ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยChaovalit Punyawong ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ด.ช.ประธาน โสมาสี ม.3/1 เลขที่06 เสนอ คุณครู ทัศนีย์ ไชยเจริญ
เด็กปลอด ด.ช.ประธาน โสมาสี ม.3/1 เลขที่06 เสนอ คุณครู ทัศนีย์ ไชยเจริญ
2
ปัญหาทางสังคม เด็กในชุมชนในสมัยนี้ชอบสูบบุหรี่ ติดเกมส์ ดื่มสุรา ค้ายา
3
โทษต่อครอบครัว ขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัวและญาติพี่น้อง
เสียทรัพย์ที่จะต้องซื้อยามาเสพ และรักษาตัว ขาดหลักประกันของครอบครัว ทำงานไม่ได้ ไม่เป็นที่วางใจ ของคนทั่วไป นำความหายนะมาสู่บุตร ภรรยา ญาติพี่น้อง
4
โทษต่อร่างกายและจิตใจ
ทำลายประสาทสมอง จิตใจเสื่อม ซึมเศร้า กังวล เลื่อนลอย และเป็นโรคจิตจากพิษยานั้นๆ เสียบุคลิกภาพ ขาดความสนใจตนเอง ขาดสติสัมปชัญญะ ร่างกายซูบซีด อ่อนเพลีย พิษยาทำลายอวัยวะต่างๆให้เสื่อมลง มีโรคแทรกได้ง่าย ประสบอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะการควบคุมทางกล้ามเนื้อและระบบประสาทบกพร่อง
5
โทษต่อสังคม ไร้เกียรติและเป็นภาระต่อสังคม
ทำลายชื่อเสียงตนเองและวงศ์ตระกูล มีโอกาสเป็นอาชญากรประเภทลักขโมยได้ง่ายเนื่องจากมีรายจ่ายสูง
6
โทษต่อส่วนรวมและประเทศชาติ
เป็นภาระและภัยอันตรายต่อผู้อื่น ชุมชนและประเทศชาติ เพิ่มงบประมาณของประเทศในการป้องกันปราบปรามและบำบัดรักษา ถ่วงความเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
7
แนวทางการแก้ไข 1. มุ่งพัฒนาตัวบุคคล คือ การดำเนินงานป้องกันปัญหายาเสพติดต้องให้ความสำคัญกับการสร้างศักยภาพ และคุณภาพชีวิตของคน เพื่อให้ความสามารถในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพภายใต้แวดล้อมทางสังคม ควรเริ่มต้นจากการเตรียมความพร้อมของพ่อแม่ก่อน คือการเลี้ยงดู การให้การศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต นับเป็นกระบวนการที่สร้างคนให้มีคุณภาพชีวิต 2. กำหนดพื้นที่และกลุ่มประชากรเป้าหมายในการดำเนินงาน คือ การแก้ไขปัญหายาเสพติดมีทัพยากรที่จะดำเนินการค่อนข้างจำกัด ทั้งงบประมาณ และบุคลากร ดงนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย และประชากรเป้าหมายที่จะเข้าดำเนินการให้ชัดเจน
8
แนวทางการแก้ไข การแก้ไขเด็กติดยาเสพติด ต้องการกำลังใจจาก ผู้ปกครองและครูเป็นอย่างมาก ฉะนั้น ผู้ปกครองและครูจึงมีส่วนสำคัญในการช่วยเด็กของตนให้หายจากการติดยาเสพติดซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
9
วิธีการแก้ไข สร้างบรรยากาศในครอบครัวให้มีความสุข พ่อแม่ควรปรองดองกัน จะทำให้เด็ก มีความมั่นคงทางจิตใจ รู้สึกอบอุ่น พ่อแม่และครูต้องให้ความเป็นกันเองกับเด็ก จะทำให้เด็กแน่ใจว่าผู้ใหญ่พยายาม ที่จะเข้าใจเขาพร้อมที่จะช่วยเหลือเขาเด็กจะรู้สึกเป็นกันเองที่จะพูดคุยถึงปัญหา ของตนโดยไม่มีการซ่อนเร้นและควรพูดจาซักถามสาเหตุ เวลาที่เสพติดนานแค่ไหน อย่าประนามดุด่าเด็กและควรหาทางช่วยเหลืออย่างรีบด่วน อธิบายให้เด็กเข้าใจและรู้โทษตามกฎหมายที่จะได้รับจากการใช้ยาเสพติด ให้เด็กได้รู้โทษของยาเสพติด ร่วมมือกับครูประจำชั้นเพื่อหาทางแก้ไข เช่นจัดกลุ่มอภิปรายกับเด็กนักเรียน ถึงพิษภัยและโทษของยาเสพติด ครูที่สนใจปัญหาต่างๆเหล่านี้และรับฟังเด็กด้วยท่าทีที่เห็นใจ จะช่วยเด็กได้อย่างมาก
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.