งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รหัสวิชา NUR 3236 รายวิชา การรักษาโรคเบื้องต้น Primary Medical Care

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รหัสวิชา NUR 3236 รายวิชา การรักษาโรคเบื้องต้น Primary Medical Care"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รหัสวิชา NUR 3236 รายวิชา การรักษาโรคเบื้องต้น Primary Medical Care
บทที่ 4 การปฐมพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน การส่งต่อและการรับผู้ป่วยเพื่อการรักษาต่อเนื่องตามขอบเขตของกฎหมาย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ภาคการศึกษา ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ อ.สุกัญญา บุญวรสถิต

2 เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน นักศึกษาจะมีความรู้ความสามารถดังนี้
1. บอกถึงหลักการประเมินอาการผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน การจำแนกกลุ่มอาการฉุกเฉินที่ต้องช่วยเหลือ เบื้องต้นได้ 2. บอกถึงแนวทางปฏิบัติในการปฐมพยาบาลและการ ดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน การส่งต่อและการรับผู้ป่วย เพื่อการรักษาต่อเนื่องตาม ขอบเขตของกฎหมาย ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมได้

3 การจำแนกผู้ป่วย ซักประวัติ ตรวจร่างกาย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม 1 อาการฉุกเฉิน : ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและส่งต่อทันที แต่ถ้าอาการไม่ฉุกเฉิน วินิจฉัยแยกกลุ่ม (กลุ่ม 2 หรือกลุ่ม 3) กลุ่ม 2 ต้องการวินิจฉัยเพิ่มเติม : ให้บรรเทาอาการและส่ง ปรึกษาแพทย์เพื่อ วินิจฉัยเพิ่มเติมใน 1-7 วัน กลุ่ม 3 สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคเบื้องต้น : ให้ยาบรรเทา แนะนำการดูแลตนเอง ติดตามผล หากไม่ดีขึ้นส่ง ปรึกษา แพทย์

4 อาการฉุกเฉินที่ต้องให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และส่งต่อทันที 38 อาการได้แก่
กลุ่ม 1 อาการฉุกเฉิน อาการฉุกเฉินที่ต้องให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และส่งต่อทันที 38 อาการได้แก่

5 การหยุดหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตไม่ทำงาน (Cardiopulmonary arrest)
หมายถึง ภาวะที่หัวใจและระบบไหลเวียนทำงาน ทำให้ไม่สามารถ ส่งเลือดไปสู่ร่างกายได้ทำให้เกิดการตายเฉียบพลัน

6 อาการและอาการแสดง ไม่รู้สึกตัว หยุดหายใจ คลาpulse ไม่ได้
การรักษาเบื้องต้น - ประเมิน ABCs A:airway นอนราบศีรษะต่ำเล็กน้อย ตะแคงหน้า ล้วงสิ่งของในปาก ออก B:breathing จัดท่าให้ทางเดินหายใจโล่ง คลายเสื้อผ้าให้หลวม ห่มผ้าให้ความอบอุ่น อาจช่วยหายใจ โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันการสัมผัสกับปากผู้ป่วยโดยตรง เช่น pocket mask, face shield ถ้าไม่มีให้ใช้ถุงพลาสติกเจาะรูแล้ววางที่ปากผู้ป่วย หากพบว่าระบบไหลเวียนไม่ทางาน ต้องนวดหัวใจ(C:circulation) โดยเป่าลม 2 ครั้ง สลับนวดหัวใจ 30 ครั้ง ให้ isotonic solution IV ให้ Adrenaline 1: ml. IV ตามstanding order ส่งต่อ

7 การหมดสติ (Unconsciousness)
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายไม่รับรู่ต่อสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งที่มากระตุ้น เนื่องจากเกิดความเสียหายต่อศูนย์ควบคุมความรู้สึกตัว (reticutar activation system) และสมองใหญ่ (cerebral hemisphere)

8 อาการและอาการแสดง : BP สูงหรือต่ำกว่าปกติ หายใจผิดปกติ ไข้สูง บาดแผลที่ศีรษะ อาการ ทางระบบประสาทร่วมด้วยเช่นชักเกร็ง ขนาดรูม่านตาเปลี่ยน ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ให้ Oxygen , IV จัดให้นอนตะแคงกึ่งคว่ำ ไม่หนุนหมอน จับศีรษะและคอเชิดขึ้น เล็กน้อย ป้องกันลิ้นตกอุดทางเดินหายใจ ห่มผ้า NPO กรณีหมดสติร่วมกับน้าตาลในเลือดต่ำ ควรให้ 50% glucose IV กรณีหมดสติจากการรับประทานสารพิษ มาภายใน1ชม. ให้ใส่สายสวนและล้าง กระเพาะอาหาร (on NG tube with lavarge) ยกเว้นรับประทาน กรดหรือด่าง ส่งต่อ

9 ภาวะช็อค(Shock) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายหรือเนื้อเยื่อต่างๆ ได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่ เพียงพอ ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างความต้องการ และ ปริมาณออกซิเจนที่เลือดนำไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ

10 อาการและอาการแสดง : ระบบไหลเวียนล้มเหลว เช่น BP<90/60 pulse pressure<20 mmHg กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว เหงื่อออก ตัวเย็น อาเจียน ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออก หายใจเร็ว ถี่ ไม่สม่าเสมอ หมด สติ อาจมีม่านตาไม่ค่อยตอบสนองต่อแสง ประเมินความรู้สึกตัว ABCs จัดให้นอนราบยกขาสูง ห่มผ้า NPOให้ Oxygen , IV Retain F/C แก้สาเหตุของการช็อค เช่นเสียเลือดจากแผล ทาการห้ามเลือด ส่งต่อ

11 ชัก (Seizure) หมายถึง อาการชักเกิดจากความผิดปกติของการทำงานของเซลล์ สมองในส่วนเปลือกสมอง(cerebral cortex) เป็นผลให้มี กระแสไฟฟ้าผิดปกติออกมาเป็นพักๆ ก่อให้เกิดความผิดปกติ ต่างๆ เช่น การเกร็งกระตุก เหม่อลอย ตาค้าง ตัวอ่อนหมดสติ หรือ เคลื่อนไหวผิดปกติของอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะ การชัก แบ่งเป็น Localized seizure (focal, partial) เป็นการชักที่เริ่มจากจุดใดจุด หนึ่งของร่างกาย อาจจะกระจายไปทั่วร่างกายหรือไม่ก็ได้ Generalized seizure การเกิดขึ้นทั้งตัว ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัว

12 อาการและอาการแสดง :เกร็งกระตุก เหม่อลอย ตาค้าง น้าลายไหล คลื่นไส้อาเจียน จา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ หมดสติในเวลาต่อมา ประเมินความรู้สึกตัว ABCsABCs ให้ Oxygen , IV ไว้ฉีดยาเวลาชักซ้า จัดให้นอนตะแคงกึ่งคว่า ไม่หนุนหมอน จับศีรษะและคอเชิด ขึ้นเล็กน้อย ป้องกันลิ้นตกอุดทางเดินหายใจ ให้อยู่ใน สถานที่ปลอดภัย ป้องกันอุบัติเหตุ ยกไม้กั้นเตียง ลดไข้ถ้ามีไข้สูง ส่งต่อ

13 การแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis)
หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นฉับพลัน และเป็นอันตรายต่อชีวิต เกิดจาก ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อสิ่งแปลกปลอม ซึ่งเคยเข้า ไปกระตุ้นระบบคุ้มกันของร่างกายมาก่อนแล้ว (sensitized) โดย อาจมีอาการเฉพาะที่ (local) หรือมีอาการทุกระบบ (systemic) ก็ ได้

