งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management
อาจารย์ดวงพร แสงทอง

2 หัวข้อ ความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์และขอบข่ายขั้นตอนในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ปรัชญาการบริหารทรัพยากรมนุษย์

3 ความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

4 การจัดการทรัพยากรมนุษย์
หมายถึง กระบวนการที่ผู้บริหารหรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับงานบุคลากร ร่วมกันใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการสรรหา การคัดเลือก บรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติเข้าปฏิบัติงานในองค์การพร้อมทั้งธำรงรักษาและพัฒนาบุคลากรขององค์การให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน และมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่เหมาะสมตลอดจนสร้างหลักประกันแก่สมาชิกที่พ้นจากการทำงานกับองค์การ ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขในอนาคต

5 ความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ( Human Resource Management = H R M ) หมายถึง กระบวนการในการวางนโยบาย ระเบียบและกรรมวิธีในการดำเนินการกับบุคคลที่เข้ามาปฏิบัติงานในองค์กร ตั้งแต่ การสรรหา การพัฒนา การบำรุงรักษา จนถึงการพ้นจากงาน ทั้งนี้ บุคคลเหล่านั้นจะต้องได้รับความพึงพอใจและทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้การปฏิบัติงานนั้นบรรลุ ผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร

6 ความเชื่อในการบริหาร “ทรัพยากรบุคคล”
คน เป็น ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์กร คน สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรได้ คน สามารถอุทิศให้องค์กรได้อย่างเต็มที่ หากได้รับการดูแลอย่างดีจากองค์กร องค์กรจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ ด้วยการทำงานอย่างทุ่มเทของ คน ในองค์กร

7 ความหมายของการบริหารงานบุคคล
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปัจจัยพื้นฐานแห่งความสำเร็จ แนวคิด5M คือ คน วัตถุดิบ เครื่องจักร เงินทุน และการบริหาร จะเห็นได้ว่าคน เป็นองค์ประกอบประเภทหนึ่งที่ทุกองค์การต้องให้ความสำคัญองค์การใดมีคนที่ดี คุณภาพย่อมจะนำพาให้องค์การนั้นไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ มีผู้ให้ความหมายของการบริหารงานบุคคลไว้หลายแนวทางพอ สรุปได้ดังนี้ การบริหารงานบุคคล หมายถึง การจัดหาบุคคลที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมเข้าทำงานในตำแหน่งต่าง ๆเพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด แต่ทั้งนี้ต้อง คำนึงถึงความสุขและความพึงพอใจของบุคลากรในหน่วยงานด้วย (ระวัง เนตร โพธิ์แก้ว 2540:115)

8 ปัจจัยพื้นฐานแห่งความสำเร็จ แนวคิด5M
การประกอบธุรกิจจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินกิจการเป็นไปด้วยดี บรรลุตามวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ประกอบด้วย 1. คน (Man) 2. เงินทุน (Money) 3. วัสดุอุปกรณ์ (Materials) 4. เครื่องจักร (Machines) 5. ความรู้ในการบริหารจัดการ (Management) 5 M

9 การบริหารทรัพยากรบุคคล
เป็นศาสตร์การจัดการเกี่ยวกับบุคคล ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายขององค์การ อย่างมีประสิทธิภาพ และ สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน

10 ความแตกต่างระหว่างการบริหารงานบุคคลและการบริหารทรัพยากรมนุษย์
การบริหารงานบุคคล หมายถึง การปฏิบัติในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรในองค์การ เน้นภารกิจในการได้คนเข้ามาทำงานในองค์การ บทบาทของฝ่ายบริหารงานบุคคลจะมีหน้าที่กำหนดนโยบาย ให้คำแนะนำรวมทั้งควบคุมและสั่งการตามสายการบังคับบัญชา นอกจากนี้ยังเป็นหน้าที่ที่เกี่ยวกับตัวบุคคลด้วยเช่น การสรรหาและคัดเลือกคนเข้ามาทำงาน การโยกย้ายหรือเลื่อนขั้น หรือแม้แต่การเกษียณอายุ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการที่มีการใช้กลยุทธ์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ มุ่งสนองตอบเป้าหมายเป็นสำคัญ เช่น การสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมาให้เหมาะสมกับงาน การพัฒนาทรัพยากรบุคคลมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พนักงานในองค์การมีความรู้ความสามารถ รวมถึงการเสริมสร้างประสบการณ์เพื่อความมีประสิทธิภาพของบุคลากร การพยายามหาแรงจูงใจเพื่อรักษาพนักงานให้อยู่ทำงานนานที่สุด เน้นให้ความสำคัญกับการเข้ามามีส่วนร่วมของพนักงานทุกๆคน เน้นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ให้ความสำคัญต่อการรับผิดชอบของคนในองค์การในการให้สิทธิการตัดสินใจด้วยตนเอง

