งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เรื่องเกี่ยวกับไม้ จัดทำโดย นาวาตรี วีรพัฒน์ ฤดี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เรื่องเกี่ยวกับไม้ จัดทำโดย นาวาตรี วีรพัฒน์ ฤดี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เรื่องเกี่ยวกับไม้ จัดทำโดย นาวาตรี วีรพัฒน์ ฤดี
จัดทำโดย นาวาตรี วีรพัฒน์ ฤดี ตำแหน่ง นายช่างแผนงานแผนกซ่อมสร้าง วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2 แผนกรถเครื่องทุ่นแรง แผนกสถานที่และบริการ หมวดบำรุงรักษาเครื่องมือ
กองงานโยธา ชย.ทร. (กยธ.ชย.ทร.) ธุรการ กยธ.ชย.ทร. แผนงาน กยธ.ชย.ทร. แผนกซ่อมสร้าง แผนกรถเครื่องทุ่นแรง แผนกสถานที่และบริการ หมวดช่างไม้ หมวดงานสถานที่ หมวดช่างปูน หมวดงานครุภัณฑ์ หมวดช่างเหล็ก หมวดแรงงานและเครื่องทุ่นแรง หมวดช่างประปาและสุขาภิบาล หมวดบำรุงรักษาเครื่องมือ หมวดช่างสี

3 โครงสร้าง แผนกซ่อมสร้าง กยธ.ชย.ทร.
หัวหน้าแผนกซ่อมสร้าง อัตรา นาวาโท นายช่าง แผนกซ่อมสร้าง อัตรา นาวาตรี เสมียน อัตรา พันจ่าเอก นายช่าง แผนกซ่อมสร้าง อัตรา นาวาตรี ช่าง แผนกซ่อมสร้าง อัตรา พันจ่าเอก กระซับ อัตรา จ่าเอก ช่าง แผนกซ่อมสร้าง อัตรา พันจ่าเอก เจ้าหน้าที่แผนงาน อัตรา พันจ่าเอก เจ้าหน้าที่แผนงาน อัตรา พันจ่าเอก หมวดช่างไม้ หัวหน้าหมวดช่างไม้ (อัตรา เรือเอก) ช่างหมวดช่างไม้ (อัตรา พันจ่าเอก) ช่างหมวดช่างไม้ (อัตรา จ่าเอก) หมวดช่างปูน หัวหน้าหมวดช่างปูน (อัตรา เรือเอก) ช่างหมวดช่างปูน (อัตรา พันจ่าเอก) ช่างหมวดช่างปูน (อัตรา จ่าเอก) หมวดช่างเหล็ก หัวหน้าหมวดช่างเหล็ก (อัตรา เรือเอก) ช่างหมวดช่างเหล็ก (อัตรา พันจ่าเอก) ช่างหมวดช่างเหล็ก (อัตรา จ่าเอก) หมวดช่างประปาและสุขาภิบาล หัวหน้าหมวดช่างประปาฯ (อัตรา เรือเอก) ช่างหมวดช่างประปาฯ (อัตรา พันจ่าเอก) ช่างหมวดช่างประปาฯ (อัตรา จ่าเอก) หมวดช่างสี หัวหน้าหมวดช่างสี (อัตรา เรือเอก) ช่างหมวดช่างสี (อัตรา พันจ่าเอก) ช่างหมวดช่างสี (อัตรา จ่าเอก)

4 วิสัยทัศน์ กองงานโยธา ชย.ทร.
วิสัยทัศน์ กองงานโยธา ชย.ทร. “ กองงานโยธา ชย.ทร. จะให้บริการงานช่างโยธาที่มีคุณภาพ รวดเร็ว ทันเวลา ทันสมัย โปร่งใส ชัดเจน ปฏิบัติงานเชิงรุกด้านจิตวิญญาณ บริการด้วยมิตรไมตรี มีมาตรฐานและประสิทธิภาพ “

5 ภารกิจ กองงานโยธา กรมช่างโยธาทหารเรือ
(อัตราเฉพาะกิจ) แผนกซ่อมสร้าง กยธ.ชย.ทร. มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการสร้าง ซ่อมแซม ดัดแปลง ตกแต่ง รื้อถอน อาคาร สถานที่ สิ่งก่อสร้าง งานโยธาต่างๆ งานระบบประปาและสุขาภิบาลตามที่ได้รับมอบหมาย หมวดช่างไม้ มีหน้าที่ดำเนินงานช่างไม้ และสนับสนุน ช่างไม้ในการปฏิบัติภารกิจของกองงานโยธา ตามที่ได้รับมอบหมาย หมวดช่างปูน มีหน้าที่ดำเนินงานเทคอนกรีต ก่ออิฐ ฉาบปูน ซ่อมแซมงานปูน ก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง ที่เป็นคอนกรีต และสนับสนุน ช่างปูนในการปฏิบัติภารกิจของกองช่างโยธา ตามที่ได้รับมอบหมาย หมวดช่างเหล็ก มีหน้าที่ดำเนินการผูกเหล็กเสริมคอนกรีต งานโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ งานแล่นประสาน การทำชิ้นงานเหล็ก และสนับสนุน ช่างเหล็กในการปฏิบัติภารกิจของกองงานโยธา ตามที่ได้รับมอบหมาย หมวดช่างประปาและสุขาภิบาล มีหน้าที่ดำเนินงานประปาและสุขาภิบาล รวมทั้ง สนับสนุน ช่างประปาในการปฏิบัติภารกิจของ กองช่างโยธา ตามที่ได้รับมอบหมาย หมวดช่างสี มีหน้าที่ดำเนินการทาสี อาคาร และชิ้นงานต่างๆ รวมทั้ง สนับสนุน ช่างสีในการปฏิบัติภารกิจของกองช่างโยธา ตามที่ ได้รับมอบหมาย

6 กำหนด จนท. รับผิดชอบ ไปสำรวจ กงช.ชย.ทร.
FLOW CHART แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานซ่อมทำของ กองงานโยธา ชย.ทร. ที่ปรับปรุงตามโครงสร้างใหม่ งานเข้า ใบสั่งงานจาก กงช.ชย.ทร. งานเข้า ใบรายงานซ่อมทำ นายทหารแผนงานกอง ลงข้อมูล ธุรการฯลงรับ ธุรการฯลงรับ กำหนด จนท. รับผิดชอบ ไปสำรวจ กงช.ชย.ทร. ดำเนินการโดย แผนกที่รับผิดชอบ พิจารณาขีด ความสามารถ เสนอ กงช.ฯ ซ่อมทำไม่ได้ ผอ.ลงนาม ซ่อมทำได้และมีวัสดุ ซ่อมทำได้และไม่มีวัสดุ ออกใบสั่งงาน ออกใบสั่งงาน ผอ.ลงนาม ออกใบจัดหา ผอ.ลงนาม ผ.พัสดุช่าง กพด.ชย.ทร. จัดหาได้แล้วแจ้ง กยธ.ฯ วางแผน / ประกอบกำลัง จัดช่างเบิกพัสดุ ดำเนินการ จัดช่างเบิกพัสดุ ให้หน่วยเซนต์ปิดงาน และ ประเมินผล ส่งแผนก รายงาน แผนงาน กยธ.ฯ ใบสั่งงานและ ใบประเมินผล ลงข้อมูล / รวบรวมสถิติเสนอ กงช.ชย.ทร. เสร็จงาน น.ท.ศักดา บัวศรี

