งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 7 นิติบุคคล (Juristic Persons)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 7 นิติบุคคล (Juristic Persons)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 7 นิติบุคคล (Juristic Persons)
คือ ที่รวมของกลุ่มผลประโยชน์หรือทรัพย์สินของบุคคลที่ ได้รับการรับรองคุ้มครองในกฎหมายให้เป็นผู้ทรงสิทธิ-หน้าที่ในกฎหมาย (Subject of Law)

2 องค์ประกอบของนิติบุคคล
1.มีการรวมกันของกลุ่มผลประโยชน์หรือทรัพย์สิน

3 2.มีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน
ตามหลักความเป็นเฉพาะของนิติบุคคล มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติ หรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง

4 3.มีการจัดองค์กรเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม
เป็นเทคนิคทางกฎหมายที่ใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม

5 3.1 ตามหลักความเป็นหนึ่งเดียวของนิติบุคคล
3.1 ตามหลักความเป็นหนึ่งเดียวของนิติบุคคล การกระทำหรือนิติกรรมใดๆ ของนิติบุคคล ย่อมเป็นการกระทำเพียงหนึ่งเดียวแยกออกจากตัวบุคคลธรรมดาที่เข้ามารวมกัน ดู ป.พ.พ. มาตรา 66, 70, 76 และ 77

6 3.2 หลักความถาวรของนิติบุคคล
การทำให้นิติบุคคลมีความถาวรต่อเนื่องแยกจากความตายของบุคคลธรรมดา ดูมาตรา 67 การตายเป็นสิทธิพึงมีพึงได้ของบุคคลธรรมดาเท่านั้น

7 3.3 หลักการจัดองค์กร กลุ่มผลประโยชน์ที่เข้ามารวมกันไม่สามารถจะแสดงออกเองได้ จึงต้องแสดงออกโดยผ่านบุคคลธรรมดา หลักนี้ปรับใช้ได้กับนิติบุคคลทุกประเภทแม้กระทั่งรัฐ ดูมาตรา 66, 70, 76 และ 77

8 ทฤษฎีที่อธิบายความเป็นนิติบุคคล
1.ทฤษฎีที่ถือว่านิติบุคคลเป็นสิ่งสมมุติ 2.ทฤษฎีนิติบุคคลโดยสภาพ ที่ถือว่านิติบุคคล เป็นความเป็นจริงที่พิสูจน์ได้

9 ประเภทของนิติบุคคล 1. นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน
1. นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน 2. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน

10 1. นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน
1. นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน มีอำนาจพิเศษที่เรียกว่า อำนาจมหาชน ออกกฎหมายหรือออกคำสั่งได้ฝ่ายเดียว บังคับได้โดยไม่ต้องฟ้องศาล ทรัพย์สินสาธารณย่อมได้รับการคุ้มครองพิเศษ จัดตั้งโดยกฎหมายของรัฐ

11 ประเภทนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน
1.1 รัฐ 1.2 องค์กรที่รับการกระจายอำนาจ ทางเขตแดน- องค์กรปกครองท้องถิ่นต่าง ๆ ทางบริการ - รัฐวิสาหกิจ การกีฬาแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยของรัฐ 1.3วัดในศาสนาพุทธ

12 2. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน
2. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาของบุคคล(เอกชน) ไม่มีอำนาจมหาชน ใช้วิธีดำเนินการตามกฎหมายเอกชน

13 ประเภทนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ นิติบุคคลอื่น ๆ เช่น สหกรณ์ วัดในศาสนาอื่น ๆ

14 สิทธิ-หน้าที่ของนิติบุคคล
มีสิทธิหน้าที่ได้ใกล้เคียงกับเท่าบุคคลธรรมดา แต่มีข้อจำกัดสองประการ คือ 1. ข้อจำกัดภายใต้หลักความเป็นเฉพาะของนิติบุคคล ตามมาตรา 66 มาตรา 70 และ มาตรา 76

15 มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือ กฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติ หรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง

16 2 . ข้อจำกัดความเป็นจริงทางชีวภาพ
มาตรา 67 ภายใต้บังคับมาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิ และหน้าที่ เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น

17 การจัดการ ผ่านทางผู้แทนนิติบุคคลซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา
มีอำนาจตามตราสารหรือข้อบังคับของนิติบุคคล มาตรา 70 นิติบุคคลต้องมีผู้แทนคนหนึ่ง หรือหลายคน ทั้งนี้ตามกฎหมายข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง จะได้กำหนดไว้ ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล

18 - ถ้ามีผู้แทนหลายคน ให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก เว้นแต่กฎหมาย/ข้อบังคับ/ ตราสาร จัดตั้งจะกำหนดเป็นอย่างอื่น (มาตรา 71) การเปลี่ยนแปลงผู้แทนของนิติบุคคลก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย/ข้อบังคับ/ตราสารจัดตั้ง แต่จะยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตมิได้ (มาตรา 72) ถ้าตำแหน่งว่างลง และมีเหตุอันควรเชื่อว่าการปล่อยตำแหน่งว่างไว้น่าจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะแต่งตั้งผู้แทน ชั่วคราวได้ (มาตรา 73)

19 อำนาจหน้าที่ของผู้แทนนิติบุคคล
 1. ดำเนินกิจการต่าง ๆ ภายใต้ขอบวัตถุประสงค์ที่กำหนดในกฎหมาย/ข้อบังคับ/ตราสารจัดตั้ง * นำหลักตัวการ-ตัวแทน มาบังคับโดยอนุโลม (มาตรา 77)

