งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การดำเนินโครงการวิจัยการป้องกันแก้ไขดินถล่มในพื้นที่สูงชัน : กรณีศึกษาบ้านหน้าถ้ำ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี วันที่ 7 พฤษภาคม 2556.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การดำเนินโครงการวิจัยการป้องกันแก้ไขดินถล่มในพื้นที่สูงชัน : กรณีศึกษาบ้านหน้าถ้ำ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี วันที่ 7 พฤษภาคม 2556."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การดำเนินโครงการวิจัยการป้องกันแก้ไขดินถล่มในพื้นที่สูงชัน : กรณีศึกษาบ้านหน้าถ้ำ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี วันที่ 7 พฤษภาคม 2556

2 งานวิจัย VS ชุมชน งานวิจัย ชาวบ้านได้อะไร? ที่จับต้องได้ !
งานวิจัย ชาวบ้านได้อะไร? ที่จับต้องได้ ! ชาวบ้านต้องการอะไร? สิ่งที่จำเป็นสูงสุดสำหรับชาวบ้าน (โครงการนี้) ชาวบ้านจะมีส่วนร่วมได้มากที่สุดได้อย่างไร? จะใช้โครงการสร้างคุณค่ากับชาวบ้านได้อย่างไร? เป็นชุดความรู้อะไร?

3 แนวทางการทำงานวิจัย ปัญหาทางกายภาพ ปัญหาทางสังคมและโครงสร้างพื้นฐาน
ฟื้นฟูได้ทั้งยามวิกฤตและ ป้องกันภัยพิบัติ วิศวกรรม พืช หญ้าแฝก ปัญหาทางสังคมและโครงสร้างพื้นฐาน พืช ผัก ยามวิกฤต (ได้นิเวศด้วย) พื้นที่ผิดกฎหมาย “คนอยู่ ป่ายัง” มติคณะรัฐมนตรีขอบเขตที่ทำกินของ ชุมชน การถือครองที่ดิน การใช้พื้นที่การเกษตรอย่างเหมาะสม แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละราย

4 กิจกรรมดำเนินโครงการศึกษาวิจัย “การป้องกันแก้ไขปัญหาในที่สูงชัน: บ้านหน้าถ้ำ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี การศึกษาข้อมูลบริบทชุมชน เพื่อจัดทำฐานข้อมูลในการเฝ้าระวังและป้องกันภัยพิบัติ การสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมกับชาวบ้าน พร้อมทำแผนที่พื้นที่จุดเสี่ยงดินถล่ม เส้นทางน้ำ เส้นทางอพยพที่ปลอดภัย ฯลฯ จัดทำแบบสัมภาษณ์ข้อมูลของสมาชิกในชุมชนเป็นรายครัวเรือน จัดทำโฉนดชุมชนเพื่อกำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ให้ชัดเจน และแก้ไข ปัญหาในพื้นที่สูงชัน การทดลองและประยุกต์รูปแบบการป้องกันดินถล่มในพื้นที่ การฟื้นฟู สาธิตในพื้นที่เกิดผลกระทบจากดินโคลนถล่ม เช่น ตลิ่ง คลอง สวนยางพารา โดยการปลูกพืชผสมผสาน (หญ้าแฝกร่วมกับพันธุ์ไม้ท้องถิ่น) การฟื้นฟูพื้นที่เกิดดินถล่มโดยวิธีการทางวิศวกรรม - การใช้กล่องหิน ระบบระบายน้ำใต้ดิน/ผิวดิน - การใช้กระสอบป่าน/กระสอบมีปีก - การใช้ผ้าห่มดิน/หมอนกันดิน - การใช้โครงสร้างท่อนไม้ อุปกรณ์/เครื่องมือ การศึกษาข้อมูลการฟื้นตัวและการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศภายหลังดินถล่ม การวัดรากต้นไม้ การสำรวจการฟื้นตัวของต้นไม้หลังเกิดภัยพิบัติและการสำรวจความเปลี่ยนแปลงของระบบ นิเวศ เช่น สายน้ำ พันธุ์ปลา พันธุ์สัตว์ ฯลฯ คัดเลือกพื้นที่เพื่อทดลองฟื้นฟูระบบนิเวศโดยวิธีทางธรรมชาติ

