ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจาก การจ้าง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจาก การจ้าง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจาก การจ้าง.......
โดย ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 ความรับผิดจากความเสียหายที่เกิดจากการจ้าง.......
ความรับผิดในความเสียหายที่เกี่ยวกับการจ้างแรงงาน จ้างทำของ นายจ้างผู้ไร้ความสามารถ มีดังนี้ มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอก ในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง (ความรับผิดจากการกระทำละเมิดโดยตนเอง ของผู้ว่าจ้างทำของ 3 กรณี) มาตรา425นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น  ชอบ ที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น มาตรา 430 ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่ว ครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความ ดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร (ใช้ ม.426 ด้วย)

3 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ ใน 3 กรณี
ต้องเป็นลักษณะสัญญาจ้างทำของ ตาม มาตรา๕๘๗ แห่งประมวลแพ่งฯ โดยหลักการทั่วไป ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อบุคคลภายนอกอันผู้รับจ้างได้ก่อขึ้น การจ้างทำของ จึงกลายเป็นรูปแบบสัญญาจ้างที่นิติบุคคล บรรษัทห้างร้านเลือกใช้เป็นวิธีบริหารความเสี่ยง เนื่องจากไม่ต้องแบกรับต้นทุนความเสี่ยงจากการผลิต การให้บริการ ตลอดระยะเวลาสัญญารับจ้างทำของ อย่างไรก็ดีประมวลแพ่งฯได้กำหนดให้ผู้ว่าจ้างทำของต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกถ้าความเสียหายเกิดจาก การงานที่สั่งให้ทำ คำสั่งที่ตนให้ไว้ การเลือกหาผู้รับจ้าง ผู้เสียหายฝ่ายโจทก์จึงมีหน้าที่ในการนำสืบให้ได้ว่าผู้ว่าจ้างทำของต้องร่วมรับผิดจากการกระทำข้างต้น

4 ความรับผิดจากการกระทำโดยตนเองของผู้ว่าจ้างทำของ
ฎีกาที่ 1982/2522  จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุ ได้ว่าจ้าง พ. ไปยึดรถคันดังกล่าวคืนมา พ. ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ทำการยึดอีกต่อหนึ่ง เมื่อยึดรถได้แล้วจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์คันดังกล่าวมาเพื่อมอบให้ พ. ระหว่างทางจำเลยที่ 2ขับรถโดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 จ้าง พ. ไป ยึดรถยนต์เป็นการจ้างทำของมิใช่จ้างแรงงาน เพราะเป็นการถือเอาความสำเร็จของงานเป็นวัตถุประสงค์ ของสัญญา มิใช่สัญญาระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง เมื่อ พ. จ้างจำเลยที่ 2 ไปยึดรถอีกต่อหนึ่ง จำเลยที่ 1 ซึ่ง มิได้อยู่ในฐานะนายจ้างและไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในการกระทำ ละเมิดของจำเลยที่ 2 ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง มิใช่เป็นความรับผิดเพื่อละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่น หากแต่เป็น ความรับผิดในฐานะที่ตัวผู้ว่าจ้างเองเป็นผู้ผิด โดยมีผู้รับจ้างเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรง เมื่อผู้ว่าจ้างต้องรับผิดและใช้ค่าสินไหมทดแทนไปจะไล่เบี้ยผู้รับจ้างไม่ได้ เพราะเป็นความผิดของตน

