งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เครื่องมือและอุปกรณ์ต่อพ่วงเครื่องคอมพิวเตอร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เครื่องมือและอุปกรณ์ต่อพ่วงเครื่องคอมพิวเตอร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เครื่องมือและอุปกรณ์ต่อพ่วงเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 6 เครื่องมือและอุปกรณ์ต่อพ่วงเครื่องคอมพิวเตอร์

2 ครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ นอกจากจะต้องประกอบไปด้วย ตัวเครื่อง คำสั่ง และบุคลากรคอมพิวเตอร์ แล้วนั้น สิ่งที่จำเป็นและขาดมิได้ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คือ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่อพ่วงเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูล ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลข้อมูลซึ่งอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้ามายังระบบคอมพิวเตอร์นั้นมีด้วยกันมากมายหลายชนิด นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์จะต้องมีอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล เพื่อใช้แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูลแล้วแสดงออกมาในรูปของภาพ เสียง หรือเอกสาร เช่น จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์ เป็นต้น และสิ่งที่จำเป็นในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ก็คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เพื่อบันทึกข้อมูลการทำงานไว้ในหน่วยความจำชนิดต่างๆ

3 ประเภทของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่อพ่วงเครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล

4 อุปกรณ์รับข้อมูล เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเครื่องคอมพิวเตอร์นำข้อมูลไปทำการประมวลผล 1. แป้นพิมพ์ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม 1.1 กลุ่มปุ่มพิมพ์อักขระ 1.2 กลุ่มปุ่มตัวเลขและเครื่องหมายคำนวณ 1.3 กลุ่มปุ่มฟังก์ชัน 1.4 กลุ่มปุ่มควบคุมต่างๆ 2. เมาส์ การทำงานจะอาศัยหลักการเลื่อนเมาส์ไปมา หรือคลิก หรือดับเบิลคลิก เพื่อออกคำสั่งให้เมาส์ทำงาน โดยเมาส์ทำหน้าที่เลื่อนเคอร์เซอร์หรือตัวชี้ตำแหน่งไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนหน้าจอ 3. แทรกบอล มีลักษณะเหมือนเมาส์ขนาดใหญ่ที่หงายท้องขึ้น โดยมีลูกกลิ้งอยู่ด้านบน มีวิธีการทำงานเหมือนเมาส์ นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 4. จอภาพแบบสัมผัส เป็นจอภาพชนิดพิเศษการสั่งงานจะใช้วิธีสัมผัสที่จอภาพแทนการใช้แป้นพิมพ์หรือเมาส์ 5. เครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็ก หรือเครื่อง MICR เป็นเครื่องอ่านสัญลักษณ์ที่เป็นได้ทั้งตัวเลข 0-9 และรวมถึงสัญลักษณ์พิเศษ

5 6. เครื่องอ่านอักษรหรือสัญลักษณ์พิเศษ หรือเครื่องอ่านอักษร OCR เป็นเครื่องที่ใช้สแกนภาพของเอกสาร
7. เครื่องอ่านบาร์โค้ด ทำหน้าที่ในการอ่านรหัสแท่งที่ติดอยู่บนฉลากสินค้าหรือบัตรประตัวพนักงานและแปลงเป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ 8. อุปกรณ์การวาดรูปหรือปากกาเขียน ใช้เขียนข้อความหรือรูปภาพเข้าไปในพื้นที่ราบเรียบ หลังจากนั้นข้อมูลจะถูกแปลงให้อยู่ในอิเล็กทรอนิกส์ 9. ไมโครโฟน ใช้สำหรับรับเสียง โดยเสียงที่พูดผ่านไมโครโฟนจะถูกส่งไปยังการ์ดเสียงเพื่อแปลงเป็นสัญญาณดิจิทัลและจัดเก็บลงในเครื่องคอมพิวเตอร์และนำไปประมวลผลข้อมูล 10. เครื่อง OMR เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลที่ออกแบบเฉพาะให้อ่านข้อมูลจากการทำเครื่องหมายด้วยดินสอหรือปากกาลงบนกระดาษคำตอบ 11. เครื่องสแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพหรือรูปถ่าย เครื่องจะแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นข้อมูลดิจิทัล สแกนเนอร์แบ่งได้ 3 ประเภท คือ 1.1 สแกนเนอร์แบบใส่กระดาษ 1.2 สแกนเนอร์แบบวางดาษหรือสแกนเนอร์แบบแท่นเรียบ 1.3 สแกนเนอร์แบบมือถือ 12. กล้องดิจิทัล การทำงานคล้ายกล้องถ่ายรูปทั่วไป เพียงบันทึกเก็บข้อมูลภาพที่ถ่ายไว้ในหน่วยความจำ