7 ไม้ นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์เริ่มรู้จักใช้ป่าและใช้ไม้ในป่ามาประดิษฐ์เครื่องมือในการล่าสัตว์ เช่น กับดัก ลูกดอก หอก ฯลฯ จากนั้นก็เริ่มใช้ไม้ในการหุงต้มอาหาร ก่อเพิงพักอาศัย จวบจนปัจจุบันนี้มนุษย์มีเทคโนโลยีมากมาย รู้จักนำไม้มาประกอบโครงสร้างสำหรับรับน้ำหนักได้ตามที่ต้องการ นำไม้ไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่างๆ ฯลฯ เนื่องจากไม้เป็นวัสดุธรรมชาติที่สามารถตัดโค่นนำมาใช้ได้ง่าย ทำให้ป่าไม้ในประเทศไทยซึ่งเดิมเคยมีอยู่ถึงประมาณ70 % ของพื้นที่ประเทศ นับถึงปัจจุบันนี้กรมป่าไม้ได้รายงานว่าป่าไม้ได้ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วจนเหลือไม่ถึง30% แล้ว โดยสาเหตุสำคัญเกิดจาก 3 สาเหตุใหญ่ๆ คือ เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น อัคคีภัย วาตภัย และอุทกภัย เกิดจากการทำลายของสัตว์เอง เช่น การกัดกินของสัตว์เพื่อการดำรงชีพ การกัดแทะของสัตว์และแมลงเพื่อการอยู่อาศัย การผุพังเนื่องจากเชื้อราหรือจุลินทรีย์ และเกิดจากภัยมนุษย์ ซึ่งถือเป็นภัยที่รัายแรงที่สุดที่ได้ทำลายป่าไม้ลงอย่างรวดเร็วและมากมาย เช่น การลักลอบตัดโค่นไม้เพื่อการค้า การลักลอบเผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย หรือเพื่อบุกรุกยึดครองเป็นที่ทำกินในเชิงธุรกิจ ฯลฯ

8 โครงสร้างของเนื้อไม้
การเจริญเติบโตของต้นไม้ต้องอาศัยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ 1. ราก ทำหน้าที่ยึดกับพื้นดินไม่ให้ต้นไม้ล้ม และดูดสารอาหารส่งผ่านลำต้นไปสู่ใบ 2. ลำต้น ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของต้น และลำเลียงสารอาหารไปยังใบทุกส่วน 3. ใบ ทำหน้าที่รับแสงอาทิตย์เพื่อนำมาปรุงอาหารเสร็จแล้วส่งกลับไป ยังเยึ่อเจริญซึ่งอยู่ในลำต้น ทำให้ลำต้นมีการเจริญเติบโต โครงสร้างของต้นไม้ประกอบด้วยเซลล์ (cell) หรือเส้นใย (fiber) ในลักษณะต่างๆ เกาะยึดกันจนเป็นรูปลำต้นขึ้นมา ถ้าเราแบ่งเซลล์ออกตามลักษณะการเรียงตัวดังแสดงในรูปที่ 2.1 จะสามารถแบ่งได้ 2 ชนิดคือเซลล์ทีเรียงตัวยาวไปตามลำต้น เรียกว่า เซลล์ไม้ (wood cell) และเซลล์ที่เรียงตัวไปตามแนวขวางของลำต้นเรียกว่า เซลล์รังสี (ray cell) นอกจากนั้นเซลล์ต่าง ๆ ยังสามารถแบ่งตามหน้าที่การทำงานออกได้อีก 3 ชนิดคือ

9

10 1. เซลล์ลำเลียง (Conducting Tissue) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ลำเลียงธาตุอาหารต่างๆ โดยทั่วไป จะเป็นเซลล์ขนาดใหญ่ แต่มีผนังเซลล์บาง 2. เซลล์ค้ำจุน (Supporting Tissue) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงแก่ลำต้น โดฏทั่วไป จะเป็นเซลล์ขนาดเล็ก แต่มีผนังเซลล์หนา 3. เซลล์สะสม (Storage Tissue) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สะสมอาหารไว้ในลำต้น โดยทั่วไปจะเป็นเซลล์ที่มีรูปร่างเป็นเหลี่ยมแบนและมีผนังเซลล์บาง ลักษณะการเรียงตัวของเซลล์อาจจะเรียงตัวตามแนวยาวขนานกับลำต้นหรือขวางกับลำต้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับไม้แต่ละชนิด โดยที่ตัวเซลล์นั้นจะประกอบด้วยผนังเซลล์ (cell wall) และเยื่อชีวิต (protoplasm)อยู่ภายในเซลล์ ซึ่งเมื่อเซลล์เจริญเต็มที่ก็จะตาย และเยื่อชีวิตก็จะกลายเป็นเนื้อไม้ สำหรับผนังเซลล์นั้นจะมีส่วนประกอบของสารเซลลูโลส (cellulose) ประมาณ 60 % ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่ผนังเซลล์ และลิกนิน (1ignin) ประมาณ 30% ซึ่งอยู่ระหว่างเซลล์ต่อเซลล์ ทำหน้าที่เชื่อมประสานเซลล์ให้ติดกันเป็นเนื้อไม้ นอกเหนือจากนั้นจะเป็นส่วนประกอบจากสารอื่นๆ การเจริญเติบโตของต้นไม้จะเกิดจากการเพิ่มเซลล์ทางสูงของลำต้นมากกว่าทางด้านข้าง และการเจริญเติบโตของต้นไม้ในแต่ละรอบปีจะทำให้เกิดเส้นวงปีขึ้น โดยถ้าปีใดแล้งมากเส้นวงปีนี้ก็จะมีสีจางลง

