งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การอ้างอิง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การอ้างอิง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การอ้างอิง

2 ความหมายของการอ้างอิง
วัตถุประสงค์ เพื่อให้นิสิตเข้าใจความหมายของการอ้างอิง เพื่อให้นิสิตเลือกแหล่งข้อมูลจากทรัพยากร สารสนเทศประเภทต่างๆ เพื่อนำมาเขียนอ้างอิงได้ อย่างถูกต้อง เพื่อให้นิสิตสามารถเขียนอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องได้ อย่างถูกต้อง (การอ้างอิงแบบนาม-ปี) เพื่อให้นิสิตสามารถเขียนอ้างอิงท้ายเรื่องหรือท้ายเล่ม ได้อย่างถูกต้อง (บรรณานุกรม) ความหมายของการอ้างอิง “การอ้างอิง” (Citations) คือ การบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาน หรือผลงานต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลหรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของความคิดเดิม และเพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ว่าไม่ได้ขโมยความคิดหรือลอกเลียนข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่มีการอ้างอิง รวมทั้งสะดวกแก่ผู้อ่านที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดอื่นๆ และตรวจสอบความถูกต้องจากต้นฉบับเดิม

3 การอ้างอิง แนวคิดนำ การเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีเน้นให้ผู้เรียนต้อง ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม โดยจัดทำเป็น “รายงาน” เพื่อเป็นการขยายฐานความรู้ให้กว้างขวางและฝึกให้ รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทำรายงานที่ดีนั้น นิสิตทำต้องมีจิตสำนึกของ “การ อ้างอิงสารสนเทศ” ที่สืบค้นมาเพื่อประกอบการทำ รายงาน อันเป็นการแสดงแหล่งที่มาของข้อมูล สารสนเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางใน “การค้นคว้าเพิ่มเติม” สำหรับ ผู้อ่านที่สนใจและ “แสดงความขอบคุณต่อผู้เขียน ผลงานนั้นๆ” แนวคิดนำ การเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีเน้นให้ผู้เรียนต้องค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อประกอบการศึกษาวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยจัดทำเป็น “รายงาน” ตามทึ่ผู้สอนมอบหมาย เพื่อเป็นการขยายฐานความรู้ให้กว้างขวางและเป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สิ่งสำคัญในการทำรายงานที่ดีนั่นคือ จิตสำนึกของ “การอ้างอิงสารสนเทศ” ที่สืบค้นมาเพื่อประกอบการทำรายงาน อันเป็นการแสดงแหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการค้นคว้าเพิ่มเติมสำหรับผู้อ่านที่สนใจและแสดงความขอบคุณต่อผู้เขียนผลงานนั้นๆ ที่ผู้ทำรายงานนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งมีวิธีการอ้างอิงหลายรูปแบบ

4 การอ้างอิง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง
(2)การอ้างอิงท้ายเรื่องหรือท้ายเล่ม ได้แก่ มีการอ้าง 2 วิธี คือ บรรณานุกรม* (1.1) การอ้างอิงแบบท้ายหน้า (1.2) การอ้างอิงแบบนาม-ปี แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ มี 2 รูปแบบ คือ 1) เชิงอรรถอ้างอิง 3) เชิงอรรถโยง 1) กรณีผู้แต่ง อยู่หน้าข้อความ 2) กรณีผู้แต่ง อยู่ท้ายข้อความ 2) เชิงอรรถเสริมความหรืออธิบายความ ผังมโนทัศน์สรุปเรื่อง การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง

5 ความหมายของการอ้างอิง
“การอ้างอิง” (Citations) คือ การบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาน เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลหรือองค์กรผู้เป็น เจ้าของความคิดเดิม เพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ ว่า ไม่ได้ขโมย ความคิดหรือลอกเลียนข้อมูลของผู้อื่น โดยไม่ มีการอ้างอิง เพื่อสะดวกแก่ผู้อ่าน ที่ประสงค์จะทราบ รายละเอียดอื่นๆ และตรวจสอบความถูกต้อง จากต้นฉบับเดิม ความหมายของการอ้างอิง “การอ้างอิง” (Citations) คือ การบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาน หรือผลงานต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลหรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของความคิดเดิม และเพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ว่าไม่ได้ขโมยความคิดหรือลอกเลียนข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่มีการอ้างอิง รวมทั้งสะดวกแก่ผู้อ่านที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดอื่นๆ และตรวจสอบความถูกต้องจากต้นฉบับเดิม

