หน่วยที่ 3 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยที่ 3 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยที่ 3 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546

2 สมาคมการอนุบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (NAEYC) ได้ให้ความหมายของหลักสูตร “ปฐมวัย” ว่าหมายถึง กรอบโครงสร้างซึ่งกำหนดสาระ หรือเนื้อหาที่เด็กต้องเรียนรู้กระบวนการที่ช่วยให้เด็กบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่กำหนดไว้ และสิ่งที่ครูทำหรือปฏิบัติเพื่อช่วยให้เด็กบรรลุวัตถุประสงค์ รวมตลอดถึงบริบทที่การเรียนการสอนเกิดขึ้น

3 ข้อเสนอแนะในการจัดหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัย 1
ข้อเสนอแนะในการจัดหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัย 1. ควรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก 2. ควรบูรณาการเนื้อหาวิชาต่างๆเข้าด้วยกัน 3. สร้างหลักสูตรบนพื้นฐานของสิ่งที่เด็กรู้อยู่แล้วและสามารถทำได้ 4. ส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดรวบยอด 5. ส่งเสริมพัฒนาการด้านความรู้ ความเข้าใจ กระบวนการ และทักษะ การนำไปปฏิบัติ และการแสวงหาวามรู้ใหม่ 6. ส่งเสริมความเชื่อ ทัศนคติ และวัฒนธรรมทางบ้านของเด็ก กระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกับเพื่อนในชั้น 7. สะท้อนความเป็นจริงในสังคม อายุของเด็กและบริบทที่เด็กอาศัยอยู่ 8. เมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ครูควรบูรณาการให้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชั้นเรียน

4 จุดมุ่งหมายของการจัดหลักสูตรปฐมวัย 1
จุดมุ่งหมายของการจัดหลักสูตรปฐมวัย 1. เด็ก ถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการเรียนรู้ และพัฒนาการของตนเอง 2. การเล่น ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก 3. พ่อแม่ คือ ครูคนแรกของเด็ก 4. โรงเรียนอนุบาล ถือเป็นสถานที่ที่สำคัญสำหรับเด็กในการพัฒนาทัศนคติ ทักษะ และความรู้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต 5. กิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนต้องมีความเหมาะสม และมีความหมายต่อตัวเด็กคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และอัตราการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน

5 การเล่นเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงเวลาหยุดพัก
ตารางแสดงธรรมชาติการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ที่มีลักษณะแตกต่างจากการสอนในระดับอื่น องค์ประกอบของการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย การจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น การเรียนการสอนเกิดขึ้นอย่างไร ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กและการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นรูปธรรม เด็กเรียนรู้ผ่านการค้นพบด้วยตนเองโดยมีครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ ผ่านการบรรยายและการสาธิตที่มีครูเป็นศูนย์กลาง สอนเนื้อหารายวิชา โอกาสในการเล่น เครื่องมือการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน คือ การเล่น การเล่นเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงเวลาหยุดพัก การเปิดโอกาสให้เด็กตัดสินใจด้วยตนเอง การตัดสินใจเกิดขึ้นตลอดทั้งวัน ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน โอกาสตัดสินใจค่อนข้างน้อย เพราะเด็กจะทำกิจกรรมอย่างเดียวเกือบทั้งวัน สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียน มุมการเรียนรู้ต่างๆและวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย โต๊ะ-เก้าอี้ของเด็กจะจัดเป็นแถวๆ

6 องค์ประกอบของการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
การจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น ตารางกิจกรรมประจำวัน ช่วงเวลาที่ยาวนานและยืดหยุ่นได้สำหรับการเรียนรู้ผ่านการค้นพบและการเล่น ช่วงเวลาที่จำกัดประมาณ 45 นาที – 1ชั่วโมงสำหรับการเรียนในแต่ละรายวิชา ปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มย่อย การเรียนการสอนส่วนใหญ่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มย่อย เกิดขึ้นนานๆครั้ง กิจกรรมกลางแจ้ง ครูมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลางแจ้งของเด็กเช่นเดียวกับการเรียนการสอนในห้องเรียน ครูจะคอยดูและขณะเด็กเล่น แต่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กจะเกิดขึ้นน้อย ความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ปีละครั้งหรือเทอมละครั้ง การทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ครูปฐมวัยมักทำงานควบคู่ไปกับผู้ช่วยครูหรือพ่อแม่ผู้ปกครอง ครูมักสอนคนเดียว วัสดุ อุปกรณ์ทางการศึกษา ของเล่น เกมการศึกษา วัสดุตามธรรมชาติ บล็อก หนังสือและนิทาน ตำราเรียนและแบบฝึกหัด การประเมินผลนักเรียน การประเมินผลคามสภาพจริง เช่น การสังเกต และจดบันทึก การสอบ การตัดเกรดให้คะแนน

