ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
วิธีและเทคนิคการฝึกอบรม
โดย ผศ.ดร. จินตนา ติยะรังษีนุกูล
2
เทคนิคการฝึกอบรม หมายถึง กลวิธีในการถ่ายทอดประสบการณ์ทั้งในด้านความรู้ทักษะและเจตคติที่ดีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมที่กำหนด มีแนวทางดังนี้ 1. การบรรยาย 7. การสาธิต 2. การอภิปราย 8. กรณีศึกษา 3. การระดมสมอง 9. การแสดงบทบาทสมมติ 4. การประชุม 10. เกมการบริหาร 5. การสัมมนา 11. สถานการณ์จำลอง 6. การประชุมปฏิบัติการ 12. การฝึกอบรมในงาน
3
การบรรยาย (Lecture) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนข้อมูลข้อเท็จจริงแก่ผู้ฟัง การบรรยายให้เกิดประสิทธิภาพ มีส่วนที่ต้องดำเนินการ 2 ส่วน คือ 1. การเตรียมตัวในการบรรยาย ทำตัวให้เป็นผู้รู้,การวิเคราะห์ผู้ฟังหรือผู้เข้าร่วมอบรม,การเตรียมเนื้อหา,การแสวงหาเนื้อหา,การทำเอกสารบรรยาย หรือทำโน้ต,การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ประกอบการบรรยาย 2. การบรรยาย ลักษณะปรากฏกายของผู้บรรยาย,เมื่อเริ่มต้นบรรยายควรพูดให้ช้าและชัดเจน,การใช้เสียง,อิริยาบถในการบรรยาย
4
การอภิปราย (Discussion) คือการที่กลุ่มคนมีความสนใจในปัญหาหรือเรื่องเดียวกัน ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันเพื่อการวิเคราะห์ การอภิปรายมีหลายแบบที่ใช้แพร่หลาย ได้แก่ 1. การอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion) เป็นการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์มาให้ความคิดเห็น หรือทรรศนะในเรื่องเดียวกัน จำนวนผู้อภิปรายอาจจะมีประมาณ 3-5 คน 2. การอภิปรายแบบชุมชนปาฐกถา (Symposium Discussion) เป็นการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิให้ความรู้ในเรื่องที่สนใจในแต่ละด้าน ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการอบรมจะมีความรู้ความเข้าใจตามเรื่องและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 3. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) เป็นการอภิปรายที่ต้องการให้สมาชิกในกลุ่มได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและหาข้อยุติเกี่ยวกับเรื่องหรือประเด็นที่ต้องศึกษา
5
การระดมสมอง (Brain Storming) หรือการระดมความคิด คือ การให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องหรือปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างอิสระ จนกว่าสมาชิกเสนอความคิดหมดแล้วจึงวิเคราะห์และนำไปสู่ข้อสรุป ข้อดี - ทำให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ - กลุ่มได้แนวทางในการแก้ปัญหาในลักษณะต่างๆ - เทคนิคในการจัดกิจกรรมทำให้สมาชิกเกิดความสนใจ
6
ขั้นตอนการดำเนินการประชุม มีดังนี้ 1. ประธานเปิดการประชุม
การประชุม (Conference) หมายถึง การที่บุคคลมาพบกันตามกำหนดนัดหมาย เพื่อร่วมกันคิดอย่างมีวัตถุประสงค์ และมีระเบียบวิธี เพื่อแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์แก่สมาชิกใหม่ ขั้นตอนการดำเนินการประชุม มีดังนี้ 1. ประธานเปิดการประชุม 2. ดำเนินการประชุมตามวาระการประชุม 3. ในระหว่างการประชุม 4. เมื่อสิ้นสุดการประชุม ข้อดีของการประชุม ช่วยเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ ส่งเสริมให้ทุกคนแสดงออกด้านความคิด เสริมสร้างความร่วมมือในการทำงาน
7
การสัมมนา (Seminar) เป็นรูปแบบการฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการอบรมมีความสนใจหรือประสบปัญหาในการปฏิบัติงานอย่างเดียวกัน ต้องการศึกษา เพื่อนำข้อสรุปไปใช้ในการปรับปรุง วิธีการสัมมนา 1. การวางแผนด้วยการสำรวจ 2. การดำเนินการสัมมนา 3. การติดตามผลการสัมมนา
