ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยNetiwit Sirishumsaeng ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
บทที่ 9 การกำหนดราคาและผลผลิตในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Price and Output Determination Under Imperfect Competition) ตลาดผูกขาดที่แท้จริง ลักษณะของตลาดผูกขาดแท้จริง สาเหตุของการผูกขาด ลักษณะของเส้นอุปสงค์ของผู้ผลิต การหาผลผลิตที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด ดุลยภาพในระยะสั้นของผู้ผูกขาด ดุลยภาพในระยะยาวของผู้ผูกขาด เปรียบเทียบตลาดผูกขาดแท้จริงกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์
2
ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
ลักษณะของตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ลักษณะของเส้นอุปสงค์ที่ผู้ผลิตเผชิญ ดุลยภาพระยะสั้นของผู้ผลิต ดุลยภาพในระยะยาวของผู้ผลิต ตลาดผู้ขายร้อยราย ลักษณะของตลาดผู้ขายร้อยราย ลักษณะของเส้นอุปสงค์ของผู้ผลิต การวิเคราะห์ดุลยภาพของตลาดผู้ขายน้อยรายตามแบบจำลองอุปสงค์หักมุม
3
9.1 ตลาดผูกขาดที่แท้จริง (Pure Monopoly)
9.1.1 ลักษณะของตลาดผูกขาดแท้จริง หน่วยผลิตเป็นผู้ผูกขาดในการผลิต/ขายสินค้าเพียงรายเดียว หน่วยผลิตจึงเป็นอุตสาหกรรม สินค้าที่ผลิตขึ้นมีความแตกต่างจากผู้อื่น และไม่มีสินค้าอื่นที่ใช้ทดแทนได้ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ (Cross Elasticity) มีค่าเป็นศูนย์ ผู้ผลิตรายใหม่ไม่สามารถเข้ามาทำการผลิตสินค้าชนิดนี้ได้ เนื่องจากผู้ผลิตรายเดิมสามารถสร้างอุปสรรคกีดขวางได้ (Barrier to Entry) จากลักษณะตลาดดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตมีอิทธิพลในการกำหนดราคาหรือปริมาณสินค้าในตลาด
4
สาเหตุของการผูกขาด ผู้ผลิตดังกล่าวเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตแต่เพียงผู้เดียว ผู้ผลิตจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในผลผลิตของตนไว้ โดยอำนาจของกฎหมายทำให้ผู้ผลิตรายอื่นไม่สามารถเข้ามาผลิตแข่งขันได้ รัฐบาลให้สัมปทานในการผลิตกับผู้ผลิตรายเดียว เช่น กิจการสาธารณูปโภค เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม การผลิตที่จำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก จึงจะทำการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ เช่น กิจการสาธารณูปโภค ทำให้ผู้ผลิตรายใหม่ที่มีขนาดเล็กกว่าและทุนน้อยกว่า ไม่สามารถเข้ามาทำการแข่งขันได้เป็นกิจการผูกขาดโดยธรรมชาติ (Natural Monopoly) ผู้ผลิตมีการรวมกลุ่มกันผูกขาด ซึ่งหลายประเทศถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา
5
9.1.3 เส้นอุปสงค์ที่ผู้ผูกขาดเผชิญ
เส้นอุปสงค์ที่ผู้ผูกขาดเผชิญ การที่มีผู้ขายรายเดียวในตลาด ทำให้ผู้ผูกขาดมีอิทธิพลในการกำหนดราคา เรียกว่า Price Maker แต่ถ้ากำหนดราคาสูงปริมาณขายจะน้อย หากกำหนดราคาต่ำปริมาณขายจะมาก เส้นอุปสงค์ที่ผู้ผลิตเผชิญเป็นเส้นที่ทอดลงจากซ้ายไปขวา มี slope เป็นลบ ทำให้ MR <AR ในทุกปริมาณผลผลิต เส้น MR จึงอยู่ต่ำกว่าเส้นอุปสงค์ และมี slope เป็น 2 เท่าของเส้นอุปสงค์ ราคา เส้น MR แบ่งครึ่งเส้นอุปสงค์ทุกปริมาณผลผลิต ในตลาดผูกขาด D=AR=P MR D=AR=P MR ปริมาณ
