ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยCarl Jakobsen ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การวางแผนการเงินส่วนบุคคล (Personal Financial Planning)
: Week 7
2
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการวางแผน ทางการเงินเบื้องต้น 2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการ วางแผนทางการเงิน
3
การวางแผนการเงินส่วนบุคคล คือ ???
การบริหารจัดการเงินหรือรายได้ที่ได้มา และใช้เงินนั้นไปอย่างมีประสิทธิภาพมาก ที่สุดตามเป้าหมายการเงินของบุคคลหนึ่ง บุคคลใดโดยเฉพาะ
4
ความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน
ทำให้เกิดความมั่นคงทางการเงินและความมั่งคงในชีวิต วางแผนการเงินรูปแบบที่เรียกว่า “Comprehensive Financial Planning” สามารถตอบสนองความต้องการและเป้าหมายเฉพาะบุคคล วางแผนการเงินในรูปแบบที่เรียกว่า “Special Needs Planning”
5
สาเหตุที่บุคคลละเลยเรื่องการวางแผนทางการเงิน
1. ด้านสถานภาพและฐานะทางการเงิน คิดว่าฐานะ หรือ รายได้ไม่มากถึงขั้นต้องวางแผนทางการเงิน 2. ด้านความเชื่อและทัศนคติที่ผิด การวางแผนการเงินเป็นการเตรียมรับความไม่แน่นอนกับความเสี่ยง เช่น การ ตาย พิการ ทุพพลภาพ หรือไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นมนุษย์ไม่พึงปรารถนา ไม่ อยากรับรู้ หลีกเลี่ยง และประวิงเวลาไว้ที่จะวางแผนจนถึงละเลยไม่ใส่ใจ
6
แผนการเงินเหมาะกับใคร ?
7
จะต้องสูญเสียเท่าไรถ้าไม่มีแผนการเงิน ?
8
ผลเสียอันเนื่องมาจากละเลยการวางแผนทางการเงิน
ไม่บรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการ ทำให้สูญเสียทางการเงินและโอกาสที่จะหาเงิน สำหรับใช้ดำเนินชีวิต ประสบกับปัญหาให้การดำเนินชีวิตภายหลังเกษียณ
9
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงิน
จนท ธนบดีธนกิจ ของธนาคารพาณิชย์ ตัวแทนขายประกันชีวิต ของบริษัทประกันชีวิต จนท. การตลาด ของบริษัทหลักทรัพย์ ผู้ขายหน่วยลงทุน ของ บลจ กองทุน
10
แผนการเงิน การจัดทำงบการเงิน การเงินประมาณส่วนบุคคล การวางแผนการลงทุน
รายรับ รายจ่าย ทรัพย์สิน และ หนี้สิน การวางแผนการลงทุน เพิ่มรายได้ หรือสะสมให้เพียงพอต่อเป้าหมายด้านต่างๆ ในอนาคต การบริการความเสี่ยง และ การวางแผนการประกัน ความเสี่ยง มี 2 ประเภท คือ แบบสุ่ม(speculative risk) และ แท้จริง (pure risk) การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ การคำนวณหาเงินให้เพียงพอสำหรับใช้จ่ายตามอัตภาพหลังเกษียณอายุแต่ บุคคล การวางแผนภาษี การวางแผนการชำระภาษีในจำนวนน้อยที่สุดอย่างถูกต้องตามกรอบของ กฎหมาย
11
ขั้นตอนการวางแผนการเงิน
ขั้นที่1 : รวบรวมข้อมูลด้านการเงิน ขั้นที่2 : กำหนดเป้าหมาย ขั้นที่3 : วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันสรรหาทางเลือก ขั้นที่4 : พัฒนาและปรับเปลี่ยนแผน ขั้นที่5 : ทบทวนรายปีเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม
12
ขั้นที่ 1 : รวบรวบข้อมูลด้านการเงิน
การรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลทางด้านการเงิน ข้อมูลเชิงคุณภาพทั่วไป ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเรื่องของการลงทุนส่วนบุคคล รายได้และรายจ่าย กรมธรรม์ประกันภัยที่ถือ อยู่ การเตรียมการเมื่อเกษียณอายุ หรือไม่ก็เรื่อง ของพินัยกรรม ข้อมูลเชิงคุณภาพทั่วไป เป็นต้น
13
ขั้นที่ 2 : กำหนดเป้าหมาย
