งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การยืมเงินทดรองราชการ และ การใช้บัตรเครดิตราชการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การยืมเงินทดรองราชการ และ การใช้บัตรเครดิตราชการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การยืมเงินทดรองราชการ และ การใช้บัตรเครดิตราชการ
ฝ่ายการเงิน

2 การยืมเงินทดรองราชการ
ฝ่ายการเงิน

3 การยืมเงินของส่วนราชการ
1.ประเภทเงินยืม จะยืมได้จากเงิน 3 ประเภท คือ 1. เงินงบประมาณรายจ่าย การให้ยืมเงินงบประมาณรายจ่ายจะทำได้เท่าที่ จำเป็นเพื่อใช้ในราชการโดยใช้งบประมาณของปีปัจจุบัน 2. เงินทดรองราชการ เป็นเงินที่กระทรวงการคลังจ่ายและอนุญาตให้ส่วน ราชการมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อทดรองจ่ายตามระเบียบหรือข้อบังคับ ของกระทรวงการคลัง 3. เงินนอกงบประมาณ การให้ยืมเงินนอกงบประมาณจะทำได้เฉพาะเมื่อ นำไปจ่ายดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของเงินนอกงบประมาณประเภทนั้น เท่านั้น ฝ่ายการเงิน

4 เงินทดรองราชการ เพื่อจ่ายให้บุคคลใดยืมเพื่อปฏิบัติราชการ ให้ยืมทดรองใช้จ่าย เฉพาะตามงบประมาณรายจ่าย ดังต่อไปนี้ 1. งบบุคลากรเฉพาะค่าจ้างซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายเป็นงวดแน่นอนเป็น ประจำแต่จำเป็นต้องจ่ายให้ลูกจ้างแต่ละวัน หรือแต่ละคราวเมื่อ เสร็จงานที่จ้าง 2. งบดำเนินงาน ยกเว้นค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา 3. งบกลางเฉพาะที่จ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร และ เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล 4. งบอื่นที่จ่ายในลักษณะเช่นเดียวกับ 1 หรือ 2 ฝ่ายการเงิน

5 ประเภทสัญญาการยืมเงิน
การยืมเงินของข้าราชการลูกจ้าง พนักงานราชการ หรือที่ปรึกษาของกรมฯ เพื่อปฏิบัติราชการหรือทดรองใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่าย ผู้ยืมจะต้องทำสัญญาการยืมเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด แยกเป็น 2 แบบดังนี้ ฝ่ายการเงิน

6 1. สัญญาการยืมเงิน ใช้สำหรับผู้ยืมที่ต้องการเงินสดเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ หรือเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ รวมทั้งการยืมเงินราชการเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าจ้างชั่วคราว โดยใช้แบบฟอร์มที่กรมชลประทานได้ขออนุมัติกระทรวงการคลังเพิ่มเติมข้อความด้านหลังของสัญญา ฝ่ายการเงิน

7 ด้านหน้า ฝ่ายการเงิน ด้านหลัง

8 2. สัญญาการยืมเงินและการใช้บัตรเครดิตราชการ
แบบของสัญญานี้ใช้สำหรับการยืมเงินและการใช้บัตรเครดิตราชการ สำหรับการปฏิบัติงานที่มีรายการค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ 2. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ประชุม จัดงานหรือจัดนิทรรศการ 3. ค่ารับรองชาวต่างประเทศ ฝ่ายการเงิน

9 ด้านหน้า ฝ่ายการเงิน ด้านหลัง

10 ขั้นตอนการปฏิบัติในการยืมเงิน
ขั้นที่ 1. ผู้ยืมเงินจัดทำสัญญาการยืมเงิน 2 ฉบับ มีข้อความ ตรงกัน ยื่นต่อ ผอ.งบ. โดยระบุชื่อผู้ยืม ตำแหน่ง และ สังกัด วัตถุประสงค์ในการยืมเงินไปใช้ในราชการ พร้อม ทั้งให้รหัสที่ใช้เบิกจ่ายจากระบบ GFMIS จำนวนเงิน รวมทั้งสิ้นที่ขอยืมทั้งตัวเลขและตัวอักษร พร้อมแต่งตั้ง กรรมการรับเงิน ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ฝ่ายการเงิน

