ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
สำนวนไทย
2
ได้สิ่งของที่ไม่มีประโยชน์กับตนเอง
หัวล้านได้หวี ได้สิ่งของที่ไม่มีประโยชน์กับตนเอง
3
สอนคนโง่ไม่รู้เรื่อง แนะนำคนโง่ไม่มีประโยชน์
สีซอให้ควายฟัง สอนคนโง่ไม่รู้เรื่อง แนะนำคนโง่ไม่มีประโยชน์
4
คนที่หวงสิ่งของที่ตนเองใช้ประโยชน์ไม่ได้
หมาหวงก้าง คนที่หวงสิ่งของที่ตนเองใช้ประโยชน์ไม่ได้
5
จับปลาสองมือ อย่าหวังจะได้ทีเดียวพร้อมๆ กันสองอย่าง เพราะในที่สุดก็จะพลาดไม่ได้สักอย่าง
6
ทำอะไรต้องเสียทรัพย์แล้ว ไม่ได้ทรัพย์คุ้มกับที่ต้องเสียไป
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ทำอะไรต้องเสียทรัพย์แล้ว ไม่ได้ทรัพย์คุ้มกับที่ต้องเสียไป
7
ดินพอกหางหมู การงานที่เกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องลำบากหรือยุ่งยากเดือดร้อน
8
รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา
ทำตัวดี ประพฤติดี มีวิชาความรู้ก็ย่อมจะได้งานเบางานสูง ทำตัวไม่ดี ประพฤติไม่ดี ไม่มีวิชาความรู้ก็ย่อมจะต้องทำงานหนัก งานต่ำ จั่วเป็นของเบาต่างกับเสาที่เป็นของหนัก
9
รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี
ถ้ารักวัวก็ให้ผูกล่ามขังไว้ มิฉะนั้นวัวจะถูกลักพาหรือหนีหายไป ส่วนรักลูกให้เฆี่ยน ก็หมายถึงให้อบรมสั่งสอนลูกและทำโทษลูกเมื่อผิด.
10
สำนวน หมายถึง โวหาร ทำนองพูด ถ้อยคำที่เรียบเรียง จะมีความหมายโดยนัยเป็นลักษณะความหมายเชิงอุปมาเปรียบเทียบ จะไม่แปลความหมายตรงตามตัวอักษร เมื่อฟังแล้วมักจะไม่ได้ความหมายในตนเอง ต้องนำไปประกอบกับบุคคลหรือเหตุการณ์ จึงจะได้ความหมายเป็นคติเตือนใจเช่นเดียวกับสุภาษิต ลักษณะเด่น คือ เป็นถ้อยคำที่มีคารมคมคาย กินใจผู้ฟังใช้คำกะทัดรัด ไพเราะรื่นหู มีความหมายลึกซึ้ง
11
สุภาษิต หมายถึง คำกล่าวที่มีคติควรฟัง มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสั่งสอน เตือนสติให้ได้คิดให้ได้ความจริงเกี่ยวกับความคิดและแนวปฏิบัติ ซึ่งสามารถพิสูจน์และเชื่อถือได้ เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ นํ้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ
12
คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมา แฝงคติเตือนใจหรือข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ มักเป็นความหมายกลางๆ ไม่เน้นการสั่งสอนหรือเนื้อหาของใจความ โดยมากจะมีความหมายซ่อนอยู่ ดังนั้นการใช้คำพังเพยจะต้องตีความหมายให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น กระต่ายตื่นตูม
13
คำคม หมายถึง ถ้อยคำที่คิดขึ้นมาในปัจจุบัน เป็นถ้อยคำที่หลักแหลม ซึ่งสามารถเข้ากับเหตุการณ์นั้นได้อย่างเหมาะเจาะทั้งยังชวนให้คิด ถ้าพูดติดปากกันต่อไปก็อาจกลายเป็นสำนวนได้ เช่น “ความรักทำให้คนตาบอด” “อดีตคือสิ่งที่ผ่าน อนาคตคือสิ่งที่ฝัน ปัจจุบันเท่านั้นคือความจริง”
14
วิชาภาษาไทย เรื่องสำนวนไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
