งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข: วิเคราะห์จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กฤษณ์พชร โสมณวัตร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข: วิเคราะห์จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กฤษณ์พชร โสมณวัตร."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข: วิเคราะห์จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
กฤษณ์พชร โสมณวัตร

2 1. ทำไมต้องศึกษาจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
ลักษณะของ “ตัวบทรัฐธรรมนูญ” เช่น มาตรา 2 (2550): ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทางเป็นประมุข มาตรา 3 ว.2 (2550): การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตาม รัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม มาตรา 3 ว.2 (2560): รัฐสถา คณรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและ ความผาสุกของประชาชนโดยรวม มาตรา 4 (2560): ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับ ความคุ้มครอง รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่หาความจำเพาะ ชัดเจนในตัวบทกฎหมายได้ยาก 1. ทำไมต้องศึกษาจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

3 Oliver Wendell Holms Jr.
พิจารณาว่ากฎหมายมีลักษณะสองประการ 1. กฎหมายเป็นประสบการณ์ในทางปฏิบัติ เพราะในทางปฏิบัติผู้พิพากษามีอิสระและ สามารถใช้ทัศนะหรือประสบการณ์ของตนแทนที่ จะใช้หลักการหรือหลักวิชา แต่แน่นอนว่าภายใต้ ภาษากฎหมายแล้ว ทัศนะหรือประสบการณ์ส่วน ตนจะถูกบดบังด้วยวาทศิลป์และศัพท์แสง (jargon) ของภาษากฎหมาย Oliver Wendell Holms Jr.

4 2. ข้อสอบกฎหมายเป็นบททดสอบคนชั่ว (bad man’s test)
เพราะการทำความเข้าใจกฎหมายที่แท้จริง (ตามแนวทางสัจ นิยมทางกฎหมาย) ต้องศึกษาให้เห็นชุดของผลลัพธ์ (set of consequences) ทางกฎหมาย ที่ไม่จำเป็นต้อง สัมพันธ์กับคุณค่าทางสังคม ศีลธรรม หรือวัฒนธรรมเลย การเข้าใจกฎหมายต้องทุ่มเทให้เข้าใจจาก ผลลัพธ์ เพื่อทำนายผลลัพท์ของคดีจากการ ทำงานของศาลเท่านั้น Bad Man’s Test

5 กฎหมายในทัศนะของสัจนิยมทางกฎหมาย
ประการแรก การพิจารณากฎหมายแท้จริงแล้วมิได้ พิจารณาจาก “ตัวบท” หรือ “หลักการ” ในลักษณะ อักขระนิยม แต่ต้องเน้นที่ผลลัพท์ของกฎหมายซึ่งมา จากคำพิพากษาของศาล ประการที่สอง ศาลคือผู้พิพากษาและผู้พิพากษาก็ เป็น “มนุษย์” การตัดสินปัญหาทางกฎหมายจึงไม่ใช่ เรื่องของการให้เหตุผลในเชิงรูปแบบ (formalism) หรือกลไกที่เป็นภววิสัย บางครั้ง กฎหมายจึงมาจาก “ความเป็นมนุษย์ปุถุชน” ซึ่งมิได้ มีเหตุผลเสมอไป อาจมีทั้งอคติหรือฉันทคติก็ได้ กฎหมายในทัศนะของสัจนิยมทางกฎหมาย

6 2. คำวินิจฉัยเกี่ยวกับ “ระบอบการปกครอง”
ลักษณะเด่นที่สุด ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ คือ “ระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” หลายประเทศอยู่ในระบอบเสรีประชาธิปไตย และมีสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น สหราช อาณาจักร, ญี่ปุ่น, และหลายประเทศในตะวันออกกลาง ฯลฯ แต่ประเทศเหล่านั้นไม่มีลักษณะเป็น “ลูกผสม” (hybrid) เหมือนประเทศไทย และระบบดังกล่าวไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน ไม่มีตัวอย่างที่อาจเทียบเคียงได้ในต่างประเทศ แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้ทิ้งร่องรอยไว้ให้ เราทำความเข้าใจได้บ้าง ในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ /2555, 7/2559, และ 3/2562 2. คำวินิจฉัยเกี่ยวกับ “ระบอบการปกครอง”

7 ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 28-29/2555
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 28-29/2555 นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ถูกกล่าวหาว่าเป็นจำเลยกระทำความผิดฐานหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นายสมยศ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา เพื่อโต้แย้งว่ากฎหมายที่ตนถูกกล่าวหาว่ากระทำ ความผิด เป็นกฎหมายที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ศาลอาญารับคำร้อง และส่งคำโต้แย้งของจำเลยให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประมวลกฎหมายอาญามาตรา /2555

8 ข้อโต้แย้งหลักของจำเลย
(นอกจากสมยศ พฤกษาเกษมสุข แล้ว ยังมีเอก หงส์กังวาน ยื่นข้อโย้งแย้งลักษณะเดียวกัน ศาล รัฐธรรมนูญจึงรวมวินิจฉัยไว้เป็นคดีเดียวกัน) 1. ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ใช่ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร เป็นแต่เพียงความผิดต่อส่วนตัวต่อพระมหากษัตริย์เท่านั้น 2. วิธีการแย้งในคดี และการกำหนดโทษ ไม่สอดคล้องกับหลักความพอสมควรแก่เหตุ เพราะ จำกัดเสรีภาพของประชาชนมากเกินไป 3. ประมวลกฎหมายอษยา ม.112 ขัดต่อเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ 4. ประมวลกฎหมายอาญา ม.112 คุ้มครองคนถึงสี่คน ทั้งที่ รธน. กำหนดให้เฉพาะ พระมหากษัตริย์เท่านั้นเป็นที่เคารพสักการะ ข้อโต้แย้งหลักของจำเลย

9 ข้อกฎหมายที่ฝ่ายจำเลยอ้าง
“หลักการบัญญัติกฎหมาย” ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ 2550 มาตรา 3 วรรค 2 เรื่อง “หลักนิติ ธรรม” ไม่ใช่ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร เป็นแต่เพียงความผิดต่อส่วนตัวต่อ พระมหากษัตริย์เท่านั้น “หลักความพอสมควรแก่เหตุ” ตาม รธน. 50 มาตรา 29 วิธีการแย้งในคดี และการกำหนดโทษ ไม่สอดคล้องกับหลักความพอสมควรแก่เหตุ “ “พระมหากษัตริย์เท่านั้นเป็นที่เคารพสักการะ” ตาม รธน. มาตรา 8 ปอ. 112 คุ้มครองพระมหากษัตริย์ รวมถึงราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” ตาม รธน. 50 มาตรา 45 ประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ขัดต่อเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับ การคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ เรามาอ่าน มาตรา 3 วรรค 2, มาตรา 8, มาตรา 29, และ มาตรา 45 ทีละมาตรากัน ข้อกฎหมายที่ฝ่ายจำเลยอ้าง