6 ทรัพยากรสารสนเทศที่นำมาใช้ในการอ้างอิง
ทรัพยากรสารสนเทศที่นำมาใช้ในการทำรายงาน ได้แก่ หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง รายงานการวิจัย รายงานการประชุม สัมภาษณ์ บทความวารสาร/นสพ. วิทยานิพนธ์ สื่อโสตทัศน์ อินเทอร์เน็ต

7 แหล่งข้อมูลจากหนังสือที่นำมาใช้เขียนอ้างอิง
แหล่งข้อมูลจากหนังสือที่นำมาใช้เขียนอ้างอิง มี 3 หน้า หลักๆ ได้แก่ หน้าปกใน หน้าลิขสิทธิ์ และหน้าปกนอก หนังสือ ปกนอก หน้าปกใน หน้าลิขสิทธิ์ แหล่งข้อมูลจากหนังสือที่นำมาใช้เขียนอ้างอิง มี 3 หน้าหลักๆ ได้แก่ หน้าปกใน : แจ้งชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สำนักพิมพ์ หน้าลิขสิทธิ์ : แจ้งชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ เลขมาตรฐานหนังสือสากล (ISBN) และข้อมูลการจัดพิมพ์ เช่น สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ ปีพิมพ์ ปีที่จดลิขสิทธิ์ ครั้งที่พิมพ์ หน้าปกนอก : แจ้งชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สำนักพิมพ์ (สำหรับสำนักพิมพ์จะเขียนแบบสั้นๆ ที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย)

8 แหล่งข้อมูลจากวารสารที่นำมาใช้เขียนอ้างอิง
แหล่งข้อมูลจากวารสารที่นำมาใช้เขียนอ้างอิง ได้แก่ หน้าปกวารสาร หน้าสารบัญ และหน้าที่ตีพิมพ์บทความนั้นๆ วารสาร ปกนอก สารบัญ หน้าที่ตีพิมพ์บทความ แหล่งข้อมูลจากวารสารที่นำมาใช้เขียนอ้างอิง ได้แก่ หน้าปกวารสาร : แจ้ง ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน ปี ที่ออก (ถ้าเป็นวารสารวิชาการบางครั้งนำหน้าสารบัญเรื่องมาพิมพ์ไว้ที่ปกด้วย) หน้าสารบัญ : แจ้ง ชื่อบทความ ชื่อผู้เขียนบทความ และเลขหน้าที่เริ่มต้นตีพิมพ์ หน้าที่ตีพิมพ์บทความนั้นๆ : แจ้ง ชื่อบทความ ชื่อผู้เขียนบทความ เนื้อหาและเลขหน้าที่ตีพิมพ์เริ่มต้นถึงสิ้นสุด

9 แหล่งข้อมูลจาก นสพ. ที่นำมาใช้เขียนอ้างอิง
หนังสือพิมพ์ แหล่งข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ที่นำมาใช้เขียนอ้างอิง ได้แก่ หน้าปกหนังสือพิมพ์ และหน้าบทความวิชาการต่างๆ แหล่งข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ที่นำมาใช้เขียนอ้างอิง ได้แก่ 1) หน้าปกหนังสือพิมพ์ : แจ้ง ชื่อ นสพ. วัน เดือน ปี ที่ออก และมีพาดหัวข่าว ซึ่งพาดหัวข่าวนี้จะใช้แทนชื่อเรื่อง 2) หน้าบทความวิชาการต่างๆ : แจ้ง ชื่อบทความ ชื่อผู้เขียนบทความ/นามปากกา