5 การงานที่สั่งให้ทำ ว่าจ้างให้เขาทำอะไรแล้วเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้นเพราะการงานที่สั่งให้ทำแล้ว ถือว่าผู้ ว่าจ้างเป็นผู้ทำละเมิด ฎีกาที่ 4304/2558 จำเลยที่ 1 ตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อสร้าง ก็มีความหมายอยู่ในตัวว่า จำเลยที่ 1 คือ ผู้ว่าจ้าง ส่วนจำเลยที่ 2 คือผู้รับจ้าง และแม้ความจริงจะปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เพียงรับจ้างก่อสร้างอาคาร มิได้รับจ้างตอกเสาเข็มด้วย อันทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ตาม แต่สำหรับ จำเลยที่ 1 นั้น ไม่ว่าจะจ้างใครเข้าไปตอกเสาเข็มในที่ดินพิพาท ก็ยังคงสถานะความเป็นผู้ว่าจ้างอยู่เช่นเดิม จำเลยที่ 1 จึงไม่พ้นความผูกพันในฐานะผู้ว่าจ้างทำของ ฎีกาที่ 162/2544 การที่จำเลยว่าจ้างบริษัท ฟ. ผู้ชำนาญการตอกเสาเข็ม และจ้างบริษัท ป. เป็นผู้ควบคุม การก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบ ย่อมหมายความว่าจำเลยไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องหรือสั่งการในการทำงานแต่ อย่างใด เพราะเป็นหน้าที่ของบริษัททั้งสองดำเนินการและควบคุม เมื่อความเสียหายเกิดขึ้น โจทก์จะต้องไป เรียกร้องค่าเสียหายเอาจากผู้ก่อสร้างคือบริษัท ฟ. ซึ่งเป็นผู้ทำละเมิด จำเลยหาต้องได้รับผิดตาม ม.428 ไม่

6 คำสั่งที่ตนให้ไว้ คำสั่งตามมาตรา 428 ไม่ใช่คำสั่งในเชิงบังคับบัญชา แต่เป็นคำสั่งเชิงแนะนำเท่านั้น ฎีกาที่ 2134/2532  การตอกเสาเข็มและการขุดดินทำห้องใต้ดินบริเวณก่อสร้างของจำเลยทำให้บ้านของ โจทก์และสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นได้รับความเสียหาย แม้จำเลยจะมิได้เป็นผู้ตอกเสาเข็มเอง แต่ก็ได้ว่าจ้าง บริษัทอื่นทำและจำเลยควบคุมการตอกเสาเข็มให้ถูกต้องตามจำนวนและตอกตรงจุดที่กำหนดให้ตอก การ ตอกเสาเข็มดังกล่าวกระทำไปตามคำสั่งหรือคำบงการของจำเลย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากการ กระทำตามคำสั่งของจำเลยโดยตรง ฎีกาที่ 2190/2535 วิศวกรผู้ควบคุมงานของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนดแนววางท่อระบายน้ำให้จำเลยที่ 2 โดยกำหนดแนวให้อยู่ห่างจากต้นหางนกยูงที่ล้มลงเพียงเล็กน้อย เป็นผลให้การขุดดินวางท่อระบายน้ำของ จำเลยที่ 2 ต้องตัดรากของต้นหางนกยูงที่ล้มลงออกด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ก่อสร้างวางท่อระบายน้ำเป็นผู้ผิดในคำสั่งที่จำเลยที่ 1 ให้ไว้ และต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดเพื่อความ เสียหายที่จำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดขึ้นด้วย

7 การเลือกหาผู้รับจ้าง
การเลือกผู้รับจ้างที่ไม่มีความรู้ความสามารถในการงานที่จะทำนั้นให้มาทำงานให้ ฎีกาที่ 2835/2552  จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้าง ท. ให้รับเหมาก่อสร้างบ้าน การที่ ท. ไม่ได้เรียน วิชาช่างมาโดยตรง เพิ่งรับเหมางานก่อสร้างให้จำเลยที่ 1 เป็นงานแรก ก็เกิดเหตุทำให้บ้านของ โจทก์ทั้งสองเกิดรอยร้าว เสียหาย แสดงว่า ท. เป็นผู้ขาดความรู้ความสามารถ การที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้ ท. เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างถือว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ในการเลือกหาผู้รับจ้าง มาก่อสร้างด้วย ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา จำเลยที่ 1 ก็ให้การรับสารภาพ ถือได้ ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง และแม้โจทก์ทั้งสองจะมิได้ฟ้อง ท. ก็ไม่เป็นเหตุให้ จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิด(จากมูลละเมิดในทางแพ่งฯ)