11

12 ลักษณะหน้าตัดของไม้ ถ้าพิจารณาแม้ตามแนวหน้าตัดตามขวางของต้นไม้ ไม้จะประกอบด้วย 7 ส่วน คือ
1. ไส้ไม้หรือใจไม้ (Pith) เป็นส่วนที่อยู่ตรงกลางลำต้นของต้นไม้ เป็นจุดเริ่มต้นของการเจริญ เติบโตของต้นไม้ อันจะทำให้เกิดลำต้น กิ่งก้าน และใบ ซึ่งเมื่อต้นไม้มีอายุมากขึ้น ไส้ไม้ก็จะกลายเป็นโพรงซึ่งในแง่กลสมบัติของไม้ถือว่าไมัที่มีโพรงจะสามารถรับกำลังไดัต่ำ เป็นไม้ที่มีตำหนิ จะไม่นำมาใช้ในงานก่อสร้าง เป็นอันขาด 2. ไม้แก่น (Heartwood) เป็นส่วนที่อยู่ถัดออกมาจากไส้ไม้ แก่นไม้คือเซลล์ต่างๆ ของต้นไม้ที่ไม่ ทำงานแล้ว และจะเป็นส่วนที่แข็งที่สุด ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างให้กับลำต้น ส่วนของไม้แก่นนี้จะมีเนื้อสีเข้มเนื่องจากยังมีสารอาหารต่าง ๆ ตกค้างอยู่ ไม้แก่นเป็นไม้ที่นำมาให้รับกำลังได้ดีในงานก่อสร้างต่าง ๆ 3. กระพี้ (Sapwood) เป็นส่วนที่อยู่ถัดออกมาจากไม้แก่น อยู่ระหว่างเปลือกชั้นในกับไม้แก่น เนื้อ กระพี้จะมีสีจางกว่าไม้แก่น ทำหน้าที่ลำเลียงธาตุอาหารต่าง ๆ ไปสู่ใบ และเป็นที่เก็บสะสมอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ซึ่งเมื่อต้นไม้เจริญเติบโต เนื้อไม้ที่งอกขึ้นมาใหม่ก็จะทำหน้าที่แทนกระพี้เดิม และกระพี้เดิมก็จะกลายเป็นไม้แก่นแทนต่อไป

13 4. เยื่อเจริญ (Cambium) เป็นเซลล์บาง ๆ ที่มีชีวิตอยู่ระหว่างกระพี้กับเปลือกชั้นใน การเจริญ เติบโตของเนื้อไม้และเปลือกไม้จะเกิดจากการแบ่งเซลล์ของเยื่อเจริญ โดยเซลล์เยื่อเจริญที่แบ่งอยู่ด้านในก็จะกลายเป็นเนื้อไม้ ส่วนเซลล์ที่แบ่งตัวด้านนอกก็จะกลายเป็นเปลือกชั้นใน ที่จะค่อย ๆ ขยายตัวตามการเติบโตของลำต้น ซึ่งก็จะไปดันเปลือกชั้นนอกให้แตกเป็นร่องหรือลายต่าง ๆ ตามที่เราเห็นกันทั่วไป 5. เปลือกชั้นใน ( Inner Bark) เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิต ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่ผ่านการสังเคราะห์ แล้วจากใบสั่งไปเลี้ยงลำต้นส่วนต่าง ๆ เพื่อให้ไม้มีการเจริญเติบโต 6. เปลือกชั้นนอก (Outer Bark) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของลำต้น เป็นเซลล์ที่ตายแล้วและเเห้งแข็ง ทำหน้าที่ห่อหุ้มลำต้นไวัเพื่อป้องกันอันตรายให้กับลำต้น เช่น การเสียดสี การกัดแทะ และอุณหภูมิการใช้งาน 7. เส้นวงรอบปี (AnnaI Growth Ring) เส้นวงรอบปีนี้จะเป็นเส้นที่บ่งบอกถึงแนวต่อของไม้ที่เจริญเติบโตขึ้นมาในแต่ละรอบปีหรือแต่ละฤดู โดยถ้าไม่อยู่ในท้องถิ่นที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ระยะห่างของเส้นวงรอบปีนี้ก็จะห่างมาก สีของเส้นจะจาง แต่ถัาในท้องถิ่นใดแห้งแล้งไม่อุดมสมบูรณ์ เส้นวงรอบก็จะถี่บ่งบอกถึงการเติบโตที่ช้า ซึ่งสีของเส้นก็จะเข้ม โดยทั่วไปประมาณกันว่าเส้นวงรอบหนึ่งเส้นจะเท่ากับอายุของต้นไม้หนึ่งปี ยกเว้นต้นไม้บางชนิด เช่น ไม้สัก ซึ่งในหนึ่งปีอาจมีถึง 2 วง หรือต้นไม้ที่เกิดใบร่วงหมด ซึ่งจะทำให้การเจริญเติบโตไม่ครบวงรอบ

14 ลายไม้และตำหนิของไม้ การนำไม้มาใช้งาน จะเริ่มจากการตัดโค่นต้นไม้ให้เป็นท่อน ที่เรียกว่า ซุง (1og) และเมื่อนำซุงมาแปรรูปโดยการผ่าหรือเลื่อย เราก็จะได้ไม้แปรรูปที่มีลายต่าง ๆ (ในทางวิศวกรรมก่อสร้างเราเรียกว่า เสี้ยนไม้) กันตามลักษณะของการผ่า ดังแสดงในรูปที่ 2.4 แล้วรูปที่ 2.5 

15 ตำหนิของไม้ ไม้ที่ผ่านการแปรรูปมาแล้ว ก่อนที่จะนำไปใช้ในงานก่อสร้าง ผู้เกี่ยวข้องจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของชิ้นแม้ไม่ให้มีตำหนิมากเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด เพราะถ้าเกินก็จะส่งผลต่อการรับกำลังของไม้ เมื่อนำไปใช้งาน โดยทั่วไปตำหนิของไม้อาจเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ 1. ตำหนิที่เกิดจากผลด้านชีววิทยา ตำหนิของไม้ที่เกิดจากผลด้านชีววิทยาได้แก่ " เชื้อรา (Fungi) เชื้อราเป็นพืชชั้นต่ำ มีลักษณะเป็นรากฝอยลุกลามไปเรื่อย ๆ เจาะกินเซลลูโลสในเนื้อไม้เป็นอาหาร ทำให้เนื้อไม้ผุ เชื้อราจะเจริญเติบโตได้จะต้องอาศัยความชื้น อุณหภูมิ และอากาศที่เหมาะสม ซึ่งสามารถสังเกตได้ว่าไม้ที่อยู่ใกล้ ๆ พื้นดินหรือพื้นที่กึ่งเปียกกึ่งแห้งจะช่วยให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี " แบตทีเรีย (Bacterial) เป็นพวกที่เกาะกินอาหารอยู่บนผิวไม้ ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ไม้ผุโดยตรงถึงเเม้ว่าผิวไม้จะถูกกินจนผิวกร่อนลึกลงไป ก็ไม่อาจทำให้ไม่เกิดความเสียหายได้ " ปลวก (Termites) ปลวกหรือแมลงเม่าที่เรารู้จักกันดีจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ ปลูกที่ชอบอยู่ใต้ดิน ค่อยๆ ทำรังไต่ขึ้นมาตามผนังบ้าน และปลูกที่มีปีกซึ่งจะชอบมาทำรังใต้หลังคาบ้าน ปลูกเป็นแมลงที่กัดกินทำลายไม้ทั้งท่อนได้อย่างรวดเร็ว

