ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKob chai Pichit ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
HPP Thailand I ถอดบทเรียนประสบการณ์ การจ่ายค่าตอบแทนตามปริมาณงาน โรงพยาบาลพาน จังหวัดเชียงรายและ โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดย คณะวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจ่ายค่าตอบแทน ตามปริมาณงาน กระทรวงสาธารณสุข 24 สิงหาคม 2552 ณ ห้องประชุมโรงแรมริชมอนด์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
2
สถานการณ์รายรับเงินบำรุง รพ. พาน (ตค 50 – สค 51)
รวม (บาท) percent 1 ค่ารักษาพยาบาล 5,898,987 6.1% 2 เงิน UC โอนจาก สสจ. และ สปสช. 81,608,019 83.9% 3 ค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ โอนจาก กรมบัญชีกลาง 5,642,065 5.8% 4 รับเงินมัดจำสัญญาจากจังหวัด 146,136 0.2% 5 รับเงินคืนสัญญาลูกหนี้เงินยืม 1,862,945 1.9% 6 รับเงินชดเชยค่าเวชภัณฑ์ 40% 193,738 7 เงินรับฝาก ภาษี หัก ณ ที่จ่าย 312,492 0.3% 8 เงินอุดหนุนเทศบาล 580,000 0.6% 9 รายได้อื่น ๆ 567,206 10 รับเงินฝากคลังจังหวัด 40,793 0.0% 11 รายได้เงินประกันสังคม 40 % 142,749 0.1% 12 รายได้โครงการผ่าตัดต้อกระจกเคลื่อนที่ 224,900 13 รับเงินค่าจ้างชั่วคราวคืน 26,392 14 รับเงินค่าตรวจสุขภาพ สสอ. พาน 43,550 รวมรายรับ 97,289,971.48 100.0%
3
ร้อยละของต้นทุนค่าแรงปี 2546-2551 รพ. สูงเนิน นครราชสีมา
4
ผลกระทบด้านบวกของนโยบาย
เจ้าหน้าที่/ผู้ปฏิบัติงานมีความกระตือรือล้นในการทำงานเพิ่มขึ้น มีการเก็บข้อมูลผลการปฏิบัติงาน ซึ่งช่วยสะท้อนกลับการประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองและฝ่ายต่างๆ เกิดขวัญกำลังใจและแรงจูงใจระดับหนึ่ง ผู้ปฏิบัติงานและลูกจ้าง/คนงาน ซึ่งเดิมอาจมีภาระงานค่อนข้างมากและไม่ได้รับค่าตอบแทนพิเศษอื่นใดเพิ่มเติม ฝ่ายบริหารงานทั่วไปและลูกจ้างคนงาน ในส่วนของรพ. สูงเนิน มีแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ เนื่องจากมีระบบ quality point
5
ผลกระทบด้านบวกของนโยบาย P4P ของ รพ.พานและสูงเนิน
ทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม มีน้ำใจช่วยเหลือกันมากขึ้น สามารถทำงานแทนกันได้มากขึ้น พฤติกรรมการให้บริการของผู้ปฏิบัติงานและเจ้าหน้าที่ดีขึ้น สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างหัวหน้าฝ่าย/หัวหน้างาน กับลูกน้องในฝ่ายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากถูกกำหนดให้ต้องมีการประชุมแบบ small talk ทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง หัวหน้างาน/ฝ่าย สามารถบริหารจัดการและกระจายงานได้มากขึ้น เกิดความร่วมมือระหว่างสหวิชาชีพและสนับสนุนบรรยากาศการทำงานในลักษณะครอบครัวเดียวกัน
6
ผลกระทบด้านลบของนโยบาย
มีความรู้สึกไม่ชัดเจน / ไม่เป็นธรรม ในการกำหนดค่า point ภายในฝ่ายหรือในถ้วยของตนเอง ภาระเรื่องการเก็บข้อมูลของแต่ละบุคคลและการลงข้อมูลของฝ่าย/กลุ่มงาน โดยเฉพาะฝ่ายที่มีลูกจ้าง / คนงาน จำนวนเงินยังไม่สูงมากพอให้เกิดแรงจูงใจ ในขณะที่มีภาระงานเพิ่มมากขึ้นจากการเก็บข้อมูล (รพ. สูงเนิน) การหักคะแนนของคนขาดงานเกิน 15 วันเข้ากองกลาง อาจก่อให้เกิดทัศนคติเชิงลบต่อองค์กรในกลุ่มที่ไม่เข้าใจในนโยบาย ไม่มีส่วนร่วม และไม่ได้รับการสื่อสาร / ให้ข้อมูล
7
ความแตกต่างของระบบ work point ระหว่าง รพ. พาน และ รพ. สูงเนิน
วงเงินที่ต่างกันระหว่าง 2 โรงพยาบาล ระบบถ้วยของกลุ่มงานและฝ่ายของ รพ.สูงเนิน มี quality point เพื่อสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพ การสื่อสารและประชุมอย่างสม่ำเสมอระหว่างกรรมการแกนนำ มีการตอบสนองต่อปัญหาและข้อคำถามของผู้ปฏิบัติงาน
8
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
ปรับปรุงการคำนวณค่า point ในบางกิจกรรมให้มีความชัดเจน และสร้างความยอมรับกับผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับ ปรับปรุงและพัฒนาระบบการตรวจสอบ พิจารณาเพิ่มวงเงินให้เกิดการสร้างแรงจูงใจ พิจารณาการใช้ระบบ IT มาใช้ในการเก็บข้อมูล ทบทวนวิธีการดำเนินงานบางอย่าง เช่น การหักคะแนนของคนขาดงานเข้ากองกลางในบางกลุ่มงาน การเชื่อมโยงระบบ point system และตัวชี้วัดเข้ากับ vision and mission ของโรงพยาบาล
9
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ (1)
ปัจจัยด้านบุคคล ความชัดเจนและการสนับสนุนด้านนโยบายของผู้อำนวยการ การได้รับการยอมรับและความเป็นกลางของคณะกรรมการแกนนำ ความเข้มแข็งของหัวหน้าฝ่าย / หัวหน้างานในการคิดค้นงาน และ convince คณะกรรมการแกนนำเพื่อขยาย ปัจจัยด้านการเงิน มีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง
10
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ (2)
ปัจจัยเชิงระบบ มีระบบการคิดคะแนนที่สามารถอธิบายได้และผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ยอมรับ มีระบบการสื่อสารทั้งในแนวราบและแนวดิ่งอย่างสม่ำเสมอ วัฒนธรรมองค์กรที่มีลักษณะเป็นครอบครัวเดียวกัน ปัจจัยภายนอก Policy ในระดับประเทศและการสนับสนุนจากส่วนกลาง
11
ข้อเสนอแนะเพื่อการคิดคะแนน 5 มิติ
Activities Time spent Difficulties Risk กับผู้ป่วย Risk ของผู้ปฏิบัติงาน professionals A B C D E อาจให้คะแนน 1-5 ในแต่ละมิติ แล้วหาค่าคะแนนเฉลี่ย
12
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากคณะผู้วิจัย
มีการประชุมทีมแกนนำ (core group) อย่างสม่ำเสมอ มีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางที่สุด ต้องมีการถ่วงดุลระหว่าง feasibility & accuracy ของการเก็บข้อมูล - อย่าขี่ช้างจับตั๊กแตน - ต้อง simplify แต่อยู่ในระดับที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ มีระบบการสนับสนุนจากส่วนกลาง และมีการสรุปบทเรียนเพื่อพัฒนานโยบายดังกล่าว โดยเฉพาะเมื่อ ตุลาคม 2553
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.