10 ความคล้ายคลึงกันของรัฐธณรมนูญ 2550-2560
มาตรา 3 วรรคสอง (2550) “การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้ง องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตาม หลักนิติธรรม” ความคล้ายคลึงกันของรัฐธณรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง (2560) “รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของ รัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไป ตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และ หลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและ ความผาสุกของ ประชาชนโดยรวม”

11 มาตรา 29 ว.1 (2550) “การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำ มิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อ การที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือน ต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพไม่ได้” 2550 v. 2560 มาตรา 26 (2560) “การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้อง เป็นไป ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้ บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าว ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่ม ภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะ กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผล ความจําเป็นในการจํากัดสิทธิ และเสรีภาพไว้ด้วย”

12 แง่มุมของผู้ร้องต่อเรื่องหลักนิติธรรม
มองว่า “การหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย” เป็นการกระทำต่อ “พระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่ง” ดังนั้น การกระทำของตนจึงเป็นเพียงการทำให้ พระมหากษัตริย์เสียชื่อเสียง ไม่ใช่ “การบั่นทอนความมั่นคงของรัฐ” จึงเห็นว่าการกำหนดความผิด และวิธีการของ 112 จึงไม่พอสมควรแก่ เหตุ และจึงไม่ชอบด้วยหลัก “นิติธรรม” เพราะ “จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน” มากกว่า “การได้มาซึ่งประโยชน์สาธารณะ” ผู้ร้องจึงเห็นว่า ปอ. มาตรา 112 ขัด รัฐธรรมนูญ มาตรา 3 แง่มุมของผู้ร้องต่อเรื่องหลักนิติธรรม

13 มาตรา 8 (2550) “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่ เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหา หรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้” 2550 v. 2560 มาตรา 6 (2560) “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่ เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหา หรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้”

14 แง่มุมของผู้ร้องต่อเรื่องการคุ้มครอง “สถาบันพระมหากษัตริย์”
ผู้ร้องมองว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดหรือ ฟ้องร้องไม่ได้ ดูเหมือนผู้ร้องจะมิได้ติดใจประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในเรื่องการ คุ้มครองพระมหากษัตริย์ แต่จำเลยโต้แย้งว่า มาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ เฉพาะ “พระมหากษัตริย์” เท่านั้น ให้เป็นที่เคารพสักการะ เพราะมาตรา 8 ไม่ได้พูดถึง “..ราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์” แต่อย่างใด ดังนั้น ในทัศนะของผู้ร้อง อย่างน้อย บางส่วนของ ปอ. มาตรา 112 ต้องไม่ชอบด้วย รัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดหน้าที่ให้ประชาชนต้องเคารพสักการะ บุคคลอื่นๆ นอกจากพระมหากษัตริย์ ที่ปรากฏในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แง่มุมของผู้ร้องต่อเรื่องการคุ้มครอง “สถาบันพระมหากษัตริย์”

15 มาตรา 45 (2550) “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมาย ด้วยวิธีการอื่น” “การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดย อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อ รักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ ส่วนตัวของผู้อื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อม ทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน” มาตรา 34 (2560) “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การ เขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจํากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัย อํานาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษา ความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของ บุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของ ประชาชน เสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่การใช้เสรีภาพ นั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของ ปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชน และต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคล อื่น”

16 แง่มุมของผู้ร้องต่อเรื่องเสรีภาพในการแสดงความเห็น
ผู้ร้องมองว่า “เสรีภาพในการแสดงความเห็น” (Freedom of expression) เป็นหลัก ส่วนการจำกัดเสรีภาพนั้นเป็นเพียงข้อยกเว้น ซึ่งยกเว้นได้เฉพาะเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจง เท่านั้น คือ ยกเว้นด้วยกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อคุ้มครองความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครอง สิทธิ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี เพื่อป้องกันระงับความเสื่อมทราม ทางจิตใจ หรือสุขภาพของประชาชน ผู้ร้องพิจารณาว่า การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์นั้นเป็นเพียง “การทำให้ พระมหากษัตริย์เสียชื่อเสียง” หรือ “การคุ้มครองศักดิ์ศรีของพระมหากษัตริย์” ซึ่งเป็น เรื่องส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์เท่านั้น ไม่ใช่การทำลายรัฐ จนก่อให้เกิดความไม่ มั่นคงแก่รัฐ ปอ. 112 จึงมิใช่กฎหมายที่อาจจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกได้ (ข้อสังเกต คือ ในอารยธรรมตะวันตกเน้นเรื่องนี้เป็น “เสรีภาพ” ไม่ใช่ “สิทธิ”) แง่มุมของผู้ร้องต่อเรื่องเสรีภาพในการแสดงความเห็น

17 แง่มุมคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
สำหรับประเด็นแรก เรื่อง “หลักนิติธรรม” และ “หลักความพอสมควรแก่เหตุ” นั้น ศาล รัฐธรรมนูญมีความเห็นว่า ปอ. มาตรา 112 ไม่ขัดต่อมาตรา 8 เพราะมาตรา 2 กำหนดให้ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข โดยยกความรู้สึกของประชาชนโดยรวม และประวัติศาสตร์ของสังคมไทยว่าคน ไทย “เคารพและเทินทูนสถาบันพระมหากษัตริย์” มาเนิ่นนานแล้ว มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาจึง “เป็นบทบัญญัติที่สอดคล้องกับมาตรา 8 มี ผลใช้บังคับอย่างแท้จริง จึงไม่มีมูลกรณีที่จะอ้างว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ได้” (หน้า 11) โปรดสังเกตว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้พิจารณาและมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับ กรณีที่มาตรา 112 คุ้มครอง “ราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ที่ผู้ร้องยกขึ้นแต่ อย่างใด แง่มุมคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