6
เส้นอุปสงค์ อาจเปลี่ยนแปลงได้ หากปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์เปลี่ยน และเมื่อเส้นอุปสงค์เปลี่ยนไป เส้น MR ก็จะเปลี่ยนไปด้วย P P D=AR MR D=AR D=AR D=AR MR MR MR Q Q
7
9.1.4 การหาผลผลิตที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด
การหาผลผลิตที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด TR, TC TC 1. การหาผลผลิตที่กำไรสูงสุดในระยะสั้น A TR วิธีรวม (Total Approach) ผู้ผลิตมีกำไรสูงสุด เมื่อผลิต Q ที่ TR ห่างจาก TC มากที่สุด และ TR อยู่เหนือ TC ซึ่งที่ Q นั้น slope TR=slope TC B Q Q1 Q Q2 กำไร ผู้ผลิตกำไรสูงสุดเมื่อผลิตสินค้า OQ หน่วย โดยมีกำไรเท่ากับ AB Q Q1 Q Q2
8
วิธีส่วนเพิ่ม (Marginal Approach) ผู้ผลิตมีกำไรสูงสุดเมื่อผลิต Q ที่ MC=MR ในช่วงที่ MC กำลัง
E MR Q Q ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าที่ MC=MR โดยผลิต OQ หน่วย ดุลยภาพอยู่ที่จุด E แต่ราคาขายเป็นไปตามเส้นอุปสงค์หรือเส้น AR
9
2. การหาผลผลิตที่กำไรสูงสุดในระยะยาว
2. การหาผลผลิตที่กำไรสูงสุดในระยะยาว วิธีรวม (Total Approach) ผลิต ณ Q ที่ slope TR=slope LTC โดย TR ห่างจาก LTC มากที่สุด และ TR อยู่เหนือ LTC TR, TC LTC A B TR Q Q
10
วิธีส่วนเพิ่ม (Marginal Approach)
จะผลิต ณ จุดที่ LMC = MR ในขณะที่ LMC กำลัง ดังรูป MC, MR LMC E MR Q Q ในตลาดผูกขาดไม่มีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาแข่งขัน หากผู้ผูกขาดมีกำไรเกินปกติ (Excess Profit) ซึ่งเป็นกำไรของผู้ผูกขาด (Monopoly Profit) โดยสามารถรักษากำไรนี้ไว้ได้ถ้ารัฐบาลไม่เข้ามาแทรกแซงการกำหนดราคา
11
1) การกำหนดผลผลิตเมื่อไม่มีการควบคุมราคา
ดุลยภาพในระยะสั้นของผู้ผูกขาด 1) การกำหนดผลผลิตเมื่อไม่มีการควบคุมราคา ปริมาณ Q ที่ได้กำไรสูงสุด อยู่ที่ MC=MR โดยปกติผู้ผูกขาดมีกำไรเกินปกติ (TR>TC) คือได้ Monopoly Profit P,C MC ในกรณีที่ผู้ผูกขาดมีกำไรเกินปกติ ดุลยภาพอยู่ที่ MC=MR ที่จุด E ผลิต OQ หน่วย ราคา = OP บาท TR = OPFQ TC = OP1IQ มีกำไรเกินปกติ = P1PFI P F AC P1 I E D=AR MR Q Q แต่ผู้ผูกขาดอาจขาดทุนหรือมีเพียงกำไรปกติก็ได้ ในระยะสั้น หากผู้ผลิตขาดทุน จะยังผลิตต่อไป ถ้า TR>TVC หรือAR>AVC และจะเลิกผลิตเมื่อ AR<AVC ในระยะยาวผู้ผูกขาดจะเลิกกิจการไปถ้าเกิดการขาดทุน
12
ในกรณีที่ผู้ผูกขาดขาดทุน
ดุลยภาพอยู่ที่ MC=MR ที่จุด E ผลิต OQ หน่วย ราคา = OP บาท TR = OPFQ TC = OP1IQ TR<TC เกิดการขาดทุน = P1PFI แต่ P>AVC แม้จะขาดทุน ผู้ผลิตยังผลิตต่อ เพราะชดเชยการขาดทุน TFC ได้บางส่วน P,C MC ATC P1 I AVC P F E D=AR MR Q Q
13
เส้นอุปทานระยะสั้นของผู้ผูกขาด