14 อาการและอาการแสดง : ผื่นคันไอจาม คัดจมูก น้ามูกไหล ใจสั่นเป็นลม การ รู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ช็อก เป็นลม หมดสติ เสียชีวิต ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ให้ Oxygen , IV ให้ adrenaline 1:1000 ขนาด ml. IM, IV ให้ ยาแก้แพ้ ถ้ามี bronchospasmให้ยาพ่นขยายหลอดลม ตาม standing order ส่งต่อ

15 เป็นลม (Syncope/Fainting)
หมายถึง การมีภาวะหมดสติชั่วคราว เกิดขึ้นทันทีทันใด เนื่องจาก เลือดไปเลี้ยงสมองลดลงและจะพบว่า มีการสูญเสียการทรงตัว ภาวะดังกล่าวสามารถกลับคืนดีได้เอง บางครั้งอาจมีอาการเตือน มาก่อน เช่น วิงเวียน ใจสั่น หูอื้อ ตาลาย

16 อาการและอาการแสดง :ไม่รู้สึกตัว ชีพจรเบาเร็ว หายใจผิดปกติ อาเจียน กระวนกระวาย หมดสติ แน่นหน้าอก หายใจหอบถี่แรง เหงื่อออกมาก ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ให้อยู่ในที่ร่ม อากาศถ่ายเท นอนราบไม่หนุนหมอน คลายเสื้อผ้า ให้หลวม ถ้ามีระบบหายใจและระบบไหลเวียนไม่ทางาน ให้ช่วยฟื้นคืนชีพ ถ้าภาวะน้าตาลผิดปกติ ให้การรักษาตามแนวทาง ส่งต่อ

17 โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke/ Cerebrovascular disease)
หมายถึง โรคที่เป็นผลมาจากการที่สมองได้รับความเสียหายจาก ความผิดปกติหลอดเลือดในสมอง โดยมีอาการขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งที่ได้รับความเสียหาย ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นโดย เฉียบพลัน

18 อาการและอาการแสดง : หมดสติ อ่อนแรงทั้งตัวหรือบางส่วน ชาครึ่งซีกหรือเฉพาะส่วน คอ แข็ง ตามัวหรือมองไม่เห็นทันทีทันใด พูดไม่ชัด ตะกุกตะกัก ไม่ เข้าใจคาพูด ปวดศีรษะเฉียบพลันและรุนแรงชนิดที่ไม่เคย เป็นมาก่อน เดินลาบาก เป็นลม ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ถ้ามีระบบหายใจและระบบไหลเวียนไม่ทางาน ให้ช่วยฟื้นคืนชีพ ให้ oxygen, IV NPO ส่งต่อ

19 จมน้ำ (Drowning และ Near drowning)

20 อาการและอาการแสดง : หมดสติ ชักเกร็ง ระบบไหลเวียนและระบบหายใจหยุดทำงาน ได้รับ บาดเจ็บเช่นกะโหลกศีรษะแตก คอหัก มีบาดแผลตามร่างกาย หัว ใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตลดลง ช็อก มีการสูดสาลัก ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ตรวจดูสิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้นทางเดิน หายใจ ถ้ามีระบบหายใจและระบบไหลเวียนไม่ทางาน ให้ช่วยฟื้นคืนชีพ ให้ oxygen, ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย, ให้ IV ถ้าจมน้ำจืดให้ isotonic solution ถ้าจมน้าเค็มให้ hypotonic sol. ดูแลบาดแผลและอาการบาดเจ็บร่วม เช่นกระดูกสันหลังหัก บาดเจ็บ ที่ศีรษะ ให้ดูแลตาม protocal ส่งต่อ

21 ตกเลือดรุนแรง (Massive blood loss)
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายเสียเลือดมากกว่า หรือเท่ากับ 40% ของ ปริมาณเลือดในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะความดันในโลหิตลดลง (hypovolumic shock มีอาการหัวใจเต้นเร็ว ความรู้สึกตัว เปลี่ยนแปลง) ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกานล้มเหลว (organ failure)

22 อาการและอาการแสดง :กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น ซึม หน้ามือ หมดสติ วิงเวียน ชัก ความดันโลหิตลดลง ปัสสาวะไม่ออก ได้รับบาดเจ็บ มีบาดแผล ตามร่างกาย ประเมินสภาพผู้ป่วย ความรู้สึกตัว ระบบหายใจและระบบ ไหลเวียนโลหิต ให้ oxygen, ให้ IV Retain F/C ส่งต่อ

23 ไฟฟ้าช็อต (Electrical injury)
หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยจะได้รับอันตรายเนื่องจากผลโดยตรงของ กระแสไฟฟ้า และจากการที่กระแสไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน ความรุนแรง ขึ้นอยู่กับ - ชนิด และกำลังของกระแสไฟฟ้า - ตำแหน่งของร่างกายที่สัมผัสไฟฟ้า - สิ่งแวดล้อม เช่น ร่างกายสัมผัสโลหะ กำลังอยู่ในน้ำ เป็นต้น

24 อาการและอาการแสดง : ไม่รู้สึกตัว ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ระบบไหลเวียนโลหิตผิดปกติ หัว ใจเต้นผิดปกติ มีบาดแผลไหม้โดยเฉพาะบริเวณทางเข้าและทางออก ของกระแสไฟฟ้า มีกระดูกหักหรือข้อเคลื่อน กระดูกสันหลังหัก ไต วายเฉียบพลัน ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ถ้ามีระบบหายใจและระบบไหลเวียนไม่ทางาน ให้ช่วยฟื้นคืนชีพ ให้ oxygen, ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย, ให้ IV ดูแลบาดแผลและอาการบาดเจ็บร่วม เช่นกระดูกสันหลังหัก บาดเจ็บ ที่ศีรษะ ให้ดูแลตาม protocal ส่งต่อ

25 ฟ้าผ่า ( Lightning injury)
หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยถูกฟ้าผ่า และทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ได้หลายระบบได้แก่ 1. Nervous system ซึ่งถ้ามีอาการรุนแรงมาก อาจทำให้เสียชีวิต จากระบบการหายใจล้มเหลว 2. Hearing system เช่น เยื่อแก้วหูแตก หรือฉีกขาด 3. Skin ทำให้เกิดแผลไหม้ 4. Heart ทำให้หัวใจได้รับการบาดเจ็บ และหยุดทำงาน 5. Vascular system ทำให้เกิดการจับตัวเป็นก้อนของเลือดใน เส้นเลือด

26 อาการและอาการแสดง : ระบบไหลเวียนและระบบหายใจหยุดทางาน กระสับกระส่าย ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง มีบาดแผลไหม้ตามร่างกาย มี บาดแผล มีกระดูกหัก ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ถ้ามีระบบหายใจและระบบไหลเวียนไม่ทางาน ให้ช่วยฟื้นคืนชีพ ให้ oxygen, ให้ IV ดูแลบาดแผลและอาการบาดเจ็บร่วม เช่นกระดูกหัก ให้ดูแล ตาม protocal ส่งต่อ

27 ตกจากที่สูง (Falling)
หมายถึง ภาวะที่มักเกิดกับผู้สูงอายุ และผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับความสูง เช่น ก่อสร้าง ไฟฟ้า โทรศัพท์ ผู้ที่เมาสุรา คนที่ฆ่าตัวตาย ความรุนแรง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของร่างกายที่ลงกระแทกพื้น การกระแทกโดน วัตถุอื่นก่อนตกถึงพื้น การบาดเจ็บ มักจะเป็นการบาดเจ็บของร่างกายหลายๆส่วน พร้อมกัน (multiple injury) โดยจะมีการส่งแรงผ่านกระดูกข้อเท้า และกระดูกขา กระดูกเชิงกราน และกระดูกสันหลัง ตามลำดับ

