งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการพัฒนาดัชนีการเกษียณอายุข้าราชการและพนักงานของรัฐ: รายงานเบื้องต้น โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการพัฒนาดัชนีการเกษียณอายุข้าราชการและพนักงานของรัฐ: รายงานเบื้องต้น โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการพัฒนาดัชนีการเกษียณอายุข้าราชการและพนักงานของรัฐ: รายงานเบื้องต้น
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2 หลักการและเหตุผล สังคมไทยกำลังเข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงวัย”
จำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้น ทำให้ “อัตราการพึ่งพิง” (dependency ratio) เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับสภาพที่กำลังเกิดขึ้น จึงควรมีการศึกษาเกี่ยวกับดัชนีการเกษียณอายุ นอกจากนี้ ผู้สูงวัยในปัจจุบันยังสามารถทำงานได้ล่วงเลยอายุที่เคยกำหนดให้เป็นอายุเกษียณแต่เดิม

3 การศึกษาในรอบสองเดือน
โครงการได้ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการพัฒนาดัชนีการเกษียณอายุจากแหล่งต่างๆ กำลังจัดเตรียมการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น และนำเสนอผลการศึกษาเพื่อขอความแนะนำ ฯลฯ เพื่อสรุปเป็นแนวนโยบายและผลการศึกษา ในเดือนธันวาคมนี้

4 รายงานของ Cato Institute
ในปี ค.ศ วุฒิสภาของสหรัฐฯได้มอบหมายให้สถาบัน Cato ทำการศึกษาเกี่ยวกับการกำหนดอายุเกษียณตายตัว (mandatory retirement age) ผลการศึกษาพบว่า รัฐบาลควรค่อยยกเลิกการกำหนดอายุเกษียณดังกล่าว และให้การว่าจ้างข้าราชการเป็นไปตามสัญญาจ้าง

5 หากข้าราชการยังสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพดี ก็ควรจะจ้างต่อไป
แต่ก็มีมาตรการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ข้าราชการสามารถเลือกตัดสินใจได้เองว่า เมื่อใดควรจะเกษียณอายุตนเอง

6 การบังคับอายุเกษียณ ในอดีตการกำหนดอายุเกษียณตายตัวมีความจำเป็น เนื่องจากพัฒนาการทางสาธารณสุขยังไม่ดีเพียงพอ ทำให้คนอายุตั้งแต่หกสิบปีขึ้นไป ไม่สามารถทำงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป แต่ปัจจุบันไม่เป็นอย่างนั้นอีกแล้ว นอกจากนี้ ปัจจุบันก็ยังมีเครื่องมือช่วยเหลือต่างๆ เช่นเทคโนโลยี ฯลฯ ที่ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างดี แม้อายุจะมากขึ้น

7 นอกจากนี้ การที่เด็กเกิดใหม่น้อยลง ก็ทำให้การหาบุคลากรมาทดแทนผู้ที่เกษียณอายุออกไปทำได้ยากขึ้น
ในสหรัฐฯมีกฎหมายห้ามการเลือกปฏิบัติด้วยอายุ (Anti-age Discrimination) ซึ่งหมายความว่า ห้ามมิให้นายจ้างเลิกการจ้าง หรือไม่รับพนักงานเข้าทำงาน ด้วยเหตุเรื่องอายุเท่านั้น กฎหมายนี้ทำให้การกำหนดอายุเกษียณตายตัวไม่จำเป็นนัก เพราะบริษัทจำเป็นต้องมี package เพื่อจูงใจให้พนักงานเกษียณอายุ

8 ข้อควรระวัง อย่างไรก็ตาม รายงานนี้ก็ได้เตือนไว้ว่า การยกเลิกการกำหนดอายุเกษียณตายตัวไปเลยในทันที อาจก่อให้เกิดผลเสีย ตัวอย่างได้แก่มหาวิทยาลัยต่างๆในสหรัฐฯ ที่ได้ยกเลิกอายุเกษียณไปในทันที ทำให้คณาจารย์อยู่กันจนอายุมากๆ เกิดปัญหาแรงงานไม่หมุนเวียน และตลาดแรงงานอาจารย์หดตัวลงอย่างมาก สิ่งสำคัญก็คือ ในสายตาของผู้รายงาน อาจารย์มหาวิยาลัยไม่มีการประเมินผลงาน ทำให้อยู่ไปได้เรื่อยๆโดยไม่จำเป็นต้องทำอะไรมาก ซึ่งทำให้เกิดผลเสียแก่หน่วยงานโดยรวม

9 ข้อเสนอ ผู้รายงานได้เสนอว่า ควรค่อยๆยกเลิกการกำหนดอายุเกษียณเป็นระยะๆ แทนที่จะยกเลิกไปเลย และมีมาตรการทดแทนที่เหมาะสม ได้แก่ package เกี่ยวกับการจูงใจให้เกษียณตนเอง

10 ทางเลือกสำหรับประเทศไทย
ในอนาคต ประเทศไทยอาจตัดสินใจยกเลิกการกำหนดอายุเกษียณตายตัว โดยอาจค่อยๆทำไปเช่นเดียวกับที่รายงานนี้เสนอ ก่อนถึงเวลานั้น ก็อาจมีการกำหนดดัชนีการเกษียณอายุ โดยพิจารณาถึงลักษณะของสาขาอาชีพต่างๆของข้าราชการและพนักงานของรัฐ ซึ่งโครงการนี้จะพัฒนาต่อไป


ดาวน์โหลด ppt โครงการพัฒนาดัชนีการเกษียณอายุข้าราชการและพนักงานของรัฐ: รายงานเบื้องต้น โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google