ไม่อาจหาเส้นอุปทานระยะสั้นของผู้ผูกขาดได้ เนื่องจากเส้นอุปทานแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Q และ P ที่แน่นอน แต่กรณีตลาดผูกขาด Q จำนวนหนึ่งอาจสัมพันธ์กับ P ได้หลาย P หรือ P หนึ่งอาจสัมพันธ์กับ Q ที่ขายได้หลายจำนวน ขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา และตำแหน่งของเส้นอุปสงค์ของผู้ผูกขาด P,C P,C MC MC P P P' E E' D=AR E D'=AR' D'=AR' MR' D=AR MR' MR Q Q Q Q' Q MR ปริมาณดุลยภาพเดียวกัน แต่ราคาขายแตกต่างกัน สินค้า OQ หน่วย มีราคาขาย 2 ราคา คือ OP และ OP ราคาเดียวกันแต่ปริมาณขายแตกต่างกัน ราคาขาย OP เดียวกัน มีปริมาณขาย 2 ปริมาณ คือ OQ และ OQ หน่วย ในระยะสั้น (และระยะยาว) ไม่อาจหาเส้นอุปทานของผู้ผูกขาดได้
14
1) การกำหนดผลผลิตเมื่อรัฐบาลควบคุมราคา
1) การกำหนดผลผลิตเมื่อรัฐบาลควบคุมราคา กิจการบางอย่างอาจจำเป็นต้องมีการผูกขาด จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม เช่น กิจการสาธารณูปโภค หากรัฐบาลปล่อยให้กำหนดราคาหรือปริมาณผลิตโดยเสรี คือได้กำไรสูงสุดที่ MC=MR อาจเกิดการแสวงหากำไรมากเกินไป หรือมีการผลิตน้อยเกินไปหรือไม่เต็มประสิทธิภาพ การผลิตที่ MC=MR นั้น P>MC แสดงว่าผลิตสินค้าน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค การควบคุมการกำหนดราคาของรัฐบาลของผู้ผูกขาด กำหนดราคาที่ P=MC เรียกว่า Ideal Price ซึ่งทำให้การจัดสรรทรัพยากรมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยปกติผู้ผลิตอาจยังมีกำไรอยู่ แต่หากผู้ผลิตขาดทุน รัฐบาลต้องให้เงินอุดหนุนในส่วนที่ขาดทุนนั้น กำหนดราคาที่ P=AC เรียกว่า Fair Price ซึ่งแม้จะไม่ใช่การจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดก็จริง แต่การจัดสรรทรัพยากรดีขึ้นกว่าการปล่อยให้ผู้ผูกขาดกำหนดราคาเอง โดยผู้ผลิตมีเพียงกำไรปกติ (Normal Profit) เท่านั้น
15
รัฐบาลแทรกแซงการกำหนดราคา
P,C MC AC H F I M K E D=AR MR Q Q Q1 Q2 ผู้ผูกขาดผลิตที่ MC=MR ที่จุด E ผลิต OQ หน่วย กำหนดราคา HQ ผู้ผลิตมีกำไรเกินปกติ HM ต่อหน่วย เป็นการผลิตที่ P>MC ทำให้ผลผลิตน้อยกว่าความต้องการ รัฐบาลแทรกแซง กำหนด P=MC การผลิตอยู่ที่จุด F ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น OQ1 หน่วย และผู้ผลิตยังคงมีกำไรเกินปกติ FK ต่อหน่วย รัฐบาลแทรกแซงกำหนด P=AC การผลิตอยู่ที่จุด I ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น OQ2 หน่วย ขายในราคา IQ2 ผู้ผลิตมีเพียงกำไรปกติ
16
รัฐบาลแทรกแซง โดยกำหนดให้ผลิตที่ P=MC ในกรณีที่ผู้ผลิตขาดทุน
P,C MC ผู้ผูกขาดผลิตที่ MC=MR ที่จุด E ผลิต OQ หน่วย กำหนดราคา LQ ผู้ผลิตมีกำไรเกินปกติ LM ต่อหน่วย เป็นการผลิตที่ P>MC ทำให้ผลผลิตน้อยกว่าความต้องการ AC L K I M F E D=AR MR Q Q Q1 Q2 รัฐบาลแทรกแซง กำหนด P=MC การผลิตอยู่ที่จุด F ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น OQ2 หน่วย แต่ผู้ผลิตขาดทุน IF ต่อหน่วย รัฐบาลต้องให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ผลิต รัฐบาลแทรกแซงกำหนด P=AC การผลิตอยู่ที่จุด K ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น OQ1 หน่วย แต่ P>MC (Q น้อยไป) แต่ผู้ผลิตได้กำไรปกติ การกำหนดที่ P=AC การจัดสรรทรัพยากรไม่มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่เหมือนการผลิตที่ P=MC