11 ความสำคัญของการบริหารงานบุคคล
บุคคลในองค์การเปรียบเสมือนชิ้นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์การเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้ ดังนั้นจึงควรศึกษาความสำคัญของการบริหารงานบุคคลซึ่งแยกเป็นประเด็นสำคัญๆได้ดังนี้ 1. ช่วยเสริมสร้างขวัญ และกำลังใจไม่ว่าจะเป็นด้านความสะดวกสบาย 2.ช่วยให้องค์การมีความมั่นคง และมั่งคั่งเมื่อพนักงานมีความมุ่งมั่นในการทำงานย่อมส่งผลให้องค์การมีความเจริญเติบโตและเข้มแข็ง ผลผลิตเป็นที่ยอมรับของตลาดและมีศักยภาพในการแข่งขันสูง 3.ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่สังคม สังคมประกอบขึ้นจากกลุ่มบุคคลเล็กๆ มารวมกันถ้าแต่ละกลุ่มมีความมั่นคงย่อมส่งผลให้สังคมเกิดความมั่นคงเช่นกัน 4. ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่ประเทศชาติ ถ้าบุคลากรของทุกองค์การเป็นผู้มีความสามารถ

12 สรุปความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
โดยสรุป การจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญต่อการบริหารองค์การ โดยเฉพาะองค์การที่ต้องใช้มนุษย์เป็นผู้ให้บริการที่สำคัญ ซึ่งการจัดการทรัพยากรมนุษย์จะช่วยให้มีคนทำงานที่เพียงพอและต่อเนื่อง ได้คนดีมีความสามารถมาทำงานที่เหมาะสมกับงาน มีการรักษาคนให้อยู่กับองค์การโดยมีการพัฒนา การให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และการประเมินผลที่เหมาะสม ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้สามารถใช้ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างเหมาะสมในการทำงานให้องค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์

13 บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์และขอบข่ายขั้นตอนในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

14 กรอบแนวคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์
วัตถุประสงค์ ภาระงาน ขอบข่ายกิจกรรม เกี่ยวกับองค์การ เกี่ยวกับมนุษย์ กำหนดนโยบาย วางแผน การจ้างงาน ตำแหน่งงาน ค่าตอบแทน อื่น ๆ ให้คำแนะนำ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แรงงานสัมพันธ์ ระเบียบวินัย ให้บริการ ปฐมนิเทศ อบรม/พัฒนา การประเมิน พัฒนาอาชีพ ควบคุม การฝึกอบรม การศึกษา การพัฒนา

15 กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
1.การสรรหาคัดเลือก 6.การพ้นจากงาน 2.การบรรจุ/ใช้ 5.การฝึกอบรมพัฒนา 3.การประเมินผล 4.การรักษา/จูงใจ สวัสดิการ การเลื่อนตำแหน่ง ค่าตอบแทน

16 บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้องค์การมีการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด บรรลุเป้าหมายขององค์การ ดังนั้น สมาคมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (The Society for Human Resource Management : SHRM) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดไว้ 6 บทบาทหน้าที่หลักดังนี้

17 บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
1. การวางแผน การสรรหา และการคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ 1.1 การวิเคราะห์งานเพื่อสร้างความต้องการเฉพาะของงานแต่ละงาน 1.2 การคาดการณ์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร 1.3 การพัฒนาและจัดทำแผนปฏิบัติการตามความต้องการที่กำหนดไว้ 1.4 การสรรหาทรัพยากรมนุษย์ตามความต้องการขององค์การ 1.5 การคัดเลือกและบรรจุในตำแหน่งที่ว่าง