8 ตารางเปรียบเทียบความแตกต่าง การจ้างแรงงาน กับ การจ้างทำของ
จ้างแรงงาน (ม.425) จ้างทำของ (ม.428) 1. นายจ้าง-ลูกจ้าง 2. ไม่ถือเอาความสำเร็จของงาน 3. นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้าง แต่นายจ้าง มีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกจ้างได้ ถ้าตนชดใช้สินไหม 4. นายจ้างมีอำนาจสั่งการหรือบังคับบัญชา ลูกจ้างได้ (กระบวนการทำงาน) 1. ผู้ว่าจ้าง-ผู้รับจ้าง 2. ถือเอาความสำเร็จของงาน 3. ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับผู้รับจ้าง (เว้น 3 กรณี ที่ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดเอง ไม่เกี่ยวกับผู้รับจ้าง) 4. ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจสั่งการหรือบังคับบัญชาผู้ รับจ้างได้ (เป้าหมายของงาน)

9 ความแตกต่างระหว่าง สัญญาจ้างทำของ กับ สัญญาจ้างแรงงาน
ลักษณะของสัญญาจ้างทำของ ตาม มาตรา587 เป็นสัญญาที่ ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ผู้รับจ้าง" ตกลงจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้ว่าจ้าง" และผู้ว่า จ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำ สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาต่างตอบแทน สัญญาจ้างแรงงาน ตาม มาตรา575 เป็นสัญญา ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "นายจ้าง" และอีก ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ลูกจ้าง" ลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่นายจ้างภายใต้การบังคับบัญชาของ นายจ้าง และนายจ้างก็มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างการ ทำงานให้แก่นายจ้าง เป็นสัญญาต่างตอบแทน วัตถุประสงค์ของการทำงาน - สัญญาจ้างแรงงาน มุ่งที่แรงงานโดยไม่ต้องคำนึงถึง ผลสำเร็จของงานแต่สัญญาจ้างทำของ มุ่งผลสำเร็จของงาน

10 ความแตกต่างระหว่าง สัญญาจ้างทำของ กับ สัญญาจ้างแรงงาน
วิธีคำนวณสินจ้าง - สัญญาจ้างแรงงาน จะคำนวณสินจ้างตามระยะเวลา เช่น รายชั่วโมง ราย เดือน รายวัน หรือรายชิ้นงานแต่สัญญาจ้างทำของ จะคำนวณสินจ้างตามผลสำเร็จของงาน คุณสมบัติของผู้ทำการงาน - สัญญาจ้างแรงงาน คำนึงถึงคุณสมบัติของลูกจ้างเป็นสำคัญ ลูกจ้างหรือนายจ้างจะโอนสิทธิ-หน้าที่ของตนไปให้บุคคลภายนอกโดยที่อีกฝ่ายไม่ยินยอมไม่ได้ (มาตรา577 วรรค1และ 2) แต่สัญญาจ้างทำของ มุ่งถึงผลสำเร็จของงานโดยไม่ได้คำนึงถึง คุณสมบัติของลูกจ้างเป็นสำคัญ ยกเว้นการจ้างทำของนั้นมีสาระสำคัญอยู่ที่ความรู้ความสามารถ ของผู้รับจ้าง (มาตรา607) เช่น ทำสัญญาจ้างนักร้องแสดงคอนเสิร์ต หรือจ้างช่างยนต์ซ่อมรถให้ อำนาจบังคับบัญชา - สัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาให้ลูกจ้างทำการงานตาม สั่ง แต่สัญญาจ้างทำของ ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชาผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องทำงานให้ สำเร็จไม่ว่าจะใช้วิธีการใดก็ได้

11 ความแตกต่างระหว่าง สัญญาจ้างทำของ กับ สัญญาจ้างแรงงาน
เครื่องมือและสัมภาระ - สัญญาจ้างแรงงาน ลูกจ้างไม่ต้องหาเครื่องมือหรือเครื่องใช้ สัมภาระ เป็นหน้าที่ของนายจ้าง แต่สัญญาจ้างทำของ เป็นของผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาเอง (มาตรา588) ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเกิดจากการกระทำในทางการที่จ้าง - สัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไป ในทางการที่จ้างนั้น (มาตรา425) แต่สัญญาจ้างทำของ ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดเพื่อความ เสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนได้ให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับ จ้าง (มาตรา428)

12 การร่วมรับผิดของนายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน
มาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่ง ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น องค์ประกอบสำคัญของมาตรา 425           1) ลูกจ้างทำละเมิดต่อผู้อื่น           2) มีความสัมพันธ์ในฐานะ นายจ้าง กับ ลูกจ้าง ขณะทำละเมิด           3) เป็นการกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง

13 ต้องเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
ต้องเป็นสัญญาจ้างแรงงาน (หากเป็นการจ้างทำของเข้าจะต้องดู ม.428) การกระทำของลูกจ้างเป็นละเมิด การที่จะต้องรับผดตามมาตรา 425 จะต้องมีการกระทำ ละเมิดครบองค์ประกอบตามมาตรา 420 มาก่อนนายจ้างจึงจะต้องร่วมรับผิด ลูกจ้างกระทำละเมิดในขณะที่เป็นลูกจ้าง คำว่า “ลูกจ้าง” พิจารณาตามสัญญาจ้างแรงงาน ม.๕๗๕ สัญญาจ้างแรงงาน ตาม มาตรา575 เป็นสัญญา ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "นายจ้าง" และอีก ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ลูกจ้าง" ลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่นายจ้างภายใต้การบังคับบัญชาของ นายจ้าง และนายจ้างก็มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างการ ทำงานให้แก่นายจ้าง เป็นสัญญาต่างตอบแทน

14 ใครคือนายจ้าง กิจการของใคร
กิจการของใคร  - ความเป็นนิติบุคคล หุ้นส่วน ความเป็นเจ้าของ ใครคือผู้มีอำนาจบังคับบัญชา – ผู้มีอำนาจในการจัดการนิติบุคคล ใครเป็นผู้จ่ายสินจ้าง - ความสัมพันธ์ในการเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ตามสัญญา

15 ลูกจ้างกระทำละเมิดในขณะที่อยู่ในระยะสัญญาจ้าง
ระหว่างทดลองงานต้องถือว่าเป็นลูกจ้างเว้นแต่ให้ทดลองก่อนการจ้างงาน กรณีนายจ้างเข้าร่วมกิจการกับผู้อื่น ก็ต้องถือว่าผู้อื่นเป็นนายจ้างด้วย เช่น การเอารถขนส่งเข้า ร่วมรับขนคนโดยสารถือว่าเจ้าของสัมปทานเป็นนายจ้างด้วย (ฎีกาที่ 1848/2524) กรณีที่ลูกจ้างให้คนอื่นทำงานแทนลูกจ้างไม่ว่านายจ้างจะยินยอมหรือไม่ หากมีการละเมิด นายจ้างต้องรับผิด (ฎีกาที่ 472/2524) แต่ถ้าการกระทำละเมิดในขณะที่ไม่ได้เป็นลูกจ้าง นายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิด เช่น ฎีกาที่ 533/2499 เจ้าของเรือให้บุคคลอื่นเช่าเรือไปพร้อมลูกเรือและลูกเรือก็รับค่าจ้างจากผู้เช่า ถือเป็นการโอนสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานให้บุคคลภายนอกโดยลูกจ้างยินยอม ตาม มาตรา 577 สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลง(แม้เพียงชั่วคราว)เจ้าของเรือไม่ต้องรับผิด

16 ทฤษฎี “ทางการที่จ้าง” (Scope of Employment Theory)
สุภาษิตกฎหมายโรมัน (RESPONDENT SUPERIOR) แปลอังกฤษ Let the Master Answer คือ ให้ผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าหรือเจ้านายเป็นผู้จ่าย ดังนั้น เมื่อลูกจ้างไปทำละเมิด นายจ้างก็ต้องรับผิดเสมอ สร้างอุปสรรคต่อการพัฒนาเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นายจ้างจะจ้างงานเฉพาะลูกจ้างที่ไว้วางใจ ศ.16 ใช้ทฤษฎีคำสั่ง(Command Theory) คือ นายจ้างจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อลูกจ้างไปทำละเมิดภายใต้ คำสั่งของนายจ้าง หากเป็นการนอกเหนือคำสั่งของนายจ้าง นายจ้างไม่ต้องรับผิด ผลของทฤษฎีนี้ทำให้เกิดการจ้าง งานมากขึ้น เศรษฐกิจเติบโตขึ้น แต่นายจ้างอ้างว่าลูกจ้างทำนอกเหนือคำสั่งหรือนอกเวลางาน เป็นเหตุให้ผู้เสียหาย ในสังคมไม่ได้รับการชดเชยในความเป็นจริง สร้างความไม่เป็นธรรมในสังคม ศ.18 ใช้ทฤษฎีทางการที่จ้าง(Scope of Employment Theory) ในการพิจารณาความรับผิดของ นายจ้างจะดูว่าการที่ลูกจ้างกระทำลงไปเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของนายจ้างหรือไม่ แม้จะนอกเหนือคำสั่งของ นายจ้างหรือแม้จะนอกเหนือเวลาทำงาน หรือแม้จะมีประโยชน์ส่วนตัวของลูกจ้างมาผสม แต่จุดมุ่งหมายปลายทาง ก็เพื่อประโยชน์ของนายจ้างก็ยังถือเป็นทางการที่จ้าง ยกเว้นจะเป็นการกระทำละเมิดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ ส่วนตัวโดยแท้นายจ้างจึงไม่ต้องรับผิด ซึ่งให้ความคุ้มครองผู้เสียหายในสังคมในความเป็นจริงมากขึ้น

