ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ
กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ
2
ขอบเขตเนื้อหา กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจคืออะไร ?
ทำไมต้องมีกฎหมายหลักประกัน ? ใครได้ประโยชน์ ? เมื่อไหร่มีผลใช้บังคับ..? กรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีบทบาทหน้าที่อย่างไร !
3
ความเป็นมา รวมระยะเวลา 18 ปี 2540 2543 2545 2549 2552 2554 2556 2557
คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่างแล้วเสร็จ วันที่ 19 ธ.ค. 45 ก.คลังเสนอ ครม. อนุมัติหลักการร่าง วันที่ 9 ก.ค. 52 ครม. เสนอร่างต่อ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันที่ 19 ก.พ. 58 ยุบสภาผู้แทนฯ วันที่ 9 ธ.ค. 56 มีผลใช้บังคับ 2 ก.ค. 59 วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 2543 2545 2549 2552 2554 2556 2557 2558 2559 ก.ยุติธรรมเสนอ ครม.อนุมัติในหลักการร่างกฎหมาย วันที่ 9 พ.ค. 43 รัฐประหาร วันที่ 19 ก.ย. 49 ยุบสภาผู้แทนฯ วันที่ 10 พ.ค. 54 ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมีมติให้ผลักดันกฎหมาย วันที่ 16 ก.ค. 57 กฎหมายประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 5 พ.ย. 58 รวมระยะเวลา 18 ปี
4
ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
0.8 millions 2 millions SMEs ประเทศไทยมีผู้ประกอบธุรกิจ SMEs มากกว่า 2,800,000 ราย SMEs ประมาณ 800,000 ราย สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยส่วนใหญ่ใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน
5
การค้ำประกันด้วยทรัพย์สิน การค้ำประกันด้วยบุคคล
ข้อจำกัดของกฎหมาย การค้ำประกันด้วยทรัพย์สิน หนี้ จำนอง จำนำ หลักประกัน การค้ำประกันด้วยบุคคล
6
ข้อแตกต่างระหว่างจำนำ – จำนอง - หลักประกัน
รายการ จำนำ จำนอง หลักประกัน การส่งมอบทรัพย์ให้แก่เจ้าหนี้ ส่งมอบ ไม่ต้องส่งมอบ การจดทะเบียน ไม่จดทะเบียน จดทะเบียนจำนอง จดทะเบียนสัญญาฯ ประเภทของทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้) อสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์บางประเภทที่มีทะเบียน เช่น เครื่องจักร เรือ กิจการ สิทธิเรียกร้อง สังหาริมทรัพย์ฯ อสังหาริมทรัพย์ฯ ทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพย์สินอื่นฯ
7
สาระสำคัญของกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ
กำหนดให้มีการนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้ และช่วยลดข้อจำกัดด้านหลักประกันด้วยทรัพย์สิน (จำนำ จำนอง) ไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สิน ผู้ให้หลักประกันยังคงใช้ทรัพย์สินนั้นผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อไปได้ เกิดบุริมสิทธิ์ตามกฎหมายนี้ขึ้นเหนือตัวทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน (บุริมสิทธิ์ = ผู้รับหลักประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญทั่วไป) มีกระบวนการบังคับที่ รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม
8
พ.ร.บ.นี้จะมีส่วนช่วย SME มากน้อยเพียงใด
เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น มากขึ้น นำทรัพย์สินที่มีมูลค่าอื่นที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ไปเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้ โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน เช่น วัตถุดิบ สินค้าคงคลัง มีทางเลือกในการใช้หลักประกันได้มากขึ้น เสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ เช่น การนำลูกหนี้การค้ามาเป็นหลักประกัน เสริมสร้างให้มีโอกาสในการทำธุรกิจและเติบโตได้ในอนาคต
9
พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ
โครงสร้างของกฎหมาย พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558 มีทั้งสิ้น 91 มาตรา หมวด 5 การบังคับหลักประกันที่เป็นทรัพย์สิน มาตรา 35-53 บททั่วไป มาตรา 1-4 หมวด 6 การบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ มาตรา 54-60 ส่วนที่ 1 ผู้บังคับหลักประกัน ส่วนที่ 2 กระบวนการบังคับหลักประกัน ที่เป็นกิจการ ส่วนที่ 3 การคัดค้านผู้บังคับหลักประกัน มาตรา 61-74 มาตรา 75-79 หมวด 1 สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ มาตรา 5-13 หมวด 2 การดำเนินการทางทะเบียน มาตรา 14-21 หมวด 7 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาหลักประกัน ทางธุรกิจ มาตรา 80-81 หมวด 3 สิทธิและหน้าที่ของผู้ให้และ ผู้รับหลักประกัน มาตรา 22-28 หมวด 8 บทกำหนดโทษ มาตรา 82-91 หมวด 4 สิทธิหน้าที่ระหว่างผู้ให้และผู้รับกับ บุคคลภายนอก มาตรา 29-34 อัตราค่าธรรมเนียม
10
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลักประกัน
2.ผู้รับหลักประกัน 1.ผู้ให้หลักประกัน - สถาบันการเงิน (1) ธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทประกันชีวิต/วินาศภัย (3) สถาบันการเงินของรัฐ บุคคลอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ (ฉบับที่ 1 วันที่ 9 ธันวาคม 2559) (1) SPV แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (2) ทรัสตี (3) บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (4) นิติบุคคลซึ่งประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) บริษัทบริหารสินทรัพย์ (6) ผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริ่ง (ฉบับที่ 2 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561) (7) สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเฉพาะกรณีกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ (8) ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเฉพาะกรณีการให้สินเชื่อร่วมกับสถาบันการเงิน (9) นิติบุคคลซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลิสซิ่ง (10) นิติบุคคลซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจให้สินเชื่อ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล 3.ผู้บังคับหลักประกัน บุคคลที่คู่สัญญาตกลงเลือกให้ เป็นผู้บังคับหลักประกัน กรณีนำกิจการมาเป็นหลักประกัน
11
3.สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ
ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน 1. กิจการ อสังหาริมทรัพย์ 6.ทรัพย์สินอื่น * กิจการร้านอาหาร * กิจการรับเหมาก่อสร้าง กำหนดในกฎกระทรวง “ไม้ยืนต้น” อสังหาริมทรัพย์ 5.ทรัพย์สินทางปัญญา 2.สิทธิเรียกร้อง ทรัพย์สิน * สิทธิบัตร * ลิขสิทธิ์ * เครื่องหมายการค้า * บัญชีเงินฝากธนาคาร * สัญญาเช่า * ลูกหนี้การค้า 3.สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ 4.อสังหาริมทรัพย์ * เครื่องจักร * สินค้าคงคลัง/วัตถุดิบ * บ้านจัดสรร * คอนโดมิเนียม
12
การขอกู้ยืมเงินโดยใช้หลักประกันทางธุรกิจ
1 SMEs ติดต่อขอกู้เงินจากสถาบันการเงิน 2 สถาบันการเงินดำเนินการพิจารณาสินเชื่อ/ข้อสัญญา/หลักประกัน สถาบันการเงินแจ้งผลอนุมัติและทำสัญญากู้เงิน+สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ สัญญากู้เงิน 3 สถาบันการเงินแจ้งจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจโดยระบบออนไลน์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 4 5 SMEs ได้รับเงินกู้/สินเชื่อ
13
การขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ
ผู้รับหลักประกันโดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้หลักประกัน เป็นผู้ดำเนินการขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานทะเบียน (ไม่มีกำหนดเวลา) Financial institution
14
สำนักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ
รับจดทะเบียน แก้ไขรายการจดทะเบียน และยกเลิกการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับการจดทะเบียนเพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ แจ้งนายทะเบียนทรัพย์สิน หรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ ออกใบอนุญาตให้เป็นผู้บังคับหลักประกัน สำนักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นเจ้าพนักงานทะเบียน กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