28 อาการและอาการแสดง : หมดสติ ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง การบาดเจ็บของศีรษะ กระดูกสัน หลัง กระดูกแขนขา การบาดเจ็บของทรวงอกและอวัยวะภายใน มี บาดแผลตามร่างกาย มีเลือดออกมาก ความดันโลหิตลดลง ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ถ้ามีระบบหายใจและระบบไหลเวียนไม่ทางาน ให้ช่วยฟื้นคืนชีพ ประเมินการบาดเจ็บและความรุนแรง และรักษาการบาดเจ็บเฉพาะ แห่ง เช่นบาดเจ็บช่องท้อง ทรวงอก ตาม protocal NPO ส่งต่อ

29 กระดูกหัก(Fracture) หมายถึง การแยกจากกัน หรือการเสียความต่อเนื่องของโครงสร้าง หรือส่วนประกอบของกระดูกโดยแบ่งเป็น 1. การหักที่ไม่สมบูรณ์ (incomplete fracture) เช่น เป็นรอยร้าว 2. การหักที่สมบูรณ์ (complete fracture) กระดูกหักแบ่งตามลักษณะของแผล และมีผลต่อการรักษา คือ 1. กระดูกหักชนิดไม่มีแผลติดต่อกับภายนอก (closed fracture) 2. กระดูกหักชนิดมีแผลติดต่อกับภายนอก (opened fracture)

30 อาการและอาการแสดง : กระดูกหักชนิดมีแผลเปิด แผลสกปรก กระดูกหักที่มีการเสียเลือดมาก กระดูกหักที่มีการทาลายเส้นเลือดแดงหรือเส้นประสาทกล้ามเนื้อ มี การเคลื่อนไหวตำแหน่งที่บาดเจ็บลดลง บวมผิดรูป หมดสติจากเสีย เลือดมาก ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ให้ oxygen, ให้ IV ประเมินตำแหน่งที่มีการบาดเจ็บ ห้ามเลือดถ้ามีเลือดออก ล้างแผล ให้สะอาด ประคบเย็นเพื่อลดบวมและปวด ให้ยาแก้ปวด จัดท่าให้เหมาะสม NPO กรณีที่มีแผลเปิด ส่งต่อ

31 ฉุกเฉินทางตา (Eye emergency)
หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอันตรายกับตา และการมองเห็น ได้แก่ 1. การได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือถูกทำร้าย 2. แมลง หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา 3. สารเคมีเข้าตา (chemical burn)

32 จากอุบัติเหตุ ถูกทาร้าย แมลง/สิ่งแปลกปลอมเข้าตา สารเคมีเข้าตา
เปลือกตาฉีก ; ทาแผล ส่งต่อเพื่อเย็บ ตาบวม เขียวช้า มีเลือดออก ; ประคบเย็น ส่งต่อ มีเลือดออกในตา ตามัว ตาแดง ปวดตา ใช้ไฟฉายส่องพบเลือดในตาดา; absolute bed rest ศีรษะสูง 30-40º ปิดตาทั้ง 2 ข้าง ให้ยาแก้ปวด ส่งต่อ สิ่งแปลกปลอมเข้าตา ถ้าเป็นโลหะ ติดแน่น เคืองตา ปวดตา น้าตาไหล; หยอดยาชา(ถ้าทำได้) ให้ ยาแก้ปวด ส่งต่อทันที ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมชัดเจน และมีอาการเพียงระคายเคือง; ล้างตา/ เขี่ยออก ป้ายยา นัด F/U 24 ชม. หากพบบาดแผลบนแก้วตาให้ส่งต่อ ถ้าเป็นสารเคมี แสบตา ปวดตามาก; ล้างตาด้วยNSS นาน1/2 ชม. อย่าง น้อย 2 ลิตร ส่งต่อ เลือดออกใต้ตาขาว เห็นเลือดใต้ตาขาวหลังขยี้ตาแรงๆ หรือไอ จามอย่าง แรงแต่มองเห็นชัดดี; อาการจะหายเองใน 2 wk. ถ้ามีอาการอื่นร่วมเช่นตา มัว ส่งต่อ

33 ตาแดงรอบๆ กระจกตา ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตามาก ตา มองเห็นไม่ชัด ; ปิดตา ส่งต่อทันที
เยื่อบุตาฉีกขาด ตามองเห็นชัดแก้วตาปกติ ; หยอดตาปฏิชีวนะ หรือป้ายยาปฏิชีวนะแล้วส่งต่อ แก้วตาอักเสบจากแสงยูวี ; หยอดยาชา ป้ายด้วย eye ointment ปิดตาแล้วส่งต่อ แก้วตาทะลุ มีเนื้อเยื่อในช่องลูกตาหลุดออกมา ; ห้ามหยอดตา ห้ามป้ายตา ห้ามปิดตา NPO ใช้ที่ครอบตาหรือแว่นยา ให้TT ส่ง ต่อ

34 ภาวะฉุกเฉินทางหู (Ear emergency)
หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอันตรายกับหูและการได้ยิน ได้แก่ 1. การได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือถูกทำร้าย 2. แมลง หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าหู 3. หูอื้อจากการเปลี่ยนแปลงของความดันบรรยากาศเมื่อขึ้นที่ สูง หรือดำน้ำ

35 แผลฉีกขาดที่ใบหู ; ทาแผล ให้ยาแก้ปวด ส่งต่อเพื่อเย็บแผล
จากอุบัติเหตุ ถูกทาร้าย แมลง/สิ่งแปลกปลอมเข้าหู หูอื้อจาก ความดันบรรยากาศเปลี่ยนเมื่อขึ้นที่สูงหรือดำน้ำ แผลฉีกขาดที่ใบหู ; ทาแผล ให้ยาแก้ปวด ส่งต่อเพื่อเย็บแผล มีเลือดหรือ CSF ไหลออกจากหู ; absolute bed rest ส่งต่อ สิ่งแปลกปลอมเข้าหู วัตถุต่างๆ เข้าหู ปวดหูมาก ; ถ้าอยู่ตื้น คีบออก ถ้าคีบไม่ออก หรือมองไม่เห็นให้ส่งต่อ

36 ถ้าน้ำเข้าหู จะหูอื้อทันที ; ใช้น้าหยอด ให้ไปรวมกับน้ำที่ค้าง แล้วตะแคงหน้าเทออก เช็ดช่องหูให้แห้ง
แมลงเข้าหู จะปวดหูมาก ถ้ายังไม่ตายจะมีเสียงผิดปกติในหู ; ส่องไฟถ้ายังมีชีวิต อาจเดินออกมาเอง ถ้าตายแล้วอยู่ตื้นให้คีบ ออก ถ้ายังไม่ตายแต่มองไม่เห็น และเยื่อแก้วหูไม่ทะลุ ให้หยอด หูด้วยน้ำมัน ถ้าตายแต่ไม่ออก ให้ส่งต่อเพื่อล้างหู เยื่อแก้วหูฉีกขาดจากการแคะหู มีหูอื้อ ปวดหู ; ห้าม หยอด แคะหรือล้างหู ให้ยาแก้ปวด F/U ต่อเนื่อง ปกติเยื่อแก้วหู จะติดเองใน3-7 วัน ถ้ามี dischargeไหลให้ส่งต่อ หูอื้อ ปวดหูจากความดันบรรยากาศเปลี่ยน ; แนะนำกลืน ให้ยาแก้ปวดและยา decongestant( เช่น pseudoephedrine) ถ้าไม่ดีขึ้น ส่งต่อ

37 ฉุกเฉินทางจมูก(Nasal emergency)
หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเป็นผลเสียต่อการหายใจ ได้แก่ 1. เลือดกำเดาออก (epistaxis) 2. สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก

38 เลือดกาเดาออก สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก
เลือดกาเดาไหลร่วมกับมีโรคประจาตัวเช่น HT CAจมูก โรค เลือด ; ให้นั่งก้มศีรษะมาด้านหน้าเล็กน้อย บีบจมูกแน่นๆ 5- 8 นาที หายใจทางปากแทน ประคบเย็น ส่งต่อ เลือดกาเดาออกจากบริเวณ anterior septum มักเกิดจากการ แคะ หรืออากาศแห้งๆ ; ปฏิบัติเหมือนด้านบน ถ้าเลือดยัง ไม่หยุด ให้ใช้ลาสีชุบadrenaline 1:1000 อุดไว้ 10 นาที (ถ้า แน่ใจว่าไม่มี HT) สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก มักพบในเด็ก ; ถ้ามองเห็น ให้คีบ ออก ถ้ามองไม่เห็นหรือเด็กดิ้นมาก ส่งต่อ

39 ซิบติดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Zipper injury)
หมายถึง ภาวะที่เกิดจากรูดซิบด้วยความรีบร้อน มักพบในเด็กชายที่ไม่ได้ สวมกางเกงใน ปวด เมื่อซิปหนีบ ; มาให้ซิปแตก โดยใช้ towel clips 2 อัน หนีบซิปข้าง ละอันตรงระหว่างตัวรูด แล้วดึงให้ซิปถ่างออก ใช้ยาชาเฉพาะที่ ใช้คีม ตัดเงี่ยงซิปด้านหนึ่งออก ทาแผล พิจารณาให้ยา dicloxacillin ถ้าทาไม่สำเร็จ ส่งต่อ

40 การบาดเจ็บที่ศีรษะ (head injury)
หมายถึง การได้รับบาดเจ็บจากแรงที่กระทำต่อกะโหลกศีรษะ ซึ่งทำให้เกิด ความเสียหายต่อ กะโหลกศีรษะ 2. สมอง 3. ทั้งกะโหลกศีรษะและสมอง การบาดเจ็บทำให้เกิดผล 2 อย่าง คือ  ก. Primary brain injury  ซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับบาดเจ็บจากแรงที่มา กระทำโดยตรง ได้แก่ concussion, contusion, epidural hematoma, intracerebral hematoma ข. Secondary brain injury เกิดตามหลัง primary brain injury เป็นผลจาก ภาวะขาดออกซิเจน ความดันโลหิตลดต่ำลง ความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่ม มากขึ้น สมองบวม การติดเชื้อ การเสียน้ำและเกลือแร่

41 อาการและอาการแสดง : หมดสติ ปลุกไม่ตื่น ซึมอาการปวดศีรษะไม่ดีขึ้นหรือเป็นมากขึ้น ชัก เกร็ง อาเจียน ความรู้สึกตัวเปลี่ยน แขนขาอ่อนแรง รูม่านตาผิดปกติ มีเลือดหรือน้าใสไหลออกจากจมูก/หู มีบาดแผลหรือศีรษะแตก ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ประเมินการบาดเจ็บที่คอ และที่อื่นๆ ให้ oxygen, ให้ IV ดูแลบาดแผลและอาการบาดเจ็บร่วม ถ้ามีบาดเจ็บที่กระดูกคอ หรือไม่แน่ใจ ควรใส่ cervical collarcervical collar Retain F/C ถ้าสามารถทาได้รวดเร็ว ส่งต่อ

42 ถ้าไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้น
อาการและอาการแสดง: กะโหลกศีรษะแตก รู้สึกตัวดี glasgowcoma score เต็ม 15 มีบาดแผลไม่รุนแรง ไม่มีประวัติ หมดสติขณะได้รับบาดเจ็บ ประเมินและดูแลบาดแผล ให้ยาแก้ปวด สังเกตอาการทางระบบประสาทอย่างใกล้ชิดใน 24 ชม.แรก หรือ ให้คาแนะนาผู้ป่วยและญาติให้สังเกตอาการที่บ้าน ถ้ามีอาการผิดปกติหรือมีวัตถุเสียบคาอยู่ ห้ามดึงออก ให้ NPO แล้วส่งต่อ

43 การบาดเจ็บทรวงอก (Chest injury)
แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1. Blunt injury เกิดจากได้รับแรงกระแทกหน้าอก เช่น ตกจากที่สูง หน้าอกกระแทกพวงมาลัย 2. Penetrating injury เกิดจากการบาดเจ็บที่มีแผลทะลุเข้าช่องอก เช่น ถูกยิง ถูกแทง )

44 การบาดเจ็บ ได้แก่ กระดูกซีโครงหัก (fracture ribs) อกรวน (flail chest)
มีลมรั่วเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด (pneumothorax) มีบาดแผลเปิดระหว่างผนังทรวงอกกับช่องเยื่อหุ้มปอด (open pneumothorax) มีเลือดคั่งในปอด (hemothorax) มีภาวะความดันในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (cardiac temponade) มีเลือดออกจำนวนมากจากบาดแผล (massive bleeding

45 อาการและอาการแสดง หมดสติ ความรู้สึกตัวเปลี่ยน ช็อก แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก กระสับกระส่าย เสียงหายใจเข้า 2 ข้างไม่เท่ากัน มีเสียงลมรั่วเข้าออก บริเวณหน้าอก เสียเลือดมากจากแผล การเคลื่อนไหวของหน้าอก ผิดปกติ ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ให้ oxygen, ให้ IV ห้ามเลือดถ้ามีเลือดออก ถ้ามีวัตถุเสียบอยู่ ห้ามดึงออก ถ้ามีopen pneumothoraxให้ปิดบาดแผลที่ผนังช่องอกด้วย sterile occlusive dressing จัดให้นอนศีรษะต่ำ เอียงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อป้องกันสิ่ง แปลกปลอม เช่นเลือด น้าลาย เสมหะ อุดกั้นทางเดินหายใจและ ป้องกันการสูดสาลัก NPO ส่งต่อ

46 การบาดเจ็บช่องท้อง (abdominal injury)
หมายถึง การบาดเจ็บช่องท้อง ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเกิด อุบัติเหตุ หรือถูกทำร้ายร่างกาย การบาดเจ็บแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1. Blunt abdominal injury เกิดจากแรงกระแทกถูกช่องท้อง การ ประเมินบางครั้งค่อนข้างยาก เพราะไม่เห็นบาดแผลจากข้าง นอก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่หมดสติบาดเจ็บที่ศีรษะ และเมาสุรา 2. Penetrating injury เกิดจากการบบาดเจ็บที่มีแผลทะลุเข้าช่อง ท้อง เช่น ถูกยิง ถูกแทง

47 อาการและอาการแสดง : มีเลือดออกในช่องท้อง ได้รับบาดเจ็บอวัยวะภายใน เช่นมีการฉีก ขาดของลาไส้ หลอดเลือด มีการแตกของอวัยวะ เช่น ตับ ม้าม ไต มีอาการเกร็ง กดเจ็บที่หน้าท้อง (guarding) ปวดท้องไม่ดีขึ้น N/V อาเจียน//ปัสสาวะเป็นเลือด หมดสติ ช็อก ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ให้ oxygen, ให้ IV ประเมินตำแหน่งที่มีการบาดเจ็บ ปิดบาดแผลด้วยก๊อซชุบNSS อย่าดันอวัยวะกลับเข้าไปในช่องท้อง ถ้ามีของมีคมเช่นมีดเสียบ คาอยู่ อย่าดึงออก NPO ส่งต่อ

48 การบาดเจ็บที่สันหลัง (Spinal injury)
หมายถึง การบาดเจ็บที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อกระดูกสันหลัง เนื้อเยื่อโดยรอบ หรือเส้นประสาทที่อยู่ภายในกระดูกสันหลัง อาการและอาการแสดงจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับระดับของ กระดูกสันหลังที่ได้รับบาดเจ็บ มักสัมพันธ์กับภาวะ head injury