17
9.1.6 ดุลยภาพในระยะยาวของผู้ผูกขาด
ดุลยภาพในระยะยาวของผู้ผูกขาด ในระยะยาว ผู้ผูกขาดสามารถเลือกขนาดโรงงาน หรืออาจเลิกกิจการได้ ดุลยภาพในระยะยาวคือ ผู้ผูกขาดผลิตที่ LMC=MR ได้กำไรสูงสุด กว่าการใช้โรงงานขนาดอื่นๆ ผู้ผูกขาดอาจมีกำไรปกติ ถ้า LMC=MR โดย AR=LAC ผู้ผูกขาดอาจขาดทุน ถ้า LMC=MR โดย AR<AVC และจะเลิกกิจการ ในระยะยาว ผู้ผูกขาดไม่จำเป็นต้องผลิตโดยใช้ขนาดโรงงานที่เหมาะสมที่สุด (Optimum Size) แต่จะใช้โรงงานขนาดใด ขึ้นกับอุปสงค์ตลาด P LMC SMC SAC LAC ดุลยภาพระยะยาวของผู้ผูกขาดอยู่ที่ LMC=MR ซึ่งใช้ขนาดของโรงงานที่เล็กกว่า Optimum Size ผลิต OQ หน่วย ในราคา OP และเกิดดุลยภาพในระยะสั้นด้วย คือ SMC=MR ผู้ผูกขาดมีกำไรเกินปกติเท่ากับ P1PFI F P P1 I E D=AR MR Q Q
18
9.1.7 เปรียบเทียบตลาดผูกขาดแท้จริงกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์
เปรียบเทียบตลาดผูกขาดแท้จริงกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ประเด็น ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดผูกขาดแท้จริง เส้นอุปสงค์ที่เผชิญ เป็นเส้นตรงขนานกับแกนนอน เป็นเส้นทอดจากซ้ายไปขวา D=AR=MR=P D=AR=P MR การกำหนดราคา ไม่มีอำนาจ เป็น Price Taker มีอำนาจกำหนด เป็น Price Maker ระดับผลผลิต ผลิตที่ P=MC=MR ผลิตที่ P > MC=MR กำไรหรือขาดทุน – ระยะสั้น กำไร ; ขาดทุน – ระยะยาว กำไรปกติ มีกำไรเกินปกติ ขนาดโรงงานผลิตในระยะยาว ที่ Optimum Size เท่านั้น ขนาดโรงงานไม่จำเป็น ต้องเป็น Optimum Size
19
9.2 ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition)
ลักษณะของตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด มีผู้ขายจำนวนมากราย จนการดำเนินการของผู้ผลิตแต่ละรายไม่กระทบถึงกัน ไม่มีสิ่งกีดขวางสำหรับผู้ผลิตหน้าใหม่จะเข้ามาแข่งขันในตลาด ไม่มีการรวมหัวกันของผู้ผลิตในตลาด สินค้าของผู้ผลิตหรือผู้ขายแต่ละรายแตกต่างกัน แต่ใช้ทดแทนกันได้ (Differentiated Product) ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะที่สำคัญของตลาด ทำให้ผู้ผลิตแต่ละรายมีอำนาจผูกขาดในสินค้าของตนอยู่บ้าง หากผู้ผลิตทำให้สินค้าตนเองแตกต่างจากของผู้ผลผลิตรายอื่นได้มากเท่าใด อำนาจการผูกขาดก็มากขึ้นเท่านั้น การมีสินค้าอื่นทดแทนได้ จึงทำให้มีการแข่งขันกัน การตั้งราคาจึงต้องคำนึงถึงการทดแทนกันของสินค้าอื่น มีการใช้นโยบายส่งเสริมการขาย เพื่อเป็นการเพิ่มอุปสงค์ ซึ่งหากทำได้อุปสงค์ จะเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องลดราคาสินค้า ดังนั้นกำไรจึงมากขึ้นหรือขาดทุนน้อยลง
20
9.2.2 ลักษณะของเส้นอุปสงค์ที่ผู้ผลิตเผชิญ