15
ผลของการจดทะเบียน ผู้ให้หลักประกัน
ยังคงใช้สอย แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่ายโอน ใช้เป็นหลักประกัน และ ได้ดอกผล เว้นแต่ จะนำไปจำนำต่อไม่ได้ มิฉะนั้นการจำนำตกเป็นโมฆะ ต้องรับผิดในความเสียหาย สูญหาย หรือเสื่อมราคาของทรัพย์ ต้องจัดทำบัญชีทรัพย์สินตามวิธีปฏิบัติทางการค้า หรือตามที่คู่สัญญา ตกลงกัน ต้องยินยอมให้เข้าตรวจดูทรัพย์สินหรือตรวจสอบบัญชีได้เป็นครั้งคราว มีสิทธิ์สอบถามหรือขอรับรองจำนวนหนี้ที่ยังค้างชำระ มีสิทธิ์ไถ่ถอนทรัพย์สินเวลาใด ๆ ก็ได้
16
ผลของการจดทะเบียน ผู้รับหลักประกัน
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันก่อนเจ้าหนี้สามัญ และถือตามลำดับบุริมสิทธิ มีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่รวม เข้ากับทรัพย์สินของบุคคลอื่น ตามส่วนของค่าแห่งทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันของตน มีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้มาแทนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน มีสิทธิบังคับหลักประกัน โดยจำหน่ายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ หรือ โดยให้ทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิ
17
บุคคลภายนอก ผลของการจดทะเบียน
บุคคลภายนอกจะได้รับทรัพย์สินไปโดย ปลอดภาระหลักประกัน ก็ต่อเมื่อ กรณีซื้อทรัพย์สินจากการบังคับหลักประกัน กรณีเป็นทรัพย์สินที่มีลักษณะหมุนเวียนเปลี่ยนมือตลอดเวลา ได้ทรัพย์สินมาตามทางค้าปกติ ได้ทรัพย์สินมาโดยผู้รับหลักประกันยินยอม กรณีเป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้มีลักษณะหมุนเวียนเปลี่ยนมือ ได้มาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ได้มาโดยผู้รับหลักประกันยินยอม
18
1 2 3 4 การระงับสิ้นไปแห่งสัญญา
ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ หนี้ที่เป็นประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุอื่นใดอันมิใช่เหตุอายุความ (1.การชำระหนี้ 2.ปลดหนี้ 3.หักกลบลบหนี้ 4.แปลงหนี้ใหม่ 5.หนี้เกลื่อนกลืนกัน) 1 คู่สัญญาตกลงกันเป็นหนังสือให้ยกเลิกสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ 2 มีการไถ่ถอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน 3 เมื่อมีเหตุบังคับหลักประกัน และได้มีการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหรือเมื่อทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหลุดเป็นสิทธิ 4
19
การจดทะเบียนยกเลิกสัญญา
กรณีเลิกสัญญาด้วยเหตุปกติ เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไป เมื่อคู่สัญญาตกลงกันยกเลิกสัญญา เมื่อมีการไถ่ถอนทรัพย์สิน ผู้ให้หลักประกันเป็นผู้ดำเนินการขอยกเลิกการจดทะเบียน (ภายใน 14 วัน) กรณีบังคับหลักประกัน จำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน บังคับทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิ ผู้รับหลักประกันเป็นผู้ดำเนินการขอยกเลิกการจดทะเบียน (ภายใน 14 วัน) 1 2 จดทะเบียนเลิก แบ่งเป็น 2 กรณี ผู้ให้หลักประกัน ผู้รับหลักประกัน
20
การบังคับหลักประกัน แบ่งเป็น 2 กรณี กรณี 1 กรณี 2 การบังคับ ทรัพย์สิน
กิจการ ทรัพย์สิน แบ่งเป็น 2 กรณี กรณี 1 กรณี 2 วิธีที่ 2 วิธีที่ 1 จำหน่ายโดย ผู้บังคับหลักประกัน จำหน่ายทรัพย์สินโดยวิธีการประมูลโดยเปิดเผย บังคับทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิ
21
การบังคับหลักประกันที่เป็นทรัพย์สิน
ผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้งเหตุบังคับหลักประกัน ผู้รับหลักประกันมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ ภายใน15 วันเมื่อได้ครอบครองทรัพย์สิน จำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันโดยวิธีการประมูลโดยเปิดเผย จัดสรรเงิน ที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สิน จำหน่ายทรัพย์สินโดยวิธีการประมูลโดยเปิดเผย วิธีที่ 1 กรณีที่จำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ถ้าได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระเงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใด ลูกหนี้ยังคงต้องชำระในส่วนที่ยังขาดอยู่