17 แนวคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับ ทางการที่จ้าง
โดยหลัก พิจารณาโดยดูว่าในขอบเขตของงานที่ลูกจ้างได้รับมอบหมาย นั้นลูกจ้างกระทำลงไปเป็นการทำ เพื่อประโยชน์ของนายจ้างหรือไม่ แม้จะนอกเหนือคำสั่งของนายจ้างหรือแม้จะนอกเหนือเวลาทำงาน หรือ แม้จะมีประโยชน์ส่วนตัวของลูกจ้างมาผสมแต่จุดมุ่งหมายปลายทางก็เพื่อประโยชน์ของนายจ้างก็ยังถือเป็น ทางการที่จ้าง ถ้าอยู่ในขอบเขตของงานที่ลูกจ้างได้รับมอบหมายแต่อาจเป็นความประพฤติของลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบ กฎเกณฑ์ก็ยังถือเป็นทางการที่จ้างเช่นลูกจ้างยามรักษาความปลอดภัยดูแลทรัพย์สิน ขับรถของผู้เสียหาย ไปทำธุรกิจส่วนตัวแล้วเสียหาย บริษัทรักษาความปลอดภัยที่เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิด( ฎีกาที่ 5052/2542) แม้จะมีประโยชน์ส่วนตัวของลูกจ้างมาผสมแต่จุดมุ่งหมายปลายทางก็เพื่อประโยชน์ของนายจ้างก็ยังถือเป็น ทางการที่จ้าง เช่น นายจ้างใช้ให้ลูกจ้างขับรถคันที่เกิดเหตุไปบรรทุกหินซึ่งเป็นกิจการในทางการที่จ้าง ระหว่างทางลูกจ้างรับจ้างบุคคลอื่นนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยไม่ได้ขออนุญาตก่อน แต่ก็เป็นระหว่างที่ ลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างอยู่ นายจ้างต้องร่วมรับผิด(ฎีกาที่ 275/2532)

18 แนวคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับ ทางการที่จ้าง
โดยหลัก แม้จะไม่ใช่งานในหน้าที่ของลูกจ้างโดยตรงเช่นไม่ใช่พนักงานขับรถ แต่เมื่อลูกจ้างได้รับมอบหมาย หรือนอกเหนือคำสั่งของนายจ้างหรือผิดระเบียบของบริษัทของนายจ้างก็ตาม ก็ยันกับบุคคลภายนอกที่เป็น ผู้เสียหายไม่ได้(กมต้องการคุ้มครองผู้เสียหายในสังคมซึ่งไม่รู้ถึงความบกพร่องในความสัมพันธ์ระหว่าง นายจ้างกับลูกจ้างแต่อย่างใด (ฎีกาที่ 4270/2528) แม้จะนอกเหนือเวลางานเช่นนายจ้างใช้ให้ขับรถจักรยานไปเก็บที่บ้านลูกจ้างเพื่อจะได้นำรถคันดังกล่าวมา ทำงานที่เป็นประโยชน์ของนายจ้างในวันรุ่งขึ้น แต่ลูกจ้างแวะกินเหล้าแล้วชนผู้เสียหาย ถือเป็นทางการที่ จ้างอยู่( ฎีกาที่ 292/2529)