5 ตัวอย่างโฉนดชุมชน ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
แผนที่ขอบเขตการถือครองของชุมชน มติคณะรัฐมนตรี (30 มิ.ย. 2541) เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่สูงชันและมีเงื่อนไขประกอบ เช่น ห้ามขาย หากขายยึดคืนได้ นำเสนอแนวคิด พื้นที่+สังคม : มีความรู้ในการอนุรักษ์และป้องกันภัยพิบัติ เช่น วนเกษตร นิเวศ และโครงสร้างพื้นฐาน ให้มูลนิธิชัยพัฒนา ไม่บุกรุกอีกต่อไป ทีมชุมชนนำเสนอและความต้องการ

6 ตัวอย่างการทดลองและประยุกต์รูปแบบการป้องกันดินถล่มในพื้นที่
ปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่มีระบบรากยึดเกาะดินทั้งแนวนอนและแนวดิ่ง รวมทั้งพืชคลุมดิน จำปาดะ เหรียง ไทร เต่ารั้ง ไม้ปักชำ หญ้าแฝก หญ้าโตเร็ว และพืชตระกูลถั่ว เช่น หญ้ารูซี่ แนวทางการแก้ไขและฟื้นฟู : พื้นที่บ้านหน้าถ้ำบริเวณถนนทางเข้า ถนน ระบบรากพืชแนวนอนและแนวดิ่ง อุปกรณ์/เครื่องมือ การปลูกพืชร่วมยาง ระบบระบายน้ำใต้ดิน/ผิวดิน การใช้ผ้าห่มดิน/หมอนกันดิน การใช้กระสอบป่าน/กระสอบมีปีก การใช้โครงสร้างท่อนไม้ การใช้กล่องหิน

7 การวิจัยดินถล่มของมูลนิธิชัยพัฒนา วิทยากรชุมชน / หลักสูตรท้องถิ่น
งานวิจัยและจัดการองค์ความรู้ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาการแก้ไขปัญหาดินโคลนถล่มบนที่สูงชันตามแนวพระราชดำริ ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนาและหน่วยงานต่าง ๆ กลุ่มบริหารความปลอดภัย กลุ่มอนุรักษ์ ดิน ป่า และพืช กลุ่มวิศวกรรมและธรณีวิทยา กลุ่มสารสนเทศและคำนวณวิเคราะห์ กลุ่มบริหารโครงการฯ 1 2 3 4 5 6 หน่วยงาน/ สถาบันการศึกษา การวิจัยดินถล่มของมูลนิธิชัยพัฒนา กลุ่มถ่ายทอดความรู้ พื้นที่ประสบภัยพิบัติ /อบต./ ชุมชน กลุ่มเครือข่าย โรงเรียน/ วัด หน่วยงานต่างๆ ที่ขอมา องค์ความรู้ วิทยากรชุมชน / หลักสูตรท้องถิ่น

8 หน่วยงานที่ดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหาดินถล่ม
มูลนิธิชัยพัฒนาได้เชิญหน่วยงานที่ดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหาดินถล่ม 15 หน่วยงาน ดังนี้ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงาน กปร. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กรมทรัพยากรธรณี สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทางหลวง กรมพัฒนาที่ดิน

9 ขอบเขตความรับผิดชอบของกลุ่มงานโครงการศึกษาวิจัยและ
พัฒนาการแก้ไขปัญหาดินถล่มบนที่สูงชันตามแนวพระราชดำริ กลุ่มดำเนินงานวิจัย 6 กลุ่ม โดยมี รศ.ดร.วรากร ไม้เรียง เป็นหัวหน้าคณะวิจัย กลุ่มที่ 1 กลุ่มบริหารโครงการและประสานงาน : นายอติชาต รักษะจิตร สำนักบริหารโครงการ มูลนิธิชัยพัฒนา ทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการโดยรวมให้การดำเนินงานไปได้ตามกำหนดเวลาและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อำนวยการและบริหารจัดการให้การศึกษาวิจัยดำเนินการตามวัตถุประสงค์ อนุมัติแผนการดำเนินการของกลุ่มย่อยและการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น ติดตามความคืบหน้าและแก้ไขปัญหาอุปสรรคในภาพรวมของการดำเนินการ ประสานงานในการประชุมและสรุปผลการดำเนินการ จัดรวบรวมผลการศึกษาวิจัยเพื่อการจัดทำเป็นรายงานรวมขั้นสุดท้าย ดำเนินการประสานกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องและมิได้ร่วมอยู่ในโครงการเพื่อขอความร่วมมือ หรือดำเนินการอื่นใดให้งานสำเร็จลุล่วง กลุ่มที่ 2 กลุ่มสารสนเทศและคำนวณวิเคราะห์ : ดร.สุรชัย รัตนเสริมพงศ์ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ทำหน้าที่ จัดหาแผนที่ในพื้นที่เป้าหมาย สร้างฐานข้อมูลดินถล่ม สร้างฐานข้อมูลและบรรณานุกรมพืช สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เชิงพื้นที่