18 “คำวินิจฉัย 28-29/2555” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอน 122ก, หน้า 9
“ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งรูปแบบการมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศไทยมีมาเป็นเวลาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย แม้ต่อมามีการ เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ก็ยังคงไว้ซึ่ง รูปแบบการมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ อันแสดงถึงความเคารพยกย่องและเทิดทูน สถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสูงสุดของปวงชนชาวไทยที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ดังที่ปรากฏตามโบราณ ราชประเพณี และนิติประเพณีพระมหากษัตริย์ของไทยทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจอันเป็นที่เคารพรัก ของประชาชน ด้วยทรงปกครองโดยหลักทศพิธราชธรรม และทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดช พระประมุของค์ปัจจุบันทรงมีคุณูปการต่อประเทศชาติและมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสก นิกรชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง ทรงเยี่ยมเยียนประชาชนและพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริในด้านต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ทรงสอนให้ประชาชนดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยดำเนินชีวิตในทางสายกลาง มี ความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบถึงพระราชจริยวัตรและน้ำพระราชหฤทัยของพระองค์ จึงมีความเคารพ ศรัทธาและจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์และสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแน่นแฟ้น และด้วย คุณูปการของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมาทำให้ประชาชนชาวไทยเคารพรักและเทิดทูน พระมหากษัตริย์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน อันเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของประเทศไทยที่ไม่มีประเทศ ใดเหมือน” “คำวินิจฉัย 28-29/2555” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอน 122ก, หน้า 9

19 ประเด็นที่สืบเนื่องกัน ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 สอดคล้องกับหลักนิติธรรม เพราะเหตุผลสองประการ คือ ประการแรก เพราะกฎหมายอาญา เป็นเครื่องมือป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ปกป้องสังคมและผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดอาญา “(มาตรา 112) ..เป็นการบัญญัติโดยคำนึงถึงสถานะของบุคคลที่ถูกกระทำไว้ โดยเฉพาะคือ พระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของรัฐและสถาบันหลัก ของประเทศ การหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่น หรืออาฆาตมาดร้าย ย่อมเป็นการ กระทำที่ทำร้ายจิตใจของชนชาวไทยที่เคารพเทิดทูนองค์พระมหากษัตริย์และ สถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อให้เกิดความขุ่นเคืองในหมู่ประชาชน ประกอบกับ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและศูนย์รวมแห่งความเป็นชาติและความ สามัคคีของคนในชาติ รัฐจึงมีความจำเป็นต้องให้การคุ้มครองเป็นพิเศษ” (หน้า 12) แง่มุมของศาลฯ

20 ประการที่สอง เนื่องจากมีการบัญญัติเป็นกฎหมายอาญาออกมาแล้ว การลงโทษผู้กระทำ ความผิดจึงชอบด้วยหลักการตามกฎมหายอาญา “..สืบเนื่องมาจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ โบราณราชประเพณี นิติประเพณี ซึ่ง นอกจากจะมีลักษณะเป็นสถาบันหลักของประเทศแล้ว องค์พระมหากษัตริย์ยังทรงดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้จะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทาง ใดๆ มิได้ และด้วยพระเกียรติคุณของสถาบันกษัตริย์เป็นการผดุงไว้ซึ่งเกียรติยศของ ประเทศ และรักษาคุณลักษณะประการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทางเป็นประมุข จึงมีความชอบธรรมที่ต้องมีกฎหมายคุ้มครองมิให้มีการ ละเมิดพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของรัฐและสภาบันหลักของประเทศ... หากผู้ใดกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว ก็จะต้องได้รับโทษทางอาญาเพราะเหตุแห่ง การกระทำนั้น...การกำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดจึงเป็นไปเพื่อความสงบ เรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตามหลักนิติธรรม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จึงเป็นบทบัญญัติที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม” แง่มุมของศาลฯ

21 ศาลจึงมองว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ชอบด้วย “หลักความ พอสมควรแก่เหตุ” และ “หลักนิติธรรม” เพราะลักษณะเฉพาะของสังคมไทย ที่มี ประวัติศาสตร์ โบราณราชประเพณี และนิติประเพณี รับรองความสำคัญของ สถาบันพระมหากษัตริย์ และยิ่งเมื่อมีกฎหมายกำหนดขึ้นมาแล้ว ประมวลกฎหมายอาญาจึงพอสมควรแก่เหตุ เพราะสถาบันกษัตริย์มี ความสำคัญมาก เมื่อกฎหมายอาญาประกาศออกมา และวัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้เพื่อรักษา ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์จึงชอบด้วยหลักนิติธรรมอีกต่อหนึ่ง และศาลวินิจฉัยต่อไปว่า เรื่อง 112 ไม่ใช่เรื่องศักดิ์ศรีหรือเกียรติยศของ พระมหากษัตริย์ แต่เป็นเรื่อง “ความมั่นคงของรัฐ” แง่มุมของศาลฯ

22 กรณีเสรีภาพในการแสดงความเห็น
เมื่อศาลใช้ “ลักษณะเฉพาะของสังคมไทย” พิจารณาและวินิจฉัยว่า เกียรติยศและศักดิ์ศรีของ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐแล้ว ประมวลกฎหมายอาญาย่อมอยู่ในขอบเขตที่เป็นข้อยกเว้นเสรีภาพในการแสดงออกตาม รัฐธรรมนูญ พ.ศ มาตรา 45 วรรคสองได้ “...เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ...” เป็นเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ ซึ่งหากสรุปความทั้งหมด ย่อมเห็นได้ว่าศาล รัฐธรรมนูญ อ้างถึง “ลักษณะเฉพาะของ สังคมไทย” ในการตอบทุกประเด็นที่ผู้ร้องเสนอ ขึ้น กรณีเสรีภาพในการแสดงความเห็น

23 ข้อโต้แย้งของผู้ร้องทุกข้อ ไม่ว่าจะเป็น “หลักความได้ สัดส่วน” “หลักนิติธรรม” “ความมั่นคงของรัฐ” “เสรีภาพ ในการแสดงออก” ถูกตอบด้วยเหตุผลหลักเพียงข้อเดียว คือ โบราณราช ประเพณี และประเพณีการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยไม่มีการสืบทราบและมีมาตรฐานที่พอเข้าใจได้ว่า “ประเพณี” ดังกล่าวได้แก่อะไรบ้าง และมีที่มาหรือ ค้นคว้าศึกษาได้อย่างไร สรุป

24 คดียุบพรรคไทยรักษาชาติ 3/2562
คณะกรรมการการเลือกตั้งขอพิจารณาวินิจฉัยเพื่อยุบพรรค ไทยรักษาชาติ เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค โดยอ้างเหตุว่าการกระทำของพรรคไทยรักษาชาติ ตามรับ ธรรมนูญ พ.ศ มาตรา 94 คดียุบพรรคไทยรักษาชาติ 3/2562