8
การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ขั้นตอนการประชุมเชิงปฏิบัติการ 1
9
การสาธิต (Demonstration) เป็นเทคนิควิธีการฝึกอบรมที่แสดงให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เห็นจริง แล้วเกิดความเข้าใจถึงวิธีการ ขั้นตอนของการปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติตามได้หลังจากการสาธิตแล้ว เพื่อให้การสาธิตดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ 1. การเตรียมการสาธิต 2. การสาธิต 3. การอภิปรายและทดลองปฏิบัติ หลังจากการสาธิต ข้อดี - เป็นเทคนิคการนำเสนอที่ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ปฏิบัติทดลอง ทำให้เกิดความมั่นใจ - ผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามขั้นตอน - ช่วยป้องกันความผิดพลาดและลดอันตรายในการปฏิบัติงาน
10
กรณีศึกษา (Case Study) เป็นเทคนิคการฝึกอบรมที่นำเอากรณีหรือเรื่องราวที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นจริงๆ เสนอเข้าในกลุ่มและวิเคราะห์ปัญหา เหมาะสำหรับการฝึกอบรมทางด้านกฎหมาย ด้านการบริหารงาน ข้อดี - สมาชิกผู้เข้ารับการอบรมมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่หลากหลาย - รู้จักวิเคราะห์ปัญหา และตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหา การแสดงบทบาทสมมติ (Role playing) คล้ายกับกรณีศึกษา กล่าวคือ เป็นเทคนิคที่นำเอาเรื่องที่เป็นกรณีตัวอย่างมาเสนอในรูปแบบการแสดงบทบาท การนำเทคนิคการแสดงบทบาทสมมติไปใช้ 1. ใช้ในกรณีที่มีการวางแผนล่วงหน้า 2. กรณีที่ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า ข้อดี ช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจเรื่องที่อบรม ได้แสดงออกด้วยการปฏิบัติจริง เปิดโอกาสได้ทดลองแสดงบทบาทตามแนวคิด ส่งเสริมความคิดริเริ่มของผู้เข้ารับการอบรม
11
เกมการบริหาร (Management Game) เป็นวิธีฝึกอบรมที่ได้ทดลองปฏิบัติภารกิจในเหตุการณ์ที่เหมือนชีวิตจริง ด้วยการแข่งขันระหว่างบุคคล ตั้งแต่ 2 คนหรือ 2 กลุ่มขึ้นไป เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ข้อดี - สามารถศึกษาประสบการณ์และปัญหาที่เหมือนชีวิตจริงในช่วงระยะเวลาสั้น - การจัดกิจกรรมสามารถยืดหยุ่นตามความจำเป็นของงบประมาณ - การเตรียมกิจกรรมสามารถทำให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ สถานการณ์จำลอง (Simulation Technique or Simulatore) ในการฝึกอบรมทางด้านทักษะ นักอบรมจะต้องแสวงหาวิธีที่จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดทักษะอย่างแท้จริง และเป็นเทคนิคฝึกการทำงานด้วยการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นเหมือนจริง ข้อดี สามารถสร้างบุคลากรที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถและทักษะที่สูงในช่วงระยะเวลาสั้นให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอันตรายและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ช่วยประหยัดงบประมาณ
12
การฝึกอบรมในงาน (On-the-job Training) เป็นวิธีที่ช่วยให้คนเรียนรู้งานจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ ได้เรียนรู้การทำงานในสภาพการณ์จริง แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การฝึกในงาน กับการฝึกนอกงาน ซึ่งทั้งสองจะให้ผลแตกต่างกัน ซึ่งผู้ให้การฝึกจะต้องพิจารณาถึงทักษะหรือประสบการณ์ว่าเหมาะสมเพียงใด การฝึกอบรมในงานผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ฝึกหรือแนะนำงานจะต้องดำเนินการอย่างมีระบบ มิกิล และโมนากาน (Samuel B. Magill & Jhon E. Monaghan) ได้ให้แนวทาง 4 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นเตรียมการ (Prepare the Worker) 2. ขั้นการสอน (Present the Operation) 3. ขั้นการทดลองปฏิบัติ (Try-out performance) 4. ขั้นการติดตามผล (Follow-up)
