ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โครงการส่งเสริมการมีบทบาทเชิงรุกของไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล หัวหน้าโครงการ โครงการส่งเสริมการมีบทบาทเชิงรุกของประเทศไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. การสัมมนา การเปิดเสรีทางการค้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT): โอกาสหรือฝันกลางอากาศ? โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ 8 ธันวาคม 2548
2
โครงร่างการนำเสนอ ที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ ขอบเขตของการศึกษา
แนวทางการศึกษา (research methodology) วัตถุประสงค์ของการสัมมนา
3
วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสถานะปัจจุบันและศักยภาพในการดำเนินการของประเทศไทยในด้านบริการโทรคมนาคม บริการส่งด่วนพิเศษ และด้านคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการดำเนินการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นปัจจุบันในทุกกรอบการเจรจา เพื่อให้มีนโยบายและแผนเจรจาเชิงรุกสำหรับสำหรับประเทศไทยในการดำเนินการความร่วมมือและการเจรจาในด้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างภาครัฐ เอกชน และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันกำหนดกลยุทธ์เชิงรุกสำหรับการเจรจา
4
ขอบเขตของการศึกษา ศึกษาสถานภาพปัจจุบันของประเทศไทย ในสาขาบริการโทรคมนาคม (Telecommunication services) บริการส่งด่วนพิเศษ (Express delivery services) และด้านคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง (Computer and related services) รวมถึงศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในส่วนที่เป็นจุดแข็งและจุดด้อยของประเทศไทย ศึกษาสถานภาพของการดำเนินการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทย รวมถึงศักยภาพของไทยในการดำเนินการเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จัดทำยุทธศาสตร์เชิงรุกสำหรับการดำเนินการของประเทศไทยในการเจรจาระหว่างประเทศเพื่อการเปิดเสรีด้านบริการโทรคมนาคม บริการส่งด่วนพิเศษ และด้านคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง การเปิดเสรีการค้าสินค้า การเจรจาด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และความเป็นหุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระดับมหภาค เพื่อให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำยุทธวิธีเจรจาในแต่ละเวทีเจรจา เสนอแนะแนวทางเพื่อการเตรียมพร้อมของประเทศไทยในการดำเนินการเกี่ยวกับการเจรจาด้านการเปิดเสรี ในสาขาดังกล่าว เสนอแนะแนวทางในการดำเนินการความร่วมมือเพื่อเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ
5
รายละเอียดสาขาที่ทำการศึกษา
บริการโทรคมนาคม โทรคมนาคมใช้สาย โทรคมนาคมไร้สาย การเข้าถึง/เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต บริการส่งด่วนพิเศษ คอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ บริการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเพลง อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมสื่อวิทยุและโทรทัศน์ อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมโฆษณา Digital Products
6
Desk Research/Interview
วิธีการศึกษา (1) สถานภาพและศักยภาพของการให้บริการรายสาขา ศึกษาโครงสร้างตลาดซึ่งสะท้อนภาพการแข่งขันในตลาดประเทศไทย และความยากง่ายในการเข้าสู่ตลาด บริการ โทรคมนาคม บริการ EDS คอมพิวเตอร์และบริการ E-Commerce ตลาดและการเข้าสู่ตลาด นิยาม/ ขอบเขตองค์ประกอบของการบริการ สินค้าและบริการ และต้นทุนการผลิต จำนวนผู้ประกอบการ รวบรวมข้อมูล กฏเกณฑ์/ กฎหมาย การกำกับดูแล Desk Research/Interview
7
Plus Desk Research/Interview/
วิธีการศึกษา (1) สถานภาพและศักยภาพของการให้บริการรายสาขา (ต่อ) - การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และความท้าทาย ของการให้บริการแยกรายสาขา บริการ โทรคมนาคม บริการ EDS คอมพิวเตอร์และบริการ E-Commerce Strength Focus Group Opportunity Threat Weakness Plus Desk Research/Interview/
8
วิธีการศึกษา (2) วิเคราะห์ข้อตกลง/ข้อผูกพันระหว่างประเทศ
วิธีการศึกษา (2) วิเคราะห์ข้อตกลง/ข้อผูกพันระหว่างประเทศ พหุภาคี ภูมิภาค ทวิภาคี …. WTO USA ASEAN GATS ITA ….. AFTA AFAS E-ASEAN Roadmap ….. Japan AUS …. ….