25 วันที่ 23 มกราคม 2562 มีการประการพระราชกฤษฎีกาการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ต่อมันวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 พรรคไทยรักษาชาติได้แจ้ง รายชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณ วดี เป็นบุคคลที่พรรคเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี คืนวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ฯ ได้ มีพระบรมราชโอการว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ เหมาะสมอย่างยิ่ง มูลเหตุแห่งคดี

26

27 “ข้อ 3 พรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งได้ออกใบรับใบสมัครรับ เลือกตั้งแล้วประสงค์จะแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองมีมติจะเสนอ สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็น นายกรัฐมนตรีให้แจ้งรายชื่อพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ได้รับ การเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกิน๓รายชื่อต่อคณะกรรมการการ เลือกตั้งตั้งแต่วันจันทร์ที่๔กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๖๒ถึงวันศุกร์ที่๘ กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๖๒ระหว่างเวลา๐๘.๓๐นาฬิกาถึงเวลา๑๖.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุม๒๐๑ ๒๐๒ และ ๒๐๓ ชั้น ๒ สำนักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้งอาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิม พระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒน ะแขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร” ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562

28 มาตรา ๑๕๙ ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความ เห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็น นายกรัฐมนตรีจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มี ลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๑๖๐และเป็นผู้มีชื่อ อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตาม มาตรา ๘๘ เฉพาะจากบัญชีรายชื่อของพรรค การเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจํานวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญ 2560

29 คุณสมบัตินายกรัฐมนตรี
มาตรา ๑๖๐ รัฐมนตรีต้อง (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี (๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (๔) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ (๕) ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง (๖) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๙๘ (๗) ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดย ประมาทความผิดลหุโทษหรือความผิดฐานหมิ่นประมาท (๘) ไม่เป็นผู้เคยพ้นจากตำแหน่ง เพราะเหตุกระทำการอันเป็นการ ต้องห้ามตามมาตรา ๑๘๖ หรือมาตรา ๑๘๗ มาแล้วยังไม่ถึงสองปี นับถึงวันแต่งตั้ง คุณสมบัตินายกรัฐมนตรี

30 พระบรมราชโองการวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562
“..ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัยญา สิริวัมนาพรรรวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระปรมินทรมหาภูมิพลอ ดุลยเดช บรมนาถบพิตร...แม้จะทรงกราบถวายบังคมลาออก จากฐานันดรศักดิ์ไปแล้วตามกฎมรเฑียรบาล โดยได้กราบ บังคมทูลพระกรุณาเป็นลายลักษณ์อักษร หากยังทรงสถานะ และดำรงพระองค์ในฐานะสมาชิกแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์... การนำสมาชิกชั้นสูงในพระบรมราชวงศ์มาเกี่ยวข้องกับระบบ การเมือง ไม่ว่าจะโดยทางใดก็ตาม จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อ โบราณราชประเพณี ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมแห่งชาติ ถือเป็นการกระทำที่ไม่บังควรอย่างยิ่ง” พระบรมราชโองการวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562

31 คำร้องของผู้ร้อง (กกต.)
มาตรา ๙๒ เมื่อคณะกรรมการมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใดกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น (๑) กระทําการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ (๒) กระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (๓) กระทําการฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ วรรคสอง มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ มาตรา ๗๒ หรือมาตรา๗๔ (๔) มีเหตุอันจะต้องยุบพรรคการเมืองตามที่มีกฎหมายกําหนด เมื่อศาลรัฐธรรมนูญดําเนินการไต่สวนแล้วมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองกระทําการตามวรรคหนึ่งให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น คำร้องของผู้ร้อง (กกต.)

32 คำให้การของผู้ถูกร้อง (พรรคไทยรักษาชาติ)
ผู้ถูกร้องเลื่อมใสในอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยโดยยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การเสนอทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ ได้กระทำโดยสุจริต มิได้มีเจตนาจะกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญ และประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมิได้มีเจตนาประสงค์จะให้เป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท... ผู้ถูกร้องกระทำการตามความประสงค์และความยินยอมของทูลกระหม่อมฯ ที่มีเจตนาอาสาทำให้ให้กับประเทศชาติ และไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 89 และ 160 คำให้การของผู้ถูกร้อง (พรรคไทยรักษาชาติ)

33 ผู้ถูกร้องไม่ได้รับการโต้แย้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีการให้สัมภาษณ์เป็นข่าวว่าการกระทำของผู้ถูกร้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว รัฐธรรมนูญไทย ตั้งแต่ พ.ศ เป็นต้นมาไม่เคยตัดสิทธิทางการเมืองของพระบรมวงศานุวงศ์ การกระทำของผู้ถูกร้องมิได้เป็น “ปฏิปักษ์” เพราะตามพจนานุกรมหมายถึง การเป็นฝ่ายตรงข้าม มติ กกต. ที่เสนอให้ร้องต่อศาลรับธรรมนูญไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีสืบสวน ไต่สวน ให้ผู้ถูกร้องได้ชี้แจงแสดงพยานหลักบานเสียก่อน

34 ผู้ร้องจะอ้างว่าตน “สุจริต” ไม่ได้ เพราะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคแล้ว ผู้ถูกร้องจึงรู้ตัวและได้ตั้งใจกระทำลงไป การรับคำร้องเสนอชื่อนายกรับมนตรีของ กกต. เป็นเพียงการดำเนินการทางธุรการ มิได้เป็นการรับรองว่าการดำเนินการนั้นดำเนินไปโดยชอบด้วยกฎหมาย การเสนอชื่อมิได้เป็นไปตามพระประสงค์ของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ เพราะพรรคไทยรักษาชาติได้พิจารณาความเหมาะสมของพระองค์ก่อนจึงมีมติเห็นชอบ และติดต่อไปยังทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ กกต. โต้กลับ

35 การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการขัดต่อโบราณราชประเพณี ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาติ ผู้ถูกร้องเป็นประชาชนชาวไทยย่อมทราบดี จะอ้างว่ากระทำโดยสุจริตไม่ได้ การอ้างว่าตนยังมิได้ทำตาม คือ การประกาศรายชื่อ ตามมาตรา 14 ไม่ทำให้ความผิดได้กระทำลงไปจนสำเร็จแล้วสิ้นผลไป ในทางการเมืองมีการให้ร้ายโจมตีและใส่ร้ายกัน อันจะทำให้ เกิดอันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ การกระทำของผู้ถูก ร้องจึงเป็น “ปฏิปักษ์” แล้ว