7 องค์ประกอบที่สำคัญของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
แม็คคาร์ธี และฮุสตัน กล่าวว่า หลักสูตรประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. เนื้อหา (Content) หมายถึง ความจริง ความคิดรวบยอด รวมตลอดถึงข้อมูลที่เด็กจำเป็นต้องเรียนรู้ ***หลักสูตรที่มุ่งเน้นเนื้อหา มักมุ่งเตรียมเด็กเพื่อความสำเร็จในการเรียน ให้ความสำคัญกับการท่องจำ เพื่อการประสบความสำเร็จในการแข่งขัน 2. กระบวนการ (Process) หมายถึง วิธีการที่เด็กที่ใช้ในการเรียนรู้ และการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ***หลักสูตรที่มุ่งเน้นกระบวนการจะให้ความสำคัญกับวิธีการที่เด็กคิดและค้นหาข้อมูล พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทั่วๆไป มากกว่าการให้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง

8 หลักสูตรปฐมวัยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบการผสมผสานกันระหว่างเนื้อหาและกระบวนการ
ในวัยเด็กเล็ก หลักสูตรที่เน้นกระบวนการจะมีความจำเป็นมากกว่าหลักสูตรที่เน้นเนื้อหา แต่เมื่อเด็กโตขึ้น เนื้อหาจะมีความสำคัญมากกว่ากระบวนการ เนื้อหา และกระบวนการถือเป็นองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน และแยกกันไม่ได้ในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน

9 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ประกอบด้วยอะไรบ้าง
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ประกอบด้วยอะไรบ้าง หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้แสดงถึงส่วนต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยไว้ดังนี้ 1. ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย เป็นแนวคิด ค่านิยม ความเชื่อที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางหรือวิธีการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ แนวทางในการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมาย เป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งในเด็กปฐมวัยจุดมุ่งหมายหลักคือ การพัฒนาเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ –จิตใจ สังคม และสติปัญญา 2. หลักการ ที่เป็นส่วนที่แสดงถึงหลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับแนวคิดและปรัชญาการศึกษาปฐมวัย 3. จุดหมาย ซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ที่มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งมีจำนวน 12 มาตรฐาน

10 4. คุณลักษณะตามวัย เป็นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติ เมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้น ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องรู้และเข้าใจ เพื่อจะได้จัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัยได้ถูกต้อง เหมาะสม และพัฒนาเด็กให้เต็มตามความสามารถและศักยภาพ 5. ระยะเวลาเรียน เป็นการกำหนดระยะเวลาเรียนที่กำหนดไว้สำหรับสถานศึกษาใช้เป็นเกณฑ์ ซึ่งกำหนดไว้ประมาณ 1-3 ปี การศึกษาโดยประมาณ 6. สาระการเรียนรู้ กำหนดเป็น 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเด็กทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งช่วยให้เด็กเกิดทักษะที่สำคัญสำหรับการสร้างองค์ความรู้โดยให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัสดุ สิ่งของและบุคคลต่าง ๆ รอบตัว รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กัน

11 สาระที่ควรเรียนรู้ เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อในการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ไม่เน้นการท่องจำเนื้อหา แต่ให้เด็กเกิดการเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ โดย ให้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์สำคัญดังกล่าวข้างต้น 7. แนวทางการจัดประสบการณ์ เป็นคำแนะนำแก่ผู้สอนในหลักการและแนวทางการจัดประสบการณ์และกิจกรรมให้แก่เด็ก 8. ขอบข่ายกิจกรรมประจำวัน เป็นกิจกรรมที่จะนำมาจัดในแต่ละวัน โดยในแต่ละวันต้องครอบคลุมพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ – เล็ก พัฒนาอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาสังคมนิสัย พัฒนาการคิด พัฒนาภาษา และส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

12 9. การประเมินพัฒนาการ เป็นการประเมินพัฒนาการทุกด้านอย่างเป็นกระบวนการต่อเนื่องกันในกิจกรรมที่เด็กทำตามปกติ 10. การจัดหลักสูตรสถานศึกษา เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 11. การจัดการศึกษาปฐมวัย (เด็กอายุ 3- 5ปี) สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส เด็กที่มีความสามารถพิเศษ 12. การเชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่1 เป็นการแนะนำเกี่ยวกับบทบาทของบุคลากรทุกฝ่ายในการสร้างรอยเชื่อมต่อ โดยเฉพาะระหว่างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ในช่วงอายุ 3-5 ปี กับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1)

13 ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม-วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคนเพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม

14 หลักการ เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้าน อย่างสมดุล และเต็มศักยภาพ โดยกำหนดหลักการ ดังนี้

15 หลักการ (ต่อ) 1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท 2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย 3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย 4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข 5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก

16 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล

17 จุดหมาย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านด้าน ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้ 1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี 2. กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน 3. มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข

18 จุดหมาย (ต่อ) 4. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย 6. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย 7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย 8. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

19 จุดหมาย (ต่อ) 9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
10. มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย 11. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 12. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงความรู้