18 การสรรหาและการคัดเลือก
คุณลักษณะที่จำเป็น 4 ข้อ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) ความสามารถ (ability) คุณลักษณะ/ความสามารถพิเศษอื่นๆ

19 การสรรหาและการคัดเลือก
การได้มาซึ่ง “คนดี”+“คนเก่ง” เงินเดือน/ค่าตอบแทน สวัสดิการ ความมั่นคงในการทำงาน วิธีการทำงาน/ลักษณะงานที่ทำ สภาพแวดล้อม/บรรยากาศในการทำงาน นโยบายผู้บริหารองค์กร

20 ขั้นตอนการสรรหาและการคัดเลือก
การรับสมัคร การตรวจสอบหลักฐาน/คุณสมบัติ การทดสอบข้อเขียน/สัมภาษณ์ การตรวจร่างกาย การตรวจสอบประวัติ การบรรจุ

21 บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2.1 การปฐมนิเทศและการฝึกอบรมพนักงาน 2.2 การออกแบบการปฏิบัติงานตามแผนและจัดโปรแกรมการพัฒนา 2.3 การจัดตั้งทีมงานที่มีประสิทธิภาพ 2.4 การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน 2.5 การประเมินพนักงานเพื่อพัฒนาอาชีพ

22 การฝึกอบรมและการพัฒนา
การฝึกอบรม (Training) การทำให้คนเหมาะสมกับงานทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และพฤติกรรม ไปสู่ตำแหน่งหน้าที่/อาชีพ เพื่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร นำมาซึ่ง “กำไร”

23 วิธีการฝึกอบรมและการพัฒนา
การบรรยาย การประชุม การสัมมนา การสาธิต การฝึกปฏิบัติงานในหน้าที่ การใช้คอมพิวเตอร์ E-learning การให้การศึกษาแบบเป็นทางการ(ตรี-โท-เอก)

24 บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
3. การจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์ 3.1 การบริหารระบบจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์เพื่อพนักงาน 3.2 การบริหารค่าตอบแทนและผลโยชน์ที่เป็นธรรม 4. พนักงานและแรงงานสัมพันธ์ 4.1 การรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์การและสหภาพแรงงาน 4.2 การออกแนวปฏิบัติงานที่สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์การและสหภาพแรงงาน

25 การจ่ายค่าตอบแทน วัตถุประสงค์ ดึงดูดคนเก่งให้เข้ามาทำงาน
สร้างการจูงใจในการปฏิบัติงาน สร้างขวัญกำลังใจ/ความพึงพอใจ รักษาคนที่มีความรู้ให้อยู่กับองค์กร มีผลงานดีขึ้น

26 รูปแบบการจ่ายค่าตอบแทน
เงินเดือน (salary) ค่านายหน้า (commission) เงินรางวัล (bonus) การแบ่งส่วนกำไร การเป็นเจ้าของหุ้น

27 สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูล
สวัสดิการนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด ที่อยู่อาศัย รถรับส่ง ค่าน้ำมันรถ ชุดทำงาน กิจกรรมนันทนาการ ร้านค้า และกีฬา การประกันชีวิต/การประกันสุขภาพ เงินช่วยเหลือค่าทำศพ

28 แรงงานสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551 - การใช้แรงงานชาย หญิง เด็ก - ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ชั่วโมงทำงาน วันหยุด วันลา - ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อม - สวัสดิการ - ค่าชดเชย

29 บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
5. ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย 5.1 การบริหารด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงาน 5.2 การแก้ปัญหาที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน 6. การวิจัยทรัพยากรมนุษย์ 6.1 การจัดหาข้อมูลและสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ 6.2 การจัดระบบการสื่อสารข้อมูลการดำเนินงานของพนักงาน

30 ปรัชญาการบริหารทรัพยากรมนุษย์

31 ปรัชญาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
คำว่า “ปรัชญา” เป็นการประมวลความคิดอย่างมีเหตุผลของบุคคล ที่ใช้เป็นแนวทางในปฏิบัติ ดังนั้น "ปรัชญาของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นการประมวลความคิดของนักบริหารที่ได้ผ่านการสังเคราะห์อย่างถี่ถ้วน ใช้ในการกำหนดเป้าหมาย การวางแผน การดำเนินงาน และการประเมินผลเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์”