11 หลักเกณฑ์การแต่งตั้งกรรมการรับเงินยืม
- การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะที่มีจำนวนเงินยืมเกิน 30,000 บาท ให้แต่งตั้งกรรมการรับเงินยืมไม่เกิน 2 คน ร่วมรับเงินกับผู้ยืม ผู้ยืมและกรรมการจะต้องเป็นผู้เดินทางไปราชการเท่านั้น - การจัดฝึกอบรมโครงการที่มีเงินยืมแต่ละครั้งเกิน 30,000 บาทให้แต่งตั้งกรรมการรับเงินยืมไม่เกิน 2 คน ร่วมรับเงินกับผู้ยืมและต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบโครงการนั้นด้วย - การปฏิบัติราชการอื่น ที่มีวงเงินยืมเกิน 30,000 บาท ให้แต่งตั้งกรรมการรับเงินยืมไม่น้อยกว่า 2 คน ร่วมรับเงินกับผู้ยืม ฝ่ายการเงิน

12 ขั้นที่ 2 แนบเอกสารประกอบสัญญาการยืมเงิน ขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ของการยืมเงิน (ตามรายละเอียดแนบหน้า 16) และลงลายมือชื่อผู้ยืมและวันที่ที่ทำสัญญาการยืมเงิน ฝ่ายการเงิน

13 ขั้นที่ 3 ให้เสนอผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หรือผู้บังคับบัญชา
เจ้าสังกัด เพื่อพิจารณาและรับรองจำนวนเงินที่ขอยืม ขั้นที่ 4 ส่งสัญญาการยืมเงินต่อกองการเงินและบัญชี เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ลงเลขที่ใบยืม ตรวจสอบอัตราเงินเดือนของผู้ยืม และตรวจสอบ เงินยืมค้างเพื่อป้องกันมิให้ยืมเงินใหม่หากมีเงินเก่าค้างชำระ ฝ่ายการเงิน

14 ขั้นที่ 5 เจ้าหน้าที่การเงินเป็นผู้กำหนดระยะเวลาที่จะส่งใช้ในสัญญา การยืมเงิน ดังนี้ 1. กรณีเดินทางไปราชการประจำต่างสำนักงาน หรือการเดินทาง ไปรับราชการประจำในต่างประเทศ หรือกรณีเดินทางกลับ ภูมิลำเนาเดิมให้ส่งเงินยืมภายในสามสิบวันนับจากวันได้รับเงิน 2. กรณีเดินทางไปราชการอื่น รวมทั้งการเดินทางไปราชการ ต่างประเทศชั่วคราว ให้ส่งเงินยืมภายในสิบวันนับจากวันกลับ มาถึง หากผู้ยืมไม่สามารถส่งใช้เงินยืมได้ตามกำหนด สามารถ ขยายเวลาส่งใช้เงินยืมได้อีกห้าวัน รวมแล้วไม่เกินสิบห้าวันนับ จากวันกลับมาถึง ฝ่ายการเงิน

15 3. การยืมเงินเพื่อไปปฏิบัติราชการนอกจาก 1 หรือ 2 ให้ส่งเงิน
ยืมภายในสิบวันนับจากวันได้รับเงิน หากไม่สามารถส่งได้ตาม กำหนดสามารถขยายได้เวลาส่งใช้ได้ครั้งละสิบวันไม่เกิน 2 ครั้ง รวมแล้วไม่เกินสามสิบวันนับจากวันได้รับเงิน ฝ่ายการเงิน

16 เอกสารประกอบการยืมเงินทดรองราชการ
การยืมเงินไปราชการ 1. การเดินทางไปราชการ (ภายในประเทศ) 1.1 สัญญาการยืมเงิน 2 ฉบับ 1.2 สำเนาคำสั่งอนุมัติให้เดินทางไปราชการ (กรณีผู้อนุมัติเป็นผู้รักษาราชการแทนให้แนบคำสั่งรักษาราชการแทนด้วย) 1.3 กรณีเดินทางเป็นหมู่คณะให้แนบรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 1.4 กรณีเป็นลูกจ้างชั่วคราวให้แนบหนังสือสัญญาค้ำประกัน 1.5 แบบตราคุมงบประมาณ ฝ่ายการเงิน

17 2. เดินทางไปราชการหรือดูงานต่างประเทศ 2
2. เดินทางไปราชการหรือดูงานต่างประเทศ 2.1 สัญญาการยืมเงิน หรือสัญญาการยืมเงินและการใช้บัตรเครดิตราชการ 2 ฉบับ 2.2 สำเนาหนังสือขออนุมัติให้ข้าราชการเดินทางไปต่างประเทศที่อนุมัติโดยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2.3 บัญชีรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 2.4 แบบตราคุมงบประมาณ ฝ่ายการเงิน