20 คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ใน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 มีดังนี้
เด็กอายุ 3 ปี เด็กอายุ 4 ปี เด็กอายุ 5 ปี พัฒนาการด้านร่างกาย วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้ ใช้กรรไกรมือเดียวได้ วาดและระบายสีอิสระได้ กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้ รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้ กระฉับกระเฉงไม่ชอบอยู่เฉย กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่าง ต่อเนื่องได้ รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ ด้วยมือทั้งสอง เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่าง คล่องแคล่ว เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้ ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่ กำหนด ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้าฯลฯ ยืดตัว คล่องแคล่ว

21 คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ใน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 มีดังนี้
เด็กอายุ 3 ปี เด็กอายุ 4 ปี เด็กอายุ 5 ปี พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำติชม กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดู ผู้ใกล้ชิดน้อยลง แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์ เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น ชอบท้าทายผู้ใหญ่ ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง

22 คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ใน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 มีดังนี้
เด็กอายุ 3 ปี เด็กอายุ 4 ปี เด็กอายุ 5 ปี พัฒนาการด้านสังคม รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกัน แต่ต่างคนต่างเล่น) เล่นสมมติได้ รู้จักรอคอย แต่งตัวได้ด้วยตนเองไปห้องส้วมได้เอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ รอคอยตามลำดับก่อน – หลัง แบ่งของให้คนอื่น เก็บของเล่นเข้าที่ได้ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้ พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้ ทำความเคารพ รู้จักขอบคุณ เมื่อรับของจากผู้ใหญ่ รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

23 คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ใน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 มีดังนี้
เด็กอายุ 3 ปี เด็กอายุ 4 ปี เด็กอายุ 5 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญา สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้ บอกชื่อของตนเองได้ ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้ สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้ บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้ พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้ บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้ พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้

24 คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ใน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 มีดังนี้
เด็กอายุ 3 ปี เด็กอายุ 4 ปี เด็กอายุ 5 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญา ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่าย ๆ และ แสดงท่าทางเลียนแบบได้ รู้จักใช้คำถาม “อะไร” สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น รู้จักใช้คำถาม “ทำไม” สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่ รู้จักใช้คำถาม “ทำไม” “อย่างไร” เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม นับสิ่งต่าง ๆ จำนวนมากกว่า 10 ได้

25 สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ใช้เป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งนี้สาระการเรียนรู้ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการ และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ความรู้สำหรับเด็กอายุ 3-5ปี จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก บุคคลและสถานที่ที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็กที่เด็กมีโอกาสใกล้ชิดหรือมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวันและเป็นสิ่งที่เด็กสนใจ จะไม่เน้นเนื้อหา การท่องจำ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทักษะหรือกระบวนการ จำเป็นต้องบูรณาการทักษะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับเด็ก เช่น ทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะทางสังคม ทักษะการคิด ทักษะการใช้ภาษา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

26 สาระการเรียนรู้ ขณะเดียวกันควรปลูกฝังให้เด็กเกิดเจตคติที่ดี มีค่านิยมที่พึงประสงค์ เช่น ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น รักการเรียนรู้ รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และมีคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสมกับวัย เป็นต้น ผู้สอนหรือผู้จัดการศึกษา อาจนำสาระการเรียนรู้มาจัดในลักษณะหน่วยการสอนแบบบูรณาการหรือเลือกใช้วิธีการที่สอดคล้องกับปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย สาระการเรียนรู้กำหนดเป็น 2 ส่วน ดังนี้

27

28 1.ประสบการณ์สำคัญ ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านร่างกาย การทรงตัวและประสาน
สัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่ การประสานสัมพันธ์ ของกล้ามเนื้อเล็ก การเคลื่อนไหวอยู่กับที่/เคลื่อนที่ การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส การเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์ การเขียนภาพและการเล่นสี การเล่นเครื่องเล่นสนาม การปั้นและประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ด้วยดินเหนียวดินน้ำมัน แท่งไม้ เศษวัสดุ ฯลฯ การต่อของบรรจุ และแยกชิ้นส่วน

29 การชื่นชมและสร้างสรรค์ การเล่นเครื่องดนตรีง่าย ๆ สนุกสนานกับเรื่องตลก
1.ประสบการณ์สำคัญ ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านอารมณ์ จิตใจ ดนตรี สุนทรียภาพ การเล่น คุณธรรม จริยธรรม การแสดงประสาน โต้ตอบเสียงดนตรี การชื่นชมและสร้างสรรค์ สิ่งสวยงาม การเล่นอิสระ การปฏิบัติตนตาม หลักศาสนาที่นับถือ การเล่นเครื่องดนตรีง่าย ๆ การเล่นเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ การแสดงออกอย่าง สนุกสนานกับเรื่องตลก ขำขันและเรื่องราว/ เหตุการณ์ การร้องเพลง การเล่นในห้องเรียน และนอกห้องเรียน