20 หลัก Ultra Vires : เกินขอบเขตอำนาจ)
นิติบุคคล ผู้แทน บุคคลภายนอก ผู้แทนต้องทำภายใต้ขอบวัตถุประสงค์หรือขอบอำนาจ ถ้าผู้แทนทำเกินขอบเขตอำนาจ ผู้แทนต้องรับผิดชอบโดยส่วนตัว

21 รับผิดเป็นการส่วนตัว
ธนาคาร ผู้จัดการ หลุดพ้นความรับผิด ให้กู้ยืม ผูกพัน ผู้กู้ สมบูรณ์ ให้สัตยาบัน โมฆียะ ผู้แทนต้องทำภายในขอบวัตถุประสงค์/ขอบอำนาจ ถ้าผู้แทนทำเกินขอบวัตถุประสงค์/ขอบอำนาจ ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว(Ultra Vires : เกินขอบอำนาจ) รับผิดเป็นการส่วนตัว

22 รับผิดเป็นการส่วนตัว
ธนาคาร ผู้จัดการ รับผิดเป็นการส่วนตัว กิจการปั๊ม ไม่ผูกพัน ผู้ค้าส่งน้ำมัน ให้สัตยาบัน สมบูรณ์ ผู้แทนต้องทำภายในขอบวัตถุประสงค์/ขอบอำนาจ ถ้าผู้แทนทำเกินขอบวัตถุประสงค์/ขอบอำนาจ ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว(Ultra Vires : เกินขอบอำนาจ) โมฆียะ หลุดพ้นความรับผิด

23 ความรับผิดของผู้แทนนิติบุคคล
ถ้าผู้แทนนิติบุคคลทำไปภายในขอบวัตถุประสงค์ และกระทำไปในหน้าที่ ผู้แทนนิติบุคคลไม่ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว แต่นิติบุคคลต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก (ตามหลักความเป็นเอกภาพของนิติบุคคล) ถ้ากระทำไปเกินขอบวัตถุประสงค์ ผู้แทนนิติบุคคลต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว ไม่ถือว่านิติบุคคลเป็นผู้กระทำ * ข้อสำคัญ ต้องดูว่าเป็นการกระทำในหน้าที่และภายในขอบวัตถุประสงค์หรือไม่

24 2. แต่ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียกับผู้แทนนิติบุคคล ผู้แทนนิติบุคคลจะเป็นผู้แทนในกิจการอันนั้นไม่ได้ (มาตรา 74)

25 ความรับผิดของผู้แทนนิติบุคคล ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
มาตรา 76  ถ้าการกระทำตามหน้าที่ของผู้แทนของนิติบุคคลหรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น นิติบุคคลนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น แต่ไม่สูญเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ก่อความเสียหาย ถ้าความเสียหายแก่บุคคลอื่นเกิดจากการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของนิติบุคคล บรรดาบุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งที่ได้เห็นชอบให้กระทำการนั้นหรือได้เป็นผู้กระทำการดังกล่าว ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายนั้น

26 ความรับผิดของผู้แทนนิติบุคคล ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ในการดำเนินการของนิติบุคคลภายในขอบวัตถุประสงค์ จะต้องมีการกระทำทางกายภาพเพื่อให้บรรลุวัตประสงค์ของนิติบุคคลโดยกระทำผ่านทางบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้แทนนิติบุคคล อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอกได้(ละเมิดผ่านผู้แทน)

27 ความรับผิดของผู้แทนนิติบุคคล ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ความรับผิดของผู้แทนนิติบุคคล ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ผู้ต้องรับผิด ผู้แทนนิติบุคคล ผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล ได้แก่ ตัวแทนของนิติบุคคล ลูกจ้างของนิติบุคคล

28 ความรับผิดของผู้แทนนิติบุคคล ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ความรับผิดของผู้แทนนิติบุคคล ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ถ้าได้ทำไปในหน้าที่แล้ว ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น นิติบุคคลย่อมต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อบุคคลภายนอก แต่ในระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทน นิติบุคคลมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับผู้แทนนิติบุคคลผู้ก่อความเสียหาย (มาตรา 76)

29 กรณีที่นิติบุคคลไม่ต้องรับผิด
ถ้าไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของนิติบุคคล นิติบุคคลไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อบุคคลภายนอก แต่บรรดาผู้แทนนิติบุคคลที่ได้เห็นชอบให้กระทำการนั้นหรือได้เป็นผู้กระทำการดังกล่าว ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (มาตรา 76 วรรค 2)

30 ความรับผิดของนิติบุคคล
ตามหลักความเป็นเอกภาพของนิติบุคคลไม่ว่าจะเป็นการกระทำของผู้แทนนิติบุคคลหรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลซึ่งหมายถึงตัวแทนของนิติบุคคล รวมถึงลูกจ้างของนิติบุคคลด้วย แล้วย่อมถือเป็นการกระทำของนิติบุคคลเพียงหนึ่งเดียว ถ้าการนั้นกระทำไปภายในขอบอำนาจและวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล นิติบุคคลต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกทั้งทางแพ่งและทางอาญาตามมาตรา 66 และมาตรา 70

31 นิติบุคคลต้องรับผิดทางอาญา
ในการดำเนินการของนิติบุคคลภายในขอบวัตถุประสงค์อาจจะต้องมีการกระทำการต่างๆที่เป็นการกระทำทางกายภาพเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลโดยกระทำผ่านทางบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้แทนนิติบุคคล อาจก่อให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญาทั้งโดยเจตนาหรือประมาทก็กระทำผ่านทางบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้แทนนิติบุคคล


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 7 นิติบุคคล (Juristic Persons)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google