18 การยืมเงินไปประชุม / อบรม / สัมมนา
1. ผู้จัดประชุม / อบรม / สัมมนา เป็นผู้ยืมเงิน 1.1 สัญญาการยืมเงินและการใช้บัตรเครดิตราชการ 2 ฉบับ 1.2 สำเนาคำสั่งอนุมัติให้เดินทางไปราชการ 1.3 สำเนาโครงการและกำหนดการจัดประชุม / อบรม / สัมมนา 1.4 รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม / อบรม / สัมมนา 1.5 แบบตราคุมงบประมาณ ฝ่ายการเงิน

19 2. ผู้เข้าร่วมประชุม / อบรม / สัมมนา 2. 1 สัญญาการยืมเงิน 2 ฉบับ 2
2. ผู้เข้าร่วมประชุม / อบรม / สัมมนา 2.1 สัญญาการยืมเงิน 2 ฉบับ 2.2 สำเนาคำสั่งอนุมัติให้เดินทางไปราชการ 2.3 สำเนารายชื่อที่อนุมัติให้เข้าร่วมประชุม / อบรม / สัมมนา 2.4 รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมประชุม / อบรม / สัมมนา 2.5 แบบตราคุมงบประมาณ ฝ่ายการเงิน

20 การยืมเงินเป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
1. ค่าเบี้ยประชุม 1.1 สัญญาการยืมเงิน 2 ฉบับ 1.2 สำนาคำสั่งแต่งตั้งกรรมการ หรือหนังสือเชิญประชุม 1.3 แบบตราคุมงบประมาณ 2. ค่าธรรมเนียมศาล 2.1 สัญญาการยืมเงิน 2 ฉบับ 2.2 หนังสือแจ้งให้ชำระเงินค่าธรรมเนียมศาล 2.3 แบบตราคุมงบประมาณ ฝ่ายการเงิน

21 3. ค่าลงทะเบียนอบรม 3. 1 สัญญาการยืมเงิน 2 ฉบับ 3
3. ค่าลงทะเบียนอบรม 3.1 สัญญาการยืมเงิน 2 ฉบับ 3.2 หนังสืออนุมัติรายชื่อให้เข้าอบรม 3.3 หนังสือแจ้งจำนวนเงินที่จะต้องจ่าย 3.4 แบบตราคุมงบประมาณ ฝ่ายการเงิน

22 4. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร 4. 1 สัญญาการยืมเงิน 2 ฉบับ 4
4. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร 4.1 สัญญาการยืมเงิน 2 ฉบับ 4.2 หนังสือของสำนักงานการศึกษาเอกชนที่อนุญาตให้โรงเรียนเก็บค่าเล่าเรียนได้อัตราต่อปี 4.3 หนังสือแจ้งให้ชำระเงินในวันที่เท่าไร ฝ่ายการเงิน

23 การใช้บัตรเครดิตราชการ
ฝ่ายการเงิน

24 หน้าที่ของส่วนราชการระดับกรม
เลือกสถาบันผู้ออกบัตรเครดิต ยกเลิกการใช้บริการของสถาบันผู้ออกบัตรเครดิต การฟ้องร้องดำเนินคดีกับข้าราชการผู้ถือบัตรเครดิตที่กระทำผิดเงื่อนไข การขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังในกรณีส่วนราชการไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ได้ ฝ่ายการเงิน

25 หน้าที่ส่วนราชการของผู้ถือบัตรเครดิต
การอนุญาตให้ข้าราชการในสังกัดตนเองมีบัตรเครดิต การกำหนดวงเงินและระยะเวลาการใช้บัตรเครดิต การติดต่อประสานงานกับสถาบันผู้ออกบัตร การจัดทำทะเบียนคุมบัตรเครดิต และทะเบียนคุมวงเงินการใช้จ่ายบัตรเครดิต ตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ เบิกเงินตามสัญญาการยืมเงินและการใช้บัตรเครดิตราชการเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในช่วงเดือนสิงหาคม และกันยายน ฝ่ายการเงิน

26 หน้าที่ส่วนราชการของผู้ถือบัตรเครดิต (ต่อ)
การทักท้วงและทวงถามสถาบันในกรณีได้รับชำระเงินมากกว่าหนี้ การยกเลิกการใช้บัตรเครดิตของผู้ถือบัตรเครดิต การบันทึกรายการบัญชี และการนำข้อมูลเข้าระบบ GFMIS การอนุญาตไม่ต้องใช้บัตรเครดิต ในกรณีสถานที่ไม่เอื้อต่อการนำบัตรเครดิตไปใช้ เป็นกรณี ๆ ไป ฝ่ายการเงิน

