งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาคุณภาพการดูแลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาคุณภาพการดูแลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาคุณภาพการดูแลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ในอำเภอพญาเม็งราย จ.เชียงราย

2 คำสำคัญ : โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

3 สรุปผลงานโดยย่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีแนวโน้มอัตราป่วยเพิ่มขึ้นในอำเภอ พญาเม็งรายและพบมากในกลุ่มเยาวชน การเกิดโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์จะมีแนวโน้มเกิดโรคเอดส์ตามมา ซึ่งสะท้อนให้เห็น ถึงการขาดการป้องกัน ทางทีมพัฒนาคุณภาพ จึงได้พัฒนา คุณภาพ การดูแลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ใน อำเภอพญาเม็งรายขึ้น

4 โรงพยาบาลพญาเม็งราย อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย
สมาชิกทีม - น.ส สิรินทร์พรภู่ประเสริฐ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ - นาง อุมารินทร์ วิลัย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

5 เป้าหมาย เพื่อ ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปี 2559
ในอำเภอพญาเม็งราย จ. เชียงราย

6 ปัญหาและสาเหตุ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ยังคงเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข ของประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ถึงแม้ว่า อุบัติการณ์ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะไม่สูงจนเป็นปัญหา เมื่อ เทียบกับโรคอื่นๆ แต่สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มี แนวโน้มอัตราป่วยที่เพิ่มขึ้น อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการระบาดของ โรคเอดส์ระลอกใหม่เนื่องจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มี ความสัมพันธ์กับโรคเอดส์ กล่าวคือสาเหตุของการติดต่อที่สำคัญของ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ พบว่า มาจากการมี เพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน อุบัติการณ์และแนวโน้มของโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ใช้เป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิผลของการป้องกันและ ควบคุมโรคเอดส์

7 ปัญหาและสาเหตุ ในอำเภอพญาเม็งรายพบว่าอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2556 – 2558 จากอัตราป่วยต่อแสน ประชากร 6.78, 43.56และ95.27 ตามลำดับ โรคหนองในพบอัตราป่วย มากที่สุด จาก 4.25, และ69.29 รองมาเป็นโรคซิฟิลิส จาก2.26 ,8.71 และ14.44 ตามลำดับ จากการแยกช่วงอายุพบมากอยู่ในช่วง 15 – 24 ปี พบอายุน้อยที่สุด 13 ปี จากการไปสำรวจพฤติกรรมสุขภาพทางเพศของนักเรียนมัธยม ในอำเภอพญาเม็งราย โดยใช้แบบสอบถามของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 320 คน เพศชาย 142 คนร้อยละ 44.4 เพศ หญิง 178 คนร้อยละ 55.6 อายุอยู่ในช่วง 15 – 18 ปี เคยมีเพศสัมพันธ์ 105 คนคิดเป็นร้อยละ32.8 ไม่เคย 215 คนคิดเป็นร้อยละ 67.2

8 ปัญหาและสาเหตุ พฤติกรรมทางเพศและประสบการณ์มีเพศสัมพันธ์ นักเรียนเคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ร้อยละ 32.8 ส่วนใหญ่บุคคลที่เคยมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกด้วยเป็นแฟน ร้อยละ 94.3 และพนักงานขายบริการจำนวน ร้อยละ 3.8 อายุที่นักเรียนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกตอนอายุน้อยสุดคือ 11 ปี การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกนักเรียนหรือคู่นอนไม่ได้สวมถุงยางอนามัย ร้อยละ 23.8 สาเหตุที่ครั้งล่าสุดที่นักเรียนมีเพศสัมพันธ์ นักเรียนหรือคู่นอนไม่ได้สวมถุงยางอนามัย เพราะ หลั่งนอก ไว้ใจซึ่งกันและกัน หาถุงยางไม่ทัน และคิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้ ร้อยละ31.43, 20.0 ,18.10 , ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าวทางทีมจึงได้จัดทำโครงการ พัฒนาคุณภาพการดูแลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ใน อำเภอพญาเม็งราย จ.เชียงราย

9 อัตราป่วย STLs ต่อแสนประชากรของโรงพยาบาลพญาเม็งราย 5 ปี
2554 2555 2556 2557 2558 median หนองใน 34.45 19.43 4.25 29.04 69.29 31.29 ซิฟิลิส 6.46 2.26 8.71 14.44 6.37 หนองในเทียม 6.48 2.9 2.89 2.45 กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง 0.58 แผลริมอ่อน 2.15 2.16 8.66 2.59 STIs รวม 5 โรค 43.06 28.07 6.78 43.56 95.27 43.35 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ 4.31 71.24 27.14 46.47 86.61 47.15

10 อัตราป่วย STLs ต่อแสนประชากรของโรงพยาบาลพญาเม็งราย 5 ปี

11 อัตราป่วยโรคหนองในต่อแสนประชากรย้อนหลัง 5 ปีเทียบกับประเทศ

12 อัตราป่วยโรคหนองในต่อแสนประชากรย้อนหลัง 5 ปี

13 อัตราป่วยโรคซิฟิลิสในต่อแสนประชากรย้อนหลัง 5 ปีเทียบกับประเทศ

14 อัตราป่วยโรคซิฟิลิสในต่อแสนประชากรย้อนหลัง 5 ปี

15 จำนวนผู้ป่วยหนองใน ปี 2558แยกตามช่วงอายุ

16 จำนวนผู้ป่วยซิฟิลิส ปี 2558แยกตามช่วงอายุ

17 กิจกรรมพัฒนา 1.ประสานโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายลงไปสำรวจพฤติกรรมทางเพศ โดยใช้แบบสอบถามของสำนักระบาดวิทยา 2. นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาปัญหาและสาเหตุ 3. จัดทำโครงการรณรงค์ให้ความรู้ ในโรงเรียนมัธยม -เรื่อง การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ความรู้เรื่องโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ การป้องกันโรคโดยใช้ถุงยางอนามัย สาถิตการใส่ถุงยางอนามัย 4. จัดอบรมกลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไป ในรพ.สต/อบต ทุกแห่ง ปีละ 1 ครั้ง

