งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ มงคลสูตรคำฉันท์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ มงคลสูตรคำฉันท์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ มงคลสูตรคำฉันท์

2 ตัวชี้วัด วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น (ท ๕.๑ ม. ๔-๖/๑) วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของสังคมในอดีต (ท ๕.๑ ม. ๔-๖/๒) วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีและวรรณกรรมในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ (ท ๕.๑ ม. ๔-๖/๓) สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง (ท ๕.๑ ม. ๔-๖/๔) ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ และนำไปใช้อ้างอิง (ท ๕.๑ ม. ๔-๖/๖)

3 มงคลสูตรคำฉันท์ วรรณคดีศึกษา บทนำเรื่อง บทวิเคราะห์
แผนผังสาระการเรียนรู้ บทนำเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ วรรณคดีศึกษา บทวิเคราะห์

4 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์มงคลสูตรคำฉันท์ในพุทธศักราช ๒๔๖๖ โดยทรงแปลเนื้อความจากพระสูตรภาษาบาลีในพระไตรปิฎก ความยาว ๑๐ คาถา ลักษณะคำประพันธ์ประกอบไปด้วยอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ และกาพย์ฉบัง ๑๖ มงคลสูตรเป็นพระสูตรสำคัญ พระสงฆ์จะสวด บทมงคลสูตรนี้ขณะเจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้มาร่วมงาน

5 ตัวอย่าง อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

6 ตัวอย่าง คำครุ ลหุ ครุ ลหุ หมายถึง ลักษณะของเสียงคำหรือพยางค์ อย่างไรละครับนักเรียน  มีประโยชน์อย่างยิ่งในการแต่งคำประพันธ์ ประเภทฉันท์  เนื่องจากคำประพันธ์ประเภทฉันท์นั้นบังคับครุ  ลหุ ครุ  (อ่านว่า  คะ-รุ)  หมายถึง  เสียงหนัก    เป็นคำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกดก็ได้  หรือเป็นคำหรือพยางค์ที่มีเสียงตัวสะกดทุกมาตรา  (ได้แก่  แม่ กก  กด  กบ  กง  กน  กม  เกย  และเกอว)  เช่นคำว่า  ฟ้า  นั่ง  พริก  ไหม  พรม  นนท์  เชษฐ์  เป็นต้น ลหุ  (อ่านว่า  ละ-หุ)  หมายถึง  เสียงเบา    เป็นคำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นและไม่มีตัวสะกด  หรือเป็นคำหรือพยางค์ที่มีเสียงสระเสียงสั้น และ ไม่มีเสียงตัวสะกด  เช่นคำว่า  ณ  ธ  บ่  ก็  พิ  ผิ  ลุ  เจาะ  เหาะ  ทะ  เละ  แพะ  และ  เลอะ  เป็นต้น

7 ตัวอย่าง กาพย์ฉบัง ๑๖ กาพย์ฉบัง เป็นคำประพันธ์ประเภทกาพย์ บทหนึ่งมีเพียงหนึ่งบาท บาทละ 3 วรรค บังคับจำนวนคำ และ สัมผัส ไม่มีบังคับเอก-โท หรือครุ-ลหุ กาพย์ฉบังที่กวีนิยมใช้ในวรรณกรรมตั้งแต่โบราณคือ กาพย์ฉบัง ๑๖ ฉบังสิบหกควร ถ้อยคำสำนวน พึงเลือกให้เพราะเหมาะกัน วรรคหน้าวรรคหลังรำพัน วรรคหนึ่งพึงสรร ใส่หน้าละหกคำเทอญ วรรคสองต้องสี่คำเชิญ แต่งเสนาะเพราะเพลิน ใครได้สดับจับใจ

8 เนื้อเรื่องตามพระสูตรนั้นกล่าวถึงการโต้เถียงระหว่างเทวดา และมนุษย์ว่า สิ่งใดเป็นมงคล แต่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ มีเพียงพรหมชั้นสุธาวาสเท่านั้นที่ทราบ บรรดาพรหมชั้นดังกล่าวได้บอกให้ เหล่าเทวดาไปเฝ้าทูลถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่ง ทรงประทับ ณ มหาวิหารเชตะวันซึ่งท่านมหาเศรษฐี อนาถบิณฑิก สร้างถวาย เหล่าเทวดาเป็นอันมากได้มากราบทูลถามเรื่องมงคล พระพุทธองค์จึงทรงแสดงเหตุแห่งมงคลไว้ ๓๘ ประการ