16 " มอส (Weevils) เป็นแมลงปีกแข็งตัวเล็ก ๆ ชอบกินเฉพาะแป้งที่มีในเนื้อไม้ แต่ไม่กินเนื้อไม้เหมือนกับปลวก ความรุนแรงของการทำลายไม้จึงน้อยกว่า โดยถ้าเราพบเศษขุยคล้ายผงแป้งล่วงหล่นเป็นกองเล็กๆ ใกล้ ๆ กับชิ้นไม้ เราก็จะพบว่ามีรูเล็ก ๆ เท่ารูเข็มเต็มไปหมด ซึ่งก็คือรูที่มอดเจาะเข้าไปกินแป้งแล้วถ่ายออกมาเป็นผงนั่นเอง " เพรียง (Barnacles) เพรียงเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามแถบชายฝั่งทะเล อาศัยอยู่ในไม้ที่ปักอยู่ในทะเล เช่น สะพานเรือ ท่าเทียบเรือ เสาบ้านชายทะเล ฯลฯ โดยจะกัดเจาะไม้ให้เป็นรูเพื่อฝังตัวอยู่ข้างใน ซึ่งไม้ท่อนใดที่มีเพรียงเกาะอยู่มากก็อาจถูกเจาะจนหักพังไปได้ 2. ตำหนิที่เกิดจากโครงสร้างทางด้านฟิสิกส์ ตำหนิของไม้ที่เกิดจากโครงสร้างทางด้านฟิสิกส์ ได้แก่ " ตาไม้ (Knots) ตาไม้คือส่วนที่กิ่งไม้ยื่นออกมาจากลำต้น ตาไม้จะทำให้ความต่อเนื่องของเสี้ยนต้องสะดุดไม่ราบเรียบ และขนาดของตาแม้จะมีผลเสียต่อการรับกำลังในงานก่อสร้าง โดยอาจมีผลเสียน้อยในด้านการรับแรงอัดถ้าเกิดอยู่ในไม้เสา แต่ถ้าอยู่ในคาน จะมีผลต่อการต้านทานแรงดัดของคานเป็นอย่างมาก

17

18 " รอยปริ (Checks) หมายถึงรอยแตกขของไม้ตามแนวเสี้ยนหรือแนวรัศมีตามขวางกับเส้นวงปี รอยแตกนี้จะเกิดจากการหดตัวของไม้ที่มีความชื้นไม่เท่ากัน พบมากที่บริเวณปลายไม้ ซึ่งจะไม่ค่อยมีผลต่อการรับกำลังอัด แต่จะมีผลเสียต่อกำลังต้านทานแรงเฉือนและแรงดึงตั้งฉากเสี้ยน " รอยร้าว (Shakes) หมายถึง รอยเเตกของไม้ตามแนวยาวระหว่างรอบของเส้นวงปี รอยแตกนี้เกิดขื้นในขณะที่วงปีกำลังจะงอกขึ้นมาใหม่แล้วเกิดมีลมแรงพัดให้ต้นไม้โยกไปมา ทำให้วงปีเก่ากับวงปีใหม่เกาะติดกันได้ไม่สนิท  ประเภทของไม้และกลสมบัติของไม้ ไม้ที่เรานำมาใช้ในงานก่อสร้างมีอยู่หลายชนิดและหลายประเภท ซื่งการรับกำลังก็จะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการเลือกใช้ไม้ให้ถูกต้องตามลักษณะของงานก่อสร้างนั้นย่อมจะก่อให้เกิดความปลอดภัยแล้วเหมาะสมกับประเภทของงานนั้นๆ ในที่นี้ขอกล่าวถึงมาตรฐานของวิศวกรรมสถานเเห่งประเทศไทย (วสท.) ที่ได้แบ่งชนิดไม้ไวั 5 ประเภทคือ ไม้เนื้ออ่อนมาก ไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อปานกลาง ไม้เนื้อแข็ง และไมัเนื้อเเข็งมากและได้กำหนดกลสมบัติต่าง ๆ ของไม้ที่จำเป็นต่อการออกเเบบงานโครงสร้างดังแสดงในตารางที่ 2.1 

19

20

21

22 สำหรับค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ตามมาตรฐานของ วสท
สำหรับค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ตามมาตรฐานของ วสท. และข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครได้กำหนดไว้ ดังนี้

23 มาตรฐานไม้ก่อสร้าง ไม้แปรรูปที่นำมาใช้ในงานก่อสร้าง เราจะเรียกว่า timber โดยจะต้องเป็นไม้ก่อสร้างที่ดี ปราศจากตัวมอด มีหน้าเรียบ เลื่อยได้เหลี่ยมฉาก เมื่อไสแล้วต้องไม่เล็กกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไม้ก่อสร้างมาตรฐานตาม วสท. จะแบ่งออกได้ 4 ประเภทคือ ไม้ก่อสร้างชั้น 1 ไม้ก่อสร้างชั้น 2 ไม้ก่อสร้างชั้น 3 และไม้ด้อยคุณภาพ ในการเทียบชั้นมาตรฐานนั้น ให้ยึดมาตรฐานไม้ก่อสร้างชั้น 2 เป็นเกณฑ์ " ไม้ก่อสร้างชั้น 1 มาตรฐานกำหนดให้มีตำหนิได้เพียงครึ่งหนึ่งของไม้ก่อสร้างชั้น 2 แต่ไม่ยอมให้มีตาหลุด ตาผุ และมุมของเสี้ยนขวางจะต้องไม่ชันกว่า 1 ใน 20 กับแนวขอบไม้ทางยาว " ไม้ก่อสร้างชั้น 3 มาตรฐานกำหนดยอมให้มีตำหนิได้ถึง 1 1/2 ของไม้ก่อสร้างชั้น 2 และมุมของเสี้ยนบนขวางจะ ต้องไม่ชันกว่า 1 ใน 12 กับแนวขอบของไม้ทางยาว " ไม้ด้อยคุณภาพ เป็นไม้ที่มีคุณภาพต่ำกว่าไม้ก่อสร้างชั้น 3 ไม่สมควรนำมาใช้ในงานโครงสร้างแต่อาจนำมาใช้เป็นไม้แบบหรือค้ำยันงานเล็กน้อยไดั โดยมาตรฐานไม้ก่อสร้างชั้น 2 ยอมให้มีตำหนิได้ไม่เกินดังนี้

