจ.20 ราย ให้เลือก ซึ่งต้องไม่ใช่นายจ้าง
20
กลไกการทำงานของกองทุน
นายจ้าง/สมาชิก จ่ายเงินเข้ากองทุน บริษัทจัดการนำเงินไปลงทุน หาผลประโยชน์ มีการคำนวณเงินที่สมาชิกจะได้รับ ตามบัญชีรายตัว
21
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่จ่ายผลตอบแทนระหว่างทาง
เพราะต้องการให้ออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ
22
ความมั่นคงปลอดภัยของทรัพย์สิน
ปลอดภัยสูง เพราะทรัพย์สินของกองทุน แยกต่างหากจาก ทรัพย์สินของนายจ้าง มี “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” คอยดูแล จึงไม่ได้รับผลกระทบ หากนายจ้างต้องปิดกิจการ ความมั่นคงปลอดภัยของทรัพย์สิน... เงินที่ออมไว้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะถูกเก็บรักษาไว้ โดยบุคคลที่ 3 ที่ไม่ใช่นายจ้าง หรือบริษัทที่รับจัดการกองทุน แต่จะเก็บไว้ที่ผู้รับฝากทรัพย์สิน หรือที่เรียกว่า custodian ดังที่ได้กล่าวมาบ้างแล้วข้างต้น เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงมีความปลอดภัยสูง อีกทั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายนั้นจะถือเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากนายจ้าง ดังนั้น หากนายจ้าง หรือบริษัท จัดการ หรือผู้รับฝากทรัพย์สิน ประสบกับภาวะการขาดทุน หรือถูกฟ้องล้มละลาย เจ้าหนี้ของนายจ้าง หรือของบริษัทจัดการ หรือของผู้รับฝาก ทรัพย์สินก็ดี ไม่สามารถเรียกร้องเงินจากกองทุนเพื่อใช้ในการดังกล่าวได้ ดังนั้นสมาชิกจะได้รับเงินเมื่อเกษียณอายุหรือสิ้นสมาชิกภาพออกไปจากกองทุน นอกจากนี้ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังได้รับการปกป้องจากบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายของสมาชิก กล่าวคือ การที่เจ้าหนี้จะขอหักเงินจากกองทุนที่สมาชิกมีสิทธิได้รับเพื่อการชำระหนี้ที่สมาชิกยังค้างชำระอยู่ไม่สามารถกระทำได้ สมาชิกจะต้องได้รับเงินจากกองทุนก่อนส่วนการ ชำระหนี้เป็นเรื่องที่ตกลงกันเองภายหลัง ตัวอย่างเช่น สมาชิกเป็นหนี้กับนายจ้างอยู่ 10,000 บาท เมื่อสมาชิกสิ้นสมาชิกภาพจากกองทุน และมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนเป็นจำนวน 100,000 บาท นายจ้างจะขอหักเงินกองทุนของสมาชิกจำนวน 10,000 บาท ก่อนแล้วค่อยให้จ่าย 90,000 บาทที่เหลือให้แก่สมาชิก การหักชำระหนี้แบบนี้ไม่สามารถทำได้ ดังนั้น กองทุนจะต้องจ่ายเงินให้สมาชิกเต็มจำนวน 100,000 บาท ความมั่นคงปลอดภัยของทรัพย์สินอีกประการหนึ่งก็คือ การควบคุมดูแลของทางการ โดยสำนักงาน ก.ล.ต.มีทีมงานตรวจสอบ เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทจัดการ ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นระยะๆ ว่ามีการดำเนินการเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่อีกด้วย
23
ความมั่นคงปลอดภัยทางการเงิน ม. 24 พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เป็นเงินออมสำรองไว้ เพื่อใช้ในอนาคต ม. 24 พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “ปลอดภัยจากเจ้าหนี้” ความมั่นคงปลอดภัยทางการเงิน... นอกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีความมั่นคงปลอดภัย ของทรัพย์สินซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าจะได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อเกษียณอายุหรือสิ้นสมาชิกภาพออกจากกองทุนแล้ว เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังสามารถเป็นเงินฉุกเฉินยามที่เราเดือดร้อนได้ เชื่อว่าหลายท่านคงเคยมีประสบการณ์ต้องชำระค่าสินค้าแล้วไม่มีเงินเหลืออยู่ในกระเป๋าสตางค์เลย ในเวลานั้นไม่รู้ว่าจะไปเอาเงินมาจากที่ไหนของก็ซื้อไปแล้วความรู้สึกในตอนนั้นหลายท่านคงใจหายวูบ พยายามลองค้นตามซอกกระเป๋าสตางค์ ทันทีที่ปรากฏว่ามีธนบัตร 100 บาทซ่อนอยู่เนื่องจากเราพับเก็บเอาไว้นานแล้ว นานจนบางทีจำไม่ได้ว่าเก็บเอาไว้ตั้งแต่เมื่อไร ความรู้สึกที่เราเจอเงิน 100 บาทเหมือนกับเรียกใจเรากลับคืนมาได้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็เช่นเดียวกัน บางท่านอาจมีความรู้สึกว่าการออมเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นภาระที่จะต้องถูกหักรายได้เข้ากองทุนทุกเดือน และกว่าจะได้ใช้ก็อีกนาน แต่การที่เรามีเงินออมสำรองไว้ แม้จะออมจนเกือบลืมไปบ้างแต่วันใดที่เราเดือดร้อนหรือต้องการใช้เงินก็ยังอุ่นใจได้ว่ายังมีเงินอีกก้อนที่เราได้สำรองไว้เพื่อใช้ในอนาคต
24
สิทธิประโยชน์ภาษี - นายจ้าง
เงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุน หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15 % ของค่าจ้าง นอกจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ลูกจ้างจะได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว นายจ้างเอง ก็ยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วยเช่นกัน กล่าวคือเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้างของลูกจ้าง
25
สิทธิประโยชน์ทางภาษี-ลูกจ้าง
เงินก้อนที่ได้รับจากกองทุน ได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวน เมื่อเกษียณอายุ ตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และเป็นสมาชิกกองทุน ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีสมาชิกสิ้นสมาชิกภาพ… สามารถแบ่งออกได้ 2 กรณี คือกรณีที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเนื่องจากเกษียณอายุ และกรณีที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพโดยไม่เกษียณอายุ กรณีที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเนื่องจากเกษียณอายุ หากครบตามเงื่อนไขที่กำหนดคือ เกษียณอายุตามข้อบังคับของบริษัทเมื่ออายุตั้งแต่ ปีขึ้นไป และเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินก้อนที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับการยกเว้นภาษี ทั้งจำนวน
26
องค์กรแบบไหนมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัทจดทะเบียนใน SET รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน องค์กรมหาชน
27
กิจการประเภทไหนมี PVD
เกษตร ขนส่ง ขายส่ง/ขายปลีก ก่อสร้าง โรงงาน สถาบันการเงิน มหาวิทยาลัย อุตสาหกรรม
28
ข้อมูลที่น่าสนใจ 2546 2547 2548 มี.ค.2549 จำนวนนายจ้าง
มี.ค.2549 จำนวนนายจ้าง 5,448 6,044 6,761 6,996 จำนวนสมาชิก (ล้านคน) 1.42 1.52 1.67 1.70 มูลค่ากองทุน (ล้านบาท) 287,329 305,462 345,896 355,984
29
คำตอบ เตรียมตัวเพื่อวัยเกษียณ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือคำตอบสุดท้าย
30
อยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
สมัครเป็นสมาชิก thaipvd.com รับข่าวสารข้อมูลมากมาย โทรศัพท์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.