22
การบังคับหลักประกันที่เป็นทรัพย์สิน
ผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้งเหตุบังคับหลักประกัน ผู้รับหลักประกันมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ ภายใน15 วันเมื่อได้ครอบครองทรัพย์สิน ให้ทรัพย์สินและดอกผลหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับหลักประกัน วิธีที่ 2 บังคับทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิ กรณีที่ให้ทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิ ให้ถือว่าหนี้ประธานและหนี้ตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเป็นอันระงับสิ้นไปทั้งหมด
23
1 2 3 4 เงื่อนไขการบังคับหลักประกันที่เป็นทรัพย์สิน
หนี้ที่ค้างชำระ เป็นต้นเงินเท่ากับหรือมากกว่ามูลค่า ของทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึง 5 ปี 2 ไม่มีหลักประกันรายอื่น/บุริมสิทธิอื่น อันจดทะเบียน ไว้เหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน 3 4 ผู้ให้หลักประกันไม่คัดค้านการบังคับหลักประกันหลุดเป็นสิทธิ
24
การบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ
กรณีนำทรัพย์สินประเภท “กิจการ” มาเป็นหลักประกัน คู่สัญญาต้องตกลงกันเลือกผู้บังคับหลักคนหนึ่ง หรือหลายคนเป็นผู้บังคับหลักประกัน
25
การบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ
ผู้บังคับหลักประกัน คือใคร ? บุคคลที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้บังคับหลักประกัน มีคุณสมบัติ ทนายความ .- ผู้สอบบัญชี ได้รับใบอนุญาตต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 3 ปี ผู้ทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับหลักประกัน ที่ได้รับอนุญาต หรือได้รับความเห็นชอบ หรือขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานของรัฐ สมาคม หรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 3 ปี ได้แก่ - อนุญาโตตุลาการ - ผู้เชี่ยวชาญศาล - ผู้ทำแผน บริหารแผน - ผู้ประเมินหลัก ผู้ประเมินหลักชั้นวุฒิ
26
ขั้นตอนการบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ
ผู้รับหลักประกัน มีหนังสือแจ้งเหตุบังคับ หลักประกันไปยัง ผู้บังคับหลักประกัน ผู้บังคับ หลักประกัน กำหนดวัน เวลา และ สถานที่ไต่สวนข้อเท็จจริง ภายใน 7 วัน ผู้บังคับหลักประกันทำการไต่สวนและวินิจฉัย เหตุบังคับหลักประกัน ภายใน 15 วัน ผู้ให้หลักประกันส่งมอบกิจการ ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สิน และหนี้สิน และสิทธิต่างๆ ภายใน 7 วัน จัดสรร เงินที่ได้จาก การจำหน่าย กิจการ
27
บทกำหนดโทษ ผู้ให้หลักประกัน
แสดงข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดความจริงในการดำเนินการทางทะเบียน ไม่ยื่นขอจดทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่จัดทำบัญชีทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน เอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือไร้ประโยชน์ ย้าย ซ่อนเร้น หรือโอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไปให้ผู้อื่นโดยทุจริต เมื่อมีเหตุบังคับหลักประกัน ผู้ให้หลักประกันไม่ได้ดำเนินการแจ้งเหตุที่ไม่ส่งมอบกิจการที่เป็นหลักประกันหรือแจ้งเหตุอันเป็นเท็จ จำหน่าย จ่ายโอนทรัพย์สิน หรือกระทำการใดๆ อันทำให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันบุบสลาย หรือเสื่อมค่า ไม่แจ้งเหตุผลความจำเป็นในการจำหน่ายทรัพย์สิน รวมทั้งไม่ได้วางเงินประกันหรือหลักประกันตามจำนวนที่ผู้บังคับหลักประกันกำหนด ส่งมอบหรือแสดงดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารอันเป็นเท็จเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน และสิทธิต่างๆที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน หรือ ไม่แจ้งเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถส่งมอบทรัพย์สินได้ ผู้ให้หลักประกัน