ลักษณะของเส้นอุปสงค์ที่ผู้ผลิตเผชิญ การที่สินค้ามีความแตกต่างกัน และมีสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ ทำให้เส้นอุปสงค์ที่ผู้ผลิตเผชิญเป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไปขวา มี slope เป็นลบ แต่มีความชันน้อยกว่าเส้นอุปสงค์ในตลาดผูกขาดแท้จริง การขายสินค้าเพิ่มขึ้น MR จะ < AR ทุกๆ ระดับ เส้น MR เป็นเส้นแบ่งครึ่งเส้นอุปสงค์ และ D=AR=P MR P D=AR=P MR Q
21
9.2.3 ดุลยภาพระยะสั้นของผู้ผลิต
ดุลยภาพระยะสั้นของผู้ผลิต ดุลยภาพการผลิตระยะสั้นของผู้ผลิตในตลาดกึ่งแข่งขันผูกขาดอยู่ที่ MC=MR (โดย Slope MC > Slope MR) และตั้งราคาบนเส้น AR (หรือเส้นอุปสงค์) เหมือนกันกับกรณีของผู้ผลิตในตลาดผูกขาด ผู้ผลิตมีโอกาสที่จะได้รับกำไรส่วนเกิน กำไรปกติ หรือขาดทุนตราบเท่าที่ราคา AR > AVC การขาดทุนที่เกิดยังน้อยกว่าต้นทุนคงที่ ผู้ผลิตจะยังคงทำการผลิตต่อไป Price, Cost, Revenue MC AC F P P1 I . E รูปนี้ได้กำไร MR AR Q Q
22
9.2.3 ดุลยภาพระยะยาวของผู้ผลิต
ดุลยภาพระยะยาวของผู้ผลิต ในระยะยาว ผู้ผลิตมีแนวโน้มได้รับเพียงกำไรปกติเท่านั้น คือ P=AC เนื่องจากในระยะยาวผู้ผลิตรายใหม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้โดยเสรี ตราบที่ผู้ผลิตมีกำไรเกินปกติ ผู้ผลิตรายใหม่จะเข้ามาแข่งขันเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดผู้ผลิตมีเพียงกำไรปกติ ดุลยภาพระยะยาวอยู่ที่ LMC=MR=SMC และ AR=LAC=SAC P ดุลยภาพอยู่ที่จุด E ผลิต OQ หน่วย ในราคา OP TR=TC=OPFQ ผู้ผลิตมีเพียงกำไรปกติ LMC LAC F P E D=AR MR Q Q ในระยะยาวผู้ผลิตอาจมีกำไรเกินปกติได้หากสร้างอำนาจผูกขาดของตนเองได้มาก ในระยะยาวผู้ผลิตไม่ได้ใช้ขนาดของโรงงานที่จุดต่ำสุดของ LAC แสดงว่ามีการผลิตสินค้าต่ำกว่าที่ควรผลิตในระดับต้นทุนต่ำสุด การใช้ทรัพยากรยังไม่ได้ประโยชน์เต็มที่
23
9.3 ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly)
ลักษณะของตลาดผู้ขายน้อยราย มีผู้ผลิตหรือผู้ขายจำนวนน้อยราย คือตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ในกรณีของผู้ขายน้อยราย เรียกตลาดว่า Duopoly การดำเนินนโยบายของผู้ผลิตหรือผู้ขายในตลาดมีผลกระทบต่อกัน สินค้าในตลาดอาจจะมีลักษณะเหมือนกัน (Homogeneous Product) หรือ แตกต่างกันแต่สามารถใช้ทดแทนกันได้ (Differentiated Product) ถ้าเป็นตลาดผู้ขายน้อยรายที่ผลิตสินค้าที่เหมือนกันเรียกว่า “Pure Oligopoly” แต่ถ้าเป็นตลาดผู้ขายน้อยรายที่ผลิตสินค้าแตกต่างกันแต่ใช้ทดแทนกันได้ เรียกว่า “Differentiated Oligopoly” การเข้ามาผลิตแข่งขันของผู้ผลิตรายใหม่จะทำได้ยาก มีการแข่งขันทั้งทางด้านที่ใช้ราคา (Price Competition) แต่ไม่นิยม โดยมักใช้การแข่งขันที่ไม่ใช้ราคา (Non–price Competition) เช่น การปรับปรุงคุณภาพสินค้า การส่งเสริมการขาย การโฆษณา เพื่อเป็นการเพิ่มอุปสงค์
24
9.3.2 ลักษณะของเส้นอุปสงค์ที่ผู้ผลิตเผชิญ