10 แหล่งข้อมูลจากสื่อโสตทัศน์ที่นำมาใช้เขียนอ้างอิง
ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ของวัสดุนั้นๆ สื่อโสตทัศน์ แหล่งข้อมูลจากสื่อโสตทัศน์ที่นำมาใช้เขียนอ้างอิง ได้แก่ 1) บรรจุภัณฑ์ของวัสดุนั้นๆ : แจ้งชื่อเรื่อง ชื่อผู้ผลิต เมืองที่ผลิต ปีที่ผลิต ลักษณะพิเศษของสื่อนั้นๆ

11 แหล่งข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่นำมาใช้เขียนอ้างอิง
แหล่งข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่นำมาใช้เขียนอ้างอิง ได้แก่ ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL) และข้อมูลหน้าเว็บไซต์นั้นๆ อินเทอร์เน็ต แหล่งข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่นำมาใช้เขียนอ้างอิง ได้แก่ 1) ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL: Universal Resource Locator) เช่น (ห้ามใช้ Search engine อ้างเด็ดขาด เช่น Google) 2) ข้อมูลหน้าเว็บไซต์นั้นๆ : แจ้งชื่อผู้เขียน ชื่อบทความหรือชื่อเรื่องที่ post (บางเว็บไซต์บอกแหล่งที่มาของข้อมูลและวันที่ post ด้วย ซึ่งจะทำให้น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น)

12 ประเภทของการอ้างอิง ประเภทของการอ้างอิง
การอ้างอิงแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การอ้างอิง ในส่วนเนื้อเรื่อง (2) การอ้างอิงท้ายเรื่องหรือ ท้ายเล่ม ประเภทของการอ้างอิง การอ้างอิงเอกสารหรือทรัพยากรสารสนเทศแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (เชิงอรรถ/นามปี) (2) การอ้างอิงท้ายเรื่องหรือท้ายเล่ม (บรรณานุกรม)

13 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง
ในการทำรายงานนั้น ถ้านิสิตคัดลอกข้อความของผู้อื่นมาต้องทำเป็น อัญประภาษหรืออัญพจน์ “อัญประภาษหรืออัญพจน์” (Quotation) หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความของผู้อื่น ไม่ใช่ข้อความของผู้ทำรายงาน เป็นข้อความที่คัดลอกมาประกอบรายงาน โดยข้อความที่คัดลอกมานี้จะต้องอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศและใส่เครื่องหมายหรือหมายเลขเชิงอรรถที่บอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น หรือใส่วงเล็บแล้วอ้างอิงแบบนามปีหลังข้อความก็ได้ อัญประภาษหรืออัญพจน์ “อัญประภาษหรืออัญพจน์” (Quotation) หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความของผู้อื่น ไม่ใช่ข้อความของผู้ทำรายงาน เป็นข้อความที่คัดลอกมาประกอบรายงาน โดยหลักเกณฑ์กำหนดว่าข้อความที่คัดลอกมาควรมีความยาวไม่เกิน 4 บรรทัด แต่ในทางที่เป็นจริงอาจสั้นหรือยาวกว่านี้แล้วแต่ข้อมูล แต่ไม่ควรยาวเกินไป ข้อความที่คัดลอกมานี้ เมื่อนำไปประกอบรายงานควรมีความนำให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระในรายงาน โดยข้อความที่คัดลอกมา (อัญประภาษหรืออัญพจน์) จะต้องอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศและใส่เครื่องหมายหรือหมายเลขเชิงอรรถที่บอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น หรือใส่วงเล็บแล้วอ้างอิงแบบนามปีหลังข้อความก็ได้

14 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
วิธีการแจ้งแหล่งที่มาของข้อความที่คัดลอกมา เรียกว่า “เชิงอรรถ” ความหมายของเชิงอรรถ “เชิงอรรถ” (Foot Note) หมายถึง ข้อความที่อธิบายบางตอนในเนื้อหา หรือบันทึกแหล่งที่มาของการค้นคว้าอ้างอิงประกอบรายงาน หรือข้อความที่แนะนำให้ค้นคว้าเพิ่มเติมเรื่องที่เกี่ยวข้องกันในหน้าอื่นๆ ของรายงาน ความหมายของเชิงอรรถ วิธีการแจ้งแหล่งที่มาของข้อความที่คัดลอกมา เรียกว่า “เชิงอรรถ” “เชิงอรรถ” (Foot Note) หมายถึง ข้อความที่อธิบายบางตอนในเนื้อหา หรือบันทึกแหล่งที่มาของการค้นคว้าอ้างอิงประกอบรายงาน หรือข้อความที่แนะนำให้ค้นคว้าเพิ่มเติมเรื่องที่เกี่ยวข้องกันในหน้าอื่นๆ ของรายงาน

