งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชาหุ่นยนต์ศาสตร์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชาหุ่นยนต์ศาสตร์."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชาหุ่นยนต์ศาสตร์

2 โปรแกรมวิทยาการคอมพิวเตอร์ปี 3 หมู่ 2
สมาชิกในกลุ่ม 1. นายธาราวุธ พรมหนองแสน รหัส 2. น.ส.จิราพร วรทองหลาง รหัส 3. น.ส.ชไมพร เลากลาง รหัส 4. น.ส.วิรัชฏา บุญรินทร์ รหัส 5. นายกิติพันธุ์ พลอาวุธ รหัส 6. นายจิรศักดิ์ เปลี่ยนสันเทียะ รหัส 7. นายธีรวัฒน์ รัตนวิชัย รหัส โปรแกรมวิทยาการคอมพิวเตอร์ปี 3 หมู่ 2

3 รูปสมาชิกในกลุ่ม

4 ประเภทของหุ่นยนต์ ประเภทของหุ่นยนต์แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1.แบ่งตามการเคลื่อนที่ 2.แบ่งตามลักษณะรูปร่างภายนอก

5 1. หุ่นยนต์แบ่งตามการเคลื่อนที่
  ประเภทแรก คือหุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (Fixed Robot) ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง หุ่นยนต์ประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นแขนกล สามารถเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น ส่วนมากมักถูกนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานประกอบรถยนต์

6 1. หุ่นยนต์แบ่งตามเคลื่อนที่ (ต่อ)
ประเภทที่สอง คือหุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (Mobile Robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้จะสามารถเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง ด้วยการเคลื่อนที่โดยใช้ล้อ หรือเคลื่อนที่โดยใช้ขา ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ ส่วนใหญ่ยังเป็นงานวิจัยที่อยู่ในห้องทดลอง เพื่อพัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบต่างๆ หรือพัฒนาให้มีลักษณะเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข เพื่อให้มาเป็นเพื่อนเล่นกับคน หรือแม้กระทั่งมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถเคลื่อนที่แบบสองขาได้อย่างมนุษย์ที่เรียกกันว่า “หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์” เพื่ออนาคตจะสามารถนำไปใช้ในงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายแทนมนุษย์

7 2.หุ่นยนต์แบ่งตามลักษณะภายนอก
หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (Humanoid Robot) เป็นลักษณะหุ่นยนต์ที่เหมือนกับมนุษย์ ตัวอย่าง การส่งหุ่นยนต์ฮิวแมนอยด์ลงไปขับเคลื่อนเครื่องมือขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดิน        การใช้หุ่นยนต์อาซิโมของฮอนด้าเป็นพนักงานต้อนรับ

8 2. หุ่นยนต์แบ่งตามลักษณะภายนอก (ต่อ)
แอนดรอยด์ (Android) เป็นการเรียกหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่สามารถแสดงออกเหมือนมนุษย์ แม้ว่ารากศัพท์ภาษากรีกของคำนี้หมายถึงเพศชาย แต่การใช้ในบริบทภาษาอังกฤษมักไม่ได้มีความหมายเจาะจงว่าเป็นเพศใด จีนอยด์ (Gynoid) เป็นการเรียกหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์เพศหญิง

9 2. หุ่นยนต์แบ่งตามลักษณะภายนอก (ต่อ)
แอ็คทรอยด์ (Actriod) เป็นหุ่นยนต์ที่เลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ เช่น กระพริบตา หายใจ เริ่มพัฒนาโดย มหาวิทยาลัยโอซาก้าและบริษัทโคโคโระ ไซบอร์ก (Cyborg) เป็นหุ่นยนต์ที่เชื่อมต่อกับสิ่งมีชีวิต หรือ ครื่งคนครึ่งหุ่น เริ่มปรากฏครั้งแรกในเรื่องแต่งปี 1960 นาโนโรบอท (Nanorobot) เป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กมาก ขนาดประมาณ ไมครอน

10 การนำหุ่นยนต์ไปใช้งาน
1.ด้านการแพทย์ - ตัวอย่าง เช่น หุ่นยนต์ผ่าตัด เป็นหุ่นยนต์สามารถรับรู้ถึงแรงบีบเครื่องมือที่อยู่ในมือศัลยแพทย์ผู้ควบคุม และแพทย์สามารถสั่งการพร้อมรับฟังรายงานจากหุ่นยนต์ได้ผ่านไมโครโฟน

11 การนำหุ่นยนต์ไปใช้งาน(ต่อ)
2.ด้านงานวิจัย ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ดำน้ำ

12 หุ่นยนต์ดำน้ำถือกำเนิดขึ้นเช่นเดียวกับเทคโนโลยีอื่นๆ คือมาจากวงการทหารตั้งแต่ ปี 1960 จนพัฒนาเรื่อยมาสู่อุตสาหกกรรมการสำรวจน้ำมันใต้ทะเล หุ่นยนต์ดำน้ำในปัจจุบันมีระยะทำงานลึกถึง 3,000 เมตร นอกจากเรื่องสำรวจแล้ว หุ่นยนต์เหล่านี้ยังมีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษา (O&M: Operation and Maintenance) ระบบท่อส่งแก๊ส-น้ำมันใต้ทะเลอีกด้วยครับ