ลักษณะของเส้นอุปสงค์ที่ผู้ผลิตเผชิญ เส้นอุปสงค์ในตลาดผู้ขายน้อยราย มี slope เป็นลบเหมือน ๆ กับตลาดไม่แข่งขันสมบูรณ์แบบอื่น ๆ นั่นคือการที่ผู้ขายจะขายสินค้า ต้องลดราคาลงมา การผลิตเพื่อได้กำไรสูงสุดจะอยู่ ณ จุดที่ MC = MR การวิเคราะห์ราคาและปริมาณผลผลิตที่กำไรสูงสุดในตลาดผู้ขายน้อยราย จะมีความยุ่งยากกว่าตลาดแบบอื่นๆ เพราะเส้นอุปสงค์ของผู้ผลิตในตลาดนี้ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนเหมือนตลาดแบบอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการโต้ตอบของผู้ผลิตรายอื่นด้วย ลักษณะของตลาดผู้ขายน้อยราย ทำให้การดำเนินนโยบายของผู้ผลิตในตลาดมีแนวโน้มแตกต่างกัน ตามระดับของความสัมพันธ์ ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ กรณีที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายมีการรวมตัวกัน และกรณีที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายมีการดำเนินนโยบายอย่างอิสระ
25
กรณีที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายมีการรวมตัวกัน (Collusion)
กรณีที่ผู้ผลิตผลิตสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกัน อาจมีการรวมตัวกันอย่างสมบูรณ์ (Perfect Collusion) หรือไม่สมบูรณ์ (Imperfect Collusion) การรวมตัวกันอย่างสมบูรณ์ (Perfect Collusion หรือ Cartel) เป็นการรวมตัวกันของผู้ผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมหรือตลาดหนึ่งๆ มีจุดมุ่งหมายที่จะโยกย้ายอำนาจการตัดสินใจในการดำเนินการของผู้ผลิตแต่ละรายมาไว้ที่ส่วนกลาง โดยคาดหมายว่าจะทำให้กำไรของผู้ผลิตแต่ละรายเพิ่มสูงขึ้น Cartel ที่มีการรวมอำนาจในการตัดสินใจอย่างเต็มที่ เรียกว่า Centralized Cartel Cartel ที่มีอำนาจเพียงแบ่งส่วนแบ่งตลาดเท่ากันในกลุ่ม เรียกว่า Market-Sharing Cartel การรวมตัวกันอย่างไม่สมบูรณ์ (Imperfect Collusion) เป็นรูปแบบการรวมตัวที่ไม่เคร่งครัด โดยมักผู้ผลิตรายใดรายหนึ่งในตลาดเป็นผู้นำด้านการกำหนดราคา หรือเรียกว่า Price Leadership ผู้นำราคาเป็นผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำสุด หรือเป็นผู้ผลิตรายใหญ่มากในอุตสาหกรรมหรือตลาด หรือเกิดจากผู้ผลิตที่มีประสบการณ์มากที่สุด
26
การที่ผู้ผลิตในตลาดผู้ขายน้อยรายไม่ใช้การแข่งขันด้านราคา มีเหตุผล 3 ประการ คือ
การลดราคาสินค้าไม่ช่วยให้สามารถขายสินค้าเพิ่มขึ้นได้มากนัก เพราะคู่แข่งขันจะโต้ตอบด้วยการลดราคาทันที ผู้ขายเชื่อว่าสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้โดยการปรับปรุงคุณภาพสินค้า ซึ่งทำได้ดีกว่าและถาวรกว่าการใช้ราคา การลอกเลียนแบบหรือคุณภาพ ต้องใช้เวลานานกว่าและทำได้ยากกว่า เนื่องจากผู้ขายน้อยรายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่มีจำนวนผลผลิตและฐานะการเงินสูงมาก สามารถลงทุนโฆษณาสินค้าและพัฒนาคุณภาพของสินค้า
27
9.3.3 การวิเคราะห์ดุลยภาพของตลาดผู้ขายน้อยราย