30 การแก้ปัญหาในการเล่น ความคิดเห็นของผู้อื่น เลือกและลงมือปฏิบัติ
1.ประสบการณ์สำคัญ ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านสังคม การเรียนรู้ทางสังคม การปฏิบัติกิจวัตร ประจำวันของตนเอง การมีโอกาสได้รับรู้ ความรู้สึก ความสนใจ และความต้องการ ของตนเองและผู้อื่น การแก้ปัญหาในการเล่น การเล่นและการทำงาน ร่วมกับผู้อื่น การมีประสบการณ์ ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น และความเป็นไทย การมีประสบการณ์ ในการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและเคารพ ความคิดเห็นของผู้อื่น การวางแผนตัดสินใจ เลือกและลงมือปฏิบัติ

31 1.ประสบการณ์สำคัญ ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านสติปัญญา (1) การคิด การใช้ภาษา
การแสดงความรู้สึก ด้วยคำพูด การเขียนในหลายรูปแบบ ผ่านประสบการณ์ที่สื่อ ความหมายต่อเด็ก เขียนภาพ เขียนคล้าย ตัวอักษร เขียนเหมือน สัญลักษณ์ เขียนชื่อตนเอง รู้จักสิ่งของต่าง ๆ ด้วยการ มอง ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น การรับรู้และแสดง ความรู้สึกผ่านสื่อวัสดุ ของเล่นและผลงาน การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับ ประสบการณ์ของตนเองหรือ เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง การเลียนแบบการกระทำ และเสียงต่าง ๆ การแสดงความคิด สร้างสรรค์ผ่านสื่อวัสดุต่างๆ การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์และความสัมพันธ์ ของสิ่งต่าง ๆ การอ่านในหลายรูปแบบ ผ่านประสบการณ์ที่สื่อ ความหมายต่อเด็ก อ่านภาพ หรือสัญลักษณ์จากหนังสือ นิทาน/เรื่องราวที่สนใจ การเชื่อมโยงภาพและ รูปแบบต่างๆ กับสิ่งของ หรือสภาพที่จริง การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง คำกลอน

32 1.ประสบการณ์สำคัญ ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านสติปัญญา (2) จำนวน
การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ จำนวน การสำรวจและอธิบาย ความเหมือน ความต่าง ของสิ่งต่าง ๆ การคาดคะเนสิ่งต่าง ๆ การเปรียบเทียบจำนวน มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ การตั้งสมมติฐาน การนับสิ่งต่าง ๆ การจับคู่ การจำแนก และการจัดกลุ่ม การทดลองสิ่งต่าง ๆ การจัดคู่หนึ่งต่อหนึ่ง การเปรียบเทียบ เช่น ยาว – สั้น ฯลฯ การสืบค้นข้อมูล การมีประสบการณ์กับ จำนวนหรือปริมาณ ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง การใช้หรืออธิบายสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีหลากหลาย การเรียงลำดับสิ่งต่าง ๆ

33 1.ประสบการณ์สำคัญ ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านสติปัญญา (3) เวลา มิติสัมพันธ์
(พื้นที่/ระยะ) เวลา การต่อเข้าด้วยกัน การแยกออก การบรรจุ และการเทออก การมีประสบการณ์และ การอธิบายในเรื่องตำแหน่ง ของสิ่งต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน การเริ่มต้นและการหยุด การกระทำโดยสัญญาณ การมีประสบการณ์ และเรียงลำดับ เหตุการณ์ต่าง ๆ การมีประสบการณ์และ เปรียบเทียบเวลา เช่น ตอนเช้า ตอนเย็น เมื่อวานนี้ พรุ่งนี้ ฯลฯ การสังเกตสิ่งต่าง ๆ และสถานที่จากมุมมอง ต่าง ๆ กัน การสังเกต การเปลี่ยนแปลงของฤดู การมีประสบการณ์และ การอธิบายในเรื่อง ทิศทางการเคลื่อนที่ ของคนและสิ่งต่าง ๆ การสื่อความหมาย ของมิติสัมพันธ์

34 2.สาระที่ควรเรียนรู้ 1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก 3. ธรรมชาติรอบตัว 4. เรื่องต่าง ๆ รอบตัวเด็ก

35 1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2.สาระที่ควรเรียนรู้ 1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาตนเอง รู้จักอวัยวะต่าง ๆ ด้วยตนเอง คนเดียว หรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และมารยาทที่ดี ทั้งนี้เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ ตนเองแล้วเด็กควรจะเกิดแนวคิดต่าง ๆ

36 2.สาระที่ควรเรียนรู้ 2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถาน ศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่าง ๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิด และมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้ว เด็ก ควรเกิดแนวคิดต่าง ๆ

37 2.สาระที่ควรเรียนรู้ 3. ธรรมชาติรอบตัว
เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิต ที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้ง ความเปลี่ยนแปลงของโลก ที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ แนวคิดที่ควรให้เกิดหลังจากเด็กเรียนรู้ธรรมชาติ รอบตัว