15 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
วิธีการอ้างเชิงอรรถ เชิงอรรถถือเป็นการอ้างอิงสารสนเทศในส่วนของเนื้อเรื่องประเภทหนึ่ง ซึ่งมีการอ้าง 2 วิธี คือ (1.1) การอ้างอิงแบบท้ายหน้า (1.2) การอ้างอิงแบบนาม-ปี วิธีการอ้างเชิงอรรถ เชิงอรรถถือเป็นการอ้างอิงสารสนเทศในส่วนของเนื้อเรื่องประเภทหนึ่ง ซึ่งมีการอ้าง 2 วิธี คือ (1.1) การอ้างอิงแบบท้ายหน้า และ (1.2) การอ้างอิงแบบบนาม-ปี ซึ่งเป็นวิธีอ้างอิงที่นิยมในปัจจุบัน

16 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
(1.1) การอ้างอิงแบบท้ายหน้า แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) เชิงอรรถอ้างอิง (Citation Footnote) คือ เชิงอรรถที่ใช้แสดงแหล่งที่มาของข้อความที่ยกมาอ้าง ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นของบุคคล สำหรับให้ผู้อ่านตรวจสอบหรือค้นหาเพิ่มเติมได้ 2) เชิงอรรถเสริมความหรือเชิงอรรถอธิบาย (Content Footnote) คือ เชิงอรรถที่อธิบายข้อความที่ผู้เขียนคิดว่ามีประโยชน์แก่ผู้อ่าน อาจเป็นคิดเห็นเพิ่มเติมหรือขัดแย้ง เช่น ความหมายของศัพท์บางคำที่มีในเนื้อเรื่อง หรืออธิบายข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจดียิ่งขึ้น 3) เชิงอรรถโยง (Cross–reference Footnote) คือ เชิงอรรถที่แจ้งให้ผู้อ่านดูข้อความเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกันในบทอื่นหรือหน้าอื่นซึ่งอยู่ในรายงานนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวซ้ำ (1.1) การอ้างอิงแบบท้ายหน้า การอ้างอิงแบบท้ายหน้า แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) เชิงอรรถอ้างอิง (Citation Footnote) คือ เชิงอรรถที่ใช้แสดงแหล่งที่มาของข้อความที่ยกมาอ้าง ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นของบุคคล สำหรับให้ผู้อ่านตรวจสอบหรือค้นหาเพิ่มเติมได้ 2) เชิงอรรถเสริมความหรือเชิงอรรถอธิบาย (Content Footnote) คือ เชิงอรรถที่อธิบายข้อความที่ผู้เขียนคิดว่ามีประโยชน์แก่ผู้อ่าน อาจเป็นคิดเห็นเพิ่มเติมหรือขัดแย้ง เช่น ความหมายของศัพท์บางคำที่มีในเนื้อเรื่อง หรืออธิบายข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจดียิ่งขึ้น 3) เชิงอรรถโยง (Cross–reference Footnote) คือ เชิงอรรถที่แจ้งให้ผู้อ่านดูข้อความเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกันในบทอื่นหรือหน้าอื่นซึ่งอยู่ในรายงานนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวซ้ำ

