ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ความหลากหลายทางชีวภาพ
น ความหลากหลายทางชีวภาพ
2
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลาย ทางชีวภาพ ความหลากหลายทาง ชีวภาพกับการดำรงชีวิต ความหลากหลาย ของพืชและสัตว์
3
ความหลากหลายทางชีวภาพ
4
ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ที่ดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยเดียวกันหรือแตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันจะมีความแตกต่างกันในด้านชนิดและจำนวน หรือทางสายพันธุกรรม
5
นกฟินช์ บนหมู่เกาะกาลาปาโกส แต่ละชนิดจะมีขนาด รูปร่าง และจะงอยปาก
แตกต่างกัน เป็นผลมาจากชนิดของอาหารที่กินและสภาพแวดล้อมที่เป็นแหล่งอาศัย
6
ประเภทของความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางพันธุกรรม เป็นความหลากหลายที่ปรากฏไม่ชัดเจน โดยสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะภายนอกคล้ายกันมากอาจมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมที่แตกต่าง ความหลากทางพันธุกรรมที่เกิดโดยธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผสมพันธุ์ภายในสปีชีส์เดียวกัน เช่น การผสมพันธุ์ระหว่างพืชที่ทนต่อแมลงศัตรูพืชด้วยกันเอง
7
แต่บางกรณีเป็นการผสมพันธุ์ข้ามสปีชีส์ ซึ่งจะทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมขึ้น เช่น การผสมพันธุ์ระหว่างพืชที่ทนต่อแมลงศัตรูพืชกับพืชที่ทนต่อเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ได้พืชที่ทนต่อทั้งแมลงศัตรูพืชและเชื้อรา
8
ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์
เป็นความหลากหลายที่สามารถพบเห็นได้ชัดเจน เกี่ยวข้องกับจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลก ซึ่งสิ่งมีชีวิตบนโลกอาจมีจำนวนถึง 50 ล้านชนิด
9
1. ความมากชนิด (species richness) หมายถึง จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตต่อหน่วยเนื้อที่ ส่วนความสม่ำเสมอของชนิดหมายถึงสัดส่วนของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในที่นั้น ในพื้นที่หนึ่ง ๆ จะมีความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิต (species diversity) มากที่สุดก็ต่อเมื่อมีจำนวนสิ่งมีชีวิตมากมายหลายชนิดและแต่ละชนิดมีสัดส่วนเท่า ๆ กัน ความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิตนั้นแตกต่างไปตามพื้นที่ ในเมืองหนาว เช่น ไซบีเรีย หรือแคนาดา ในเนื้อที่ 1 เฮกเตอร์ (100 x 100 ม.) มีต้นไม้เพียง 1 ถึง 5 ชนิดเท่านั้น ส่วนในป่าเต็งรังของไทย มีต้นไม้ 31 ชนิด ป่าดิบแล้ง 54 ชนิด และในป่าดิบชื้นมีอยู่นับร้อยชนิด
10
2. ความสม่ำเสมอของชนิดสิ่งมีชีวิต (species evenness) สัดส่วนของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหนึ่ง ๆ ดังนั้นความหลากหลายทางชนิดพันธุ์จึงสามารถวัดได้จากจำนวนของสิ่งมีชีวิตและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดรวมถึงโครงสร้างของอายุและเพศของประชากรด้วยความหลากหลายของชนิดพันธุ์จะแตกต่างกันไปตามพื้นที่พื้นที่ เช่น มีป่าอยู่ 2 แห่ง แต่ละแห่งมีต้นไม้จำนวน 100 ต้น และมีอยู่ 10 ชนิดเท่ากัน แต่ป่าแห่งแรกมีต้นไม้ชนิดละ 10 ต้น เท่ากันหมด ส่วนป่าแห่งที่ 2 มีต้นไม้ชนิดหนึ่งมากถึง 82 ต้น อีก 9 ชนิดที่เหลือ มีอยู่อย่างละ 2 ต้น ถึงแม้ว่าทั้งสองจะมีจำนวนต้นไม้เท่ากันและมีจำนวนชนิดต้นไม้เท่ากันด้วย แต่ป่าแห่งแรกเมื่อเข้าไปดูแล้วจะมีความรู้สึกว่าหลากหลายกว่าป่าแห่งที่สอง
11
3.ความหลากหลายของระบบนิเวศหรือแหล่งที่อยู่อาศัย (Ecological system diversity หรือ Habitat diversity)
ความหลากหลายทางนิเวศวิทยา ประกอบด้วยความหลากหลาย 3 ประเด็น คือ ก) ความหลากหลายของถิ่นตามธรรมชาติ ( habitat diversity) ในแต่ละบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันไป บริเวณใดที่มีความหลากหลายของแหล่งที่อยู่อาศัย ที่นั่นจะมีชนิดของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายไปด้วยเช่นกัน