49 อาการและอาการแสดง : หมดสติ ชักเกร็ง ระบบไหลเวียนและระบบหายใจหยุดทางาน แขนขาขาหรืออ่อนแรง เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต สูญเสียความรู้สึก ของลาตัวและแขนขา มีภาวะเกร็งหรือกระตุก ความดันโลหิตลด ต่ำลง สูญเสียการควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติเช่นไม่สามารถ กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะได้ ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ประเมินที่มีตำแหน่งที่มีการบาดเจ็บต่อไขสันหลัง อาการชา อ่อนแรงและการทางานของระบบประสาทอัตโนมัติ ให้การพยาบาลเบื้องต้น ส่งต่ออย่างระมัดระวัง ป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มที่เกิดจากการขน ย้าย

50 หลักการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบาดเจ็บที่สันหลัง
ให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรง เคลื่อนย้ายพร้อมกันทั้งตัว ห้ามหามหัวหามท้าย ให้ นอนบนเปลแข็งหรือไม้กระดานแข็ง ศีรษะอยู่นิ่ง วาง หมอนทรายขนาบทั้งสองข้าง ถ้าไม่แน่ใจว่าผู้ป่วยมี การบาดเจ็บของกระดูกสันหลังบริเวณคอด้วยหรือไม่ ควรใส่ collar หรือใช้กระดาษแข็ง/กระดาษ หนังสือพิมพ์พันคอแทน ถ้าไม่มีกระดาษแข็งให้นอน คว่ำ

51 แผลไหม้(burn) หมายถึง ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้าน สรีรวิทยาจากการถูกเผาไหม้ หรือการได้รับความร้อนจากเปลว ไฟ กระแสไฟฟ้า รังสี สารเคมี การแบ่งความรุ่นแรงของผิวหนังไหม้ พิจารณาจาก - ขนาดของแผลซึ่งอาจจะให้กฎเลขเก้า(rules of nine) ในผู้ใหญ่ หรือวิธีของ Lund and Browder ในเด็ก (อาจประเมินโดยกำหนด ว่าพื้นที่ 1 ฝ่ามือของผู้ป่วยเท่ากับ 1% ของพื้นที่ผิวหนังของ ผู้ป่วย)

52 ความลึกของบาดแผลคือ แผลไหม้ระดับหนึ่ง(first degree burn) ลึกถึงชั้นหนังกำพร้า ผิวหนังมีสีแดงบวมเล็กน้อย ปวดแสบปวดร้อน ไม่มีตุ่มน้ำพอง ใส แผลไหม้ระดับสอง (second degree burn) มีการไหม้ของหนัง กำพร้าและชั้นหนังแท้บางส่วน ผิวหนังมีลักษณะตุ่มน้ำพองใส มี สีแดง เจ็บ มีน้ำเหลืองซึม แผลไหม้ระดับสาม (third degree burn) ลึกถึงผิวหนังทุกชั้น รวมทั้งชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ผิวหนังมีลักษณะแห้งแข็ง และไม่ ยืดหยุ่น หรืออาจมีสีขาวใส เพราะเนื้อเยื่อตายหมด ไม่มี ความรู้สึกเจ็บ

53 แผลไหม้เล็กน้อย ดูแลบาดแผล ให้ยาแก้ปวด
อาจให้ antibiotic เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ให้ TT นัดตรวจซ้ำเพื่อประเมินติดตามการรักษา

54 อุบัติภัยหมู่ (mass casualty)
หมายถึง การเจ็บป่วยที่เกิดจากสถานการณ์ที่เกิดโดยกะทันหัน ที่ ทำให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อสุขภาพ ชีวิต และทรัพย์สิน โดยมีผู้บาดเจ็บมารักการรักษา ณ สถานพยาบาลในคราว เดียวกันมากเกินกว่าเจ้าหน้าที่เวร หรืออัตรากำลังปกติให้การ รักษาได้

55 แผลไหม้ อาการและอาการแสดง : แผลไหม้ระดับ 2 ตั้งแต่ 15%ของ พท., ระดับ2 หรือ3 บริเวณหน้า มือ เท้า อวัยวะเพศ ข้อต่อ, ระดับ 3 ที่มากกว่า 5% ของ พท., แผลไหม้ที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ, จากกระแสไฟฟ้าแรงสูง, จากสารเคมี, ในผู้ป่วยที่ช่วยตัวเอง ไม่ได้เช่นทารก ผู้สูงอายุ ผู้เมาสุรา, ผู้ที่มีโรคประจาตัวหรือ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง, มีการบาดเจ็บอื่นร่วม, ระดับ 2 และ 3 รวมกันมากกว่า 10% ในผู้ที่อายุ < 10 ปี หรืออายุมากกว่า 50 ปี

56 ประเมินความรู้สึกตัว ABCs
ประเมินการบาดเจ็บร่วมเช่น กระดูกหัก บาดเจ็บที่ศีรษะ ถอดเครื่องประดับ นาฬิกา ป้องกันการบวมของเนื้อเยื่อ/การกด รัด ถ้าท้องอืด ใส่ NG tube แผลไหม้ >= 20% ให้ IV retain F/C+ไหม้บริเวณอวัยวะเพศ ใช้สบู่และ NSS ทาความสะอาดแผล เอาสิ่งแปลกปลอมหรือ เนื้อเยื่อที่สกปรกออก อาจต้องโกนขนเพื่อความสะดวกในการ ทาความสะอาด ใช้ผ้าชุบน้าเย็นประคบ เพื่อลดการทาลายเนื้อเยื่อ ยกเว้นในผู้ที่ แผลไหม้ระดับ 2 ที่ > 10% ส่งต่อ

57 ได้รับสารพิษหรือ ยาเกินขนาด (Toxic substance/Drug overdose)
สารพิษ สามารถเข้าสู่ร่างกายโดย 1. การรับประทาน (ingestion) 2. การสูดดม (inhalation) 3. การดูดซึมผ่านทางผิวหนัง (absorption) 4. การฉีดเข้าสู่ร่างกาย (injection)

58 สารพิษที่พบได้บ่อย ได้แก่ ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช น้ำยา ล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำมันต่างๆ ยาเบื่อหนู- สุนัข ได้รับยาเกินขนาด (drug overdose) หมายถึง การที่ได้รับยาเข้าสู้ ร่างกายในปริมาณที่มากกว่าขนาดของยาที่ใช้ เพื่อหวังผลในการ บำบัดโรค และอาการตามปกติ และทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย ยาที่พบบ่อยได้แก่ ยาแก้ปวด ยานอนหลับ ยาจิตเวช ยา โรคหัวใจ ยาล้างแผล

59 อาการและอาการแสดง : หมดสติ N/V ปวดท้อง อุจจาระ-ปัสสาวะราด มีการเปลี่ยนแปลงของ ระบบประสาทเช่นขนาดรูม่านตา ซึม กระสับกระส่าย ความดันโลหิต ลดลง ช็อก ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ถ้ามีระบบหายใจและระบบไหลเวียนไม่ทางาน ให้ช่วยฟื้นคืนชีพ ให้ IV , oxygen ขจัดหรือลดความรุนแรงของสารพิษหรือยา โดย - ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารพิษ อาบน้า ทาให้อาเจียนในรายที่รู้สึกตัวดี ยกเว้นในรายที่รับประทานกรดหรือด่าง ล้างท้อง ยกเว้นในรายที่รับประทานกรดหรือด่างเข้มข้น ใส่สารช่วยดูดซึมสารพิษ ได้แก่ -ผงถ่านกัมมันต์ กรณีไม่ใช่ยาพาราเซตามอล -เมื่อพ้นภาวะวิกฤตให้ส่งต่อ

60 คนกัด (Human bite) หมายถึง การบาดเจ็บที่เกิดจากการต่อสู้กัน การทำร้ายร่างกาย หรืออาจพบในผู้ที่มีความผิดปกติในระหว่างที่เพศสัมพันธ์ บาดแผลคนกัด จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าสัตว์อื่น เพราะ ใบหน้าคน มีเชื้อโรคมากมายทั้ง aerobic และ anaerobic bacteria ส่วน HIV และ hepatitis B มีรายงานการติดต่อจากแผลถูกกัด บ้างแต่น้อยมาก