17 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
ตัวอย่าง เชิงอรรถอ้างอิง และเชิงอรรถเสริมความหรือเชิงอรรถอธิบาย ตัวอย่าง 1) เชิงอรรถอ้างอิง (Citation Footnote) คือ เชิงอรรถที่ใช้แสดงแหล่งที่มาของข้อความที่ยกมาอ้าง ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นของบุคคล สำหรับให้ผู้อ่านตรวจสอบหรือค้นหาเพิ่มเติมได้ 2) เชิงอรรถเสริมความหรือเชิงอรรถอธิบาย (Content Footnote) คือ เชิงอรรถที่อธิบายข้อความที่ผู้เขียนคิดว่ามีประโยชน์แก่ผู้อ่าน อาจเป็นคิดเห็นเพิ่มเติมหรือขัดแย้ง เช่น ความหมายของศัพท์บางคำที่มีในเนื้อเรื่อง หรืออธิบายข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจดียิ่งขึ้น

18 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
ตัวอย่าง เชิงอรรถโยง ตัวอย่าง 3) เชิงอรรถโยง (Cross–reference Footnote) คือ เชิงอรรถที่แจ้งให้ผู้อ่านดูข้อความเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกันในบทอื่นหรือหน้าอื่นซึ่งอยู่ในรายงานนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวซ้ำ

19 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
(1.2) การอ้างอิงแบบนาม-ปี “ความหมายของการอ้างอิงแบบนาม-ปี” คือ การอ้างอิงที่บอกชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าที่อ้างเท่านั้น แต่ละส่วนคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) การอ้างอิงแบบนี้จะแทรกอยู่ในเนื้อหา โดยใส่วงเล็บท้ายอัญประภาษหรืออัญพจน์ (ข้อความที่อ้าง) ส่วนรายละเอียดของข้อมูลจะปรากฎในบรรณานุกรม (1.2) การอ้างอิงแบบนามปี “ความหมายของการอ้างอิงแบบนามปี” คือ การอ้างอิงที่บอกชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าที่อ้างเท่านั้น แต่ละส่วนคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) การอ้างอิงแบบนี้จะแทรกอยู่ในเนื้อหา โดยใส่วงเล็บท้ายอัญประภาษหรืออัญพจน์ (ข้อความที่อ้าง) ส่วนรายละเอียดของข้อมูลจะปรากฎในบรรณานุกรม

20 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
“รูปแบบการอ้างอิงแบบนาม-ปี” มี 2 กรณี คือ กรณีผู้แต่งอยู่หน้าข้อความ รูปแบบการอ้างจากหนังสือ / บทความวารสาร & นสพ./ วิทยานิพนธ์ : ชื่อผู้แต่ง (ปีพิมพ์, หน้าที่อ้าง) “...ข้อความที่อ้าง...” ตัวอย่าง ประภาศรี อมรสิน (2535, น ) กล่าวว่า “เนื้อหาวิชาธุรกิจเกือบทุกวิชา มักจะเป็นวิชาที่ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ทางวิชาการ หรือทฤษฎีส่วนหนึ่ง และการฝึกฝนปฏิบัติอีกส่วนหนึ่ง” รูปแบบการอ้างอิงแบบนามปี อาจอ้างไว้หน้าข้อความหรือหลังข้อความก็ได้ 1) กรณีผู้แต่งอยู่หน้าข้อความ รูปแบบการอ้างจากหนังสือ : ชื่อผู้แต่ง (ปีพิมพ์, หน้าที่อ้าง) “...ข้อความที่อ้าง...” เช่น ประภาศรี อมรสิน (2535, น ) กล่าวว่า “เนื้อหาวิชาธุรกิจเกือบทุกวิชา มักจะเป็นวิชาที่ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ทางวิชาการ หรือทฤษฎีส่วนหนึ่ง และการฝึกฝนปฏิบัติอีกส่วนหนึ่ง”

