ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การพัฒนาเศรษฐกิจ ความหมาย
การพัฒนาเศรษฐกิจ (economic development) หมายถึง การทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิต โครงสร้างทางสังคม ค่านิยม ทัศนคติ การศึกษา ระบบการปกครอง และการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ
2
ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ประเทศด้อยพัฒนาเป็นประเทศที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการปรับปรุง สภาพเศรษฐกิจและสังคมให้มีความเจริญทัดเทียมกับประเทศที่มีการพัฒนา ระดับสูงหรือประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่างๆพอสรุปได้ดังนี้ 1. ช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น 2. ทำให้ประเทศสามารถช่วยเหลือตนเองได้ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง 3. ช่วยเหลือเศรษฐกิจของโลก
3
ขอบเขตของการพัฒนาเศรษฐกิจจะประกอบไปด้วย
1. การทำให้รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 2. การทำให้มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น 3. การพัฒนาให้แต่ละภาคมีความเจริญเท่าเทียมกัน 4. การทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่าง มีเสถียรภาพ 5. การกระจายความมั่งคั่งของระบบเศรษฐกิจให้เท่าเทียมกัน 6. การลดความไม่เท่าเทียมในการกระจายรายได้ 7. การทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการมีเสถียรภาพ 8. การทำให้ดุลการชำระเงินมีเสถียรภาพ
4
ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ
1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ 1.1 การสะสมทุน 1.2 จำนวนประชากรและคุณภาพของประชากร 1.3 ทรัพยากรธรรมชาติ 1.4 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 2. ปัจจัยทางการเมือง 3. ปัจจัยทางสังคม
5
เกณฑ์ที่ใช้วัดระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง
ว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาหรือพัฒนาแล้วนั้น มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ คือ 1. รายได้ต่อบุคคล (Per Capita Income) ประเทศที่มีผลผลิตสูงย่อมมีรายได้ประชาชาติ มากและเป็นผลให้ มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลต่อปีสูงตามไปด้วย
6
2.การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในเกณฑ์สูง
2.1 โครงสร้างทางเศรษฐกิจเน้นด้านอุตสาหกรรมและมีความเจริญ ก้าวหน้าในอัตราสูง 2.2 การมีทุนขั้นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างเพียงพอ ได้แก่ การคมนาคม การสื่อสาร การชลประทาน การศึกษา การไฟฟ้า การพลังงาน ฯลฯ 2.3 ปัจจัยการผลิตมีประสิทธิภาพสูง ได้แก่ มีแรงงาน ทุน และการประกอบการผลิตที่ดี
7
3. มาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรอยู่ในเกณฑ์ดี
3.1 มีการพัฒนาอาชีพและรายได้มาก มีสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง การจัดรัฐสวัสดิการแก่ประชาชนกระจายอย่างกว้างขวาง ความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบทไม่เห็นชัดเจน
8
4.3 มีระเบียบวินัย ขยัน ประหยัด
4.คุณภาพของประชากรด้านการศึกษาและสาธารณสุข 4.1 มีระดับการศึกษาสูง 4.2 มีสุขภาพอนามัยดี 4.3 มีระเบียบวินัย ขยัน ประหยัด
9
วัตถุประสงค์ของการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
1. เพิ่มรายได้ประชาชาติและรายได้ที่แท้จริงของบุคคล 2. ยกระดับมาตรฐานการดำเนินชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้น 3. กระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง 4. กระจายรายได้สู่ประชาชนอย่างยุติธรรม 5. การจ้างงานเพิ่มอัตราสูง ปัญหาการว่างงานลดน้อยลง 6. การมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศมีดุลการค้า และดุลการชำระเงินที่อยู่ในสภาวะเกินดุลหรือขาดดุล น้อยลง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.