61 ถ้าแผลสกปรก ใหญ่เหวอะหวะบริเวณใบหน้า; ประเมิน V/S ล้างแผล ให้ TT ส่งต่อ
แผลเล็กน้อย ให้ antibiotic( amoxycillin, dicloxacillin) ให้ TT ไม่ควรเย็บแผลทันที ยกเว้น แผลที่หน้าที่ไม่ช้าหรือสกปรกมาก นัดF/U ถ้ามี ไข้ หรือติดเชื้อรุนแรง เช่น cellulitisส่งต่อ

62 งูกัด (Snake bite) งูแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ งูมีพิษ และงูไม่มีพิษ 1. งูพิษ แบ่งตามลักษณะของพิษได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ - งูที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งู ทับสมิงคลา อาการ มึนงง เวียนศีรษะ หนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น ขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ขึ้น อ่อนเพลีย หมดแรง กระวนกระวาย หายใจลาบาก หมดสติ ตาย - งูที่มีพิษต่อระบบเลือด (hematotoxin) ได้แก่ งูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้ อาการ ปวด-บวมมาก มีเลือดออกจากแผล ไรฟัน เหงือก ริมฝีปาก มีจ้าเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำ ปวดท้อง แน่นหน้าอก หมดสติ -งูที่มีพิษต่อระบบกล้ามเนื้อ (myotoxin) ได้แก่ งูทะเลบางชนิด เช่น งูคออ่อน งูชายธง งูแสมรัง อาการ ปวดเมื่อยตามแขนขา ลาตัว เอี้ยวคอลาบาก กลอกตาไม่ได้ ไม่ สามารถเคลื่อนไหวแขนขาและร่างกายได้ กล้ามเนื้ออักเสบรุนแรง ปัสสาวะเป็นสี โค้ก ระบบหายใจล้มเหลว

63

64

65 งูพิษกัด : ห้ามกรีดแผล
ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ถ้ามีระบบหายใจและระบบไหลเวียนไม่ทำงาน ให้ช่วยฟื้นคืนชีพ ตรวจดูบาดแผลและรอยเขี้ยวพิษ ดูแลแผล ถ้างูเห่าพ่นพิษถูกใบหน้าหรือตา ให้ล้างน้ำสะอาดมากๆ NPO ถ้าเป็นงูทะเลต้องดื่มน้ำมากๆ เพื่อขับปัสสาวะและพิษงู เคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกกัด อธิบายให้ผู้ป่วยคลายความกังวล เพื่อหลีกเลี่ยงอาการหัวใจเต้น เร็วขึ้น ช่วยให้พิษเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง ไม่ใช้ปากดูดที่แผล ไม่ใช้ยาสมุนไพรพอกที่แผล ส่งต่อ

66 2. งูไม่มีพิษ งูแม่ตะง่าว งูปล้องฉนวนหลังเหลือง งูเห่ามัง หรืองูแส้ม้า งูดอกหมากแดง งูทางมะพร้าว (งูป้องไฟ) งูเหลือม งูหลาม งูปากจิ้งจก งูสาย สาบ งูสายสอ งูกันกับ งูงอด งูปี่แก้ว งู แสงอาทิตย์

67

68 งูไม่มีพิษกัด ทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่
รักษาตามอาการ เช่น ประคบเย็น ให้ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ ป้องกันการติดเชื้อ(dicloxacillinหรือ amoxycillin) นาน 5-10 วัน ให้ TT สังเกตอาการและนัดตรวจซ้ำ *** ถ้าไม่ทราบชนิดของงู ให้ดูแลเหมือนงูพิษกัด

69 สัตว์กัด (Animal bite)
บาดแผล ซึ่งถูกสุนัขกัด ถ้าสุนัขเป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะมีเชื้อไวรัสอยู่ ในน้ำลาย ทำให้สามารถไปสู่คนได้เมื่อถูกกัด นอกจากนั้นแมว หรือสัตว์เลี้ยงถูกด้วยนมอื่นๆ เช่น ลิง หนู  ค้างคาว ก็สามารถ ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน

70 อาการและอาการแสดง : บาดแผลฉีกขาดเหวอะหวะ หรือบาดแผลบริเวณใบหน้า, ถูกกัด ถูกข่วนเป็น แผล มีเลือดออก ถูกเลียหรือมีน้าลาย ถูกเยื่อเมือก ตา ปากหรือมีแผล ผิวหนัง และสัมผัสเนื้อสมอง สัตว์ และหรือชาแหละ ซากสัตว์, ถูกงับเป็น รอยช้าที่ผิวหนังไม่มีเลือดออก ถูกข่วนไม่มีเลือดออกหรือออกเพียงซิบๆ ถูกเลีย ถูกผิวหนังที่มีแผล รอยถลอก ขีดข่วน ดูแล ล้าง รักษาแผล ส่งต่อไปที่มีความพร้อมในการให้ยาป้องกันพิษสุนัขบ้า ถูกต้องสัตว์ หรือป้อนน้าป้อนอาหาร ผิวหนังไม่มีรอยถลอก ถูกและสัมผัส น้าลาย หรือเลือดสัตว์ ผิวหนังไม่มีรอยถลอกหรือบาดแผล ล้างบริเวณที่สัมผัส ไม่ต้องฉีดวัคซีน การล้างและดูแลแผล : ล้างด้วยสบู่น้าหลายๆครั้ง ถ้าลึกต้องล้างถึงก้นแผล แต่ระวังอย่าให้แผลช้า เช็ดแผลด้วย povidoneiodine ไม่เย็บแผล ถ้าจาเป็น ควรรอ 3-4 วัน ยกเว้นเลือกออกมากหรือแผลใหญ่ให้เย็บหลวมๆ และใส่ ท่อระบาย พิจารณาให้ TT และATB. ให้ยาแก้ปวดตามอาการ

71 ผึ้ง ต่อ แตนต่อย (Bee/Wasp/Hornet Sting)
หมายถึง ผึ้ง ต่อ แตนต่อยจะมีอาการบวมเฉพาะที่ และอาการ รุนแรงอื่นๆ จะขึ้นอยู่กับบุคคลว่ามีภูมิไวต่อพิษของแมลง ดังกล่าวมากน้อยเพียงใด รวมทั้งจำนวนที่ถูกต่อยด้วย

72 ฉุกเฉิน รุนแรง อาการและอาการแสดง:
หมดสติ ชัก หายใจลาบาก หัวใจเต้นผิดปกติ เขียว หอบ N/V เจ็บ-แน่นหน้าอก เป็นลม ปวด บวมมาก ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ถ้ามีระบบหายใจและระบบไหลเวียนไม่ทางาน ให้ช่วยฟื้นคืนชีพ รักษาแบบ anaphylaxis ให้ oxygen, IV ส่งต่อ

73 อาการไม่มาก : ปวดบวมเฉพาะที่ ระบบไหลเวียนและหายใจปกติ ไม่มีอาการกระสับกระส่าย - เอาเหล็กในออก(ถ้ามีคาอยู่) เพื่อลดพิษ โดยใช้ปลายเข็มสะกิดออก หรือใช้รู กุญแจ/รูปากกา กดออก ประคบเย็น ทาบริเวณที่ถูกกัดด้วยสเตียรอยด์ หรือแอมโมเนียเพื่อลดการ อักเสบ ยกส่วนที่ถูกต่อยให้สูงเพื่อให้ยุบบวม ให้ยาแก้ปวด ให้ยาแก้แพ้ในกรณีแพ้ คันหรือบวม สังเกตอาการ หากถูกต่อต่อย ให้ติดตามอาการไตวายเฉียบพลันใน ชม.

