งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

2 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมายใดจะขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
รัฐธรรมนูญจะบัญญัติหลักการต่างๆ ที่กฎหมายลำดับต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งไม่ได้ พระราชบัญญัติ >> พระราชกำหนด >>

3 กระบวนการในการทำให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
หนึ่ง การแก้ไขรัฐ รธน. กระทำได้ยากกว่ากฎหมายธรรมดา สอง การจัดตั้งองค์กรทำหน้าที่ตรวจสอบความชอบด้วย รธน. สาม การให้สิทธิในการต่อต้านหากมีการล้มล้าง รธน.

4 หนึ่ง การแก้ไข รธน. ต้องทำได้ยากกว่ากฎหมายธรรมดา
รัฐธรรมนูญสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่เนื่องจากเป็นกฎหมายสูงสุด การแก้ไขจึงควรมีกระบวนการเป็นพิเศษ การกำหนดองค์กร ขั้นตอน และการเห็นชอบที่แตกต่างจากกฎหมายทั่วไป

5 โดยทั่วไปในการพิจารณากฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ
วาระที่หนึ่ง รับหลักการ วาระที่สอง แปรญัตติ วาระที่สาม ลงมติ มักจะใช้กฎเสียงข้างมากธรรมดา (simple majority rule)

6 แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
จะเป็นเสียงข้างมากเป็นพิเศษ (super majority rule) เช่น รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น 2 ใน 3 ของทั้งสองสภา แล้วให้ประชาชนลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่

7 Peace Constitution

8 รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น มาตรา 9
1. โดยที่มีความมุ่งประสงค์อย่างแท้จริงในสันติภาพระหว่างชาติโดยมีความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อยเป็นพื้นฐาน ชนชาวญี่ปุ่นยอมสละจากสงครามไปตลอดกาลนานโดยให้ถือเป็นสิทธิสูงสุดแห่งชาติ กับทั้งสละจากการคุกคามหรือการใช้กำลังเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างชาติ 2. เพื่อบรรลุความมุ่งประสงค์ในวรรคก่อน จะไม่มีการธำรงไว้ซึ่งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ กับทั้งศักยภาพอื่นๆ ในทางสงคราม ไม่มีการรับรองสิทธิในการเป็นพันธมิตรในสงคราม

9 ข้อถกเถียง การแก้ไข รธน. เพื่อเปลี่ยนแปลงหลักการพื้นฐาน เช่น จากรัฐเดี่ยวเป็นรัฐรวม, รัฐเสรีประชาธิปไตยเป็นรัฐสังคมนิยม การแก้ไข รธน. เพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ยกเลิกฉบับเก่า) จะทำได้หรือไม่

10 สอง การจัดตั้งองค์กรเพื่อทำหน้าตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
การบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรอาจยังไม่มีผล แต่ต้องมีองค์กรมาทำหน้าที่ให้เกิดผลบังคับ

11 Miranda warning Miranda vs. Arizona <1966> Ernesto Miranda ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดและเขารับสารภาพ แต่ต่อสู้ว่า ตร. ไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิระหว่างจับกุม ศาลเห็นว่าขัดกับ Amendment V, VI

12

13

14 องค์กรตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญสองระบบ

15 ระบบรวมอำนาจ มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นทำหน้าที่ในการวินิจฉัยความชอบด้วย รธน. เป็นการเฉพาะไว้ใน รธน. เมื่อมีปัญหาถกเถียงถึงความชอบด้วย รธน. องค์กรนี้จะทำหน้าที่ (มักเป็นศาลรัฐธรรมนูญ) เยอรมนี เกาหลีใต้ ไทย ออสเตรีย ฯลฯ

16 ระบบกระจายอำนาจ องค์กรที่ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยก็คือศาลยุติธรรม (ไม่มีการจัดตั้งขึ้นองค์กรขึ้นเป็นการเฉพาะ) สหรัฐฯ อังกฤษ อินเดีย มาเลเซีย ญี่ปุ่นฯลฯ อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศเหล่านี้ใช้ระบบเดียวกัน

17 คดี Marbury v. Madison 1803 รธน. สหรัฐฯ ไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลในการวินิจฉัยเป็นการเจาะจง ศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ยืนยันอำนาจของศาลในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติ

18 เนื่องจากศาลเป็นผู้ปรับใช้กฎหมายเข้ากับคดี จึงย่อมมีอำนาจในการวินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัดต่อ รธน. หรือไม่ กลายเป็น “คดีบรรทัดฐาน” ที่ศาลหลายประเทศหยิบมาอ้างอิง รวมทั้งคดีอาชญากรสงครามของไทย ฎ. 1/2489

19 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
รัฐสภาตรากฎหมาย พ.ร.บ. อาชญากรสงคราม เพื่อเอาผิดกับจอมพล ป. ในการเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ รธน. ขณะนั้นไม่มีบทบัญญัติเป็นการเฉพาะ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ

20

21 ภายหลังจากนั้น มีการบัญญัติให้มีองค์กรทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาด
ระยะแรก คณะตุลาการ รธน. รธน ศาลรัฐธรรมนูญ

22 ข้อถกเถียง แล้วใครจะ “ตรวจสอบ” องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ Who judge the judges? เพราะบางครั้งอาจมีการโต้แย้งว่าองค์กรตรวจสอบทำผิดกฎหมาย

23 ศาลรัฐธรรมนูญของไทย ประเด็นความเสมอภาค

24 สาม การให้สิทธิในการต่อต้านหากมีการล้มล้าง รธน.
รธน มาตรา 69 “บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิธีทางที่บัญญัติไว้ใน รธน. นี้”

25 ในการรัฐประหารโดย คสช. เมื่อ 22 พ. ค
ในการรัฐประหารโดย คสช. เมื่อ 22 พ.ค มีผู้ใดอ้างถึงมาตราดังกล่าวหรือไม่ และมาตราดังกล่าวสามารถมีผลใช้บังคับหรือไม่ อย่างไร

26

27

28

29 ถ้าต่อต้านแล้ว การรัฐประหารล้มเหลวก็อาจไม่มีความผิด
แต่ถ้าต่อต้านแล้ว การรัฐประหารประสบความสำเร็จก็อาจมีปัญหาในการกล่าวอ้างสิทธิดังกล่าว

30 รัฐธรรมนูญ 2517 มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นแต่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา 4 การนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการล้มล้างสถาบัน พระมหากษัตริย์หรือรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ มาตรา 5 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิดหรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน มาตรา 6 บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้

31 มาตรา 4 จะสามารถใช้บังคับได้หรือไม่ หากภายหลังมีการยึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญขึ้น

32 พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ พ.ศ ออกโดย นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เพื่อนิรโทษกรรมให้ผู้ที่ทำการรัฐประหารในครั้งนั้น ซึ่งนำโดยพลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด


ดาวน์โหลด ppt ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google