ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยMae-noi Keacham ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
งานวิจัยทางคลินิก เรื่อง : ความน่าเชื่อถือของระดับ Serum PSA ในการตรวจหา มะเร็งต่อมลูกหมากเปรียบเทียบกับผลการตรวจชิ้นเนื้อ ต่อมลูกหมาก ( PROSTATE BIOPSY)
2
หลักการและเหตุผล มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 9 ในผู้ป่วยชายไทย (จากงานสถิติสถาบันมะเร็งแห่งชาติปี 2539) มะเร็งต่อมลูกหมากพบมากเป็นอันดับ 1 และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของผู้ป่วยชายที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั้งหมดในสหรัฐอมริกา (สถิติปี ค.ศ. 1997) ในโรงพยาบาลพุทธชินราชมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเข้ารับการตรวจรักษาเป็นจำนวนมาก (ประมาณ 517 ราย ในปี ปัจจุบัน พฤศจิกายน 2545)
3
หลักการและเหตุผล การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก อาศัยการวัดระดับ serum PSA เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจทำ Prostate biopsy โดยจะทำการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากก็ต่อเมื่อ : DRE ไม่บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งแต่มีระดับ serum PSA >10 ng/ml DRE บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งและมีระดับ serum PSA ตั้งแต่ 4 ng/ml ขึ้นไป
4
วัตถุประสงค์ เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้ระดับ serum PSA มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาทำการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
5
ผลที่คาดว่าจะได้รับ แนวทางที่เหมาะสมที่ใช้ช่วยพิจารณาวิธีการและขั้นตอนในการตรวจหาข้อมูลที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
6
คำถามวิจัย คำถามหลัก : ระดับ Serum PSA สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาทำการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก (prostate biopsy) ในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้หรือไม่ คำถามรอง Digital Rectal Examination (DRE) ที่ไม่บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและระดับ Serum PSA > 10 ng/ml พบเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเท่าใด Digital Rectal Examination (DRE) ที่บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมีระดับ Serum PSA ตั้งแต่ 4 ng/ml ขึ้นไปพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเท่าใด
7
วิธีการดำเนินการวิจัย
รูปแบบการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณาแบบย้อนหลัง ระยะเวลา : 1 กุมภาพันธ์ 2544 – 31 ตุลาคม 2545 กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยในโรงพยาบาลพุทธชินราชที่ได้รับการตรวจระดับ serum PSA ร่วมกับการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก จำนวน 43 ราย
8
วิธีการดำเนินการวิจัย
เครื่องมือการวิจัย : เวชระเบียนของผู้ป่วย ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ผลการตรวจ Digital Rectal Examination ผลการตรวจระดับ Serum PSA ผลการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก สถิติการวิจัย : ใช้สถิติเชิงพรรณาโดยคิดเป็นร้อยละและหาความสัมพันธ์โดยใช้ Odds ratio และ95% Confident interval
9
ผลการศึกษา ตารางที่ 1 : ผลการตรวจ Digital Rectal Examination
DRE Prostate Biopsy Suggested CA Not suggested CA Malignancy 13 8 Non malignancy 12 10 Sensitivity = 61.90% Specificity = 45.45%
10
ผลการศึกษา ตารางที่ 2 : Serum PSA levelที่ตรวจวัดในโรงพยาบาลพุทธชินราชตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 – 31 ตุลาคม 2545 Serum PSA (ng/ml) จำนวน (ราย) ร้อยละ <4 558 72.00 4 – 10 99 12.77 >10 118 15.23 รวม 775 100 หมายเหตุ : Serum PSA level ที่เป็นผู้ป่วยของ ร.พ.พุทธชินราชมีจำนวน ทั้งสิ้น 513ราย แต่ที่มีผลการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากและผล DRE มีจำนวน 43 ราย
11
ผลการศึกษา ตารางที่ 3 : Not suggested CA Prostate DRE Serum PSA
( ng/ml ) Prostate biopsy Odds ratio 95% confident interval Malignancy Non malignancy จำนวน (ราย) ร้อยละ <4 1 20.00 4 80.00 1.00 - 4-10 25.00 3 75.00 1.33 >10 6 66.67 33.33 8.00 รวม 8 44.45 10 55.55
12
ผลการศึกษา ตารางที่ 4 : Suggested CA Prostate DRE Serum PSA ( ng/ml )
Prostate biopsy Odds ratio 95% confident interval Malignancy Non malignancy จำนวน (ราย) ร้อยละ <4 1 33.33 2 66.67 1.00 - 4 - 10 20.00 4 80.00 0.50 >10 11 64.71 6 35.29 3.67 รวม 13 52.00 12 48.00
13
สรุป ในกรณีที่ Digital Rectal Examination (DRE) ไม่บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและระดับ Serum PSA > 10 ng/ml พบว่ามีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจทำการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก ในกรณีที่ Digital Rectal Examination (DRE) บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและร่วมกับระดับ Serum PSA ตั้งแต่ 4 ng/ml ขึ้นไปพบว่าไม่เหมาะที่จะใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจทำการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.