74 แมงป่องต่อย ตะขาบ แมงมุมกัด (Scorpion sting/Centipede and spider bite)
หมายถึง แมงป่องต่อย ตะขาย แมงมุมกัด ส่วนใหญ่จะมีอาการ คล้ายถูกผึ้ง ต่อ แตน ต่อย แต่จะปวด บวม ออกแสบออกร้อน มากกว่า จนบางครั้งมีอาการแพ้พิษ และทำให้มีอาการรุนแรงได้

75 ฉุกเฉิน รุนแรง อาการและอาการแสดง:
หมดสติ ชัก หายใจลาบาก หัวใจเต้นผิดปกติ เขียว หอบ N/V เจ็บ-แน่นหน้าอก กระสับกระส่าย มีภาวะ anaphylaxis ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ถ้ามีระบบหายใจและระบบไหลเวียนไม่ทางาน ให้ช่วยฟื้นคืนชีพ รักษาแบบ anaphylaxis ให้ oxygen, IV ส่งต่อ

76 อาการไม่มาก : ปวดบวมเฉพาะที่ ระบบไหลเวียนและหายใจปกติ ไม่มีอาการ กระสับกระส่าย ประคบเย็น ทาบริเวณที่ถูกกัดด้วยสเตียรอยด์ หรือแอมโมเนีย เพื่อลดการอักเสบ ยกส่วนที่ถูกต่อยให้สูงเพื่อให้ยุบบวม ให้ยาแก้ปวด ให้ยาแก้แพ้ในกรณีแพ้ คันหรือบวม ให้ยา ATB. และ TT สังเกตอาการลิดตามการรักษา

77 เม่นทะเลดำ (Sea urchins)
การถูกเม่นทะเลดำตามอวัยวะต่างๆ ที่สัมผัสกับหอยเม่น หนาม ของหอยเม่นจะมีลักษณะฐานหนามกว้าง ส่วนปลายแหลม ข้าง ในกลวง พิษจะอยู่ในท่อหนามแหลม local reaction ปวดเหมือนหนามตา ต่อมาจะชา ถ้าหนามของหอยเม่น หักคาจะปวดมาก ; ทุบหนามที่หักคาให้แหลก โดยใช้น้าส้มสายชูหรือน้ำ มะนาวทาที่แผลสลับการทุบ เพื่อลดอาการชา ให้ยาแก้ปวด ยาแก้แพ้ ทาด้วย แอมโมเนียเพื่อลดปวด

78 Systemic reaction มีอาการแพ้โดยเฉพาะ anaphylaxis ; ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ถ้าระบบหายใจและไหลเวียนหยุดทางาน ให้ทำ CPR ให้ออกซิเจนถ้าหายใจไม่ดี ให้ IV ถ้าช็อคหรือ BP รักษาเหมือน local reaction ส่งต่อ

79

80 ได้รับพิษจากแมงกะพรุน(Jellyfish dermatitis)
เป็นการสัมผัสหนวดของแมงกะพรุน แล้วมีอาการอักเสบของ ผิวหนังบริเวณที่สัมผัส ภายในหนวดจะมีถุงพิษ หากถุงพิษแตก ออก จะมีเข็มพิษอยู่ในถุงพิษจำนวนมาก เข็มพิษจะแทงเข้า ผิวหนัง บริเวณที่ถุงพิษแตกออกพิษจะซึมเข้าสู่กระแสเลือด

81 Fatal reaction อาการ anaphylaxis, cardio pulmonary arrest ; ประเมิน ABCs ถ้าระบบหายใจและไหลเวียนหยุดทางาน ให้ทา CPR Local reaction บวมแดงเป็นแนวเส้นตามรอยหนวดที่สัมผัส เจ็บ คัน อาจมีตุ่มพอง อาจเกิดทันทีหรือหลังสัมผัส 1-4 wks. ; ดูแลระบบ หายใจโดยเฉพาะภาวะหลอดลมตีบ มีเสียงวี๊ด หายใจลำบาก เขียว ให้ IV ให้ยาแก้แพ้ ออกซิเจน ส่งต่อ Systemic reaction ปวด เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก น้ำตา ไหล ไข้ กล้ามเนื้อกระตุก ชา แน่นหน้าอก ; ห้ามถูแผล ลดการ เคลื่อนไหวบริเวณแผล อุ่นน้าทะเลที่T39º เทราดแผล (ห้ามใช้น้ำจืด alcohol เพราะจะทาให้ถุงพิษแตก เข็มพิษจะกระจายมากขึ้น) ใช้แป้ง โรยเพื่อเอาหนวดออก รักษาตามอาการ ให้ยาแก้แพ้ แก้ปวด ถ้าแผล ลึกมาๆ อาจให้ ATB แนะนาเฝ้าระวังอาการanaphylaxis

82

83 พยายามฆ่าตัวตาย (Suicide attempt)
หมายถึง การมีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง เนื่องมาจากความรู้สึกหมด หวังในชีวิต คิดว่าชีวิตไม่มีความหมาย และพยายามทำตามความคิด นั้น หรือเป็นผลมาจากสิ่งกระตุ้น เช่น ยาและสารเสพติดบางอย่าง ความกดดันทางด้านจิตวิทยาและสังคม การพยายามฆ่าตัวตายมีทั้ง การวางแผนไว้ล่วงหน้า และการกระทำแบบหุนหัน การพยายามฆ่าตัวตาย เป็นภาวะฉุกเฉินทางจิต ที่ต้องรีบให้การ ช่วยเหลือ 80% ของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายมีความผิดปกติของอารมณ์ 20% มีภาวะติดสุรา และผู้ป่วยที่เป็น schizophrenia หรือ มีโรคเรื้อรัง

84 ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ประเมินการบาดเจ็บหรือได้รับ สารพิษ ค้นหาสาเหตุ ป้องกันการทาร้ายตนเอง ไม่ทิ้งให้อยู่คน เดียว จัดสิ่งแวดล้อมเก็บสิ่งของมีคมหรือที่อาจนามาทาร้าย ตนเอง อาจต้องผูกรัด นัด F/U ให้คาปรึกษา ส่งต่อจิตแพทย์

85 การถูกข่มขืน หมายถึง การมีสัมพันธ์ทางเพศโดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอม อาจจะ เป็นทางช่องคลอด หรือทางอื่นใดผู้ถูกข่มขืนส่วนใหญ่มักจะเป็น ผู้หญิง แผลบวมช้า แผลฉีกขาด แผลจากการต่อสู้ เสียเลือดมาก กระดูกหัก อวัยวะเพศมีการฉีกขาด ; ประเมินภาวะอันตราย เช่น เสียเลือด ช็อค จัดให้อยู่ในสถานที่เป็นส่วนตัวและปลอดภัย ปฐมพยาบาลดูแลบาดแผลเบื้องต้น แต่ต้องไม่กระทบต่อการ ตรวจหาหลักฐานและวัตถุพยานตามร่างกายผู้ป่วย ส่งต่อ

86 คลุ้มคลั่ง อาวะวาด (Violence)
หมายถึง ลักษณะที่ผู้ป่วยแสดงความก้าวร้าวอาจจะเป็นคำพูด หรือใช้ กำลัง ผู้ป่วยมักถูกนำมาโดยญาติ หรือตำรวจ อาจจะมีอาการรุนแรง จนเป็นอันตรายต่อผู้ให้การดูแลรักษาได้ สาเหตุมาจาก - ดื่มสุราจัด หรืออาจอยู่ในภาวะสุราเป็นพิษ (alcoholic intoxication) ภาวะขาดสุรา (alcoholic withdrawal) - มีบุคลิกภาพแปรปรวน (personality disorder) - เป็นผู้ป่วยจิตเวช ชนิดหวาดระแวง (paranoid psychosis) หรือผู้ป่วย ทางจิตชนิดมาเนีย (mania) - มีความผิดปกติของสมอง เช่น ได้รับบาดเจ็บที่สมอง หรือมีภาวะชัก - กำลังอยู่ในภาวะคับข้องใจ เจ็บปวด โกรธ ตื่นตระหนก มีภาวะ ความสูญเสียสิ่งต่างๆผิดหวังอย่างรุนแรง