36 ข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้อง
ถึงแม้ว่าจะมีพระกรุณาโปรดเกล้าให้ทูลกระหม่อมหญิงอุบล รัตน์ กลับมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจร่วมกับประองค์ แต่ไม่ เป็นการลบล้างพระบรมราชโองการให้ทูลกระหม่อมหญิงทรง ออกจากฐานันดรศักดิ์ ในพ.ศ แต่อย่างใด และไม่มีรับ ธรรมนูญฉบับใดห้าม คดีนี้เป็นคดีที่พระบรมวงศานุวงศ์ลาออกเป็นสามัญชน จึงมี สาระสำคัญ แตกต่างจาก 6/2543 คำร้องขอยุบพรรคไม่ทำตามกระบวนการจึงไม่ชอบด้วย กฎหมาย ข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้อง

37 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
วินิจฉัยข้อเท็จจริง “ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติตามคำร้อง คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา รวมทั้ง เอกสารหลักฐานประกอบคำร้องและคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 เวลาประมาณ 9.00 นาฬิกา ผู้ถูกร้องซึ่งเป็นพรรค การเมืองมีกรรมการบริหารพรรคตามที่ผู้ถูกร้องงระบุมาในคำร้อง ได้ยื่น หนังสือแจ้งรายชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ เป๋นบุคคลที่ คณะกรรมการบริหารพรรคของผู้ถูกร้องมีมติเสนอให้สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคผู้ถูก ร้อง พร้อมหนังสือยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อ ข้อเท็จจริงนี้เพียง พอที่จะใช้เป็นฐานในการวินิจฉัยคดีได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องไต่สวน พยานหลักฐานอื่นอีก” (หน้า 13) ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

38 ประเด็นทางกฎหมายและเหตุผลในการพิจารณาคดี
ศาลรัฐธรรมนูญได้อ้างถึง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ว่าเป็นกฎหมายที่ สถาปนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขขึ้น มาตรา 11 ความว่า (2475) “พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปโดยกำเนิดหรือโดย แต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่เหนือการเมือง” “กล่าวโดยหลักการพระบรมวงศานุวงศ์ย่อมดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพเหนือความที่จะพึง ถูกติเตียน ไม่ควรแห่ตำแหน่งการเมืองซึ่งเป็นการงานที่นำมาทั้งพระเดชและพระคุณย่อมอยู่ในวง อันจะต้องถูกติชม อีกเหตุหนึ่งจะนำมาซึ่งความขมขื่นในเมื่อเวลาทำ electoral campaign อันเป็นเวลาที่ต่างฝ่ายต่างหาโอกาส attack ซึ่งกันและกัน ... เพื่อความสงบ เรียบร้อยสมัครสมานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระหว่างเจ้านายกับราษฎร ควรถือเสียว่าพระบรม วงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปย่อมดำรงอยู่เหนือการเมืองทั้งหลาย ส่วนในทางที่เจ้านายจะ ช่วยทะนุบำรุงประเทศบ้านเมือง ก็ย่อมมีโอกาศบริบูรณ์ในทางตำแหน่งประจำและตำแหน่งอัน เกี่ยวแก่วิชชาเป็นพิเศษอยู่แล้ว...” (13-14) ประเด็นทางกฎหมายและเหตุผลในการพิจารณาคดี

39 ราษฎรทั้งหลาย เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชสมบัติสืบจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้น ราษฎรบางคนได้หวังกันว่า กษัตริย์องค์ใหม่นี้คงจะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจเหนือกฎหมายอยู่ตามเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้าง ซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดั่งที่จะเห็นได้จากความตกต่ำในทางเศรษฐกิจและความฝืดเคืองในการทำมาหากิน ซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์มิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎร ตามที่รัฐบาลอื่น ๆ ได้กระทำกัน รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่า ไพร่ บ้าง ข้า บ้าง) เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เหตุฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่า ภาษีอากรที่บีบคั้นเอามาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ส่วนตัวปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แม้แต่เล็กน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียเงินราชการหรือภาษีใด ถ้าไม่มีเงิน รัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นก็ได้โค่นราชบัลลังก์ลงเสียแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่า หลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอย ๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำ กล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กินว่า ราษฎรยังมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรยังโง่ คำพูดของพวกรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่ เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้น ไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่พวกเจ้าทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้เจ้าทำนาบนหลังคน ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบ และกวาดรวบทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎร เพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา เพราะทำไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนเรียนเสร็จแล้วและทหารปลดกองหนุนแล้วไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการชั้นผู้น้อย นายสิบและเสมียนเมื่อให้ออกจากงานแล้วก็ไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่กวาดรวบรวมไว้มาจัดบำรุงบ้านเมือง ให้มีงานทำ จึ่งจะสมควรที่สนองคุณราษฎรซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อย ๆ ไป เงินมีเหลือเท่าใดก็เอาฝากต่างประเทศ คอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรม ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการทหารและพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึ่งรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลาย ๆ ความคิด ดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึ่งได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธ หรือไม่ตอบภายในกำหนด โดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุก ๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้ว-ตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการ อาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ ๆ ที่คณะราษฎรวางไว้ มีอยู่ว่า ๑.   จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง ๒.   จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก ๓.   จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก ๔.   จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่) ๕.   จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น ๖.   จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมายพึงตั้งตนอยู่ในความสงบ และตั้งหน้าทำมาหากิน อย่าทำการใด ๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร การที่ราษฎรช่วยคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศ และช่วยตัวราษฎร บุตรหลานเหลนของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำ ไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพพ้นจากการเป็นไพร่เป็นข้าเป็นทาสของพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือความสุขความเจริญอย่างประเสริฐ ซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า "ศรีอาริยะ" นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า

40 คำวินิจฉัยนี้ย้ำหลักการพื้นฐานเรื่อง หลัก the king can do no wrong คือการเน้นว่าแท้จริงแล้วสถาบัน กษัตริย์ต้องไม่มีอำนาจทางการเมือง “ทรงราชย์ แต่มิได้ทรงปกครอง” (reigns, but does not rule) คือ “สถาบันกษัตริย์เป็นบ่อเกิดแห่งความชอบ ธรรมของระบบการเมือง เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ และธำรงความเป็นปึกแห่นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านสถาบันการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบผู้แทน” “การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยมีความแตกต่างจากการปกครองใน ระบอบที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐในลักาณะอื่น ซึ่งมีบทบาททางการเมืองโดยตรงในการใช้อำนาจทาง การเมือง ดังปรากฎในระบอบราชาธิปไตยอำนาจและควบคุมการใช้อำนาจทางการเมืองโดยผ่านการแต่งตั้งพระบรมวงศานุ วงศ์ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหาร (ruling monarchies)”