38 4. เรื่องต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
2.สาระที่ควรเรียนรู้ 4. เรื่องต่าง ๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ และการสื่อสาร ต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก ทั้งนี้เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้ว เด็กควรเกิดแนวคิดต่าง ๆ

39 การจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 – 5 ปี จะไม่จัดเป็นรายวิชาแต่จัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เกิดความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยมีหลักการ และแนวทางการจัดประสบการณ์ ดังนี้ 1. หลักการจัดประสบการณ์ 1.1 จัดประสบการณ์ การเล่น และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวม อย่างต่อเนื่อง 1.2 เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ

40 การจัดประสบการณ์ ความแตกต่าง ระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่ 1.3 จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต 1.4 จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ 1.5 ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก 2. แนวทางการจัดประสบการณ์ 2.1 จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ คือเหมาะสมกับอายุ วุฒิภาวะและระดับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้

41 การจัดประสบการณ์ พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
2.2 จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้คือ เด็กได้ลงมือกระทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้เคลื่อนไหว สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง 2.3 จัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการ คือ บูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้ 2.4 จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือกระทำ และนำเสนอความคิดโดยผู้สอนเป็นผู้สนับสนุน

42 การจัดประสบการณ์ อำนวยความสะดวก และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก
2.5 จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่น กับผู้ใหญ่ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ในบรรยากาศที่อบอุ่นมีความสุขและเรียนรู้การทำกิจกรรมแบบร่วมมือในลักษณะต่างๆ กัน 2.6 จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก 2.7 จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวันตลอดจนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

43 การจัดประสบการณ์ 2.8 จัดประสบการณ์ทั้งในลักษณะที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าและแผนที่เกิดขึ้นในสภาพจริงโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ 2.9 ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ ทั้งการวางแผน การสนับสนุนสื่อการสอน การเข้าร่วมกิจกรรม และการประเมินพัฒนาการ 2.10 จัดทำสารนิทัศน์ ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล นำมาไตร่ตรองและใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กและการวิจัยในชั้นเรียน

44 การจัดประสบการณ์ 3. การจัดกิจกรรมประจำวัน
กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี สามารถนำมาจัดเป็นกิจกรรมประจำวันได้หลายรูปแบบ เป็นการช่วยให้ทั้งผู้สอนและเด็กทราบว่าแต่ละวันจะทำกิจกรรมอะไร เมื่อใด และอย่างไร การจัดกิจกรรมประจำวันมีหลักการจัดและขอบข่ายของกิจกรรมประจำวัน ดังนี้ 3.1 หลักการจัดกิจกรรมประจำวัน 3.1.1 กำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของเด็กในแต่ละวัน 3.1.2 กิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด ทั้งในกลุ่มเล็กและ

45 การจัดประสบการณ์ กลุ่มใหญ่ ไม่ควรใช้เวลาต่อเนื่องนานเกินกว่า 20 นาที
3.1.3 กิจกรรมที่เด็กมีอิสระเลือกเล่นเสรี เช่น การเล่นตามมุม การเล่นกลางแจ้ง ฯลฯ ใช้เวลาประมาณ 40 – 60 นาที 3.1.4 กิจกรรมควรมีความสมดุลระหว่างกิจกรรมในห้องและนอกห้อง กิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก กิจกรรมที่เป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่เด็กเป็นผู้ริเริ่ม และกิจกรรมที่ใช้กำลังและไม่ใช้กำลังจัดให้ครบทุกประเภท ทั้งนี้กิจกรรมที่ต้องออกกำลังกายควรจัดสลับกับกิจกรรมที่ไม่ต้องออกกำลังมากนัก เพื่อเด็กจะได้ไม่เหนื่อยเกินไป

46 การจัดประสบการณ์ 3.2 ขอบข่ายของกิจกรรมประจำวัน การเลือกกิจกรรมที่จะนำมาจัดในแต่ละวัน ต้องให้ครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้ 3.2.1 การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่ การเคลื่อนไหว และความคล่องแคล่วในการใช้อวัยวะต่าง ๆ จึงควรจัดกิจกรรม โดยให้เด็กได้เล่นอิสระกลางแจ้ง เล่นเครื่องเล่นสนาม เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะดนตรี 3.2.2 การพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและตา จึงควรจัดกิจกรรมโดยให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสัมผัส เล่นเกมต่อภาพ

47 การจัดประสบการณ์ ฝึกช่วยเหลือตนเองในการแต่งกาย หยิบจับช้อนส้อม ใช้อุปกรณ์ศิลปะ เช่น สีเทียน กรรไกร พู่กัน ดินเหนียว ฯลฯ 3.2.3 การพัฒนาอารมณ์ จิตใจ และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก มีวินัยในตนเอง รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ประหยัด เมตตากรุณา เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน มีมารยาทและปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่นับถือ จึงควรจัดกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านการเล่นให้เด็กได้มีโอกาสตัดสินใจเลือก ได้รับการตอบสนองตามความต้องการ ได้ฝึกปฏิบัติโดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ตลอดเวลาที่โอกาสเอื้ออำนวย