19 แนวคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับ ทางการที่จ้าง
ยกเว้น เป็นเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของลูกจ้างโดยแท้ ขณะนำส่งมะพร้าวให้แก่ผู้ซื้อ เกิดโต้เถียงกันจึงถูกลูกจ้างชกผู้ซื้อ ถือเป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ ไม่ถือเป็นทางการที่จ้าง( ฎีกาที่ 1484/2499) คนขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสารรุมทำร้ายผู้เสียหายที่ต่อว่าว่าเลี้ยวรถเร็วทำให้คน โดยสารตกจากที่นั่ง ถือเป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ ไม่ถือเป็นทางการที่จ้าง( ฎีกาที่ 1942/2520) ลูกจ้างขับรถชนผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ถือเป็นทางการที่จ้าง แต่ต่อมานำร่างผู้เสียหาย ไปหมกทิ้งน้ำเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ถือเป็นเรื่องส่วนตัวที่ต้องการปกปิดความผิดขาดตอน จากทางการที่จ้างไปแล้ว นายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิดละเมิดเป็นเหตุให้ตาย(ฎีกาที่2060/2524)

20 ในทางการที่จ้าง ในทางการที่จ้างครอบคลุมเพียงใด (ส่วนใหญ่เป็นเรื่องขับรถของลูกจ้าง) พอสรุปได้ดังนี้        ** เป็นทางที่ว่าจ้างหมดไม่ว่าลูกจ้างจะขับรถออกนอกเส้นทาง หรือเปลี่ยนเส้นทาง หรือให้คนอื่นขับแทนแม้แต่ตอนกลับถ้าเกิดละเมิดถือว่าเป็นการที่จ้างเพราะการนำรถมาเก็บก็ เป็นหน้าที่เช่นกัน           # นายจ้างยินยอมให้ลูกจ้างนำรถไปใช้ในวันหยุด ก็ถือว่าอยู่ในทางการที่จ้าง (ฎีกา ที่ 1196/2531)           # หากลูกจ้างมีเรื่องส่วนตัวกับบุคคลอื่นระหว่างขับรถในทางการที่ว่าจ้าง แล้วไปแกล้ง ชกต่อยไม่ใช่ทางการที่จ้าง

21 ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างกับผู้เสียหาย
นายจ้างจะรับเฉพาะมูลหนี้ละเมิดที่ลูกจ้างต้องรับผิดเท่านั้น ถ้าศาลพิพากษาให้ลูกจ้างรับผิดเท่าใดนายจ้างก็จะรับ ผิดเท่านั้น ถ้าหนี้ละเมิดระงับ นายจ้างไม่ต้องรับผิด เช่น มีการปลดหนี้ให้ มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่สมบูรณ์ และหนี้ละเมิดระงับ กรณีที่ลูกจ้างได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ได้รับเสียหาย ผลของสัญญา ประนีประนอมยอมความทำให้เกิดมูลหนี้ต่อกันขึ้นใหม่ มูลหนี้ตามสัญญา (ม.852) หนี้ละเมิดเป็นอันระงับ นายจ้างหลุดพ้นจากความรับผิด ข้อตกลงที่ถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความได้นั้น จะต้องมีการตกลงให้ชัดเจนแน่นอนเกี่ยวกับเรื่อง จำนวนเงิน ตลอดจนวิธีการชำระเงิน หากไม่ตกลงในเรื่องดังกล่าวก็มิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ นายจ้างไม่หลุดพ้นความผิด (ฎีกา 127/2538) สัญญาประนีประนอมยอมความจะฟ้องร้องบังคับกันนั้น ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การแต่งตั้งตัวแทนให้ทำสัญญา จึงต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย ฝ่ายผู้เสียหาย (โจทก์) มอบอำนาจให้ผู้อื่นตกลงโดยมีหลักฐานเป็นสัญญา ประนีประนอมยอมความจึงผูกพันโจทก์  โจทก์จึงฟ้องนายจ้างไม่ได้ (ฎีกา 2248/2524) ถ้าผู้เสียหายมิได้แต่งตั้งตัวแทนโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็ไม่ผูกพันผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงยังฟ้องนายจ้างได้ (ฎีกา 3187/2524)