12
ข. ความหลากหลายของการทดแทน (Successional diversity) เมื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มพัฒนาขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตขึ้นมาก่อนและพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนสิ่งมีชีวิต สมบูรณ์ ( climax stage) เมื่อเกิดการรบกวนหรือการทำลายระบบนิเวศลงไป เช่น พายุ ไฟป่า การตัดไม้ทำลายป่า ฯลฯ ก็จะทำให้ระบบนิเวศเกิดการเสียหายหรือถูกทำลาย
13
ประเภทของความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางระบบนิเวศ เป็นความหลากหลายของแหล่งที่อยู่ที่สิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่ เพราะสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะเลือกสภาพแวดล้อม หรือแหล่งที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและการขยายเผ่าพันธุ์ ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศทะเลทราย
14
บริเวณต่างๆ ของโลกมีลักษณะทางกายภาพของสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ทำให้มีระบบนิเวศแตกต่างกัน
ระบบนิเวศป่าชายเลน ระบบนิเวศน้ำเค็ม
15
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการหลอมรวมเซลล์สืบพันธุ์ของแกะกับแพะ แล้วใส่เข้าไปให้เจริญเติบโตในมดลูกของแกะ ทำให้ได้สัตว์ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่มีชื่อว่า กีป ลักษณะเด่นของกีป คือ มีเขาและขน ที่มีลักษณะผสมระหว่างขนแพะกับขนแกะ นอกจากนี้ ก็มีการผสมพันธุ์สุนัขระหว่างสายพันธุ์ต่างๆ ด้วย
16
ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 20 ประเทศที่มีทรัพยากรชีวภาพหลากหลายมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หรือ ทรัพยากรชีวภาพ (Bioresource) เป็นฐานสำคัญของการเกษตร ยารักษาโรค และต่อเศรษฐกิจทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
17
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ในพื้นที่ป่าตามธรรมชาติในประเทศไทยมีความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์เป็นอย่างมาก เนื่องจากเหตุผลหลายประการได้แก่ 1. ประเทศไทยตั้งอยู่ในโซนร้อนเหนือเส้นศูนย์สูตรเล็กน้อยและอยู่ติดทะเล มีความแตกต่างกันของสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย 2.1 ป่าไม้ไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) 2.1.1 ป่าดิบเมืองร้อน (Tropical evergreen forest) ก. ป่าดงดิบชื้น (Tropical rain forest) ข. ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest) ค. ป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest)
18
2.2 ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest)
ป่าเบญจพรรณ ป่าแดง ป่าแพะ หรือป่าเต็งรัง ป่าหญ้า
19
3. ประเทศไทยอยู่ในบริเวณศูนย์กลางที่มีการกระจายพันธุ์ของพืชและสัตว์
กล่าวคือเป็นเขตซ้อนทับกันของกลุ่มพรรณพฤกษชาติ (Floristic Region) ถึง 3 กลุ่มคือ กลุ่มอินโด - เบอร์มีส (Indo-Burmese elements) กลุ่มอินโด-ไชนิส (Indo-Chinese elements) และกลุ่มมาเลเซีย (Malaysian elements) ในส่วนของสัตว์ป่า ประเทศไทยถือเป็นจุดซ้อนทับของเขตสัตวภูมิศาสตร์ (Zoological Region) 3 เขตเช่นกันคือ เขตชิโน-หิมาลัย (Shino-Himalayan) เขตอินโด-ไชนีส (Indo-Chinese) และเขตชุนดา (Sundaic)
20
ประโยชน์ของความหลากหลายทาง มนุษย์สามารถได้รับประโยชน์จากความหลากหลายทางธรรมชาติในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้