41 “การเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ ในนามพรรคการเมืองเพื่อแข่งขันกับพรรคการเมืองอื่นๆ ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และในกระบวนการให้ความเห็นชอบแต่งตั้งบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการกระทำที่ ย่อมเล็งเห็นได้ว่า จะส่งผลให้ระบอบการเมืองการปกครองของประเทศไทยแปรเปลี่ยนไปสู่สภาพการณ์เดียวกับระบอบการเมืองที่ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐและมีพระบรมวงศานุวงศ์ทำหน้าที่ใช้อำนาจทางการเมืองในการปกครองประเทศ” “สภาพาการณ์เช่นนี้ย่อมมีผลให้หลักการพื้นฐานของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ของรัฐที่ถือว่ากษัตริย์ทรงราชย์แต่มิได้ทรงปกครองต้องถูกเซาะกร่อนบ่อนทำลายให้เสื่อมทรามไปโดยปริยาย”

42 ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาต่อไปว่า การเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ เป็นผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคไทย รักษาชาตินั้น เป็น “การใช้สิทธิเสรีภาพที่จะส่งผลเป็นการบ่อนทำลายหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ และสั่นคลอนคติรากฐาน ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษํตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่ให้เสื่อมทรามไป” และเน้นว่า ศาลรัฐธรรมนูญเป็น “กลไกปกป้องระบอบการปกครอง (self-defending democracy) จากการถูก บั่นทอนบ่อนทำลายโดยการใช้สิทธิเสรีภาพทางการเมืองที่เกินขอบเขตของบุคคลหรือพรรคการเมือง... ดังนั้น แม้ผู้ถูกร้องจะมี สิทธิเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติไว้โดยสมบูรณ์ แต่การใช้สิทธิและ เสรีภาพในการกระทำการใดๆ ของพรรคการเมือง ย่อมต้องอยู่บนความตระหนักรู้ด้วยว่าการกระทำนั้นจะไม่เป็นการอาศัยสิทิ เสรีภาพทางการเมืองทีได้รับจากรัฐธรรมนูญให้มีผลกระทบย้อนกลับมาทำลายหลักการพื้นฐาน บรรทัดฐาน คุณค่า และ เจตนารมรณ์ของรัฐธรรมนูญเสียเอง...”

43 “เพราะประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามนิติราชประเพณีของประเทศไทยนั้นมั่นคงและดำรงสถนะและ เอกลักษณ์ของพระมหกากษัตริย์ไทยมาแต่โบราณว่า พระองค์จักทรงครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาว สยาม พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนชาวไทย ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาว ไทยทุกหมู่เหล่า ทกุเชื้อชาติ ทุกศาสนา ทุกชนชั้น วรรณะ เพศและวัย ทรงเคารพรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และโบราณราชประเพณี และทรงอยู่เหนือการเมือง จึงต้องทรงเป็นกลางทางการเมือง ทั้งยังต้องทรงระมัดระวังมิให้สถาบันพระมหากษัตริย์ทยต้องถูก นำไปเป็นคู่แข่งหรือฝักฝ่ายทางการเมืองไม่ว่าฝ่ายใดอย่างเคร่งครัด เพราะหากถูกกระทำด้วยวิธีการใดๆ ให้เกิดผลเป็นเช่นนั้น สภาวะความเป็นกลางทางการเมืองของสถาบันพระมหากำตริย์ย่อมต้องสูญเสียไป เมื่อเสียความเป็นกลางทางการเมืองก็ย่อม ไม่สามารถดำรงพระองค์และปกป้องสถาบันให้ทรงอยู่เหนือการเมืองได้ ซึ่งถ้าปล่อยให้การเป็นไปเช่นนั้นสถาบันพระมหากษัตริย์ ไทยก็จะไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนชาวไทยได้อีกต่อไป”

44 ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
“รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือ การกระทําใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทํานั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ เมื่อ ไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด” มาตรา 5 มิได้กำหนดความหมายไว้เป็นการเฉพาะ แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้อนุมานความหมายเบื้องต้นว่า “หมายถึงประเพณีการปกครอง ที่ยึดถือปฏิบัติกันมานานจนเป็นประเพณีที่ดีงามในทางการเมืองการ ปกครอง มิใช่ประเพณีในกิจการด้านอื่น” “ต้องเป็นประเพณีการปกครองของประเทศไทยทีได้รับการยอมรับนับถือกันว่าดีงามในประเทศไทย อันควรค่าแก่การถนอมรักษา และสืบสานให้มั่นคง มิใช่ประเพณีการปกครองของประเทศอื่น ลัทธิ อื่น หรืออุดมการณ์อื่น” “ประเพณีการปกครองของประเทศไทยดังกล่าว หมายถึง ประเพณีที่ถือปฏิบัติกันในวาระสมัยที่ ประเทศมีการปกครองอยู่ในระบอบประชธิปไตยเท่านั้น และ” “ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น หมายถึงระบอบเสรีประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มิใช่ประชาธิปไตยรูปแบบอื่น ทฤษฎีอื่น หรืออุดมการร์อื่น ตัวอย่างที่ ชัดเจนขององค์ประกอบข้อนี้ได้แก่ ประเพณีการปกครองโดยธรรมที่องค์พระมหากษัตริย์จะต้องทรง ใช้พระราชอำนาจโดยธรรม และทรงดำรงพระองค์อยู่ในทศพิศราชธรรม เพื่อให้สำเร็จผลเป็น ประโยชน์ส่วนรวมแห่ประเทศชาติ และความผาสุขของประชาชนโดยรวม” ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

45 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92
“เมื่อคณะกรรมการมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น” “(1) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหกษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ” “(2) กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทางเป็นประมุข” “(3) กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 20 วรรคสอง มาตรา 28 ทาตรา 30 มาตรา 36 มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 46 มาตรา 72 หรือมาตรา 74” “(4) มีเหตุอื่นอันจะต้องยุบพรรคการเมืองตามที่มีกฎหมายกำหนด” พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ มาตรา 92