24 " ตาไม้ ขนาดของตาไม้ให้ถือค่าเฉลี่ยของเส้นศูนย์กลางที่กว้างที่สุดและแคบที่สุดเป็นหลัก โดยที่ผลบวกของเส้นผ่านศูนย์กลางของตาทั้งหมดที่อยู่ในช่วงครึ่งกลางของความยาวคานจะต้องไม่เกินขนาดความกว้างของไม้ที่มีตานั้น และขนาดสูงสุดของตาไม้จะยอมได้ไม่เกินค่าที่กำหนดในตารางที่ 2.3 " รอยแตกรอยร้าว ความกว้างของรอยแตกรอยร้าววัดที่ปลายไม้ตามแนวดิ่ง ยอมให้ได้ไม่เกินค่าที่กำาหนดในตารางที่ 2.4 " เสี้ยนขวาง มุมของเสี้ยนขวางจะต้องไม่ชันกว่า 1 ใน 15 กับแนวขอบของไม้ทางยาว " กระพี้ ยอมให้มีได้สำหรับไม้ที่ใช้ในงานก่อสร้างชั่วคราว แต่ถ้าเป็นไมัที่ใช้ในงานก่อสร้างที่ถาวรจะยอมให้มีกระพี้บนหน้าไม้ทั้ง 4 หน้าได้ไม่เกิน 15% หรือต้องผ่านการอาบน้ำยากันผุก่อนนำไปใช้

25

26 ไม้ที่ใช้ในงานโครงสร้าง ไม้ที่แปรรูปแล้วดังแสดงในรูปที่ 2
ไม้ที่ใช้ในงานโครงสร้าง ไม้ที่แปรรูปแล้วดังแสดงในรูปที่ 2.9 และนำมาใช้ในงานก่อสร้างจะมีรายละเอียดดังนี้ 1. ไม้กระดาน (Planks) เป็นแผ่นไม้ลักษณะแบนๆ ใช้สำหรับทำเป็นพื้นบ้าน หรือใช้ทำเป็นฝาบ้าน เชิงชายและปั้นลม ไม้กระดานสำหรับใช้ทำไมัพื้นมักมีขนาด 1x 4, l x 6 และ l x 8 นิ้ว ส่วนที่ใช้สำหรับทำเป็นฝาหรือเชิงชายอาจมีขนาด 1/2 x 6 นิ้ว, 3/4 x 8 นิ้ว ฯลฯ ชนิดไม้ที่นิยมนำมาทำมีอยู่หลายชนิด เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้ตะเคียนทอง และไม้ยางขาว เป็นต้น 2. ไม้คานหรือตง (Beams or Joists) เป็นไม้ที่ต้องทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักจากพื้น จึงต้องเป็นไม้ประเภทเนื้อแข็งเท่านั้น ขนาดโดยทั่วไปของตงคือ 1 1/2 x 5 นิ้ว และ 2 x เมตร ส่วนขนาดของคานทั่วไปคือ 2 x 6 นิ้ว, x 6 นิ้ว 2 x 8 นิ้ว และ 2 x 10 นิ้ว ชนิดไม้ที่นิยมมาใช้มีอยู่หลายชนิด เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ และไม้มะค่าโมง เป็นต้น 3. ไม้อเส ขื่อและอกไก่หรือจันทัน (Roof Beams & Rafters) เป็นไม้ที่ต้องทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักจากหลังคา ทำหน้าที่คล้ายกับคานหรือตง จึงต้องเป็นไม้ประเภทเนื้อแข็งเท่านั้น ขนาดโดยทั่วไปของจันทันคือ 1 1/2 x 5 นิ้ว 2 x เมตร ส่วนขนาดทั่วไปของอเสหรือขื่อหรืออกไก่คือ 2 x 6 นิ้ว และ2 x 8 นิ้ว ชนิดไม่ที่นิยมนำมาใช้มีหลายชนิด เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ และไม้มะค่าโมง เป็นต้น

27 4. ไม้เสา (Posts) เป็นไม้ที่ต้องทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักของอาคารทั้งหมด ชนิดของไม้ที่ใช้จึงต้องเป็นไม้เนื้อแข็งถึงแข็งมากเท่านั้น และขนาดของเสาไม้จะต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัดุรัสเท่านั้น เช่น 4 x 4 นิ้ว, 6 x 6 นิ้ว และ 8x 8 นิ้ว หรือเสากลม ซึ่งมักจะใช้กับบ้านทรงไทยเดิม ชนิดไม้ที่นิยมนำมาใช้มีหลายชนิด เช่นไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ และไม้มะค่าโมง เป็นต้น 5. ไม้แปหรือระแนง (Purlin or Batter) เป็นไม้ที่ทำหน้าที่รองรับกระเบื้องหลังคาซึ่งมีน้ำหนักไม่มากนัก ชนิดของไม้ที่ใช้จึงสามารถใช้ไม้เนื้ออ่อนได้ เช่น ไม้ยาง ขนาดของแปทั่วไปคือ 11/2 x เมตร ส่วนขนาดของระแนงทั่วไปคือ 1 1/2 x 1 1/2 นิ้ว หรือ 2 x เมตร 6. ไม้แบบ (Forrn work) เป็นไม้ที่ใช้สำหรับทำแบบหล่อให้กับงานคอนกรีต และใช้สำหรับงานโครงสร้างชั่วคราว ชนิดของไม้ที่ใช้จึงเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้กะบาก ขนาดของไม้แบบทั่วไปคือ l x 6 นิ้วหรือ 1 x 8 นิ้ว 7. ไม้วงกบประตูหรือหน้าต่าง (Doors or Windows Frame) ควรเป็นไม้ที่มีความแข็งปาน กลางและไม่หดตัวได้ง่าย หรืออาจต้องเป็นไม้ที่มีลายสวยงาม เช่น ไม้สัก ไม้แดง ไม้มะค่า และไม้ตะเคียนทอง ขนาดของไม้วงกบทั่วไปคือ 2 x 4 นิ้ว 8. ไม้เคร่า (Stud) แบ่งเป็นไม้เคร่าสำหรับยึดผนังหรือฝา และไม้เคร่าสำหรับยึดฝ้าเพดาน ซึ่งต้องแบกรับน้ำหนักไม่มากนัก ชนิดของไม้ที่ใช้จึงเป็นไม้เนื้ออ่อนได้ เช่น ไม้ยาง ขนาดของไม้เคร่าทั่วไปคือ 1 1/2 x เมตร ขนาดของไม้แต่ละขนาดนั้นเป็นขนาดที่ใช้เรียกขานกัน แต่ในสภาพจริง ๆ ไม้นั้นต้องผ่านการไสแต่งผิวให้เรียบพอประมาณ ขนาดที่ได้จริงจึงเล็กกว่าขนาดที่ปรากฏตามตัวเลขเสมอ แต่อย่างไรก็ตาม ไม้ที่มีขนาด 6 นิ้วลงมา ยอมให้ไสแล้วเล็กลงได้ไม่เกิน 3/8นิ้ว และไม้ที่มีขนาด 8 นิ้วขึ้นไป ยอมให้ไสแล้วเล็กลงได้