48 การจัดประสบการณ์ 3.2.4 การพัฒนาสังคมนิสัย เพื่อให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่ดี แสดงออกอย่างเหมาะสมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน มีนิสัยรักการทำงาน รู้จักระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น จึงควรจัดให้เด็กได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ เช่น รับประทานอาหาร พักผ่อนนอนหลับ ขับถ่าย ทำความสะอาดร่างกาย เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น ปฏิบัติตามกฎกติกาข้อตกลงของส่วนรวม เก็บของเข้าที่เมื่อเล่นหรือทำงานเสร็จ ฯลฯ 3.2.5 การพัฒนาการคิด เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอด สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับเหตุการณ์

49 การจัดประสบการณ์ แก้ปัญหา จึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้สนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิญวิทยากรมาพูดคุยกับเด็ก ค้นคว้าจากแหล่ง ข้อมูลต่าง ๆ ทดลอง ศึกษานอกสถานที่ ประกอบอาหาร หรือจัดให้เด็กได้เล่นเกมการศึกษาที่เหมาะสมกับวัยอย่างหลากหลาย ฝึกการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในการทำกิจกรรมทั้งที่เป็นกลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ หรือรายบุคคล 3.2.6 การพัฒนาภาษา เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสใช้ภาษาสื่อสารถ่ายทอดความรู้สึก ความนึกคิด ความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่เด็กมีประสบการณ์ จึงควรจัดกิจกรรมทางภาษาให้มีความหลากหลายในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มุ่งปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน และ

50 การจัดประสบการณ์ บุคลากรที่แวดล้อมต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา ทั้งนี้ต้องคำนึง ถึงหลักการจัดกิจกรรมทางภาษาที่เหมาะสมกับเด็กเป็นสำคัญ 3.2.7 การส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกและเห็นความสวยงามของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยใช้กิจกรรมศิลปะและดนตรีเป็นสื่อ ใช้การเคลื่อนไหวและจังหวะตามจินตนาการ ให้ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ อย่างอิสระตามความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก เล่นบทบาทสมมติในมุมเล่นต่าง ๆ เล่นน้ำ เล่นทราย เล่นก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ เช่น แท่งไม้รูปทรงต่าง ๆ ฯลฯ

51 การประเมินพัฒนาการ การประเมินพัฒนาการเด็กอายุ 3 – 5 ปี เป็นการประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก โดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดในแต่ละวัน ทั้งนี้ให้มุ่งนำข้อมูลการประเมินมาพิจารณาปรับปรุง วางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาตามจุดหมายของหลักสูตร การประเมินพัฒนาการควรยึดหลัก ดังนี้ 1.ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก 2.ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี 3.สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน

52 การประเมินพัฒนาการ 4.ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน เลือกใช้เครื่องมือและจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน 5.ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะสมกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลาย ๆ ด้าน ไม่ควรใช้การทดสอบ สำหรับวิธีการประเมินที่เหมาะสมและควรใช้กับเด็กอายุ 3-5 ปี ได้แก่ การสังเกต การบันทึกพฤติกรรม การสนทนา การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่างมีระบบ

53 จากหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สู่แผนการจัดประสบการณ์
มาตรฐานคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ (หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546) คุณลักษณะ ตามวัย (หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546) สาระ การเรียนรู้ (หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546) ตัวบ่งชี้ (สถานศึกษากำหนด) สาระที่ควรเรียนรู้ (หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย/ สถานศึกษากำหนด) ประสบการณ์สำคัญ (หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546) สภาพที่พึงประสงค์ (สถานศึกษากำหนด) สาระการเรียนรู้รายปี (สถานศึกษากำหนด) หน่วยการจัดประสบการณ์ (สถานศึกษากำหนด) แผนการจัดประสบการณ์ (ครูเป็นผู้จัดทำ)

54 แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

55 ความสำคัญของเด็กปฐมวัย (อายุ 3 – 5 ปี)
เด็กปฐมวัย เป็นช่วงวัยที่มีความก้าวหน้าทางพัฒนาการทุกด้านเป็นไปอย่างรวดเร็ว ถ้าเด็กได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องตามหลักการในช่วงอายุนี้ จะส่งผลต่อบุคลิกภาพของเด็กเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ “การจัดการศึกษาและอบรมเลี้ยงดูเด็ก จึงควรส่งเสริมให้ถูกต้องเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการเต็มศักยภาพ”

56 ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย (อายุ 3 – 5 ปี)
ชอบที่จะทำให้ ผู้ใหญ่พอใจ และได้คำชม พอใจคนที่ ตามใจ ช่วยตนเองได้ มีช่วง ความสนใจสั้น (8-10นาที) ชอบเล่น แบบคู่ขนาน สนใจนิทานและ เรื่องราวต่าง ๆ พูดประโยค ยาวขึ้น อยากรู้ อยากเห็นทุกอย่าง รอบตัว ร้องเพลงง่าย ๆ แสดงท่าทาง เลียนแบบ ชอบถาม “ทำไม” ตลอดเวลา