21 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
“รูปแบบการอ้างอิงแบบนาม-ปี” มี 2 กรณี คือ กรณีผู้แต่งอยู่ท้ายข้อความ รูปแบบการอ้างจากหนังสือ / บทความวารสาร & นสพ./ วิทยานิพนธ์ : “...ข้อความที่อ้าง...” (ชื่อผู้แต่ง, ปีพิมพ์, หน้าที่อ้าง) ตัวอย่าง “หนังสืออ้างอิง (Reference Books) คือ หนังสือที่รวมข้อเท็จจริงซึ่งรวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ นำมาเรียบเรียงเข้าด้วยกันเพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นหนังสือที่ผู้ใช้จะอ่านเฉพาะตอนที่ต้องการไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งเล่ม” (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์, 2534, น. 38) รูปแบบการอ้างอิงแบบนามปี 2) กรณีผู้แต่งอยู่ท้ายข้อความ รูปแบบการอ้างจากหนังสือ : “...ข้อความที่อ้าง...” (ชื่อผู้แต่ง, ปีพิมพ์, หน้าที่อ้าง) เช่น “หนังสืออ้างอิง (Reference Books) คือ หนังสือที่รวมข้อเท็จจริงซึ่งรวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ นำมาเรียบเรียงเข้าด้วยกันเพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นหนังสือที่ผู้ใช้จะอ่านเฉพาะตอนที่ต้องการไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งเล่ม” (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์, 2534, น. 38)

22 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
“การลงรายการการอ้างอิงแบบนามปี” กรณีผู้แต่งคนเดียว เช่น มนตรี ตู้จินดา (2538, น. 86) หรือ (มนตรี ตู้จินดา, 2538, น. 86) ม.จ. วิภาวดี รังสิต (2531, น.1) หรือ (ม.จ. วิภาวดี รังสิต, 2531, น.1) รอดเจอร์ (Rodgers, 1980, p.132) หรือ (Rodgers, 1980, p.132) กรณีผู้แต่งคนเดียว เช่น คนไทย : ลงชื่อ นามสกุล (ตัดคำนำหน้านามออก ยกเว้นฐานันดรศักดิ์ เช่น ม.จ. วิภาวดี รังสิต ลงตามที่ปรากฏไม่ต้องกลับ) คนต่างประเทศ : ลงนามสกุลเท่านั้น โดยต้องอ่านออกเสียงเป็นภาษาไทยก่อน เฉพาะกรณีที่ผู้แต่งอยู่หน้าข้อความ แต่ถ้าอยู่หลังข้อความไม่ต้องใช้

23 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
“การลงรายการการอ้างอิงแบบนามปี” (ต่อ) 2) กรณีผู้แต่ง 2 คน เช่น ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2538, น. 57) หรือ (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2538, น. 57) ชิคเคอริง และบราวน์ (Chickering & Brown, 1969, p.121) หรือ (Chickering & Brown, 1969, p.121) กรณีผู้แต่ง 2 คน คนไทย : ลงชื่อ นามสกุล และใช้ “และ” คั่น คนต่างประเทศ : ลงนามสกุลเท่านั้น และใช้ “&” คั่น

24 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
“การลงรายการการอ้างอิงแบบนามปี” (ต่อ) 3) กรณีผู้แต่ง 3-5 คน เช่น นฤมล ปราชญ์โยธิน, ทวีศักดิ์ ก่ออนันตกูล และเปรมิน จินดาวิมล (2536, น. 23) หรือ (นฤมล ปราชญ์โยธิน, ทวีศักดิ์ ก่ออนันตกูล และเปรมิน จินดาวิมล 2536, น. 23) ครอนไคท์, มูส และฟินเนย์ (Cronkite, Moos & Finney, 1983, p.121) หรือ (Cronkite, Moos & Finney, 1983, p.121) กรณีผู้แต่ง 3-5 คน คนไทย : ลงชื่อ นามสกุลคนที่ 1, คนที่ 2, คนที่ 3, คนที่ 4 และ คนที่ 5 คนต่างประเทศ : ลงนามสกุลคนที่ 1, คนที่ 2, คนที่ 3, คนที่ 4 & คนที่ 5

25 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
“การลงรายการการอ้างอิงแบบนามปี” (ต่อ) 4) กรณีผู้แต่งมากกว่า 5 คน เช่น นฤมล ปราชญ์โยธิน และคนอื่นๆ (2536, น. 23) หรือ (นฤมล ปราชญ์โยธิน และคนอื่นๆ, 2536, น. 23) ครอนไคท์ และคนอื่นๆ (Cronkite, et al., 1983, p.121) หรือ (Cronkite, et al., 1983, p.121) กรณีผู้แต่งมากกว่า 5 คน คนไทย : ลงชื่อ นามสกุลคนที่ 1 และคนอื่นๆ คนต่างประเทศ : ลงนามสกุลคนที่ 1, et al.