28

29 ผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมไม้อัด (Plywood) สืบเนื่องจากการที่ป่าไม้ถูกตัดทำลายเหลือน้อยลงทุกปี และการปลูกป่าทดแทนนั้นไม่สามารถทดแทนได้ทันกับการนำไม้ไปใช้ ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงได้มีนโยบายที่จะปฏิรูปการใช้ไม้ของประเทศให้เป็นไปโดยประหยัดตามหลักวิชาการ เศรษฐกิจ และสะดวกแก่การใช้งาน เช่น งานก่อสร้าง งานเครื่องเรือนต่างๆ งานทางอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยเหตุนี้บริษัท ไม้อัดไทย จำกัด จึงได้กำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ เพื่อสนองนโยบายของรัฐดังกล่าว

30 กรรมวิธีการผลิตไม้อัด 1
กรรมวิธีการผลิตไม้อัด 1. ไม้อัด (Plywood) หรือที่เรียกว่า ไม้อัดสลับชั้ณ หมายถึงการนำไม้บางๆ หลายๆ แผ่นมา ประกอบให้ยึดติดกันด้วยกาว การจัดวางไม้บางแต่ละแผ่นจะต้องมีแนวเสี้ยนขวางตั้งฉากกัน เพื่อช่วยเพิ่มคุณสมบัติด้านความแข็งแรง และลดการขยายตัวหรือหดตัวในระนาบของแผ่นให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด 2. ไม้บาง (Vencer) หมายถึงแผ่นไม้บางๆ ที่ไดัจากการปอกหรือฐานจากท่อนซุง จำนวนของไม้ บางที่ประกอบเป็นไม้อัดนั้นโดยปกติจะใช้ 3 ชั้น แต่ถ้าไม้อัดมีความหนามากกว่า 6 มิลลิเมตร อาจต้องใช้ ไม้บาง 5 ชั้นหรือมากกว่า 3. ซุ ง (Log) ที่นำมาใช้อาจเป็นได้ทั้งไม้สัก ไม้กระยาเลย ไม้ยมหิน ไม้มะปิน ไม้จำปา ไม้ยาง ไม้ปออีเก้ง ไม้สยา ฯลฯ ซึ่งก่อนนำซุงเข้าสู่กระบวนการผลิตจะต้องทำการตัดซุงออกเป็นท่อนๆ ให้มีความยาวพอดีกับเครื่องปอกหรือฝาน หลังจากนั้นจึงนำซุงไปต้มหรือนึ่งเสียก่อน เพื่อให้เนื้อซุงอ่อนตัว สะดวกต่อการปอกหรือฝานเป็นแผ่นบางๆ ได้ง่าย ซึ่งสารเคมีที่มีอยู่ในเนื้อไม้บางชนิดจะมีปฏิกิริยาที่จะช่วยรักษาเนื้อไม้ด้วย  

31

32 กรรมวิธีการผลิตไม้อัดมีดังต่อไปนี้ 1
กรรมวิธีการผลิตไม้อัดมีดังต่อไปนี้ 1. ต้มซุงให้ได้ตามที่กำหนดแล้วจึงนำซุงเข้าสู่แท่นเครื่องปอกหรือฝาน การปอกหรือฝานให้ไม้มี ความบางเท่าใดนั้น สามารถปรับตั้งที่ใบมีดได้ตามต้องการ 2. เมื่อได้ไม้บางออกมาก็ส่งลำเลียงต่อไปยังเครื่องอบ เพื่อควบคุมความชื้นให้เหมาะสม ป้องกัน การยืดหดของไม้ และทำให้การประกอบไม้อัดด้วยกาวนั้นสามารถแห้งได้ตามที่กำหนด 3 เมื่อไม้บางผ่านการอบแห้งแล้วจึงนำเข้าสู่เครื่องทากาวแล้ววางประกบกัน โดยแต่ละแผ่นจะต้องวางสลับเสี้ยน ตามจำนวนชั้นที่ต้องการด้วย เช่น 3 ชั้น, 5 ชั้น หรือ 7 หลังจากนั้นจึงนำไม้บางที่ ประกบกันตามต้องการนั้นเข้าเครื่องอัดร้อน อัดด้วยความร้อนและแรงอัดขนาดสูง ทำให้แผ่นไม้บางกับ กาวที่ทาไว้แห้งสนิทติดกันเป็นแผ่นเดียวกันออกมา เรียกว่า ไม้อัดสลับชั้น  

33

34

35 ไม้อัดแบ่งตามลักษณะการใช้งานออกได้ 3 ประเภทคือ 1
ไม้อัดแบ่งตามลักษณะการใช้งานออกได้ 3 ประเภทคือ 1. ประเภทใช้งานภายนอก เป็นไม้อัดที่ยึดติดด้วยกาวฟีนอลฟอร์มาดีไฮด์ ซึ่งทนทานต่อสภาพลมฟ้าอากาศได้ดี จึงเหมาะสำหรับใช้งานภายนอกอาคารหรือในที่ซึ่งถูกน้ำหรือเปียกชื้น เช่น ผนังภายนอก แบบหล่อคอนกรีต งานต่อเรือ ประตูห้องน้ำ ฯลฯ 2. ประเภทใช้งานภายใน เป็นไม้อัดที่ยึดติดด้วยกาวยูเรียฟอร์มาดีไฮด์ ซึ่งทนทานต่อสภาพลม ฟ้าอากาศได้ปานกลาง จึงเหมาะสำหรับใช้งานภายในอาคารหรือในที่ซึ่งไม่ถูกกับความชื้น เช่น กั้นผนังห้องภายใน ฝ้าเพดาน งานเฟอร์นิเจอร์ ประตู ฯลฯ 3. ประเภทใช้งานชั่วคราว เป็นไม้อัดที่ผลิตด้วยกาว ไม่ทนต่อความเปียกชื้น จึงเหมาะสำหรับใช้ งานชั่วคราวเท่านั้น เช่น ใช้ในงานป้ายโฆษณาในระยะสั้น ลงบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สัมผัสกับความชื้น กั้นห้อง คนงานชั่วคราว ฯลฯ ไม้อัดมาตรฐานทั่วไปจะมีขนาด 1.20 x 2.40 เมตร (แต่ขนาดจริง ๆ คือ 1.22 x 2.44 เมตร) ส่วนความหนามาตรฐานทั่วไปคือ 4, 6, 10, 15 และ 20 มิลลิเมตร

36

37 กรรมวิธีการผลิตแผ่นใยไม้อัดแข็ง (Hardboard) แผ่นใยไม้อัดแข็ง หรืออาจเรียกว่าแผ่นไม้เรียบ เกิดจากแนวคิดที่เห็นว่ามีเศษไม้ที่เหลือจากการแปรรูปไม้ที่มีมากมายแล้วถูกนำไปทิ้งหรือนำเอาไปเป็นฟืนเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรไม้อย่างไม่คุ้มค่า จึงได้พยายามพัฒนาโดยนำเอาเศษไม้ดังกล่าวมาผลิตเป็นวัสดุก่อสร้าง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีก เรียกว่า แผ่นใยไม้อัดแข็ง แผ่นใยไม้อัดแข็งคือแผ่นไม้ที่ผลิตขึ้นจากการนำเอาสารประเภทลิกโนเซลลูโลส (1igno celluloses) ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในไม้มาทำเป็นแผ่น โดยนำมาอัดให้เป็นแผ่นตามขนาดที่ต้องการด้วยกรรมวิธีการแบบเปียก (Wet Process)