เป็นการกำหนดเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายให้ ชัดเจนและเหมาะสมกับตัวบุคคล การจัดลำดับ ความสำคัญของเป้าหมายทางการเงิน ซึ่งอาจไม่ คงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้เสมอ ตัวอย่างเช่น คู่หนุ่มสาวที่อยู่ในช่วงฮันนีมูน หรือ คู่ตายายที่อยู่ในช่วงวัยเกษียณอายุ
14
เป้าหมายทางการเงิน ปกป้องความเสี่ยงเฉพาะตน
( Financial Goals ) ปกป้องความเสี่ยงเฉพาะตน สะสมเพิ่มพูนทรัพย์สิน เพื่อใช้จ่ายด้านต่างๆ สำรองเมื่อยามแก่เฒ่า การวางแผนทางภาษี เพื่อการจับจ่ายซื้อหาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการบริหารทรัพย์สิน
15
ประเภทของเป้าหมายทางการเงิน
ระยะสั้น (ไม่เกิน 3 ปี) : เน้นที่ความสะดวกสบายในปัจจุบัน เช่น มีรถภายใน 2 ปี เป็นต้น ระยะปานกลาง ( 3 – 7 ปี) : เน้นสร้างสินทรัพย์ เช่น มีบ้านภายใน 5 ปี เป็นต้น ระยะยาว ( 7 ปีขึ้นไป) : เน้นเตรียมการชีวิตหลังเกษียณมี ความสุข
16
ลักษณะของเป้าหมายที่ดี
เป้าต้องมีความชัดเจนว่า : อะไร(What) เท่าใด(How much) เมื่อใด(When) นอกจากนี้ต้องสมเหตุสมผล เป็นไปได้ และเหมาะสม
17
ตัวอย่างวิเคราะห์การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน
ต้องการซื้อรถยนต์ ราคาไม่เกิน 1.3 ล้านบาท ภายในระยะเวลา2 ปี วิเคราะห์ลักษณะการกำหนดเป้าหมายที่ดี ตามกรอบของ SMART Specific : ชัดเจนรู้ว่าต้องการอะไร Measurable : วัดผลได้ว่าบรรลุเป้าหมายหรือยัง Achievable : ทำสำเร็จได้ (ทำอย่างไรให้บรรลุตามเป้าหมาย) Realistic : สามารถที่บรรลุเป้าหมายได้ (สมเหตุสมผล) Time-bound : มีกำหนดเวลา
18
ขั้นที่ 3 : วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันสรรหาทางเลือก
เป็นการวิเคราะห์สถานภาพทางการเงิน ร่วมกับ ข้อมูลเชิงคุณภาพของบุคคลนั้น ถึงศักยภาพความ เป็นไปได้ ที่จะบรรลุเป้าหมาย ในการพิจารณาตัดสินใจ เลือกทางเลือกที่เหมาะสม หรือปรับแก้ปัญหาที่กระทบ ให้สมดุล หรือเตรียมมาตรการรองรับความเสี่ยงที่อาจ เกิดขึ้น
19
ขั้นที่ 4 : พัฒนาและปรับเปลี่ยนแผน
เพราะแผนการเงินและการลงทุนหนึ่งแผน ไม่ได้เหมาะกับคนทุกคน มีข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมของบุคคลนั้นๆ จึงต้องมี การพัฒนาปรับเปลี่ยน ซึ่งบางครั้งปฏิเสธไม่ได้กับ บางส่วนของแผนที่ยอมรับไม่ได้
20
ขั้นที่ 5 : ทบทวนรายปี เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม
ไม่มีแผนการเงินใดจัดทำแล้วใช้ได้จบในครั้ง เดียว เมื่อสภาพแวดล้อม เช่น มีการเกิด แต่งงาน หย่าร้าง เปลี่ยนงาน หรือปัจจัยที่เข้ามา เกี่ยวข้อง เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย กฎระเบียบ หลังจากปฏิบัติตามแผนแล้วแต่ละปีควรมาศึกษา แผนปรับตามความจำเป็นให้เหมาะสม
21
ให้นักศึกษาดู เรื่อง การวางแผนการเงินฯ : ตอนที่1 จาก
22
แบบฝึกหัด การวางแผนการเงินส่วนบุคคล คืออะไร
จงอธิบายเป้าหมายทางการเงิน (Financial Goals) ของนักศึกษา เป็นอย่างไร การวางแผนทางการเงินมีขั้นตอนอะไรบ้าง ถ้านักศึกษาไม่มีแผนทางการเงินนักศึกษาจะมีผลกระทบอย่างไร การมีแผนทางการเงินมีข้อดีอย่างไร
23
แหล่งอ้างอิงข้อมูล หลักสูตรวางแผนการเงิน : ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน, ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย. การวางแผนการเงินส่วนบุคคล สืบค้น 22 พค 55 การวางแผนการเงินส่วนบุคคล สืบค้น 22 พค 55 การวางแผนการเงินฯตอนที่ สืบค้น 21 พค 55
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.