57 หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก กีเซล (Gesell) เชื่อว่า พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมี แบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนา ไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการ การ เคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัว เข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ฝึกการใช้มือและ ประสาทสัมพันธ์มือกับตา จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำ คล้องจอง ร้องเพลง ฟังนิทาน จัดให้เด็กทำกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม

58 นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
ฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่า ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพ ของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็ก ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ จะเกิด อาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับข้องใจ ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก ครูเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการแสดงออก ท่าที วาจา จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากจ่ายไปหายาก จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริม พัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก อีริคสัน (Erikson) เชื่อว่า ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบ ผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความ เชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจ จะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นใน ตนเองและไม่ไว้วางใจผู้อื่น จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึง พอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาส สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครู และเพื่อน ๆ

59 นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
เพียเจท์ (Piaget) พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิด จากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม รอบ ๆ ตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อม ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการปรับ ขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความ เข้าใจให้ขยายมากขึ้น พัฒนาการของเด็กปฐมวัย (0 – 6 ปี) 1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว วัย 0 – 2 ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาท สัมผัสทุกด้าน 2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2 – 6 ปี เริ่ม เรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสาร ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้ จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผล เลือก และตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่อง ไกลตัว และมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม

60 นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
ดิวอี้ (Dewey) เชื่อว่า เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาส สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครู และเพื่อน ๆ สกินเนอร์ (Skinner) ถ้าเด็กได้รับการชมเชย และประสบผลสำเร็จ ในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไป เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใคร เหมือนใคร ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำ กิจกรรมประสบผลสำเร็จ ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน

61 นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
เปสตาลอสซี่ (Pestalozzi) ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการ พัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจ ความต้องการ และระดับความสามารถใน การเรียน เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรัก ให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ เฟรอเบล (Froeble) ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็ก ด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อย่างเสรี การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี

62 นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
เอลคายน์ (Elkind) การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตราย ต่อเด็ก เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรม การเล่นด้วยตนเอง จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาส เล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง ประมวลแนวคิดของนักการศึกษา มาสู่หลักการในการจัดการศึกษาปฐมวัย แล้วนำไปปฏิบัติจัดกิจกรรมให้ สอดคล้องกับชีวิตจริงของเด็ก

63 การเรียนรู้อย่างมีความสุข
การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย การเรียนรู้จากการคิด และปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบองค์รวมที่ ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน

64 หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ส่งเสริมทักษะการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร การขับถ่าย การแต่งตัว ส่งเสริมทักษะการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน โดยให้เด็กได้เล่นร่วมกับเพื่อน เช่น การเล่นตามมุมประสบการณ์ต่าง ๆ จัดการเรียนรู้ผ่านการเล่น ถือว่าการเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก จึงควรจัดสื่อให้เด็กได้เล่น เช่น ไม้บล็อก เกมการศึกษา ฯลฯ จัดประสบการณ์ให้สมดุลทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งกิจกรรมเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่เด็กเป็นผู้ริเริ่มและครูเป็นผู้ริเริ่ม จัดให้พ่อ แม่ ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาเด็ก

65 สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเอง และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุล ยึดเด็กเป็นสำคัญ และต้องประสานสัมพันธ์ กับครอบครัวและชุมชน

66 การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
เรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า พัฒนาทักษะ การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การสรุปความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ กิจกรรมโครงการ กิจกรรมประจำวัน การเล่น กิจกรรมการทดลอง กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ กิจวัตรประจำวัน ฯลฯ

67 การเรียนรู้แบบองค์รวม
กิจกรรมที่จัด สอดคล้องกับประสบการณ์ ที่ได้รับ เรื่องใกล้ตัวในท้องถิ่น ประสบการณ์ ต่าง ๆ สัมพันธ์กัน ในลักษณะ บูรณาการ ครูผู้สอน หรือผู้ดูแล เด็กควร หลอมรวม หรือเชื่อมโยง ความรู้ ประสบการณ์ สัมพันธ์ ไม่แยกส่วน หรือ แยกเป็น รายวิชา การเรียนรู้ แบบ องค์รวม สิ่งแวดล้อม ที่อาศัยอยู่ ต่อเนื่อง กลมกลืน เชื่อมโยง เรื่องไกลตัว ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญา

68 (ตามหลักสูตร/สถานศึกษากำหนด)
สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ (ตามหลักสูตร) สาระที่ควรเรียนรู้ (ตามหลักสูตร/สถานศึกษากำหนด) สาระการเรียนรู้กำหนดไว้ 2 ลักษณะ คือ ประสบการณ์สำคัญ เป็นประสบการณ์ที่ครูผู้สอนหรือ ผู้ดูแลเด็กควรนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สาระที่ควรเรียนรู้ กำหนดเฉพาะหัวข้อและแนวคิดสำคัญ ไว้กว้าง ๆ