38 ขั้นตอนการผลิตไม้อัดแบบเปียกมีรายละเอียดดังนี้ 1
ขั้นตอนการผลิตไม้อัดแบบเปียกมีรายละเอียดดังนี้ 1. เริ่มจากการนำเอาเศษไม้ซึ่งมีสารลิกโนเซลลูโลสอยู่ภายในเนื้อไม้เป็นจำนวนมากที่เรียกว่า ไฟเบอร์ (Fiber) หรือใย หรือเยื่อ นำมาเข้าเครื่องสับ สับให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ ดังแสดงในรูปที่ จากนั้นนำเข้าสู่เครื่องนึ่ง นึ่งด้วยไอน้ำเพื่อให้เนื้อไม้อ่อนตัว และนำไปบดให้ได้ไฟเบอร์หรือเยื่อได้ง่ายขึ้น สำหรับสารอื่นๆ ที่มีในเนื้อไม้ เช่น Linin pentosans จะละลายปนไปกับน้ำ เหลือไว้แต่เยื่อเพื่อนำไปทำแผ่นใยไม้อัดแข็งต่อไป 3. หลังจากนั้นนำเยื่อโรยลงบนสายพานตะแกรง ผ่านเครื่องดูดและบีบน้ำให้ได้ความหนาตามที่ต้องการ ซื่งแผ่นเยื่อจะถูกส่งเข้าเครื่องอัดร้อน อัดด้วยแรงอัดสูงถึง 55 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 21 oC ด้วยเวลาไม่น้อยกว่า 6 นาที แผ่นเยื่อจึงจะถูกอัดเป็นแผ่นใยไม้อัดแข็งที่มีความแข็ง (hardness) ความหนาแน่น (density) ความแข็งแรง (strength) ตลอดจนรูปลักษณะ (appearance) เหนือกว่าแผ่นไม้ธรรมดา 4. จากนั้นแผ่นใยไม้อัดแข็งก็จะถูกนำเข้าสู่เตาอบความร้อน อบอีกประมาณ 4 ชั่วโมงเพื่อปรับสภาพ จากนั้นนำเข้าเตาอบอีกชุดหนึ่งประมาณ 8 ชั่วโมงเพื่อปรับความชื้นแล้วจึงค่อยส่งออกจำหน่ายต่อไป  

39 แผ่นใยไม้อัดแข็งที่ผลิตได้จะมีทั้งประเภทผิวหน้าเรียบธรรมดากับผิวหน้าลวดลาย เช่น ลายไม้สัก ลายพิกุล ลายรางบัว ลายลูกฟูก ลายหนังแกะ ฯลฯ ใช้ในงานตกแต่งต่างๆ เช่น ฝ้าเพดาน กรุผนังภาย ใน กรุงานเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ กรุประตูด้านในของรถยนต์ ฯลฯ โดยจะมีขนาดความกว้างและความยาวเท่ากับไม้อัดคือ 1.20 x 2.40 เมตร ส่วนความหนาจะมีหลายขนาดคือ 2.5, 3, 3.2, 4, 4.8 และ 6 มิลลิเมตร

40 กรรมวิธีการผลิตแผนใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง (medium density fiberboard) หรือที่เรียกว่า แผ่นกระดาษ อัด หรือ แผ่นไม้ชานอ้อย เป็นผลิตภัณฑ์ไม้อัดที่ใช้เฉพาะงาน เช่น ใช้ทำบอร์ดประกาศต่างๆ ใช้ทำผนังกั้นห้องชั่วคราว ใช้กรุภายในงานเฟอร์นิเจอร์ ใช้กรุเป็นผนังฉนวน ให้เป็นถังบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลางจะผลิตจากเส้นใยของไม้ โดยใช้เศษไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้ยาง พารา ไม้ยูคาลิปตัส ไม้สน ชานอ้อย ฯลฯ ตามกระบวนการผลิตดังนี้ 1. นำเข้าเครื่องสับ สับให้ได้ขนาดตามที่ต้องการด้วยกรรมวิธีแบบแห้ง (dry process) 2. ลำเลียงเข้าสู่เครื่องอัด อัดด้วยความร้อนเพื่อให้เกิดการยึดเหนี่ยวระหว่างเส้นใยโดยมีกาวเป็น ส่วนประกอบ ซึ่งก็จะได้แผ่นไม้อัดที่มีความหนาแน่นปานกลางประมาณ กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ขนาดของแผ่นจะมีขนาดเท่ากับแผ่นไม้อัด 1.20 x 2.40 เมตร มีความหนาตั้งแต่ มิลลิเมตร นอกจากผลิตภัณฑ์ไม้อัดที่กล่าวมาแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ไม้อัดอื่นๆ อีกหลายชนิดที่ผลิตออกมาเพื่อ ให้เกิดการใช้ไม้อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น " แผ่นเซลโลกรีต แผ่นไม้อัดวีว่า เป็นแผ่นไม้อัดที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตโดยมีส่วนผสมของปูน ซีเมนต์ เพื่อทำให้เกิดคุณสมบัติที่เด่นขึ้น เช่น ทนทานต่อความชื้น เก็บเสียง กันความร้อน ใช้กับงานผนัง ภายนอก อาคาร ได้ " แผ่นชิปบอร์ด เป็นแผ่นไม้อัดที่ใช้เฉพาะภายใน เช่น ใช้กั้นห้องภายใน ใช้กรุงานเฟอร์นิเจอร์ ใชั กรุเครื่องเรือนต่าง ๆ ใช้กรุเครื่องเสียง ตู้ลำโพง โทรทัศน์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชนิด เช่น แผ่นฟีโนบอร์ด แผ่นฟอร์ไมก้าและเมลามีน แผ่นอินซูกรีต แผ่นฟอร์มบอร์ด แผ่นฟีโนลิก ฯลฯ " แผ่นไม้ที่ไม่ใช่ไม้ แต่เรียกกันว่าไม้จนอาจจะเข้าใจผิดได้ เช่น ไม้ฝาเฌอร่า ไม้ฝาตราช้าง และไม้ฝาตราเพชร เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากกระเบื้องกระดาษปั๊มลายนูนที่ผิวจนดูเหมือนไม้ ใช้ทดแทนไม้ ฝาที่เป็นไม้จริงๆ ได้ มีคุณสมบัติการใช้งานที่ดี คือทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ ไม่กลัวการกัดแทะของแมลง ทนไฟ ไม่ยืดหด ตัดต่อได้เหมือนไม้