27 ♦ ขั้นตอนการขอใช้บัตรเครดิตราชการ
ในส่วนของผู้ขอใช้บัตรเครดิตราชการ 1. กรอกแบบฟอร์มสัญญาการยืมเงินและการใช้บัตรเครดิตราชการ ยื่นต่อผู้อำนวยการกองการเงินและบัญชี จำนวน 2 ฉบับ 1.1 ให้ทำเครื่องหมาย / ในช่องต่าง ๆ แล้วแต่กรณี เช่น ขอมีบัตรเครดิตราชการ โดยระบุชื่อข้าพเจ้าเป็นผู้ถือบัตรเครดิต ขอมีบัตรเครดิตราชการ โดยระบุชื่อข้าพเจ้าเป็นผู้ถือบัตรเครดิตพร้อมวงเงินที่ใช้จ่ายจากบัตรเครดิต ขอวงเงินที่ใช้จ่ายจากบัตรเครดิตราชการที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ถือบัตรเครดิต ตามหมายเลขที่บัตรเครดิต ฝ่ายการเงิน

28 1.2 ลงนามและทำเครื่องหมาย / ในช่องผู้ขอใช้บัตรเครดิต พร้อมลง วัน เดือน ปีที่ขอ
(ลงชื่อ) ผู้ยืมเงิน / ผู้ขอใช้บัตรเครดิต วันที่ / / 1.3 สำหรับช่องเสนออธิบดีเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติและช่องคำอนุมัติผู้ขอใช้บัตรไม่ต้องกรอกรายการ 1.4 ช่องใบรับเงินยืม/ใบรับบัตรเครดิตราชการ/ใบรับทราบวงเงินใช้จ่ายจะต้องเซ็นชื่อเมื่อได้รับเงินยืมและบัตรเครดิตแล้ว ใบรับเงินยืม/ใบรับบัตรเครดิตราชการ/ใบรับทราบวงเงินใช้จ่าย ได้รับเงินยืมจำนวน บาท ( ) ได้รับบัตรเครดิตหมายเลข เรียบร้อยแล้ว รับทราบวงเงินที่จะใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและระยะเวลาการใช้บัตรเครดิตตามที่ได้รับอนุมัติให้จ่ายได้ข้างต้น (ลงชื่อ) ผู้ยืมเงิน / ผู้ขอใช้บัตรเครดิต วันที่ / / ฝ่ายการเงิน

29 2. กรอกแบบใบสมัครบัตรเครดิตบริษัท
ลงนามในช่องลายเซ็นต์ผู้สมัครให้ตรงตามบัตรประจำตัวข้าราชการหรือตรงตามหนังสือเดินทาง 3. แนบเอกสารดังนี้ 3.1 สำเนาบัตรข้าราชการ ผู้ขอใช้บัตรเครดิตพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 3.2 สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ขอใช้บัตรเครดิตพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ฝ่ายการเงิน

30 6. ผู้ขอใช้บัตรเครดิตต้องเซ็นชื่อหลังบัตรเครดิตให้ตรงกับใบสมัคร
4. ส่งเอกสารให้งานเงินทดรองราชการ ฝ่ายการเงิน กองการเงินและบัญชี เพื่อส่งเอกสารให้บริษัทบัตรเครดิตไปดำเนินการจัดทำบัตรเครดิต (การขอมีบัตรเครดิตต้องขอล่วงหน้าประมาณ 5 วันทำการ) 5. เมื่อได้รับบัตรเครดิต ลงนามรับบัตรในสัญญาการยืมเงินและการใช้บัตรเครดิตราชการพร้อมรับสำเนาสัญญาการยืมเงินและการใช้บัตรเครดิตราชการไว้เป็นหลักฐานของผู้ใช้บัตร 6. ผู้ขอใช้บัตรเครดิตต้องเซ็นชื่อหลังบัตรเครดิตให้ตรงกับใบสมัคร 7. ผู้ขอใช้บัตรเครดิตต้องทำการขอเปิดบัตรเครดิตกับบริษัทผู้ออกบัตรก่อนนำบัตรเครดิตไปใช้ ฝ่ายการเงิน