แบบทดสอบ ๑. "ฟังหูไว้หู" หมายความว่าอย่างไร ๑. อย่าด่วนสรุปทันทีที่ได้ฟัง ๒. อย่าฟังความข้างเดียว ๓. อย่าเสียโอกาสในการฟัง ๔. อย่าฟังโดยไม่จดลง ๑. อย่าด่วนสรุปทันทีที่ได้ฟัง วิชาภาษาไทย เรื่องสำนวนไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
15
วิชาภาษาไทย เรื่องสวำนวนไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
แบบทดสอบ ๒. ผู้ที่มีสิ่งที่ตนไม่รู้คุณค่า อุปมาว่าอย่างไร ๑. กิ้งก่าได้ทอง ๒. วานรได้แก้ว ๓. หัวล้านได้หวี ๔. ตาบอดได้แว่น ๒. วานรได้แก้ว ทำแบบทดสอบต่อข้อ ๑ – ๑๕ วิชาภาษาไทย เรื่องสวำนวนไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
16
จงเติมสำนวนให้ครบสมบูรณ์ และสอดคล้องกับข้อความที่กำหนด
สามวัน ดีสี่วันไข้ ฝนสั่ง ฟ้า ปลาสั่งหนอง ชักใบ ให้เรือเสีย รักวัว ให้ผูก รักลูกให้ตี คนตาย ขายคนเป็น
17
ขนทรายเข้าวัด ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำ หรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวม
18
ขวานผ่าซาก พูดตรงเกินไปโดยไม่เลือกกาลเทศะและบุคคล
19
กบในกะลาครอบ ผู้มีประสบการณ์และความรู้น้อย แต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก
20
กระต่ายหมายจันทร์ ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า
21
กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้ ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเล
ทำให้แก้ปัญหาได้ไม่ทันท่วงทีเมื่อได้อย่างหนึ่ง แต่ต้องเสียอีกอย่างหนึ่งไป
22
เขียนเสือให้วัวกลัว ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม
23
กินน้ำใต้ศอก ยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า
(มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง)
24
จับปลาสองมือ อย่าหวังจะได้ทีเดียวพร้อมๆ กันสองอย่าง
เพราะในที่สุดก็จะพลาดไม่ได้สักอย่าง
25
กระโถนท้องพระโรง ผู้ที่ใครๆ ก็ใช้งานได้ และเป็นที่ระบายอารมณ์ของทุกคน
26
กินน้ำเห็นปลิง ตะขิดตะขวงใจเมื่อจะทำอะไรซักอย่าง
27
กระดูกร้องไห้ การจับตัวฆาตกรมาลงโทษได้หลังจากพบหลักฐานโดยบังเอิญ
28
ที่มาของสำนวนไทย เกิดจาก
ความเป็นอยู่ ค่านิยม และการพิจารณาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัว แล้วนำมาเปรียบเปรย ๑. สำนวนเกิดจากธรรมชาติ ๒. สำนวนเกิดจากสัตว์ ๓. สำนวนเกิดจากการกระทำ/ความเป็นอยู่ ๔. สำนวนเกิดจากของกินของใช้ ๕. สำนวนเกิดจากการละเล่น กีฬา หรือ การพนัน ๖. สำนวนเกิดจากการนับถือศาสนา ๗. สำนวนเกิดจากการเปรียบเทียบกับอวัยวะต่าง ๆ ๘. สำนวนเกิดจากนิทานหรือวรรณคดี ๙. สำนวนเกิดจากประเพณีและวัฒนธรรม ๑๐. สำนวนเกิดจากกฎหมาย/พงศวดาร
29
การใช้สำนวน ๑.ไม่ใช้ฟุ่มเฟือย ๒.ใช้ให้เหมาะกับกาลเทศะ
๓.ใช้ให้ตรงความหมาย
30
คุณค่าของสำนวน ๑.ใช้สื่อสารได้รวดเร็ว ใช้แล้วเข้าใจความหมายได้ทันที
๒.ช่วยเน้นความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ๓.โน้มน้าวให้ปฎิบัติหรือมีค่านิยมที่สังคมปรารถนา ๔. สะท้อนให้เห็นค่านิยม สภาพของสังคมไทยในแง่ต่างๆ ๕. มีประโยชน์ด้านการใช้ภาษา เช่น การผูกคำ การเรียงประโยค
31
เป็นเด็กดีนะคะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.