13
ข้อดี ผู้เข้ารับการฝึกได้มีโอกาสฝึกงานจริง การฝึกในงานช่วยให้ผู้ฝึกได้ฝึกนิสัยการทำงาน เกิดเจตคติที่ดี และมีวินัย รู้เทคนิคและวิธีการใช้เครื่องมือได้ถูกต้อง เป็นการลดอันตรายของคนงาน ผู้ฝึกมีโอกาสฝึกงานที่เหมาะสมกับความสามารถและความถนัดของตน
14
กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ (Group Dynamics)
เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความจำเป็นในการช่วยกระตุ้นและสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างให้ผู้เข้าร่วม กิจกรรมนันทนาการได้แสดงออกในรูปแบบต่างๆ สามารถนำไปสอดแทรกสาระต่างๆ ได้ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 1. วางแผนการดำเนินกิจกรรม 2. ลงมือทำกิจกรรมตามขั้นตอนหลัก 3. สรุปผลและประเมินผล
15
ตัวอย่างกิจกรรม (เพื่อการเรียนรู้ความแตกต่างของมนุษย์ที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคม) ชื่อเกม กระดาษหนังสือพิมพ์ วีธีการ แบ่งสมาชิกออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 8-10 คน 1. ให้แต่ละกลุ่มเลือกตัวแทน 2 คน ชาย 1 หญิง 1 2. ให้แต่ละคู่ช่วยกันฉีกกระดาษหนังสือพิมพ์ 1 คู่ ให้เป็นเส้นตรงที่ยาวที่สุดโดยไม่ขาดออกจากกันภายใน 1 นาที กรรมการวัดความยาวและประกาศผล 3. จากนั้นแจกกระดาษหนังสือพิมพ์อีก 1 คู่ ให้แต่ละกลุ่มทดลองวางแผนในการฉีกให้ยาวที่สุด ให้เวลาวางแผน 2 นาที 4. ส่งตัวแทนคู่ใหม่ออกมาโดยไม่ซ้ำคนเดิม ทำกิจกรรมเหมือนเดิมใช้เวลา 1 นาที แล้ววัดความยาวประกาศผล
16
สรุป ถึงความสามารถที่แตกต่าง เนื่องจากคนเราต่างคนต่างมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ความคิดที่แตกต่างกัน ซึ่งเปรียบได้กับกิจกรรม “กระดาษหนังสือพิมพ์” ให้เวลาเท่ากันสมาชิกเท่ากันแต่ผลออกมาได้ไม่เท่ากัน
17
นันทนาการเพื่อการพัฒนาคน
ความหมายของกิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนาคน จัดแบ่งไว้ 5 กิจกรรม 1. กิจกรรมละลายพฤติกรรม (Break the Ice) 2. กิจกรรมเพื่อประสบการณ์การเรียนรู้ (Classroom Activities Games) 3. กิจกรรมสันทนาการหรือนันทนาการ (Recreation Games) 4. กิจกรรมเข้าจังหวะ (Rhythmic Activities) 5. กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ (Self – Testing Activities) ประโยชน์ของกิจกรรมนันทนาการเพื่อการพัฒนาคน 1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ 2. รู้จักตนเองสนใจเนื้อหาและกิจกรรมที่จัดไว้ให้ และได้ประโยชน์ประสบการณ์การเรียนรู้ 3. ผู้เข้าฝึกอบรมสนุกสนาน และไม่เกิดความรู้สึกกำลังถูกสอน
18
หลักการเลือกกิจกรรมเกมเพื่อพัฒนาคน มีหลายประเภทโดยแต่ละกิจกรรมมีวัตถุประสงค์ หรือทักษะแตกต่างกันไป จึงควรคำนึงถึง วัย อายุ เพศ ควรเลือกเกมหรือกิจกรรมหลายๆประเภท หลักในการจัดกิจกรรม เทคนิคการวางแผนจัดกิจกรรม 1. การจัดกลุ่มผู้เล่น 1. วัตถุประสงค์หลักของชุดกิจกรรม 2. การอธิบายวิธีการเล่น 2. ลักษณะกลุ่มคนในเรื่องคือ เพศ,วัน,สถานภาพ 3. การสาธิตการเล่น 3. ธรรมชาติทั่วไปของคนในการแสดงออก 4. การปฏิบัติ 4. ลักษณะของกิจกรรมแต่ละเรื่องในด้านต่างๆ 5. การประเมินและติดตามผล 5. สถานที่หรือพื้นที่ที่จะใช้ว่าจัดในที่ใด
19
ขอบคุณที่ร่วมอุดมการณ์ ใช้กิจกรรมนันทนาการเพื่อการเรียนรู้
รักน่ะจุฟๆๆ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.