31 ตัวอย่างบัตรเครดิตราชการ
ด้านหน้าบัตรเครดิตราชการ ประเภทบัตร ฝ่ายการเงิน

32 ด้านหลังบัตรเครดิตราชการ
ลายเซนต์ผู้ถือบัตร ฝ่ายการเงิน

33 วิธีการใช้บัตร (ผู้ขอใช้บัตรเครดิตราชการ)
1. ก่อนการเดินทางหรือปฏิบัติงานการจัดอบรม สัมมนา จะต้องจัดทำสัญญาการยืมเงินและการใช้บัตรเครดิตราชการ พร้อมแนบสำเนาคำสั่งปฏิบัติงานให้กองการเงินและบัญชี 2. เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการนั้นแล้ว ผู้ใช้บัตรเครดิตจะต้องจัดทำแบบใบสรุปรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต พร้อมแนบสำเนา Sale slip การใช้บัตรเครดิต และใบสำคัญ ส่งกองการเงินและบัญชี ฝ่ายการเงิน

34 แบบใบสรุปรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต
ฝ่ายการเงิน

35 Sale slip ผู้ใช้บัตรเครดิตราชการ จะต้องจัดทำใบสรุปรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต และเก็บรวบรวม Sale slip ทุกฉบับไว้เป็นหลักฐาน ประกอบการจัดทำใบสำคัญ ฝ่ายการเงิน

36 วิธีการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่การเงินของส่วนราชการ
1. การยืมเงินและขอเพิ่มวงเงิน - ตรวจสอบสัญญาการยืมเงินและการใช้บัตรเครดิตราชการ ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ขอยืมเงิน และเสนอผู้มีอำนาจ อนุมัติลงนาม (อธิบดีมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการกองการเงินและบัญชี) - จัดทำเอกสารขอเพิ่มวงเงินและขอขยายระยะเวลาในการใช้บัตรเครดิต และเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติลงนาม - ลงทะเบียนคุมวงเงิน - จัดส่งเอกสารขอเพิ่มวงเงินให้กับสถาบันผู้ออกบัตรเครดิตทางโทรสาร ฝ่ายการเงิน

37 - เมื่อสัญญาการยืมเงินครบกำหนดส่งใช้ใบสำคัญ ให้ติดตามทวง
2. การส่งใช้ใบสำคัญ - เมื่อสัญญาการยืมเงินครบกำหนดส่งใช้ใบสำคัญ ให้ติดตามทวง ถามใบสำคัญให้ถูกต้องครบถ้วน - ตรวจสอบใบสรุปรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต ราชการ และใบสำคัญให้จำนวนเงินถูกต้อง - ลงทะเบียนล้างลูกหนี้เงินยืม ฝ่ายการเงิน

38 3. การจ่ายชำระเงินให้กับบริษัท
- ทุกวันที่ 11 ของเดือน บริษัทบัตรกรุงไทย จะตัดรอบบัญชี และจัดส่งใบแจ้งยอดการใช้จ่ายให้กับกองการเงินและบัญชี - ตรวจสอบใบสรุปรายการที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต กับใบแจ้งยอดการใช้จ่ายของบริษัทให้ถูกต้องตรงกัน - ออกเช็คสั่งจ่ายบริษัทในนาม “บมจ.บัตรกรุงไทย เพื่อรับชำระจากลูกค้า” - กองการเงินและบัญชีจะชำระเงินตามระยะเวลาที่บริษัทกำหนดไว้ในใบแจ้งยอดการใช้จ่าย ฝ่ายการเงิน

39 ทะเบียนคุมบัตรเครดิตราชการ
ฝ่ายการเงิน

40 ทะเบียนคุมวงเงินค่าใช้จ่ายบัตรเครดิตราชการ
ฝ่ายการเงิน

41 เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ได้มีการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ขอใช้บัตรเครดิตราชการในเรื่อง - ความสะดวกในการใช้บัตรเครดิตราชการ - การยินดีรับบัตรเครดิตของบริษัทที่ใช้อยู่ - การแสดงความคิดเห็นว่าควรใช้ต่อไป หรือควรเปลี่ยนบริษัทใหม่ - สอบถามปัญหาและข้อแนะนำต่าง ๆ เพื่อเก็บรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจต่อไป ฝ่ายการเงิน

42 กรมชลประทานมีการอำนวยความสะดวก
แจ้งหมายเลขโทรศัพท์ให้ผู้ขอใช้บัตรเครดิตสามารถติดต่อได้ตลอดเวลาเมื่อมีปัญหาในขณะใช้บัตรเครดิตราชการ - หมายเลขโทรศัพท์ในสำนักงาน - หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนตัวของผู้ประสานงาน ฝ่ายการเงิน

43 ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ
ฝ่ายการเงิน


ดาวน์โหลด ppt การยืมเงินทดรองราชการ และ การใช้บัตรเครดิตราชการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google