46 มาตรา ๒๐ ให้พรรคการเมืองที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองแล้วเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์สําคัญเพื่อ ดําเนินกิจกรรมทางการเมืองตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อส่ง ผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง พรรคการเมืองต้องไม่ดําเนินกิจการอันมีลักษณะเป็นการแสวงหากําไรมาแบ่งปันกัน มาตรา ๒๘ ห้ามมิให้พรรคการเมืองยินยอมหรือกระทําการใดอันทําให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ สมาชิกกระทําการอันเป็นการควบคุม ครอบงํา หรือชี้นํา กิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทําให้ พรรคการเมืองหรือสมาชิกขาดความอิสระ ทั้งนี้ ไม่ว่าโดย ทางตรงหรือโดยทางอ้อม มาตรา ๓๐ ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือผู้ใดให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าโดย ทางตรงหรือโดยทางอ้อมเพื่อจูงใจให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด สมัครเข้าเป็นสมาชิก ทั้งนี้ เว้นแต่สิทธิหรือประโยชน์ซึ่งบุคคลจะพึง ได้รับในฐานะที่เป็นสมาชิก มาตรา ๓๖ สาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัดจะจัดตั้งขึ้น นอกราชอาณาจักรมิได้

47 มาตรา ๔๔ ห้ามมิให้พรรคการเมือง ผู้ดํารงตําแหน่งในพรรคการเมือง และสมาชิกรับบริจาค จากผู้ใดเพื่อกระทําการหรือ สนับสนุนการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการ แผ่นดิน มาตรา ๔๕ ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือผู้ดํารงตําแหน่งในพรรคการเมืองกระทําการ หรือส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ใดกระทําการ อันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน หรือกระทําการอันเป็นการทําลาย ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ มาตรา ๔๖ ห้ามมิให้พรรคการเมือง สมาชิก หรือผู้ใด เรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ใด เพื่อให้ผู้นั้นหรือบุคคลอื่นได้รับแต่งตั้ง หรือสัญญาว่าจะให้ได้รับ แต่งตั้ง หรือเพราะเหตุที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งทาง การเมือง หรือตําแหน่งใดในการบริหาร ราชการแผ่นดินหรือในหน่วยงานของรัฐ ห้ามมิให้ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่พรรคการเมือง สมาชิก หรือผู้ใด เพื่อจูงใจให้ตนหรือ บุคคลอื่นได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือตําแหน่งใดในการบริหารราชการแผ่นดินหรือในหน่วยงานของรัฐ

48 มาตรา ๗๒ ห้ามมิให้พรรคการเมืองและผู้ดํารงตําแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า มีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาตรา ๗๔ ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ อื่นใดจาก (๑) บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย (๒) นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหรือกิจการหรือจดทะเบียนสาขาอยู่ใน หรือนอกราชอาณาจักร (๓) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรโดยมีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยมีทุนหรือเป็นผู้ถือหุ้น เกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้า ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้พิจารณาตามที่ปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว หุ้นที่ไม่ปรากฏชื่อผู้ถือหรือถือโดยตัวแทน ของบุคคลที่ไม่เปิดเผยชื่อ ให้ถือว่าเป็นหุ้นที่ถือ โดยผู้ไม่มีสัญชาติไทย (๔) คณะบุคคล หรือนิติบุคคลที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินอุดหนุนจากต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดําเนินกิจการเพื่อประโยชน์ของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยหรือซึ่งมีผู้จัดการหรือ กรรมการเป็นบุคคล ผู้ไม่มีสัญชาติไทย (๕) บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคลที่ได้รับบริจาคเพื่อดําเนินกิจการของพรรคการเมือง หรือเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมืองจากบุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) (๖) บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคลที่มีลักษณะทํานองเดียวกันกับ (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) ตามที่คณะกรรมการกําหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีสมาชิกรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ดังกล่าวที่มิใช่เพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง

49 การกระทำต้องห้ามของพรรคการเมือง
พรรคการเมืองต้องสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข จะทำการล้มล้างเปลี่ยนแปลง หรือเป็นปฏิปักษ์มิได้ นอกจากนี้ พรรคการเมืองต้องเป็นอิสระจากการครอบงำ และมีวัตถุปะ สงค์ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองจริง คือไม่มุ่งแสวงหากำไร และ ไม่กระทำการโดยมิชอบหรือโดยทุจริต ด้วยการเรียกรับผลประโยชน์เพื่อ แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการเมืองทั้งต่อพรรคการเมืองและต่อผู้อื่น นอกจากนี้ กิจกรรมการเมืองนั้นต้องไม่เป็นกิจกรรมที่ก่อกวนหรือคุก ความควมสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติ และเพื่อประกันความเป็นอิสระ พรรคการเมืองต้อง เคร่งครัดในการรับเงินบริจาคและการสนับสนุนจากบุคคลที่อาจเป็นภัย ต่อความสงบฯ และบุคคลหรือองค์กรที่มิได้ถือสัญชาติไทย การกระทำต้องห้ามของพรรคการเมือง

50 ความเป็น “ปฏิปักษ์” ของพรรคไทยรักษาชาติ
กฎหมายไทยมิได้บัญญัติความหมายของการ “ล้มล้าง” และ “ปฏิปักษ์” ไว้ แต่ตามความหมาย ทั่วไป “ล้มล้าง” หมายถึง กากรระทำที่มีเจตนาเพื่อทำลายหรือล้างผลาญให้สูญสลายหมดสิ้น “ปฏิปักษ์” “ไม่จำเป็นต้องรุนแรงถึงมีเจตนาล้มล้างทำลายให้สิ้นไป ทั้งยังไม่จำเป็นต้องถึงขนาด ตั้งตนเป็นศัตรูหรือฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น เพียงแค่เป็นการกระทำที่มีลักษณะเป็นการขัดขวางหรือ สกัดกั้นมิให้เจริญก้าวหน้า หรือเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเป็นการกัดเซาะกร่อมบ่อนทำลาย จนเกิดความชำรุดทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง ก็เข้าลักาณะของการเป็นปฏิปักษ์แล้ว” มาตรา 92 กำหนดเพียงแค่ “อาจเป็นปฏิปักษ์” จึงเป็นเพียงเงื่อนไขทางภววิสัย ไม่ขึ้นอยู่กับ เจตนาหรือความรู้สึกส่วนตัวของผู้กระทำว่าจะเกิดผลเป็นปฏิปักษ์จริงหรือไม่ หากแต่ต้องดูตาม พฤติการณ์แห่งกากรระทำนั้นๆ ว่าในความคิดของวิญญูชนทั่วๆ ไปจะเห็นว่าการกระทำดังกล่าว อาจส่งผลให้เกิดการเป็นปฏิปักษ์หรือไม่ ความเป็น “ปฏิปักษ์” ของพรรคไทยรักษาชาติ