18 กิจกรรมพัฒนา 5. รณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรค เอดส์ในเทศกาลต่างๆ ของอำเภอพญาเม็งราย 6.ประชาสัมพันธ์กกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ที่พบว่าเป็นโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ได้รับการVCT เจาะHIV ฟรีทุกราย 7.มีการกระจายถุงยางอนามัยอย่างทั่วถึงไปตามสถานที่ รพ.สต , บ้านพักฉุกเฉิน,รีสอร์ท เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงถุงยาง อนามัย 8.ประสานภาคีเครือข่ายเช่น อบต.เทศบาลมีการจัดซื้อถุงยาง อนามัยในส่วนของการใช้ป้องกันโรคเพิ่มขึ้นและกระจายไปตาม หอประชุมหมู่บ้านหรือสถานที่สำคัญต่างๆ

19 กิจกรรมสำรวจพฤติกรรมสุขภาพทางเพศ

20 ออกให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในโรงเรียน

21 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในเทศกาลต่างๆ

22 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
1. อบต .และเทศบาล ได้เห็นความสำคัญจากการคืนข้อมูล มีจัดทำโครงการอบรมใน พื้นที่และ มีงบในการให้การสนับสนุน ในการจัดซื้อถุงยาง จัดทำโครงการอบรม กลุ่ม เสี่ยงในพื้นที่ - โครงการพัฒนาศักยภาพ สร้างความสามัคคี พัฒนาใจ พัฒนาวัด สำหรับเด็กและ เยาวชน ต. แม่เปา 50 คน -โครงการค่ายเด็ก จัดเวที แลกเปลี่ยนเรื่องเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ในเด็กที่ได้รับ ผลกระทบจากเอดส์ เด็กเปราะบาง เด็กที่ไม่ได้การดูแลจากสังคม(เด็กชาติพันธ์) 40 คน ต. แม่ปา(ปี 58 ) -โครงการฟ้าใหม่ใส่ใจสุขภาพ ต.ไม้ยา จำนวน 30 คน -โครงการอบรมให้ความรู้ในเรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่ม แม่บ้าน ผู้นำชุมชน ต. ไม้ยา 92 คน

23 การวัดผล ปี2559 ( มิ.ย ) ประชากร จำนวนคน อัตราป่วย หนองใน 34,637 7
ประชากร จำนวนคน อัตราป่วย หนองใน 34,637 7 20.21 ซิฟิลิส 2 5.77 หนองในเทียม 0.00 กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง แผลริมอ่อน STIs รวม 5 โรค 9 25.98 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ 21 60.63 ค่ามัธยฐาน 15

24 ปี2559 ( มิ.ย ) แยกผู้ป่วยชายหญิง ปี2559( มิ.ย) ชาย หญิง หนองใน 5 2
ชาย หญิง หนองใน 5 2 ซิฟิลิส หนองในเทียม กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง แผลริมอ่อน STIs รวม 5 โรค 7 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ 14

25 ปี2559 ( มิ.ย ) โรคหนองใน ปี2559 ตามช่วงอายุ ชาย หญิง <15ปี
ปี 4 ปี ปี 1 ปี 55 ปี ขึ้นไป

26 ปี2559 ( มิ.ย ) โรคซิฟิลิส ปี2559 ตามช่วงอายุ ชาย หญิง <15ปี
ปี ปี ปี 1 ปี 55 ปี ขึ้นไป

27 กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
ผลของการจัดกิจกรรม 2556 2557 2558 2559 หนองใน 4.25 29.04 69.29 20.21 ซิฟิลิส 2.26 8.71 14.44 5.77 หนองในเทียม 2.9 2.89 กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง แผลริมอ่อน 8.66 STIs รวม 5 โรค 6.78 43.56 95.27 25.98 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ 27.14 46.47 86.61 60.63

28 ผลของการจัดกิจกรรม

29 บทเรียนที่ได้ 1.พบว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เริ่มพบเมื่ออายุน้อยกว่า 15 ปี ดังนั้นการให้ความรู้เรื่องเพศ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต้องเริ่ม ตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้น ( ม. 1)เป็นต้นไป 2. จากการเข้าไปสำรวจพฤติกรรมสุขภาพทางเพศทำให้ทราบว่า ช่อง ทางการเข้าถึง หรือการให้คำปรึกษาเรื่องเพศและโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ในกลุ่มเยาวชนกับ จนท.ในเรื่องการให้คำปรึกษาและการ รักษามีน้อยจึงได้เปิด Facebook เพื่อนใจวัยรุ่นพญาเม็งรายขึ้นเพื่อ เพิ่มช่องทางให้เยาวชนหรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องเพศหรือโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ Inbox เข้ามาสอบถามได้ง่ายขึ้น

30 การติดต่อกับทีมงาน น.ส สิรินทร์พร ภู่ประเสริฐ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
น.ส สิรินทร์พร ภู่ประเสริฐ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาล พญาเม็งราย อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย หรือ ต่อ 120 อีเมล์


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาคุณภาพการดูแลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google