ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยEunice Woods ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
เอกสารประกอบการสอน บทที่ 2 ความหมาย และองค์ประกอบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ Tourism Industry and Hospitality Management Program
2
ความหมาย ความเป็นมา ความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประกอบด้วยคำ 2 คำรวมกัน คือคำว่า “อุตสาหกรรม” กับคำว่า “การท่องเที่ยว” จึงควรทราบความหมายของคำทั้ง 2 คำดังต่อไปนี้คือ อุตสาหกรรม (Industry) หมายถึง การประกอบกิจกรรมด้วยการนำปัจจัยการผลิตต่างๆ ซึ่งได้แก่ เงินทุน วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร และการจัดการมารวมกันเพื่อผลิตสินค้าหรือการบริการอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีคุณค่าต่อมนุษย์ ฉะนั้น อุตสาหกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นโรงงานที่ประกอบด้วยเครื่องจักรกลในการผลิตสินค้าออกจำหน่ายเท่านั้น แต่ยังมีอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งผลิตบริการที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบาย หรือความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการ โดยไม่จำเป็นต้องมีโรงงานและเครื่องจักรในการผลิตเลย
3
3. ความมุ่งหมาย (Purpose) หมายถึง มีความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ในการเดินทางใดก็ได้ที่ไม่ใช่เพื่อประกอบอาชีพหรือรายได้ โดยมีความมุ่งหมายในการดินทางอยู่หลายอย่างด้วยกัน ซึ่งผู้เดินทางคนหนึ่งอาจมีความมุ่งหมายในการเดินทางมากกว่าหนึ่งอย่างก็ได้ 2. จุดหมายปลายทาง (Destination) หมายถึง มีจุดหมายปลายทางที่จะไปอยู่เป็นการชั่วคราวแล้วต้องเดินทางกลับที่อยู่เดิมหรือภูมิลำเนาเดิม โดยเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวเลือกเดินทางไปเยือนและใช้ช่วงเวลาหนึ่งอยู่ ณ ที่นั่น ซึ่ง ณ ที่นั้นมีสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการที่เพียงพอสำหรับสนองความต้องการและความพอใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน 1. การเดินทาง (Travel) หมายถึง การเดินทางที่ไม่ได้ถูกบังคับหรือเพื่อสินจ้าง โดยมีการวางแผนเดินทางจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง และใช้ยานพาหนะนำไปเป็นระยะทางใกล้หรือระยะทางไกลก็ได้ การท่องเที่ยว (Tourism) ได้มีผู้นิยามความหมายไว้หลากหลายดังนี้คือ องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุมว่าด้วยการเดินทางและท่องเที่ยวระหว่างประเทศขึ้น ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อปี พ.ศ ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า การท่องเที่ยว หมายถึง การเดินทาง (Travel) ที่มีเงื่อนไข 3 ประการคือ
4
การท่องเที่ยว หมายถึง การเดินทางจากที่อยู่ถาวรไปอีกที่หนึ่งเป็นการชั่วคราว และไม่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมที่เป็นการหาเงิน จากความหมายดังกล่าว ทำให้การท่องเที่ยวต้องมีลักษณะที่สำคัญอยู่ 5 ประการ คือ 1. การท่องเที่ยวเป็นการเดินทางของผู้คนจากที่ที่เคยอยู่ถาวรไปยังสถานที่ต่างๆ 2. การท่องเที่ยวต้องมีส่วนสำคัญหลัก 2 อย่าง คือ การเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางและพักค้างคืน 3. การเดินทางและการพักค้างคืนนั้นจะต้องไม่ใช่สถานที่อยู่หรือที่ทำงานประจำและในการทำกิจกรรมระหว่างพักจะต้องแตกต่างไปจากผู้คนในท้องถิ่นนั้น 4. การเดินทางไปจุดหมายปลายทางต้องเป็นการชั่วคราวในช่วงระยะเวลาสั้นโดยมีแผนจะเดินทางกลับภายใน 180 วัน 5. จุดหมายปลายทางที่เดินทางไปจะต้องเพื่อการท่องเที่ยวหรือเยี่ยมเยือนเท่านั้นไม่ใช่เพื่อการอยู่ถาวรหรือการไปทำงาน
5
องค์ประกอบในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยว (Tourist) โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอานวยความสะดวกและบริการด้านการเดินทางท่องเที่ยว สิ่งดึงดูดใจหรือแหล่งท่องเที่ยวหรือทรัพยากรการท่องเที่ยว องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน เจ้าบ้านหรือประชาชนในท้องถิ่น
6
นักท่องเที่ยวหรือ ผู้มาเยือน นักท่องเที่ยวคือผู้ที่มาชมบ้านชมเมือง ชมธรรมชาติศิลปวัฒนธรรม โดยสิ่งที่คาดหวังจะได้รับคือ ความพอใจ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน การได้เห็นสิ่งแปลกใหม่ การต้อนรับที่ดี ความสะดวกสบาย การพักผ่อน และความทรงจำที่น่าประทับใจ สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวหรือแหล่งท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรม และวัฒนธรรมประเพณีที่สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรมท้องถิ่นที่มีลักษณะเด่น และสามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชม โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอานวยความสะดวกและบริการด้านการท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการด้านการท่องเที่ยว เป็นองค์ประกอบที่สาคัญอีกส่วนหนึ่งของการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพราะความสะดวกในการเข้าถึงและความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ย่อมขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องหลายประการ เช่น ท่าอากาศยาน ท่าเทียบเรือ ระบบถนน ทางรถไฟ ระบบการสื่อสาร ระบบคมนาคม ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ระบบขนส่งภายในประเทศ ระบบการจำกัดของเสีย เป็นต้น
7
องค์กรภาครัฐ ประชาชนในท้องถิ่น
เป็นองค์กรหลักที่เป็นศูนย์กลางการประสานงานหน่วยงานต่างๆ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นหน่วยงานที่ออกนโยบาย ทำการประชาสัมพันธ์ ควบคุมสอดส่อง กำกับ ดูแล ฯลฯ องค์กรภาคเอกชน เป็นหน่วยงานในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ดาเนินการโดยภาคเอกชนโดยให้การตอบสนองในเชิงธุรกิจสินค้าบริการด้านต่างๆ เพื่อรองรับกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชมรม สมาคม บริษัทห้างร้านบริษัท จำกัดมหาชน หลักๆแล้วจะมีองค์กรภาคเอกชนที่สำคัญคือ ภาคธุรกิจที่พัก ภาคธุรกิจนำเที่ยว ภาคธุรกิจภัตตาคารร้านอาหาร ภาคธุรกิจขนส่ง ภาคธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก เป็นต้น ประชาชนในท้องถิ่น ประชาชนในท้องถิ่นหรือในแหล่งท่องเที่ยวเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และถือเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวในมุมมองของการเป็นผู้ต้อนรับขับสู้และแสดงออกถึงวัฒนธรรมที่ดีงาม ซึ่งหมายรวมถึงท่าทีและทัศนคติของประชาชนในท้องถิ่นด้วย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.