69 ประสบการณ์สำคัญ ส่งเสริมพัฒนาการ 4 ด้าน
เวลา จำนวน มิติสัมพันธ์ สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ การสื่อความคิดที่เป็นการกระทำ การใช้ภาษา ประสบการณ์สำคัญ ส่งเสริมพัฒนาการ 4 ด้าน การเรียนรู้ทางสังคม การคิด คุณธรรม จริยธรรม การเล่น สุนทรียภาพ ดนตรี กล้ามเนื้อใหญ่ - เล็ก

70 การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บุคคลในชุมชน / ท้องถิ่น
เนื้อหาสาระ สิ่งต่าง ๆ รอบตัว การคมนาคม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติรอบตัว วันสำคัญ บุคคลในชุมชน / ท้องถิ่น โรงเรียน ครอบครัว ตัวเรา

71 แนวการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
ไม่จัดเป็นรายวิชา แต่จัดในรูปของกิจกรรมประจำวัน และ กิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงโดย ผ่านประสาทสัมผัส เกิดการเรียนรู้ และได้รับการพัฒนาทั้งด้าน ร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญา

72 แนวการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็กไทยโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง 2. จัดให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและเรียนรู้ของเด็ก 3. ยึดเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่าง ระหว่างบุคคล และเปิดโอกาสให้เด็กริเริ่มกิจกรรมของตนเองโดย ครูเป็นผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวก และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก 4. จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และมีบรรยากาศที่อบอุ่น เพื่อให้เด็กมีความสุข 5. จัดกิจกรรมในรูปแบบบูรณาการ โดยคำนึงถึงพัฒนาการทุกด้าน

73 แนวการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
6. จัดประสบการณ์ตรงให้กับเด็กรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 มี โอกาสสังเกต สำรวจ เล่น ค้นคว้า ทดลองและแก้ปัญหาด้วยตนเอง 7. จัดให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สิ่งของ กับเด็กและผู้ใหญ่ 8. จัดให้มีความสมดุล มีทั้งกิจกรรมที่เด็กริเริ่มและครูริเริ่มกิจกรรม ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน กิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวและสงบ 9. จัดให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นที่หลากหลายทั้งรายบุคคล กลุ่ม- ย่อย และกลุ่มใหญ่ 10. จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับกระบวนการ มากกว่าผลผลิต

74 แนวการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
11. จัดให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมท้องถิ่น และ เอื้อต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 12. จัดกิจกรรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อส่วน รวม รักธรรมชาติ และรักท้องถิ่น 13. จัดให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน ลงมือปฏิบัติและบอกผลการ ปฏิบัติกิจกรรมของตนเองและผู้อื่น 14. จัดประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็น ส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ 15. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก

75 การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริม พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
สภาพแวดล้อมหมายถึง สภาพการจัดพื้นที่ สื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ ทั้งภายในและภายนอก ห้องเรียนให้เหมาะสม มีคุณภาพ เอื้อให้เด็กเกิดพฤติกรรมทางบวก เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และ สติปัญญา

76 ความสะอาด ปลอดภัย บรรยากาศ ในการเรียนรู้ ความอิสระอย่างมี
ขอบเขตในการเล่น ข้อควรคำนึงในการจัด สภาพแวดล้อม ความเพียงพอเหมาะสม ของสื่อเครื่องเล่น ความสะดวก ในการทำกิจกรรม ความพร้อมของ อาคารสถานที่

77 แนวการจัดสภาพแวดล้อมภายใน
และภายนอกห้องเรียน 1. จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศให้มีความอบอุ่นคล้ายบ้าน มีพื้นที่ว่างให้เด็กได้เล่น และเคลื่อนไหวอย่างอิสระ โดยไม่เป็นอันตราย เด็กสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง และทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่มได้ 2. สภาพห้องเรียน ควรเป็นห้องขนาด 7x9 ตารางเมตร หรือ 6x8 ตารางเมตร ตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ การจัดห้องเรียน ควรคำนึงถึงสี แสงสว่าง อากาศ ความสะอาด ความมีระเบียบเรียบร้อย ความปลอดภัย ความสะดวก ความสุข สนุกสบายสำหรับเด็ก

78 แนวการจัดสภาพแวดล้อมภายใน
และภายนอกห้องเรียน 3. การจัดมุมประสบการณ์ หรือมุมเล่นในห้องเรียน ควรจัดมุม เล่นตามบริเวณต่าง ๆ ในห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมบ้าน มุมหมอ 2. สภาพห้องเรียน ควรเป็นห้องขนาด 7x9 ตารางเมตร หรือ 6x8 ตารางเมตร ตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการการจัดห้องเรียน ควรคำนึงถึงสี แสงสว่าง อากาศ ความสะอาด ความมีระเบียบเรียบร้อย ความปลอดภัย ความสะดวก ความสุข สนุกสบายสำหรับเด็ก


ดาวน์โหลด ppt หน่วยที่ 3 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google