10 ขอบเขตความรับผิดชอบของกลุ่มงานโครงการศึกษาวิจัยและ
พัฒนาการแก้ไขปัญหาดินถล่มบนที่สูงชันตามแนวพระราชดำริ กลุ่มที่ 3 กลุ่มวิศวกรรมและธรณีวิทยา : รศ.ดร.วรากร ไม้เรียง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำหน้าที่ ศึกษาปฐพีวิศวกรรมของดินไม่อิ่มตัว อิทธิพลของฝนและน้ำในดิน วิธีวิศวกรรมชีวภาพ (Bio-engineering) และการเสริมกำลังของรากไม้ การเสริมกำลังด้วยวิธีวิศวกรรม อิทธิพลของการก่อสร้างและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ธรณีวิทยาดินถล่ม หินต้นกำเนิดและการสลายตัวตามเวลา โคลนไหล แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อการเตือนภัย กลุ่มที่ 4 กลุ่มอนุรักษ์ดิน ป่าไม้ และพืช : ดร.วีระชัย ณ นคร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ลักษณะทางกายภาพ ทางชีววิทยาป่าไม้และพืชพรรณของลุ่มน้ำ การใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การพัฒนาลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้อง ชนิดและลักษณะของต้นไม้ที่อาจใช้ในการฟื้นฟูสภาพป่าและเสริมความแข็งแรงของลาดดิน ลำดับขั้นตอนของการดำเนินการฟื้นฟูสภาพธรรมชาติและพื้นที่ดินถล่ม ความหลากหลายทางชีวภาพที่ควรดำรงไว้ในพื้นที่เป้าหมาย

11 ขอบเขตความรับผิดชอบของกลุ่มงานโครงการศึกษาวิจัยและ
พัฒนาการแก้ไขปัญหาดินถล่มบนที่สูงชันตามแนวพระราชดำริ กลุ่มที่ 5 กลุ่มสังคมวิทยาและถ่ายทอดความรู้ : ดร.ส่งเกียรติ ทานสัมฤทธิ์ มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน ทำหน้าที่ ศึกษาวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ-สังคมของชุมชน รวบรวมประสบการณ์และความรู้ท้องถิ่น สร้างเครื่องมือการถ่ายทอดความรู้ สร้างกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ กลุ่มที่ 6 กลุ่มบริหารจัดการความปลอดภัย : นายไพฑูรย์ นาคแท้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อการเตือนภัย กระบวนการบริหารจัดการความปลอดภัยดินถล่มจากผลการศึกษาวิจัย การจัดแบ่งเขตพื้นที่ที่เหมาะสมและไม่เสี่ยงต่อภัยดินถล่ม การจัดการภัยที่คำนึงถึงภัยธรรมชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ การประสานงานกับหน่วยงานการปกครอง แผนงานความปลอดภัยในพื้นที่ การเตือนภัยและการซักซ้อมในการหนีภัย ความยั่งยืนในการดำรงอยู่ในพื้นที่

12 สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการประชุม
กิจกรรม แผนการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินงาน งบประมาณ การศึกษาข้อมูลบริบทชุมชนเพื่อจัดทำฐานข้อมูลในการเฝ้าระวังและป้องกันภัยพิบัติ การสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดิน - แผนที่พื้นที่จุดเสี่ยงดินถล่ม - เส้นทางอพยพที่ปลอดภัย - แบบสัมภาษณ์ข้อมูลสมาชิกในชุมชน 2. การทดลองและประยุกต์รูปแบบการป้องกันดินถล่มในพื้นที่ 3. การศึกษาข้อมูลการฟื้นตัวและการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศภายหลังดินถล่ม


ดาวน์โหลด ppt การดำเนินโครงการวิจัยการป้องกันแก้ไขดินถล่มในพื้นที่สูงชัน : กรณีศึกษาบ้านหน้าถ้ำ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี วันที่ 7 พฤษภาคม 2556.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google