28
บทกำหนดโทษ ผู้รับหลักประกัน
แสดงข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดความจริงในการดำเนินการทางทะเบียน ไม่ยื่นขอจดทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ดำเนินการแจ้งวัน เวลา สถานที่ และวิธีการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ไม่ดำเนินการแจ้งผู้ให้หลักประกันทราบกรณีหักบัญชีเงินฝากเพื่อชำระหนี้ บังคับหลักประกันให้หลุดเป็นสิทธิไม่ชอบด้วยกฎหมาย แสดงข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดความจริงในการร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับหลักประกันหรือในการแจ้งผู้บังคับหลักประกัน เพื่อให้มีคำวินิจฉัยบังคับหลักประกัน เปิดเผยข้อมูลหรือความลับในการประกอบธุรกิจของผู้ให้หลักประกัน เพื่อประโยชน์ตนเองหรือผู้อื่น
29
บทกำหนดโทษ ผู้บังคับหลักประกัน
ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือกระทำการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ โดยมุ่งหมายให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ให้หลักประกันหรือผู้รับหลักประกันข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดความจริงในการดำเนินการทางทะเบียน เปิดเผยข้อมูลหรือความลับที่ล่วงรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูลหรือความลับในการประกอบธุรกิจหรือข้อมูลอื่นใดขอผู้ให้หลักประกัน อันเป็นข้อมูลหรือความลับที่ตามปกติวิสัยของผู้ให้หลักประกันจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ เว้นแต่ เป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือเพื่อประโยชน์ในการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี หรือเป็นการเปิดเผยโดยผู้ให้หลักประกันได้ให้ความยินยอมแล้ว
30
บทกำหนดโทษ ผู้ใด (เช่น เจ้าพนักงานทะเบียน เจ้าหน้าที่ หรือใครก็ตาม)
เปิดเผยข้อมูลหรือความลับล่วงรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูลหรือความลับจากผู้รับหลักประกัน หรือผู้บังคับหลักประกันเนื่องในการปฏิบัติราชการ หรือการสอบสวน หรือการพิจารณาคดี ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เว้นแต่ เป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือเพื่อประโยชน์ในการสอบสวน หรือการพิจารณาคดี หรือเป็นการเปิดเผยโดยผู้ให้หลักประกันได้ให้ความยินยอมแล้ว
31
กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมฯ
(1) การจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ กรณีทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเป็นที่ดิน ให้เรียก เท่ากับค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง (ร้อยละ 1 ไม่เกิน 200,000 บาท) (ข) กรณีทรัพย์สินอื่นนอกจาก (ก) และกิจการ ร้อยละ 0.1 ไม่เกิน 1,000 บาท (2) การแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินที่ตกลงใช้ทรัพย์สินเป็นประกัน เฉพาะจำนวนเงินในส่วนที่เพิ่ม (3) การแก้ไขรายการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ยกเว้นรายการจำนวนเงินที่ตกลงใช้ทรัพย์สินเป็นประกัน ครั้งละ 200 บาท (4) การยกเลิกการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ 200 บาท (5) การออกหลักฐานการจดทะเบียน ฉบับละ (6) การตรวจดูรายการจดทะเบียน 50 บาท (7) การถ่ายข้อมูลที่ได้จากระบบคอมพิวเตอร์ 800 บาท การบันทึกข้อมูลที่มีความยาวของระเบียนไม่เกินสองร้อยอักขระ ระเบียนละ 0.30 บาท (8) ใบอนุญาต (ผู้บังคับหลักประกัน) 1,500 บาท (9) ค่าต่ออายุใบอนุญาต (ผู้บังคับหลักประกัน) 500 บาท (10) ใบแทนใบอนุญาต (ผู้บังคับหลักประกัน) 100 บาท
32
กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ
ข้อมูลติดต่อ กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ ภายใน 3205, 3982 Page : DBD หลักประกันทางธุรกิจ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.