การเปลี่ยนแปลงทางบัญชี และการแก้ไขข้อผิดพลาด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเปลี่ยนแปลงทางบัญชี และการแก้ไขข้อผิดพลาด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเปลี่ยนแปลงทางบัญชี และการแก้ไขข้อผิดพลาด
อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร

2 ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางบัญชี
ในการทำบัญชีนั้น กิจการอาจจะเลือกใช้นโยบายการบัญชี หรือประมาณการทางบัญชีที่เหมาะสมกับกิจการโดยเปิดเผย ให้ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบมาหมายเหตุประกอบงบการเงิน และควรใช้ตลอดไปไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เป็นไปตามหลักความสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถนำงบการเงินงวดต่างๆมาเปรียบเทียบกันจะได้ทราบถึงแนวโน้มของฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและ กระแสเงินสดได้อย่างถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงทางบัญชีที่เกิดขึ้นแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ 1. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี (Changes in Accounting Policy) 2.การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี (Changes in Accounting Estimate) การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี หมายถึง การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปวิธีหนึ่งไปใช้วิธีการปฏิบัติทางบัญชีที่รับรองทั่วไปอีกวิธีหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี หมายถึง การเปลี่ยนแปลงประมาณการที่ได้ประมาณการไว้เดิมให้สอดคล้องเหมาะสมและใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการประมาณการได้เปลี่ยนแปลงไป ในการบันทึกบัญชีและจัดทำงบการเงินนั้น บางรายการนักบัญชีต้องใช้วิธีประมาณการเหตุการณ์ในอนาคต เพื่อช่วยในการรวบรวมรายการบัญชีให้ครบถ้วน เช่น การประมาณอายุการใช้งานและมูลค่าซากของสินทรัพย์ถาวรที่คิดค่าเสื่อมราคา การประมาณหนี้สงสัยจะสูญ เป็นต้น วิธีปฏิบัติทางบัญชีโดยทั่วไปกรณีมีการแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชีหรือการเปลี่ยนแปลงทางบัญชี 1. วิธีปรับย้อนหลัง 2. วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร

3 การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี
กิจการต้องใช้วิธีปรับย้อนหลัง หากในทางปฏิบัติกิจการไม่สามารถกำหนดจำนวนที่ต้องใช้ในการปรับย้อนหลังได้อย่างสมเหตุสมผล กิจการจึงสามารถใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป ตัวอย่าง ในปีx4 บริษัท อัญชลี จำกัด ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกต้นทุนการกู้ยืมในการก่อสร้างอาคาร ในปี x3 บริษัทรวมต้นทุนการกู้ยืม(สุทธิจากภาษีเงินได้) เป็นราคาทุนของสินทรัพย์ตามแนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชีต้นทุนการกู้ยืม บริษัทตัดสินใจเปลี่ยนวิธีการบันทึกต้นทุนดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายในปี x4 เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนดให้ถือปฏิบัติมาตรฐานการบัญชีดังกล่าว บริษัทได้รวมต้นทุนการกู้ยืมจำนวน 3,500,000 บาท และจำนวน 6,500,000 บาท ในระหว่างปีx3 และในช่วงก่อนปี x3 ตามลำดับ เป็นราคาทุนของอาคาร ในปี x3 บริษัทมีกำไรสะสมต้นงวด จำนวน 30,000,000 บาทและกำไรสะสมปลายงวด จำนวน 49,600,000 บาท อัตราภาษีเงินได้สำหรับปี x3 x4 เท่ากับ 30% ข้อมูลเกี่ยวกับผลดำเนินงานสำหรับปี x3 ของบริษัท อัญชลี จำกัด เป็นต้น กำไรจากการดำเนินงานตามปกติก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 28,000,000 บาท ดอกเบี้ยจ่าย บาท กำไรจากการดำเนินงานตามปกติก่อนภาษีเงินได้ 28,000,000 บาท ภาษีเงินได้ ,400,000 บาท กำไรสุทธิ ,600,000 บาท ในปี x4 บริษัท อัญชลี จำกัดมีรายการดังต่อไปนี้ กำไรจากการดำเนินงานตามปกติก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 40,000,000 บาท ดอกเบี้ยจ่าย(สำหรับปี x4) ,000,000 บาท ภาษีเงินได้ ,800,000 บาท อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร

4 งบกำไรขาดทุน (บางส่วน)
บริษัท อัญชลี จำกัด งบกำไรขาดทุน (บางส่วน) หน่วย : ล้านบาท x4 x3 (ปรับปรุงใหม่) กำไรจากการดำเนินงานตามปกติก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 40, ,000 ดอกเบี้ยจ่าย (4,000) (3,500) กำไรจากการดำเนินงานตามปกติก่อนภาษีเงินได้ 36, ,500 ภาษีเงินได้ (10,800) (7,350) กำไรสุทธิ , ,150 กำไรสะสม กำไรสะสมต้นงวดก่อนปรับปรุง 49, ,000 ปรับปรุงสะสมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนการกู้ยืม (สุทธิจากภาษีเงินได้) (หมายเหตุ 4) (7,000) (4,550) กำไรสะสมต้นงวดหลังปรับปรุง 42, ,450 กำไรสะสมปลายงวด , ,600

