ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยShalisa Nut ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
โครงการวิจัยเรื่องความอยู่ดีมีสุขของประชากร ในประเทศกำลังพัฒนา
มหาวิทยาลัยของนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่มกับ มหาวิทยาลัย Bath สหราชอาณาจักร
2
โครงการ WeD วิจัยพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องความอยู่ดีมีสุข
เน้นการสร้างทฤษฎี เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ในเรื่อง การพิ่มขึ้นของความมั่งคั่ง (Material Wealth) และความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์ มุ่งที่จะเปรียบเทียบความอยู่ดีมีสุขข้ามวัฒนธรรม ในประเทศไทย มีพื้นที่วิจัยสองแห่ง คือภาคอีสานกับภาคใต้ มีพื้นที่เป้าหมาย 7 ชุมชน
3
ความสุขและความอยู่ดีมีสุข
ในแนวคิดของโครงการ WeD ความสุขและความอยู่ดีมีสุข มีความหมายแตกต่างกัน ความสุขหมายถึง สภาวะทางจิตของปัจเจก โดยเฉพาะความพึงพอใจของปัจเจก ต่อสภาพของการดำเนินชีวิต ความอยู่ดีมีสุข มีความหมายรวมถึง อัตวิสัย และภาวะวิสัย หรือหมายถึงการประเมินสภาวะการดำรงชิวิตของปัจเจก (อัตตวิสัย) และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่รอบล้อมตัวปัจเจก
4
โครงการ WeD ทำอะไร สำรวจทรัพยากรและความจำเป็น ในพื้นที่เป้าหมาย RANQ
การสำรวจคุณภาพชีวิต (อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล) การวิจัยกระบวนการ (อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล) การวิจัยรายประเด็น (อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล) – วิถียังชีพ, การกระทำร่วม และสุขภาพ
5
ประเด็นที่พบ - การวิเคราะห์เบื้องต้น
คนในชุมชนเป้าหมายประเมินว่า ตนเองมีความสุขพอสมควร (ปานกลาง) (อยู่ระหว่างร้อยละ 62 – 71) แต่มีจำนวนมากประเมินว่า ตนเองไม่ค่อยมีความสุข (ร้อยละ ) มีเพียงไม่เกินร้อยละ 6 ที่มองว่าตนเองมีความสุขมาก คนในชุมชนมองว่า ครัวเรือนตนเองมีความไม่เพียงพอ ในเรื่องของการศึกษามากที่สุด (ร้อยละ 72) รองลงมาได้แก่ด้านรายได้ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการรักษาพยาบาล และด้านการบริโภคอาหาร
6
ประเด็นที่พบ - การวิเคราะห์เบื้องต้น
ความผาสุขโดยรวมของคนในชุมชน มีความสัมพันธ์กับ ความเพียงพอในรเองการได้รับบริการสุขภาพ ความเพียงพอในเรื่องอาหาร และความเพียงพอในเรื่องรายได้ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับด้าการศึกษา และที่อยู่อาศัย ความผาสุขโดยรวม ไม่มีความสัมพันธ์กับชั้นฐานะของคน (wealth index) แต่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ชั้นฐานะของตน (subjective evaluation)
7
สิ่งที่ท้าทาย - ที่จะทำต่อ
การวิเคราะห์จะมุ่งเน้นประเด็นที่ว่า ทรัพยากรทางสังคมและวัฒนธรรม เกี่ยวข้องอย่างไรกับความอยู่ดีมีสุข ควรจะมี policy dialogue การวิจัยควรจะลงไปเน้นที่ “กระบวนการ” อย่างช่น ชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น หรือ agents อื่น ๆ จะต้องทำอะไร เพื่อให้บรรลุความอยู่ดีมีสุข – ตัวชี้วัด ต้องเน้นที่ตัวชี้วัดเชิงกระบวนการ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.