13 การนำหุ่นยนต์ไปใช้งาน (ต่อ)
หุ่นยนต์ปลา

14 หุ่นยนต์ดำน้ำ (ต่อ) ทำหน้าที่ในการตรวจสอบมลภาวะ หุ่นยนต์ปลามีความยาวประมาณ 1.5 เมตร ภายในตัวของปลาประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่เป็นตัวเซนเซอร์ที่สามารถตรวจสอบปริมาณของสาร หรือสิ่งที่เป็นมลภาวะต่อน้ำ อย่างเช่น ปริมาณคราบน้ำมันของเรือหรือที่รั่วออกมาจากท่อที่ฝังใต้ทะเล หรือสารเคมีภายในน้ำ ปริมาณออกซิเจนในน้ำ หุ่นยนต์ปลาแต่ละตัวมีราคาอยู่ที่ ปอนด์ หรือ ดอลล่าร์สหรัฐ ซึงจะมีหุ่นยนต์ปลาทั้งหมดจำนวน 5 ตัวที่จะถูกปล่อยไปทำงานในน่านน้ำทางตอนเหนือของประเทศสเปน บริเวณอ่าวบิสเคหุ่นยนต์ปลาทำงานโดยใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี่ที่สามารถทำงานในการให้พลังงานได้ยาวนาน 8 ชั่วโมง และในส่วนของการควบคุมนั้นหุ่นยนต์ปลาจะไม่ถูกควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรล หรือการบังคับจากมนุษย์ในการเคลื่อนที่ ข้อมูลที่หุ่นยนต์บันทึกได้ในการตรวจสอบนั้นจะมีการส่งไปยังศูนย์ควบคุมบนบกหรือหาดผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย เมื่ออุปกรณ์สามารถตรวจจับสัญญาณได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้มานั้นจะถูกนำมาใช้สร้างแผนที่สามมิติเกี่ยวกับมลภาวะที่มีในบริเวณอ่าว

15 การนำหุ่นยนต์ไปใช้งาน(ต่อ)
3.ด้านงานอุตสาหกรรม ตัวอย่าง เช่น หุ่นยนต์ในโรงงาน                                                         หน้าที่ ซึ่งมันได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถหยิบ จับ เคลื่อนย้าย วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์พิเศษต่างๆ โดยการตั้งโปรแกรมเพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ของมัน ให้ทำงานได้ตามต้องการ

16 การนำหุ่นยนต์ไปใช้งาน (ต่อ)
4.ด้านความมั่นคง ตัวอย่างเช่น RQ-4 Global Hawk เครื่องบินไร้คนขับ

17 ตัวอย่าง เช่น หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด
ด้านความมั่นคง (ต่อ) ตัวอย่าง เช่น หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด

18 ตัวอย่าง เช่น หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด
  หลักการทำงานของหุ่นยนต์พื้นฐาน จะมี 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN ) สำหรับการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ควบคุมและคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งในตัวหุ่นยนต์ การบังคับเส้นทางเดินจะใช้ Joy Stick หรือแผงบังคับ ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งค่าการควบคุมการเดินทางไปยังคอมพิวเตอร์ของผู้ควบคุมเพื่อส่งข้อมูลต่อไปยังหุ่นยนต์อีกครั้ง  นอกจากนี้ผู้ควบคุมหุ่นยนต์ยังสามารถเร่งความเร็วการเดินของหุ่นยนต์ได้ตามต้องการ เนื่องจากตัวบังคับที่ใช้ในการควบคุม เป็นระบบที่ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความเร็วได้สะดวก หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆไป ในการรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว

19 การนำหุ่นยนต์ไปใช้งาน (ต่อ)
5.ด้านงานครัวเรือน เช่น “น้องซีที”หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารสัญชาติไทย ต้นแบบน้องซีที จะถูกปรับแต่งฟังก์ชันตามที่ลูกค้าต้องการ อย่างเช่นของร้านสุกี้ เอ็มเค จะมีขนาดที่แตกต่างออกไปสีสันสวยงามมากขึ้น และใช้ชื่อว่าน้องดินสอ ซึ่งผู้บริหารเอ็มเค บอกว่า จะนำไปใช้งานด้านให้ความบันเทิงลูกค้า โดยเฉพาะเด็ก ๆ  ซึ่งไม่ได้คาดหวังว่าเป็นการกระตุ้นยอดขายแต่นี่คือการสนับสนุนผลงานคนไทยและอาจจะกระตุ้นให้เยาวชนไทยอยากเป็นวิศวกรหุ่นยนต์ขึ้นมาบ้าง

20 การนำหุ่นยนต์ไปใช้งาน (ต่อ)
6. ด้านบันเทิง ตัวอย่าง เช่น asimo หน้าที่ ใช้หุ่นยนต์ asimo เป็นคอนดักเตอร์ควบคุมวงออร์เคสตร้า

21 ที่มา: http://ba.bu.ac.th/ejournal/BC/BC9/BC9.htm

22 ที่มา : (ต่อ) htmlhttp://www.vcharkarn.com/vnews/152189


ดาวน์โหลด ppt วิชาหุ่นยนต์ศาสตร์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google