22 สิทธิในการไล่เบี้ยของนายจ้างต่อลูกจ้าง
มาตรา 426     “นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ ทำนั้น  ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น”                    การที่นายจ้างจะไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้นั้น คงไล่เบี้ยได้เฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่นายจ้างต้องรับ ผิดใช้ให้แก่ผู้เสียหายจากผลที่ลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง แต่ถ้าเป็นค่าเสียหายอย่างอื่นซึ่งไม่ใช่ ผลโดยตรงจากการกระทำละเมิด นายจ้างจะไล่เบี้ยไม่ได้ เช่น ค่าฤชาธรรมเนียมในการขึ้นศาล ค่า ทนายความต่อสู้คดีของนายจ้าง ฯลฯ  ข้อสังเกต                   นายจ้างมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่นายจ้างได้ใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายไป จะเรียกดอกเบี้ยนับแต่ วันผิดนัดคือวันละเมิดไม่ได้             ** สิทธิไล่เบี้ยจากลูกจ้างตามมาตรา 426 นั้นนายจ้างต้องได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก ไปแล้ว หากนายจ้างยังไม่ใช้สินไหมก็ยังไม่มีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกจ้าง (ฎีกาที่ 3373/2545)

23 นายจ้างใช้สิทธิในการไล่เบี้ยจากลูกจ้าง
นายจ้างไม่ใช่ผู้ร่วมก่อความเสียหาย กม.จึงไม่ได้บัญญัติให้นายจ้างต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 296 ที่ให้รับผิดเป็นส่วนเท่าๆกัน ดังนั้นเมื่อนายจ้างจ่ายค่าสินไหมทดแทนไปเท่าไหร่ก็สามรถไล่เบี้ยคืนจาก ลูกจ้างได้เท่านั้น ไล่เบี้ยได้เฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่ใช้แก่ผู้เสียหายไปแล้ว รวมถึงดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิดจนถึงวันชำระ เสร็จ ค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายมิใช่ค่าสินไหมทดแทนจึงไล่เบี้ยไม่ได้ แต่ถ้าศาลพิพากษาให้นายจ้างต้องร่วมรับ ผิดจ่ายค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนาย นายจ้างมีสิทธิไล่เบี้ยลูกจ้างได้เพียงครึ่งเดียว ในกรณีที่นายจ้างทวงถามแล้วลูกจ้างไม่ยอมชำระถือว่าลูกจ้างผิดนัด นายจ้างเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด ได้ ร้อยละ7.5 จนกว่าจะชำระเสร็จ(เป็นการเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เสียหาย)

24 ตารางเปรียบเทียบ ความรับผิดในการจ้าง 3 ลักษณะ
มาตรา ผู้รับผิดซึ่งมิได้กระทำละเมิด ร่วมรับผิด ผู้ทำละเมิด 425 นายจ้าง ร่วมรับผิดกับ ลูกจ้าง 428 ผู้ว่าจ้าง (เว้น3กรณีที่ถือว่าทำละเมิด) ไม่มีการร่วมรับผิด ผู้รับจ้าง 430 นายจ้างผู้ควบคุม ถ้าโจทก์พิสูจน์ได้ ก็ต้องร่วมรับผิดกับ ลูกจ้างผู้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ

25 การร่วมรับผิดของนายจ้างที่ควบคุมบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430     “ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด  ซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร” หลักเกณฑ์ความรับผิดเพื่อละเมิดของผู้มีหน้าที่รับดูแล           1) เป็นผู้ดูแลผู้ไร้ความสามารถ           2) ผู้ไร้ความสามารถกระทำละเมิด           3) ผู้ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร        นายจ้างผู้มีหน้าที่ดูแลควบคุม (บุคคลที่ต้องรับผิดตามมาตรา 430)                      1) นายจ้างผู้ควบคุมผู้ไร้ความสามารถหรือ           2) นายจ้างของผู้เยาว์ผู้ไร้ความสามารถ หมายถึงผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถที่ศาลจะสั่งหรือไม่ก็ได้ ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ ต้องมีหน้าที่ดูแล ดังนั้นครูสอนพิเศษหรือ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ไม่มีหน้าที่ดูแลจึงไม่ต้องรับผิด