87 ระวังการเข้าใกล้ผู้ป่วย ถ้าไม่แน่ใจ
นั่งในระดับที่มองเห็นผู้ป่วยได้ชัดเจน ไม่นั่งขวางทางหรือขวาง ประตู เปิดประตูไว้ ถ้าผู้ป่วยยังมีอาการดุร้าย ควรยืนห่างอย่างน้อย 8 ฟุต และอยู่ใน ท่าที่เตรียมพร้อมสาหรับการหนีหรือการช่วยเหลือตนเอง อาจต้องผูกมัด ถ้าผู้ป่วยมีแนวโน้มควบคุมตนเองไม่ได้ ส่งต่อหลังผู้ป่วยสงบ

88 เจ็บอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และภาวะเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Angina pectoris &Acute myocardial infarction) Angina หมายถึง อาการเจ็บหน้าอก ที่เกิดจากการขาดออกซิเจนให้ กล้ามเนื้อหัวใจ อาจเกิดจากปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความ ต้องการ หรือออกซิเจนไม่สามารถลำเลียงไปสู่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ได้ ทำให้เกิดภาวะ hypoxia ของกล้ามเนื้อจำแนกเป็น 3 ชนิด คือ  1. Stable angina อาการเจ็บอกแบบคงที่ 2. Unstable angina อาการเจ็บอกขณะพัก หรือจำกัดกิจกรรม 3. Prinzmetal’s angina อาการเจ็บอกที่เกิดจากหลอดเลือด โคโรนารีหดตัว

89 ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
 หมายถึง ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างทันที ส่วนมากเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ

90 อาการหืดจับรุนแรงและต่อเนื่อง (Status asthmaticus)
หมายถึง ผู้ป่วยหืดจับ และได้รับยาขยายหลอดลมเพื่อรักษาโรคหืด กำเริบแล้ว ผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น อาการที่เป็นรุนแรง และอาจมี อาการระบบหายใจล้มเหลวได้

91 ภาวะป่วยจากความร้อน (Heat stroke)
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ เกิดจากการ สัมผัสความร้อนจัด ทำให้ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิในสมองหยุด ทำงาน โดยอุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 40.5 C (104.9F) มีภาวะขาด น้ำรุนแรง และระบบประสาทสมองส่วนกลางผิดปกติ

92 Def: สัมผัสความร้อนนาน จนร่างกายควบคุม T ไม่ได้ ศูนย์ ควบคุม T ในสมองหยุดทำงาน T>40.5 °c มีภาวะขาดน้ำรุนแรง และระบบประสาทสมองส่วนกลางผิดปกติ Sign&symptom: ช็อก เป็นตะคริว อาเจียน เวียนศีรษะ สับสน ไข้ สูง มีเลือดออกในอวัยวะต่างๆ เช่น เลือดกำเดา ชัก หมดสติ ประเมินความรู้สึกตัว ถอดเสื้อผ้าออกให้หมด เปิดพัดลม ให้ oxygen IV เช็ดตัวทั่วร่างกายด้วยน้าอุณหภูมิห้อง จน T<38°c ถ้ามีเครื่องฉีด พ่นน้ำให้พ่นน้ำ ส่งต่อ

93 ภาวะฉุกเฉินทางสูตินรีเวช
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ แบ่งเป็น 4 ชนิด Pregnancy-induced hepertension (PH) นิยาม ความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นเฉพาะขณะตั้งครรภ์ มีเกิดหลักการตั้งครรภ์เกิน 20 สัปดาห์แล้ว ร่วมกับการพบโปรตีนในปัสสาวะและบวมชนิดกดปุ๋ม (BP>/140/90 มม. ปรอท) Chronic hypertension นิยาม ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมาก่อนการตั้งครรภ์หรือก่อนการตั้งครรภ์ครบ 20 สัปดาห์ และความดันโลหิตสูงอยู่เกินระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด Chronic hypertension with superimposed pregnancy- induced hypertension นิยาม ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมาก่อนการตั้งครรภ์แล้วเมื่อตั้งครรภ์เกิน 20 สัปดาห์ มีอาการความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอีกจากเดิม 30/15 มม.ปรอท ร่วมกับมีไข่ขาวใน ปัสสาวะและบวมชนิดกดบุ๋ม Late หรือ transient hypertension นิยาม ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นภายหลังการตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ หรือภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด โดยไม่มีอาการบวมหรือมีโปรตีนในปัสสาวะร่วมและความดัน โลหิตสูงจะหายไปภายใน 10 วัน หลังคลอด

94 กลุ่ม 2 กลุ่มอาการที่ต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติม
กลุ่ม 2 กลุ่มอาการที่ต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติม มีไข้เกิน 7 วัน, ไข้ หนาวสั่น, ดีซ่าน, บวม, ท้องมาน, น้ำหนักลด หรือเพิ่มอย่างรวดเร็ว, ตามัว เห็นภาพซ้อน, หูอื้อ หูตึง, กลืน ลำบาก, อาเจียนเป็นเลือด, ไอเป็นเลือด, ปัสสาวะ อุจจาระเป็น เลือด, เลือดออกจากช่องคลอด ประจำเดือนมามากผิดปกติ, คอ พอก, มีก้อนในที่ต่างๆ, มีจุดแดง จ้ำเขียว, แขนขาเกร็ง อ่อนแรง , มือสั่น, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, หนังตาตก, ข้อมือ/ข้อ เท้าตก, ปาก เบี้ยว, ข้ออักเสบ, หนองไหลจากท่อปัสสาวะ, หูด หงอนไก่, ปวด ศีรษะรุนแรง, เวียนศีรษะ, ไอเกิน 14 วัน

95 กลุ่ม3 กลุ่มอาการที่ต้องให้การวินิจฉัยแยกโรคและการรักษาโรคเบื้องต้น อาการระบบทางเดินหายใจ
: ไข้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ หอบ เสียงแหบ อาการทางตา หู คอ จมูก : ตามัว คันตา ตาแดง ตาแฉะ ปวดตา เคืองตา เจ็บคอ เจ็บหู หู อื้อ หูตึง อาการระบบทางเดินอาหาร : ปวดฟัน มีรอยโรคในช่องปาก ปวดท้อง เบื่ออาหาร ท้องเดิน ท้องผูก คลื่นไส้อาเจียน

96 อาการทางโลหิตวิทยา/ ระบบหัวใจและหลอดเลือด
: จุดแดง จ้ำเขียว เจ็บหน้าอก ใจสั่น ซีด (ที่ไม่มีข้อบ่งชี้โรค ร้ายแรง) ระบบสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ : ปัสสาวะบ่อย ขัดเบา ตกขาวประจำเดือนไม่มา อาการทาง ผิวหนัง : ผื่น ตุ่มคัน ระบบประสาท กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ : ชา ชัก มือเท้าเกร็ง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดข้อ ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ/ข้อ ปวดหลังระบบอื่นๆ ; ไข้ อ่อนเพลีย บวม (ที่ไม่มี ข้อบ่งชี้โรคร้ายแรง)

97 สรุป หากพยาบาลสามารถประเมินอาการผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน จำแนกกลุ่มอาการที่ต้องช่วยเหลือเบื้องต้น และมีแนวทางปฏิบัติ ในการปฐมพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสม ก็สามารถให้การปฐมพยาบาล และการดูแล ผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที ส่งผลให้ผู้ป่วยพ้นจาก ความตาย ลดความพิการและการสูญเสียอวัยวะลงได้

98

99


ดาวน์โหลด ppt รหัสวิชา NUR 3236 รายวิชา การรักษาโรคเบื้องต้น Primary Medical Care

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google