9
วิธีการศึกษา (ต่อ) (3) ประยุกต์แนวคิด และทฤษฎีในทางเศรษฐศาสตร์เพื่อเสนอแนวทางในการกำหนดบทบาทในเชิงรุก Gravity Model ระบุโอกาสทางการตลาด (Market Potential) และลักษณะของตลาดที่เหมาะสมต่อ “การรุก” การประยุกต์ใช้ model ในการจัดทำยุทธศาสตร์เชิงรุก
10
วิธีการศึกษา (ต่อ) (4) วิเคราะห์ความร่วมมือเพื่อเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การอภิบาลกิจการอินเทอร์เน็ต (Internet Governance) ประเด็นต่อเนื่องจากการประชุมสุดยอดสังคมสารสนเทศ (World Summit on Information Society) ประเด็นสำคัญ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการทรัพยากรอินเทอร์เน็ต ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต ประเด็นเรื่องรูปแบบการอภิบาลกิจการอินเทอร์เน็ตนานาชาติ
11
วิธีการศึกษา (ต่อ) (4) วิเคราะห์ความร่วมมือเพื่อเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ต่อ) ทรัพย์สินทางปัญญา ความสำคัญของ IPR ต่อ Digital Trade Issues สถานะปัจจุบันของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาไทย ข้อตกลงหรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้าน IPR ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
12
(5) ประมวลและสังเคราะห์ข้อมูลจากแนวทางการศึกษาข้อ 1-4 เพื่อจัดทำ
วิธีการศึกษา (ต่อ) (5) ประมวลและสังเคราะห์ข้อมูลจากแนวทางการศึกษาข้อ 1-4 เพื่อจัดทำ ร่างยุทธศาสตร์ทางด้านการเจรจาระหว่างประเทศเชิงรุกทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อเสนอแนะในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเจรจา
13
ความก้าวหน้าของการศึกษา
ทำการศึกษาโครงสร้างตลาดรายสาขาย่อย และ identify ประเด็น เช่น Key players ลักษณะการแข่งขัน ความยากง่ายในการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการใหม่ จัดระดมสมองกลุ่มย่อย 10 ครั้ง วิเคราะห์ข้อผูกพันเบื้องต้น การ run แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์
14
การสัมมนาการเปิดเสรีทางการค้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT): โอกาสหรือฝันกลางอากาศ?
เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้น (preliminary study) เกี่ยวกับโอกาสทางการค้าและความสามารถในการแข่งขัน ของผู้ประกอบการไทย ในบริบทของการเปิดเสรีทางการค้าด้าน ICT ให้แก่ผู้ให้บริการ 4 สาขา (บริการโทรคมนาคม บริการส่งด่วนพิเศษ คอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) หน่วยงานภาครัฐและภาควิชาการที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบและพิจารณาให้ข้อคิดเห็นต่อผลการศึกษาดังกล่าว เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของผู้ประกอบการไทยที่จะทำการค้า “เชิงรุก” ในประเทศที่ตลาดมีศักยภาพในการเติบโต เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ถึงอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของประเทศคู่ค้าที่มีศักยภาพ ทั้งอุปสรรคอันเกิดจากความไม่พร้อมของผู้ประกอบการไทย และอุปสรรคอันเกิดจากนโยบาย มาตรการ ฯลฯ อันเป็นการกีดกันทางการค้าของประเทศคู่ค้า
15
รูปแบบการสัมมนา แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 ช่วงที่ 2
นำเสนอการศึกษาในภาพรวม การนำเสนอประเด็นสำคัญทางด้านการเปิดเสรี การนำเสนอผลการศึกษาจากแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ การให้ความเห็น/ข้อแนะนำต่อผลการศึกษาเบื้องต้น โดยผู้เข้าร่วมสัมมนา ช่วงที่ 2 ระดมสมองกลุ่มย่อย เพื่อให้ความเห็นต่อความเป็นไปได้ในการรุกตลาดที่มี Market Potential บนพื้นฐานของความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย ซึ่งพิจารณาจาก SWOT Analysis ให้ความเห็นเพิ่มเติมต่อ SWOT Analysis
16
รายนามคณะวิจัย นายดิเรก เจริญผล ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเทคโนโลยี และการเจรจาระหว่างประเทศ ดร. สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข ที่ปรึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ และการค้าระหว่างประเทศ นายสมชัย เรี่ยวพานิชกุล ที่ปรึกษาด้านบริการส่งด่วนพิเศษ ดร.กำธร ไวทยกุล ที่ปรึกษาด้านบริการโทรคมนาคม ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีและนโยบาย ดร.ชฏามาศ ธุวะเศรษฐกุล หัวหน้าโครงการ ดร.กษิติธร ภูภราดัย ผู้จัดการโครงการ/นักวิจัย ดร.เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู นักวิจัย นายภูมิศักดิ์ สมุทคุปต์ นักวิจัย นางสาวสุมาวสี ศาลาสุข นักวิจัย นางสาวปริญญา ชฏิลาลัย เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
17
ขอบคุณ Thank you for your attention.
Electronic * Computing * Telecommunication * Information NECTEC is the founder of ThaiSarn, Software Park, Internet Thailand, SchoolNet, ThaiCERT, PTEC, TMEC, HAII and GITS.
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.