51 “การกระทำขอผู้ถูกร้องเป็นการนำสมาชิกชั้นสูงในพระบรมราชวงศ์มาเป็นฝักฝ่ายทางการเมือง ทั้งยังป็ นการกระทำที่วิญญูชนคนไทยทั่วไปย่อมรู้สึกได้ว่าสามารถทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยที่เป็นศูนย์ รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติต้องถูกนำไปใช้เพื่อความได้เปรียบทางการเมืองอย่างแยบยลให้ปรากฎผล เสมือนเป็นฝักฝ่ายทางการเมือง และมุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงหลักการพื้นฐานสำคัญ ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสีย สถานะที่จะต้องอยู่เหนือการเมือง และดำรงความเป็นกลางทางการเมือง อันเป็นจุดเริ่มต้นของการบ่อน ทำลาย เป็นเหตุให้ชำรุดทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลงเข้าลัการะของกากรระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (2) อย่าง ชัดแจ้งแล้ว...”

52 สรุปคดียุบพรรคไทยรักษาชาติ
พรรคไทยรักษาชาติถูกยุบเนื่องจากกระทำการเป็นเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทางเป็นประมุข โดยสาระสำคัญของการกระทำคือการเสนอชื่อทูลกระหม่อม หญิงอุบลรัตน์ฯ เป็นนายกรัฐมนตรี คำว่าปฏิปักษ์ ไม่จำเป็นต้องใช้ความหมายตามพจนานุกรม ที่หมายถึงเป็นการตั้งตัวเป็นศัตรู อยู่ ฝ่ายตรงกันข้าม ฯลฯ เพียงแค่การทำให้เสื่อมความสำคัญลงก็เพียงพอแล้ว การกระทำดังกล่าวเป็น “ปฏิปักษ์” เพราะเป็นการทำลายหลักการทรงราชย์แต่ไม่ทรงปกครองลง ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์กลายเป็นฝักฝ่ายทางการเมือง ซึ่งในที่สุดแล้วย่อมก่อให้เกิดความ เสื่อมทรามลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้การกระทำของผู้ถูกร้องจะเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่ก็เป็นการใช้สิทธิก่อให้เกิด ผลเสียต่อระบอบการปกครอง สรุปคดียุบพรรคไทยรักษาชาติ

53 การเมืองที่เป็นทางการ การเมืองที่ไม่เป็นทางการ
และ การเมืองที่ไม่เป็นทางการ

54 Hegemony

55 Thai politics are best understood in terms of political networks
Network monarchy involved active interventions in the political process by the Thai King and his proxies, notably former prime minister Prem Tinsulanond.  Network monarchy developed considerable influence, but never achieved the conditions for domination. Instead, the palace was obliged to work with and through other political institutions Duncan McCargo (2005) Network monarchy and legitimacy crises in Thailand, The Pacific Review, 18:4,  , DOI:  / The Network Monarchy

56 การแก้ไขคำปรารภของรัฐธรรมนูญ 2560 7/2559
ประเด็นของคดี คือ หลังจากร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ ได้ผ่านการทำประชามติแล้ว ปรากฎในภายหลังว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเสด็จ สวรรคต ก่อนจะมีการลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญ คดีนี้ศาลวินิจฉัยว่า โดยจารีตประเพณีการปกครองแบบประชิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น รัฐธรรมนูญจะมีผลบังคับใช้ได้นั้นต้องมีการลงพระ ปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญและประกาศในราชกิจจานุเบกษษาก่อน เมื่อยังมิได้ทรงลง พระปรมาภิไธยรัฐธรรมนูญย่อมยังไม่มีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์ แม้จะผ่านการทำ ประชามติแล้ว (หน้า 5) และเมื่อมีการเปลี่ยนรัชกาล ก็มีความจำเป้นต้องแก่ไขคำปรารฎใหม่ให้สอดคล้องกับ พฤติการณ์ของพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ คำปรารภเก่าจึงต้องแก้ การแก้ไขคำปรารภของรัฐธรรมนูญ /2559

57 คำปรารภ คืออะไร?

58 แก้จากร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขจากประชามติ วันที่ 8 กันยายน 2559
แก้จากร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขจากประชามติ วันที่ 8 กันยายน 2559

59 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
“จากข้อเท็จจริงดังกล่าวมีผลให้คำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ จัดทำและแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติและ แก้ไขตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย รวมทั้งได้ดำเนินการปรับปรุงคำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญให้ สมบูรณ์สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติแล้วนั้น ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ...เพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนให้ความเห็นชอบโดยผ่านการออกเสียงประชามติอันเป็นไป ตามกระบวนการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 บัญญัติ ไว้แล้วมีความสมบูรณ์และสอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูล กล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยต่อไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระอบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขดังกล่าว จึงเห็นว่า การบัญญัติกฎหมายจำเป็นต้องสะท้อนให้สอดคล้อง กับควาเมป็นจริงที่เกิดขึ้น เพราะความจำเป็นที่เกิดจากความเป็นจริงนั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ สามารถปกป้องการที่จำต้องกระทำตามความจำเป็นนั้นให้ชอบด้วยกฎหมายและหลัก นิติธรรม อีกทั้งมิใช่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติอันเป็นสาระสำคัญของร่าง รัฐธรรมนูญนี้...” ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

60 สรุป “ความจริงที่เกิดขึ้น” สำคัญแค่ไหนกับ “กฎหมาย” ยังดู สับสนอยู่มาก
“การบัญญัติกฎหมายจำเป็นต้องสะท้อนให้สอดคล้องกับควา เมป็นจริงที่เกิดขึ้น เพราะความจำเป็นที่เกิดจากความเป็น จริงนั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่” เมื่อศาลรัฐธรรมนูญให้ความสำคัญกับ “ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น” นับเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับการเมืองการปกครองไทย คำถาม คือ จากที่พิจารณาหลายคดีที่ผ่านมาเกี่ยวกับระบอบการ ปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมา หลายคดี “ความจริงที่เกิดขึ้น” สำคัญแค่ไหนกับ “กฎหมาย” ยังดู สับสนอยู่มาก สรุป


ดาวน์โหลด ppt ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข: วิเคราะห์จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กฤษณ์พชร โสมณวัตร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google