การวิเคราะห์ดุลยภาพของตลาดผู้ขายน้อยราย ตามแบบจำลองอุปสงค์หักมุม (Kinked Demand Curve) ตลาดผู้ขายน้อยรายที่ผลิตสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างกันแต่สามารถใช้ทดแทนกันได้ ผู้ผลิตจะมีการดำเนินนโยบายอย่างอิสระ มีแบบจำลองจำนวนมากที่ใช้อธิบายถึงการดำเนินนโยบายลักษณะนี้ ในตลาดผู้ขายน้อยราย มีการตั้งข้อสังเกตว่า ราคาในตลาดค่อนข้างตายตัว (Price Rigidity) คือไม่เปลี่ยนแปลงง่ายๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน แบบจำลองที่อธิบายแนวความคิดนี้คือ แบบจำลองอุปสงค์หักมุม (Kinked Demand Curve) ของ Paul Sweezy อธิบายว่าทำไมราคาสินค้าในตลาดผู้ขายน้อยรายจึงมีแนวโน้มคงที่ โดยใช้เส้นอุปสงค์ที่มีลักษณะหักมุม ณ ระดับราคาตลาด จากการที่ผู้ขายน้อยรายดำเนินนโยบายอิสระ หากมีการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าจะมีผลกระทบต่อผู้ขายรายอื่นในตลาด ทำให้ผู้ขายมักไม่เปลี่ยนแปลงราคา แม้ว่าต้นทุนการผลิตอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ราคาจะยังอยู่ตรงเส้นอุปสงค์หักมุมพอดี พฤติกรรมสำคัญของผู้ผลิตในตลาดผู้ขายน้อยรายตามแบบจำลองนี้คือถ้าผู้ผลิตอื่นขึ้นราคาจะไม่ขึ้นราคาตาม แต่ถ้าผู้ผลิตอื่นลดราคาจะลดราคาตาม
28
P A E P D Q การที่เส้นอุปสงค์เป็น Kinked Demand Curve เพราะ ถ้าผู้ผลิตรายใดลดราคาสินค้า คนอื่นในตลาดจะลดราคาตาม หรืออาจจะลดราคาต่ำกว่าด้วยซ้ำ ผลทำให้ปริมาณสินค้าจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เส้นอุปสงค์ช่วง ED จึงมี Ed เป็น inelastic ถ้าผู้ผลิตรายใดขึ้นราคาสินค้า คนอื่นในตลาดจะไม่เปลี่ยนแปลงราคาตาม ผลคือปริมาณขายของผู้ผลิตรายดังกล่าวจะลดลงมากกว่าที่คาดไว้ หรืออาจขายไม่ได้ ทำให้เส้นอุปสงค์ช่วง AE จึงมี Ed เป็น Elastic
29
P' P D Q เมื่อเส้นอุปสงค์ในตลาดผู้ขายน้อยรายเป็นเส้นอุปสงค์หักงอ
ทำให้เส้น MR มีการขาดช่วงตรงราคาตลาด โดยเส้น MR มี 2 ช่วง P A P' B Kinked demand D AR1 C AR2 MR1 Q Q MR2 เส้น APD เป็นเส้นอุปสงค์หักงอ ทำให้เส้น MR เป็น 2 ช่วง คือ AB จะเป็นเส้น MR ของอุปสงค์ช่วง AP' และ CMR2 เป็นเส้น MR ของอุปสงค์ช่วง P'D
30
ดุลยภาพการผลิต MC=MR เกิดในช่วงที่เส้น MR ขาดตอนคือช่วง BC ผลิต OQ หน่วย ราคา=OP เป็นราคาที่มุมของเส้นอุปสงค์พอดี โดยปกติ เส้น MR และ MC จะตัดกันในช่วงเส้น MR ขาดตอน และผู้ผลิตได้กำไรสูงสุดโดยผลิตสินค้าและกำหนดราคาที่ค่อนข้างตายตัวที่มุมหักงอของเส้นอุปสงค์ การที่ MR และ MC ตัดกันในช่วง MR ที่ไม่ขาดตอน เป็นไปได้ยากเพราะต้นทุนการผลิตต้องสูงหรือต่ำมาก จึงจะตัดในช่วง AE หรือ CMR P แม้ว่าต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตจะเปลี่ยนแปลง โดยลดหรือเพิ่มเป็น MC1 หรือ MC2 ก็มักไม่เกินจากช่วง MR ขาดตอน A MC2 MC0 MC1 E P การแสวงหากำไรสูงสุดในการผลิตจึงยังอยู่ที่มุมหักงอของเส้นอุปสงค์ B Kinked Demand Curve จึงอธิบายว่าทำไมราคาจึงมักไม่เปลี่ยนแปลงในตลาดผู้ขายน้อยราย แม้ว่าต้นทุนและอุปสงค์จะเปลี่ยนแปลงไป D=AR C Q Q MR
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.