32 ปรัชญาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ปรัชญาการบริหารทรัพยากรโดยทั่วไปจะเป็นกรอบความคิดในการกำหนดปรัชญาของผู้บริหาร ให้เห็นแนวทางในการบริหารงานได้มีประสิทธิภาพเร็วขึ้น จึงขอสรุปแนวปรัชญาในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นแนวทางในการบริหาร ดังนี้

33              ปรัชญาสู่การปฏิบัติ 1. การเลือกบุคลากรเข้าปฏิบัติงานในองค์การ ควรดำเนินการด้วยความรอบคอบเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน ด้วยหลักที่ว่า จัดบุคลากรให้ตรงกับงาน (Put the Right Man into the Right Job) 2.การช่วยพนักงานให้รู้จักการปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานและลักษณะงานในระยะแรกของการเข้าทำงาน จะเป็นการสร้างความประทับใจให้กับพนักงานใหม่ เกิดความรู้สึกที่ดี เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

34 ปรัชญาสู่การปฏิบัติ 3. การสร้างขวัญกำลังใจให้กับพนักงานจะเป็นแรงผลักดันให้พนักงานทุ่มเทกำลังกายกำลังใจในการทำงานให้กับองค์การ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งการให้สิทธิพิเศษ เป็นต้น หรือแม้แต่คำชมเชย การยกย่อง และการให้เกียรติ ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างขวัญและกำลังใจแก่พนักงานสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์การ 4. การเปิดโอกาสให้บุคลากรในองค์การ ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามระดับที่เหมาะสม เพื่อให้พนักงานได้เกิดความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนเป็นเจ้าของกิจการด้วย จะช่วยสร้างความมั่นใจ มีความคิดริเริ่ม รักและภักดีต่อองค์การ เกิดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานให้ก้าวหน้า

35 ปรัชญาสู่การปฏิบัติ 5. การประนีประนอม จะช่วยให้ลดข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล บุคคลกับองค์การและองค์การกับองค์การ ดังนั้น การใช้วิธีการเจรจา หรือการปรึกษาหารือจะเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาขององค์การ 6. การจัดระบบงานในองค์การให้ชัดเจน มีเป้าหมายที่แน่นอนกำหนดสายการบังคับบัญชา แจกแจงลักษณะงานสำหรับพนักงานทุกระดับ เพื่อให้รู้บทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน จะช่วยให้เกิดความเข้าใจบุคคลและงานที่ปฏิบัติ

36 ปรัชญาสู่การปฏิบัติ 7. การพัฒนาบุคลากร เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เนื่องจากวิทยาการมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การแข่งขันในระบบการตลาดมีสูง การเพิ่มพูนความรู้แก่บุคลากรในองค์การจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งอาจทำได้หลายลักษณะ เช่น การฝึกอบรม การศึกษานอกสถานที่ และการศึกษาต่อ 8. การสร้างความยุติธรรมในองค์การ จะช่วยให้องค์การอยู่รอด มีความมั่นคงและก้าวหน้า การที่จะสร้างความยุติธรรม ต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่นจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานทุกคน ตั้งแต่ประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน และลักษณะเฉพาะของแต่ละคน เพื่อช่วยให้สามารถตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของแต่ละคน เป็นต้นว่า การเลื่อนตำแหน่งการเปลี่ยนงาน เปลี่ยนหน้าที่ เป็นต้น นอกจากนั้นในกรณีที่พนักงานกระทำความผิด ก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกคนเท่าเทียมกัน

37 แบบฝึกหัด 1. ให้นักศึกษาอธิบายความหมายความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2. ให้นักศึกษาอธิบายปรัชญานโยบายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3. ให้นักศึกษาอธิบายบทบาทในการบริหารทรัพยากรมนุษย์และขอบข่ายขั้นตอนในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้างและมีความสำคัญอย่างไร


ดาวน์โหลด ppt วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google