1. ประโยชน์ด้านการบริโภคใช้สอย หมายถึงประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นทรัพยากร ทางธรรมชาติอันเอื้อต่อปัจจัยในการดำรงชีวิตให้แก่มนุษย์ เช่น ด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เป็นต้น 2 . ประโยชน์ด้านการผลิต ด้านการอุตสาหกรรม ผลผลิตของป่าที่นำมาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะโดยตรง เช่น การป่าไม้ ของป่า หรือโดยอ้อม เช่นการสกัดสารเคมีจากพืชในป่า 3. ประโยชน์อื่น ๆ อันได้แก่คุณค่าในการบำรุงรักษาระบบนิเวศให้สามารถดำรงอยู่ได้ และดูแลระบบนิเวศ ให้คงทน เช่น การรักษาหน้าดินการตรึงไนโตรเจนสู่ดิน การสังเคราะห์พลังงานของพืช การควบคุมความชื้น เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นประโยชน์ที่สำคัญ ตลอดทั้งในด้านนันทนาการและการท่องเที่ยวของมนุษย์
21
การสูญเสียความหลากหลายทางธรรมชาติ
สาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การสูญเสียความหลากหลายทางธรรมชาติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ในพื้นที่ที่กระทบต่อระบบนิเวศสามารถจำแนกได้ประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ 1). การลดพื้นที่ ( reduction) 2). การแบ่งแยกพื้นที่ ( fragmentation) 3) การแทนที่ ( substitution) 4) การทำให้สูญพันธุ์ ( extinction) 5) การทำให้ปนเปื้อน ( contamination)
22
การอนุรักษ์พื้นที่เพื่อการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
การอนุรักษ์พื้นที่ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตและแหล่งพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ในประเทศไทยมีการกันพื้นที่เพื่อเป็นพื้นที่อนุรักษ์ใน 6 ลักษณะโดยมีวัตถุประสงค์ที่ แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้คือ ก) อุทยานแห่งชาติ เป็นพื้นที่ที่รัฐบาลสงวนไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ทางการ คุ้มครองรักษาหรือ อนุรักษ์ สภาพธรรมชาติและถิ่นกำเนิดทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งหลายในอุทยานแห่งชาตินั้น ประกอบกันการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และ การ พักผ่อน หย่อนใจเช่นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เป็น ต้น
23
ข) วนอุทยาน เป็นสถานที่ที่มีทิวทัศน์สวยงาม มีจุดเด่นตามธรรมชาติที่เป็น ลักษณะเฉพาะของพื้นที่เช่น น้ำตก ถ้า หน้าผา มีพื้นที่ขนาดเล็ก เหมาะสำหรับการพักผ่อน หย่อนใจ เช่น วนอุทยานถ้ำปลา จังหวัดแม่ฮ่องสอน วนอุทยานแพะเมืองผี จังหวัดแพร่ เป็นต้น
24
ค) สวนพฤกษศาสตร์ เป็นสวนที่สร้างขึ้นสำหรับการรวมพันธุ์ไม้เพื่อจุดประสงค์ทาง การศึกษา อาจจะเป็นการรวบรวมพันธุ์ไม้ในท้องถิ่นหรือ ต่างท้องถิ่นกันก็ได้ โดยมีการ จัดแยกหมวดหมู่ของต้นไม้ ในประเทศไทยมีการจัดตั้งสวน พฤกษศาสตร์ 15 แห่ง เช่น สวนพฤกษศาสตร์สิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ สวนพฤกษศาสตร์ภาคกลางเขาแค จังหวัด สระบุรี สวนพฤกษศาสตร์พัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นต้น
25
ง) สวนรุกขชาติ เป็นพื้นที่ที่รวบรวมพันธุ์ไม้เพื่อการพักผ่อนของประชาชน เป็นพื้นที่ขนาด เล็ก ไม่มีการจัด หมวดหมู่มากนักในประเทศไทยมีจำนวน 44 แห่ง เช่น สวนรุกขชาติห้วย แก้ว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
26
จ) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นพื้นที่กำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัย เพื่อให้สัตว์ป่าได้สืบพันธุ์ ขยายพันธุ์ได้มากขึ้นและกระจายออกไปยังแหล่งใกล้เคียงใน ประเทศไทยเช่นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง
27
ฉ) เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเป็นอาณาบริเวณที่ราชการกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าบางชนิดขนาดไม่กว้าง ขวาง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ เช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อยเขาประดู่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด เป็นต้น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.