6 อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลจากคอมพิวเตอร์ให้กับผู้ใช้ได้รับทราบ 1. จอภาพ ใช้แสดงผลลัพธ์ของข้อมูลสารสนเทศ แสดงผลได้ 2 ลักษณะ คือ จอภาพสีเดียวและจอภาพสี แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1.1 จอภาพซีอาร์ที 1.2 จอภาพแบบแอลซีดี 2. พล็อตเตอร์ เป็นเรื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษ 3. ลำโพง แสดงผลในรูปของเสียงโดยแปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียงที่สามารถได้ยินได้ 4. โมเด็ม ใช้เชื่อมการทำงานระหว่างการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 5. เครื่องพิมพ์ แสดงผลข้อมูลที่ทำหน้าที่แปลผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปของอักษรหรือรูปภาพให้ปรากฏบนกระดาษในรูปของเอกสาร แบงออกได้ 4 ประเภท คือ 5.1 เครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ 5.2 เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกหรืออิงเจ็ท 5.3 เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ 5.4 เครื่องพิมพ์แบบมัลติฟังก์ชัน

7 อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูลการทำงานไว้ในหน่วยความจำชนิดต่างๆ แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ 1. หน่วยเก็บข้อมูลปฐมภูมิหรือหน่วยความจำหลัก ทำหน้าที่เก็บข้อมูลชั่วคราวในขณะที่มีการเรียกข้อมูลจากหน่วยความจำรองขึ้นมาใช้งาน 2. หน่วยเก็บข้อมูลทุติยภูมิหรือหน่วยความจำสำรอง ใช้เก็บโปรแกรมข้อมูลและคำสั่งต่างๆ โดยข้อมูลที่เก็บจะไม่หายในขณะที่ไม่ได้ทำงาน หน่วยเก็บข้อมูลทุติยภูมิมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหลายชนิดคือ 2.1 เทปแม่เหล็ก ตลับเทปแม่เหล็ก 2.3 จานแม่เหล็ก จานแสงบันทึกข้อมูล 2.5 ซีดี แผ่นดีวีดี ซีดีรอม ดีวีดี-รอม ซีดี-อาร์ ดีวีดี-อาร์ แผ่นซีดี-อาร์ดับบลิว ดีวีดี-อาร์ดับบลิว 2.7 แฟลชไดรฟ์

8 MP3 เทคโนโลยีที่ใช้ย่อข้อมูลเสียงของมาตรฐาน MPEG1 โดยสามารถย่อข้อมูลเสียงให้เล็กลงได้ประมาณ เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลเสียงแบบเดิม MP3 มีการทำงานอยู่ 4 รูปแบบ คือ ฟังเพลง บันทึกเสียง รับฟังรายการวิทยุ และบันทึกข้อมูล ปาล์ม เป็นคอมพิวเตอร์พกพาส่วนบุคคลขนาดเล็ก เหมาะสำหรับการทำงานในลักษณะออร์แกไนเซอร์ พ็อกเก็ตพีซี เป็นคอมพิวเตอร์พกพาส่วนบุคคลขนาดเล็ก เหมาะสำหรับงานในลักษณะออร์แกไนเซอร์ที่ช่วยในการบริหารและจัดการตารางเวลาของผู้ใช้งาน

9 การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่อพ่วงเครื่องคอมพิวเตอร์
การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ 1. ควรตรวจดูความพร้อมของเครื่องพิมพ์ 2. เลือกกระดาษที่มีคุณภาพ 3. ควรใช้ผ้าหมึกที่มีคุณภาพที่ใช้เฉพาะเครื่องพิมพ์ 4. นำกระดาษออกจากเครื่องป้อนกระดาษและช่องนำกระดาษทุกครั้ง 5. ไม่ควรใช้มือเลื่อนหัวพิมพ์เล่นไปมาขณะเปิดเครื่องพิมพ์ 6. ควรระวังไม่ให้หัวพิมพ์กระทบลูกยางโดยตรง 7. เครื่องชนิดที่มีฝาครอบไม่ควรเปิดฝาครอบขณะพิมพ์ 8. ปรับก้านคุมน้ำหนักหัวพิมพ์ให้มีความคมชัด 9. ควรทำความสะอาดลูกยาง หัวพิมพ์ และผิวนอกของตัวเครื่อง

10 การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์แบบอิงเจ็ท
1. ควรทำความสะอาดเครื่องและหัวพิมพ์ประมาณ อาทิตย์ต่อครั้ง 2. ควรเปิดเครื่องพิมพ์ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ 3. ไม่ควรถอดตลับน้ำหมึกออกจากเครื่องจนกว่าน้ำหมึกหมด 4. ควรมีการสำรองตลับหมึกไว้ 5. ติดตั้งเครื่องพิมพ์ในบริเวณที่มีฝุ่นน้อย 6. การปิด – เปิดเครื่องพิมพ์ ควรทำที่สวิตซ์ของตัวเครื่องเสมอ 7. ไม่ควรนำหมึกต่างยี่ห้อมาเติม 8. การถอดและใส่ตลับน้ำหมึกจะต้องใส่ให้เข้าล็อกทุกครั้ง 9. ควรหมั่นอัพเดตไดรฟ์เวอร์และซอฟต์แวร์ของเครื่องอย่างสม่ำเสมอ