41 การรักษาเนื้อไม้ จากนนค่อยๆ ลดความดันภายในถังลง และปล่อยน้ำยาออกจากถัง ขณะเดียวกันเซลลมที่ถูกอากาศอัดไว ตอนแรกก็จะขยายตัวและขับเอาน้ำยาออกมาจากช่องเซลล์ จากนั้นก็ทำสุญญากาศอีกประมาณ นาที ซึ่งก็จะทำให้เหลือเฉพาะน้ำยาเพียงที่ผิวของเซลลม้ ทำให้ไม้แห่งและไม่มีน้ำยาไหลเJิ้มออกมาในภายหลัง วิธี นเปนที่นิยมในปัจจุบัน 2. วิธีการทาหวือพน เป็นวิธีการที่ง่ายและค่าใช้จ่ายต่ำ โดยการเอาแปรงทาหรือใช้เครื่องพ่น หรือยกชั้นไม้พุ่มหรือึ้ ช่างในถาดน้ำยา ถ้าใซวธีการทาหรือพ่น ควรทาอยางน้อยสองครั้ง เพราะวิธีนี้น้ำยาจะ ซึมเข้าเนื้อไม้ได้ไม่ลึกนัก และน้ำตาที่ใชัก็ควรเป็นน้ำยาชนิดที่ดูดซึมได้เร็ว วิธีนี้อาจได้ผลไม่เต็มที่ แต่ก็ สามารถยับยั้งการเติบโตของจุลินทรียด้ หรือทำให้ฟังไจเข้าไปทำลายเนื้อไม้ไม่ได้ โดยที่การผนงไม้ให้แห้งก่อน การทาหรือพ่นจะช่วยให้น้ำยาซึมซับเซลลGม้ได้ดีขึ้น และต้องระวังการแตกและฉีกร้าวของไมัด้วย เพราะช่อง แตกร้าวเหล่านี้ล้วนจะเป็นทางเข้าสู่เนื้อไม้ของฟังไจ น้ำยา ฌักษาเนื้ฝ ไม้ น้ำยาหรือสารเคมีที่นำมาใช้ในการป้องกันรักษาเนื้อไม้มีอยู่หลายชนิด จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับ ลักษณะงานนั้นๆ ดังนี้ 1. ศรืโอโฝัต (Loal-Tar creoSLOte) เป็นน้ำมันที่เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบแลัณถ่าน หิน มีNืดำหรือ4ีน้ำตาล มีคุณสมบัติในการรักษาเนื้อไม้ เพราะเป็นสารที่มีพิษต่อเชื้อราและแมลงต่าง ๆ แทรก ซึมเข้าเนื้อไม้ได้ง่าย หาได้ง่าย แต่มีกลิ่นเหม็น ไม่ละลายในน้ำ ทาสีทับไม่ได้ เหมาะสำหรับการทาเสาเข็ม โคนเสาใต้ถุนบ้าน หรือโครงหลังคาบนฝ้าเพดาน 2. ซิวคลลอไรล (z1่กc chloride) เป็นผงสีขาว หาไดัง่าย ราคากูก ไม่มีกลิ่น ทาสีทับได้ เนื้อ ไม้ที่รับสารนี้เข้าไปจะช่วยทำให้ทนไฟได้ดีขึ้น ละลายในน้ำได้ แต่จะไม่เหมาะกับงานในที่โล่งแจ้ง ต้องเป็นไม้ ที่แห้ง มีคุณสมบัติในการป้องกันพวกเห็ดราและแมลงเจาะไม้ต่าง ๆ ยกเว้นปลวก เหมาะสำหรับงานไม้ที่อยู่ใน ที่ร่มที่ไม่สัมผัสกับพื้นดิน

42 3. น้ำมันปิโตรเลืยม (petroleunl)้ เป็นน้ำมันปิโตรเลียมดิบ หรืออาจใช้น้ำมันเครื่องเก่าๆ ที่ผ่าน nารใซ้งานแลัว ที่เราเรียกว่า น้ำมันขี้โล้ นำมาผสมกับน้ำมันครีโอโสตในสัดส่วนครื่งต่อครึ่งเพื่อทำให้ทาได้ ง่ายขื้น มีคุณสมบึตป้องกันแมลงเจาะไชและป้องกันการผู้ใช้ในการทาไม้หมอนรองรางรถไฟ ทาไม้หรือเสา ที่สัมผัสกับพื้นดิน ในสมัยเก่าน็ยมนำเอาน้ำมันขี้โล้มาทาแบบหล่อเสาคอนกรีต เพื่อป้องกันไม่ให้คอนกรีตเกาะ ดิดกับไม้แบบ แต่ปัจจุบันนี้เลิกใช้ไปแล้วเพราะทำให้คอนกรีตสกปรก แลฌ้ทำให้การฉาบปูนกับเสาเหล่านี้ไม่ เกาะติด เนื้อ คอนกรีต 4. โชเคืยมฟลูออไรค (sodiunl }luoride) เป็นผลึกสีขาว ละลายน้ำได้ดี แต่ไม่ควรใช้ในที่ที่มี ญี่ปุ่นเพราะจะทำให้เกิดปฏิกัรยาจับตัวเป็นตะกอน ไม่เหมาะกับงานที่อยู่ในที่โล่งแจ้ง มีคณสมบึตในการรักษา นื้อไม้เช่นเดียวกับซิงค์คลอไรด์ 5. สารหนุ (Ar|senic) เป็นสารที่เป็นพิษดอแมลงและราต่าง ๆ แต่ในการทาสารหนูบนเนื้อไม้นั้นจะต้อง าอย่างระมัดระวัง่ เพราะสารนี้จะมีแก๊สที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้คนที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีน้ำยาหรือสารเคมีอีกหลายชนด ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ตัองเลือกใช้ให้เหมาะสม สำหรับผลิตภัณฑ์ ที่รักษาเนื้อไม้ที่เป็นที่รู้จักกัน เช่นึ รซาโดลินของ TOA และสารเชลล์ใดรู้ของบริษัทเชอร์วู้ด ใช้ป้องกันปลวก มอด เชื้อรา และแมลงต่างๆ สารทิมเบอร์ชิลด์ของ TOA ใช้ป้องกันเชื้อราและกันน้ำซึมเข้าเนื้อไม้ ฯลฯ และ ผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันเฉพาะผิวไมั เช่น สีน้ำมันต่างๆ น้ำมันวานิช ยูนิเทน เชลแล็ก และแล็กูเกอร์ เป็นต้น   

43 จบการนำเสนอเรื่องไม้


ดาวน์โหลด ppt เรื่องเกี่ยวกับไม้ จัดทำโดย นาวาตรี วีรพัฒน์ ฤดี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google