9 มงคล ๓๘ ประการ ๑. ไม่คบคนพาล ๒. คบบัณฑิต
๑. ไม่คบคนพาล ๒. คบบัณฑิต ๓. บูชาผู้ที่ควรบูชา ๔. อยู่ในสถานที่อันสมควร ๕. สั่งสมบุญไว้ในกาลก่อน ๖. ตั้งตนไว้ชอบ ๗. เป็นพหูสูต สดับตรับให้มาก ๘. มีศิลปวิทยา ๙. มีระเบียบวินัย ๑๐. กล่าววาจาสุภาษิต ๑๑. บำรุงมารดาบิดา ๑๒. สงเคราะห์บุตร ๑๓. สงเคราะห์ภรรยา ๑๔. การงานไม่คั่งค้าง ๑๕. ให้ทาน ๑๖. ประพฤติธรรม ๑๗. สงเคราะห์ญาติ ๑๘. ประกอบอาชีพการงานไม่มีโทษ ๑๙. เว้นจากบาป ๒๐. สำรวมจากการดื่มน้ำเมา (งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา)

10 มงคล ๓๘ ประการ ๒๑. ไม่ประมาทในธรรม ๒๒. มีสัมมาคารวะ ความเคารพ
๒๑. ไม่ประมาทในธรรม ๒๒. มีสัมมาคารวะ ความเคารพ นอบน้อมถ่อมตน ๒๔. เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ๒๕. มีความกตัญญู ๒๖. ฟังธรรมตามกาล ๒๗. อดทน ๒๘. เป็นผู้สั่งสอนง่าย ๒๙. เห็นสมณะ ๓๐. สนทนาธรรมตามกาล ๓๑. ทำความเพียรเพื่อเผาผลาญกิเลส ๓๒. ประพฤติพรหมจรรย์ ๓๓. เห็นอริยสัจ ๔ ๓๔. ทำให้แจ้งพระนิพพาน ๓๕. จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ๓๖. จิตไม่เศร้าโศก ๓๗. จิตปราศจากธุลี ๓๘. จิตเกษม ปลอดโปร่งจากกิเลส

11 เหตุแห่งมงคลที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้จึงเป็นมงคลสูตร หรือหลักปฏิบัติเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต เทวดาและมนุษย์ผู้ปฏิบัติตามจะได้รับความเจริญ มงคลข้อแรก ๆ เป็นหลักปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเอง คนรอบข้าง และสังคม ส่วนมงคลข้อหลัง ๆ เป็นหลักการพัฒนาจิตเพื่อความหลุดพ้น เข้าสู่นิพพาน

12 ๑. คุณค่าด้านแนวคิด มงคลสูตรคำฉันท์มีคุณค่าที่ควรพิจารณา
การประพฤติดีปฏิบัติดีของตัวเราเองเป็นมงคลอันประเสริฐของชีวิต ความดีที่เรากระทำคือเหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ ดังคำประพันธ์ท้ายเรื่องว่า ๑. คุณค่าด้านแนวคิด เทวามนุษย์ทำ วรมงคลาฉะนี้ เป็นผู้ประเสริฐที่ บ่มิแพ้ ณ แห่งหน ย่อมถึงสวัสดี สิริทุกประการดล ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

13 กล่าวถึงมงคล ๓๘ ประการ อันเป็นมงคลสูงสุดที่ทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติ มีแต่ความสุขความเจริญ เช่น
๒. คุณค่าด้านเนื้อหา เคารพ ณ ผู้ควร จะประณตและนอบศีร์ อีกหนึ่งมิได้มี จะกระด้างและจองหอง ยินดี ณ ของตน บ่มิโลภทะยานปอง อีกรู้คุณาของ นรผู้ประคองตน ฟังธรรมะโดยกา- ละเจริญคุณานนท์ ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

14 ใช้ภาษาง่าย ๆ มาร้อยกรองอย่างประณีต ให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของภาษาบาลี โดยบาทสุดท้ายของทุกบทมีการซ้ำคำเพื่อเน้นความ เช่น ๓. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ความงดประพฤติบาป อกุศลบ่ให้มี สำรวมวรินทรีย์ และสุราบ่เมามล ความไม่ประมาทใน พหุธรรมะโกศล ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี


ดาวน์โหลด ppt หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ มงคลสูตรคำฉันท์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google