26 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
“การลงรายการการอ้างอิงแบบนามปี” (ต่อ) 5) กรณีผู้แต่งเป็นนิติบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2536, น. 23) หรือ (มหาวิทยาลัยรามคำแหง , 2536, น. 23) กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานปลัดกระทรวง (2554, น. 121) หรือ (กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานปลัดกระทรวง, 2554, น. 121) ) กรณีผู้แต่งเป็นนิติบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ ลงชื่อนิติบุคคลตามที่ปรากฏไม่ต้องกลับ ถ้ามีหน่วยงานใหญ่ และย่อย : ลงว่า หน่วยงานใหญ่. หน่วยงานย่อย

27 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
“การลงรายการการอ้างอิงแบบนามปี” (ต่อ) 6) กรณีไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ลงชื่อหนังสือแทน เช่น การบริหารงานบุคคล (2536, น. 23) หรือ (การบริหารงานบุคคล , 2536, น. 23) 7) กรณีไม่ปรากฏปีพิมพ์ ให้ลงว่า ม.ป.ป. หรือ n.d. แทน เช่น นฤมล ปราชญ์โยธิน (ม.ป.ป., น. 23) หรือ (นฤมล ปราชญ์โยธิน , ม.ป.ป., น. 23) รอดเจอร์ (Rodgers, n.d., p.132) หรือ (Rodgers, n.d., p.132) กรณีไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ลงชื่อหนังสือแทน กรณีไม่ปรากฏปีพิมพ์ 2.1) ภาษาไทย : ลงว่า ม.ป.ป. (มาจากไม่ปรากฏปีพิมพ์) 2.2) ภาษาอังกฤษ : ลงว่า n.d. (มาจาก no date)

28 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
“การลงรายการการอ้างอิงแบบนามปี” (ต่อ) 8) กรณีเป็นข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ เช่น สุภา ศิริมานนท์ (สัมภาษณ์, 2536) หรือ (สุภา ศิริมานนท์, สัมภาษณ์, 2536) 9) กรณีเป็นข้อมูลจากสื่อโสตทัศน์ ปะเภทวีดีทัศน์ สมชาย ศิริมาส (2542, วีดีทัศน์) หรือ (สมชาย ศิริมาส, 2542, วีดีทัศน์) กรณีเป็นข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ : ให้ลงชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์ และปีที่สัมภาษณ์ และแจ้งว่าเป็น “สัมภาษณ์” กรณีเป็นข้อมูลจากสื่อโสตทัศน์ ปะเภทวีดีทัศน์ : ให้แจ้งว่าเป็น “วีดีทัศน์” ด้วย

29 (1) การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
“การลงรายการการอ้างอิงแบบนามปี” (ต่อ) 10) กรณีเป็นข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ต เช่น ธนรัฐ สวัสดิชัย (2547, ออนไลน์) หรือ (ธนรัฐ สวัสดิชัย, 2547, ออนไลน์) อัลเบอร์ตุส (Albertus, 2011, Online) หรือ (Albertus, 2011, Online) กรณีเป็นข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ภาษาไทย :ให้ระบุว่า “ออนไลน์” เว็บไซต์ภาษาต่างประเทศ : ให้ระบุว่า “Online”

30 หมายเหตุ : การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง
ข้อมูลที่มีการอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่องของรายงาน จะต้องเขียนเป็นบรรณานุกรมท้ายเล่มรายงานทุกรายการ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถติดตามหาต้นฉบับได้ เนื่องจากการอ้างอิงที่แทรกในส่วนเนื้อเรื่องมีรายละเอียดไม่เพียงพอ เพราะถ้าใส่รายละเอียดมากๆ จะทำให้เสียพื้นที่ของเนื้อหา และทำให้เนื้อหาขาดความต่อเนื่องได้


ดาวน์โหลด ppt การอ้างอิง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google