5 การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี
กิจการต้องใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป โดยให้นำผลของการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีมารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ 1.สำหรับงวดที่มีการเปลี่ยนแปลงถ้ามีผลกระทบเพียงงวดเดียว 2.สำหรับงวดที่มีการเปลี่ยนแปลง และงวดต่อ ๆ ไป ถ้ามีผลกระทบต่องวดดังกล่าว ตัวอย่าง บริษัท อภิสิทธิ์ จำกัด ซื้อเครื่องใช้สำนักงานราคา 420,000 บาท ประมาณอายุการใช้งาน 10 ปี ราคาซาก 20,000 บาท โดยคิดค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง ต้นปี x8 บริษัทใช้เครื่องใช้สำนักงานครบ 7 ปี และได้มีการเปลี่ยนแปลงอายุการใช้งานของเครื่องใช้สำนักงานใหม่จาก 10 ปีเป็น 12 ปี โดยมีราคาซากเพียง 10,000 บาท ให้ทำ 1. ปรับปรุงค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงานของก่อนปี x8 2. บันทึกค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงานปี x8 3. จำนวนค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงานในงบกำไรขาดทุนเปรียบเทียบ ปี x8 x7 x6 อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร

6 ปรับปรุงค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงานของก่อนปี x8
วิธีทำ ปรับปรุงค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงานของก่อนปี x8 ไม่ต้องปรับปรุงค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงานของก่อนปี x8 เพราะมาตรฐานการบัญชีให้ใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป โดยถือว่าเป็นเหตุการณ์ ทางบัญชีมีผลกระทบต่องบการเงินตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี ไม่ต้องทำการปรับปรุงใดๆ ในงบการเงินงวดก่อนๆ 2. บันทึกค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงานปี x8 เดบิต ค่าเสื่อมราคา – เครื่องใช้สำนักงาน 26,000 เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม – เครื่องใช้สำนักงาน 26,000 3. จำนวนค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงานในงบกำไรขาดทุนเปรียบเทียบ ปี x8 x7 x6 บริษัท อภิสิทธิ์ จำกัด งบกำไรขาดทุน (บางส่วน) หน่วย : บาท X8 x7 x6 ค่าเสื่อมราคา – เครื่องใช้สำนักงาน (หมายเหตุ 4) 26, , ,000 อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร

7 ประเภทของข้อผิดพลาดทางบัญชี
1.ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ (Unintentional misstatements) หมายถึง ข้อผิดพลาดทางบัญชีที่มักจะ เกิดขึ้นจากความหลงลืม การบันทึกรายการผิด หรือปฏิบัติผิดหลักการบัญชีโดยไม่ตั้งใจ เช่นการลืมบันทึกรายการปรับปรุง บัญชี ณ วันสิ้นงวด บันทึกจำนวนเงินผิดจากหลักฐานที่มีอยู่ คำนวณค่าเลื่อมราคาผิด 2. ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจ (Intentional misstatements )หมายถึง ข้อผิดพลาดทางบัญชีที่ผู้เกี่ยวข้องกับ การบันทึกบัญชีมีเจตนาจะบันทึกบัญชีให้ผิดไปจากความเป็นจริง เช่น บันทึกสินค้าคงเหลือด้วยจำนวนเงินที่ต่ำหรือสูงกว่า ความเป็นจริงเพื่อมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีหรือเสียภาษีให้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น 2.เพื่อปกปิดความผิดที่ทุจริต 3.เพื่อใช้ข้อมูลในการติดต่อกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน 4.เพื่อให้งบการเงินสอดคล้องกับหน่วยงานราชการ 5.เพื่อปิดบังความจริงเกี่ยวกับการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ การตรวจสอบพบข้อผิดพลาดทางบัญชี มี 2 กรณีคือ กรณีที่ 1 ตรวจสอบพบก่อนปิดบัญชี คือ เป็นข้อผิดพลาดทางบัญชีที่เกิดขึ้นในระหว่างปีปัจจุบัน และตรวจพบในปีปัจจุบัน กรณีที่ 2 ตรวจสอบพบหลังปิดบัญชี คือ เป็นข้อผิดพลาดทางบัญชีที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปีก่อนๆแต่ตรวจพบในปีปัจจุบัน ข้อผิดพลาดทางบัญชีทั้งสองกรณีจะมีหลักการแก้ไขที่แตกต่างกันไปตามประเภทของบัญชีที่เกิดข้อผิดพลาด มีดังนี้ 1.การแก้ไขบัญชี สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ กิจการสามารถบันทึกบัญชีเพื่อแก้ไขชื่อบัญชีที่ผิดพลาดได้โดยตรงไม่ว่าจะ ตรวจสอบพบก่อนหรือหลังจากการปิดบัญชีไปแล้วก็ตาม 2.การแก้ไขบัญชีรายได้และค่าใช้จ่าย หากตรวจสอบพบก่อนปิดบัญชี กิจการสามารถบันทึกบัญชีเพื่อแก้ไขชื่อบัญชีที่ผิดพลาดได้ โดยตรงแต่หากพบหลังปิดบัญชีไปแล้วต้องแก้ไขข้อผิดพลาดในบัญชีกำไรสะสม อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร

8 อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร
วิธีการบันทึกบัญชีเพื่อแก้ไขบัญชีที่ผิดพลาด กรณีที่ 1 บัญชีสินทรัพย์หรือค่าใช้จ่าย หากบันทึกบัญชีไว้ต่ำไปให้บันทึกแก้ไขโดยปรับเพิ่มทางด้านเดบิตตรงกันข้ามหากบันทึกบัญชีไว้สูงไปให้บันทึกบัญชีปรับลดทางด้านเครดิต กรณีที่ 2 บัญชีหนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ หากบันทึกบัญชีไว้ต่ำไปให้บันทึกบัญชีแก้ไขโดยปรับเพิ่มทางด้านเครดิตตรงกันข้ามหารบันทึกบัญชีไว้สูงไปให้บันทึกบัญชีปรับลดทางด้านเดบิต การแก้ไขข้อผิดพลาดที่มีผลกระทบต่องบดุล ข้อผิดพลาดลักษณะนี้ไม่ว่ากิจการจะตรวจสอบพบเมื่อใดก็ตามจะต้องทำการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องเสมอ ตัวอย่าง ข้อผิดพลาดที่มีผลต่องบดุล วันที่ 1 มกราคม x1 บริษัท สุเทพ จำกัด ซื้อหุ้นกู้ชนิด 6% อายุ10 ปีในราคามูลค่าเป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท โดยมีความตั้งใจที่จะถือไว้จนครบกำหนด พนักงานบัญชีบันทึกผิดบัญชีดังนี้ 1 ม.ค.x1 เดบิต หุ้นกู้ 500,000 เครดิต เงินสด ,000 รายการบัญชีที่ถูกต้อง 1 ม.ค.x1 เดบิต ตราสารหนี้ที่จะถือจรครบกำหนด 500,000 การแก้ไขข้อผิดพลาด จะต้องแก้ไขปรับปรุงดังนี้ เดบิต ตราสารหนี้ที่จะถือจรครบกำหนด 500,000 เครดิต หุ้นกู้ ,000 1 อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร

9 อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร
การแก้ไขข้อผิดพลาดที่มีผลกระทบต่องบกำไรขาดทุน เป็นข้อผิดพลาดที่มีผลกระทบต่อรายได้และค่าใช้จ่าย แต่ไม่มีผลต่อกำไรสุทธิสำหรับงวด ซึ่งอาจเกิดจากบันทึกบัญชีรายได้หรือค่าใช้จ่ายผิดประเภท ตัวอย่าง ข้อผิดพลาดที่มีผลต่องบกำไรขาดทุน บริษัท ประวรรณรัตน์ จำกัด บันทึกสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory) วันที่ 5 กุมภาพันธ์ x1 ขายสินค้าเป็นเงินสดจำนวน 20,000 บาท ราคาทุนของสินค้าที่ขายเท่ากับ 12,000 บาท พนักงานบัญชีบันทึกต้นทุนขายผิด พนักงานบัญชีบันทึกผิดดังนี้ เดบิต ขาย 12,000 เครดิต สินค้าคงเหลือ 12,000 รายการที่ถูกต้อง เดบิต ต้นทุนขาย 12,000 เครดิต สินค้าคงเหลือ 12,000 การแก้ไขข้อผิดพลาด ตรวจสอบพบข้อผิดพลาดก่อนปิดบัญชีจะต้องแก้ไขปรับปรุงดังนี้ เครดิต ขาย 12,000 การแก้ไขข้อผิดพลาดที่มีผลกระทบต่องบดุลและงบกำไรขาดทุน เป็นข้อผิดพลาดที่มีผลกระทบต่อสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย ในรายการที่เป็นข้อผิดพลาดเดียวกัน ข้อผิดพลาดลักษณะนี้สามารถจำแนกได้ 2 แบบได้แก่ 1. ข้อผิดพลาดที่สามารถชดเชยกันได้ใน 2 งวดบัญชี 2. ข้อผิดพลาดที่ไม่สามารถชดเชยกันได้ใน 2 งวดบัญชี อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร

10


ดาวน์โหลด ppt การเปลี่ยนแปลงทางบัญชี และการแก้ไขข้อผิดพลาด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google