26 คำพิพากษาศาลฎีกา นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของนายจ้างตามมาตรานี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างเหมือนดัง ม.425 แต่การกระทำละเมิดจะเกิดเวลาใดก็ได้ ตราบใดที่ลูกจ้างผู้เยาว์/ผู้วิกลจริต ยังอยู่ในความดูแลของนายจ้าง หากไปทำละเมิดแล้วนายจ้างก็ต้องรับผิดด้วย ตัวอย่าง บริษัทสี่ปีจำกัด จัดทำโครงการบรรษัทรับผิดชอบสังคม (CSR) โดยการจ้างงานผู้เยาว์และผู้ วิกลจริตเข้าทำงาน ก็ย่อมมีหน้าที่ดูแลไม่ให้สร้างความเสียหายต่อบุคคลภายนอก แม้ผู้ไร้ความสามารถจะ ก่อความเสียหายที่ไม่เกี่ยวกับทางที่จ้าง แต่ทำในช่วงที่อยู่ในความดูแลของบริษัท เช่น แอบหนีไปยิงนกตก ปลาในหนองของชาวบ้านในเวลาทำงาน หากผู้เสียหายพิสูจน์ได้ว่าบริษัทสี่ปีในฐานะนายจ้างหาได้ใช้ความ ระมัดระวังตามสมควร นายจ้างก็ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น หากลูกจ้างผู้ไร้ความสามารถยังอยู่ในความดูแลของนายจ้างแล้วการทำละเมิดเกิดขึ้นในทางการที่จ้าง กรณีนี้นายจ้างก็ต้องรับผิดทั้งตามมาตรา 425 และมาตรา 430 (ทนายโจทก์เลือกวิธีพิสูจน์ที่ง่ายแก่ตนกว่า)

27 ข้อสังเกตเกี่ยวกับภาระการพิสูจน์
ความรับผิดของนายจ้างตามมาตรานี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างเหมือนดัง ม.425 แต่การกระทำละเมิดจะเกิดเวลาใดก็ได้ ตราบใดที่ลูกจ้างผู้เยาว์/ผู้วิกลจริต ยังอยู่ในความดูแลของนายจ้าง หากไปทำละเมิดแล้วนายจ้างก็ต้องรับผิดด้วย หากลูกจ้างผู้ไร้ความสามารถยังอยู่ในความดูแลของนายจ้างแล้วการทำละเมิดเกิดขึ้นในทางการที่จ้าง กรณีนี้นายจ้างก็ต้องรับผิดทั้งตามมาตรา 425 และมาตรา 430 (ทนายโจทก์เลือกวิธีพิสูจน์ที่ง่ายแก่ตนกว่า) 425ผู้เสียหายนำสืบ“ในทางการที่จ้าง” 430 พิสูจน์ว่านายจ้างไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ เกี่ยวกับความรับผิดของบุคคลตามบทบัญญัติตามมาตรา 429 กับมาตรา 430 นั้น แตกต่างกัน  มาตรา 429 เป็นหน้าที่ของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลต้องพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ใช้ความระมัดระวังตามควรแก่ หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่พ้นความผิด    มาตรา 430 เป็นหน้าที่ผู้เสียหายจะต้องพิสูจน์ว่านายจ้างผู้ไร้ความสามารถไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตาม สมควร นายจ้างผู้มีหน้าที่ควบคุมจึงต้องรับผิด

28 การไล่เบี้ย มาตรา 431     “ ในกรณีที่กล่าวมาในสองมาตราก่อนนั้น ท่านให้นำบทบัญญัติแห่ง มาตรา 426 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม”           กรณีที่บิดามารดา ผู้อนุบาล (มาตรา 429) หรือครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลผู้รับดูแล (มาตรา 430) ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายไปแล้ว มาตรา 431 นี้เปิดโอกาสให้บุคคล เหล่านั้นใช้สิทธิไล่เบี้ยบุคคลผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดนั้นได้ ในทำนองเดียวกับที่นายจ้างไล่ เบี้ยลูกจ้างได้นั่นเอง


ดาวน์โหลด ppt ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจาก การจ้าง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google