11 การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องสำรองไฟ
1. ควรตั้ง UPS ไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก 2. ควรวาง UPS ไว้บนพื้นที่เรียบและมั่นคง 3. อย่าเคลื่อนย้าย UPS บ่อยๆ 4. ระวังอย่าใช้มือเปียกจับต้องเครื่อง UPS การดูแลและบำรุงรักษาสแกนเนอร์ 1. ศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด 2. ก่อนการใช้งานควรตรวจสอบกระแสไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่อง 3. หาสถานที่ตั้งหรือวางเครื่องให้มั่นคงและแข็งแรง 4. ปิดฝาเครื่องเมื่อไม่ใช้งาน 5. ล็อกหัวอ่านทุกครั้งเมื่อเคลื่อนย้าย 6. ไม่ควรนำวัตถุมีน้ำหนักมาวางบนเครื่อง 7. หลังปิดเครื่อง ควรรอประมาณ 10 วินาทีก่อนเปิดเครื่องใหม่ 8. ห้ามกระแทกหรือทุบกระจก 9. ทำความสะอาดกระจกเครื่องสแกนเนอร์ ห้ามฉีดน้ำยาโดยตรง

12 การดูแลและบำรุงรักษาแฟลชไดรฟ์
1. อย่าทำตกหรือถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง 2. เมื่อไม่ใช้แฟลชไดรฟ์ไม่ควรค้างไว้กับพอร์ต 3. เวลาถอดแฟลชไดรฟ์ ไม่ควรดึงออกเลย 4. ควรถอดให้ถูกวิธี โดยการ Stop Port เสียก่อน 5. ถ้าไม่ต้องการ Stop Port ให้ตั้งค่าคอมพิวเตอร์โดย 5.1 เริ่มจาก My computer และคลิกขวาที่ไอคอนแฟลชไดรฟ์ เลือก Properties 5.2 เลือกที่ Tab Hardware 5.3 หาชื่อแฟลชไดรฟ์ แล้วดับเบิลคลิกจะเกิดกรอบใหม่ 5.4 เลือก Tab>Policies จะมี Option ให้ปรับแต่งอยู่ 2 หัวข้อ ในหัวข้อ Write caching and Safe Removal จะมีหัวข้อให้ปรับแต่ง โดยในหัวข้อ Optimize for quick removal ให้เซ็ทไว้ที่ตัวนี้

13 การดูแลและบำรุงรักษา MP3
1. ไม่ควรทำหล่นหรือกระแทก 2. ไม่ควรเก็บไว้ในที่ๆมีอุณหภูมิสูง 3. เก็บเครื่องเล่นให้ห่างจากความชื้น 4. ไม่ควรใช้เครื่องเล่นหรือบันทึกข้อมูลในสถานที่ที่มีอุณหภูมิร้อนจัดหรือเย็น 5. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องเล่นด้วยสารเคมีใดๆ 6. ถอดแบตเตอรี่ออกจากเครื่องเล่นเมื่อไม่ใช้เป็นเวลานาน 7. ห้ามหยุดการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์โดยทันที การดูแลและบำรุงรักษาปาล์มหรือ Pocket PC 1. ควรใช้สไตลัสสั่งงานแทนการใช้นิ้วมือ 2. สังเกตบริเวณปลายของสไตลัสคมเกินไปหรือไม่ 3. ควรติดฟิล์มที่หน้าจอ 4. ทำความสะอาดหน้าจอ ควรใช้ผ้าที่มีความนุ่มนวล

14 การดูแลและบำรุงรักษากล้องดิจิทัล
1. ห้ามใช้กล้องบริเวณที่มีละอองน้ำหรือฝนตก 2. อย่าเก็บกล้องไว้ในที่มีอุณหภูมิสูงหรือถูกแสงแดดเป็นเวลานาน 3. ห้ามเก็บกล้องรวมกับลูกเหม็นหรือสารเคมีอื่นๆ 4. การเก็บกล้องที่ดีต้องเก็บไว้ในที่แห้งและอากาศถ่ายเถสะดวก 5. ควรนำกล้องมาเช็คระบบบ้างเป็นครั้งคราว 6. ควรใช้ผ้านุ่มสะอาดและแห้ง 7. ควรปิดสวิตช์ทุกครั้งที่เลิกใช้งาน 8. อย่าใส่การ์ดขณะเปิดสวิตช์กล้อง


ดาวน์โหลด ppt เครื่องมือและอุปกรณ์ต่อพ่วงเครื่องคอมพิวเตอร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google