งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กระบวนการวิจัย (Research Process)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กระบวนการวิจัย (Research Process)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กระบวนการวิจัย (Research Process)
กระบวนการแสวงหาความรู้ ความจริง ให้ได้ข้อค้นพบ องค์ความรู้ใหม่เพื่อนำมาใช้ใน การแก้ปัญหาและพัฒนางานในด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

2 กระบวนการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2555)
กระบวนการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2555)

3 การดำเนินการวิจัย (Research Methodology)
1 การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัย (Identification of Research Problem and Objectives) การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review of Related Literature) การออกแบบการวิจัย (Research Design) การดำเนินการวิจัย (Research Methodology) การสรุปผลและการเขียนรายงานการวิจัย (Conclusion and Reporting)

4 1 การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัย (Identification of Research Problem and Objectives)
จากปัญหาวิจัยที่ต้องการศึกษา

5 1.5 ความสำคัญของการวิจัย หรือ ประโยชน์ที่จะได้จากการวิจัย
1.1 การกำหนดชื่อเรื่องวิจัย 1.2 การศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วิจัย 1.3 การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย 1.4 การกำหนดขอบเขตของการวิจัย และการให้นิยามศัพท์เฉพาะ 1.5 ความสำคัญของการวิจัย หรือ ประโยชน์ที่จะได้จากการวิจัย

6 2 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review of Related Literature)
การศึกษาแนวคิดทฤษฎี องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับปัญหาประเด็นการวิจัยที่ต้องการหาคำตอบ ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สร้างกรอบแนวคิดการวิจัย (Research Framework) อธิบายตัวแปรที่ต้องการศึกษา

7 3การออกแบบการวิจัย (Research Design)
เป็นการกำหนดวิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) เพื่อนำไปสู่คำตอบของการวิจัย -การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการเก็บข้อมูล -การสร้างและตรวจสอบเครื่องมือการวิจัย -การกำหนดวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

8 4 การดำเนินการวิจัย (Research Methodology)
เป็นการดำเนินการตามแบบแผน หรือวิธีวิจัยที่ได้ออกแบบไว้ การนำเครื่องมือวิจัยไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ รวมทั้งนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ และ ตีความ แปลผลการวิจัยที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปเป็นคำตอบของการวิจัย

9 5 การสรุปผลและการเขียนรายงานการวิจัย (Conclusion and Reporting)
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการวิจัย เมื่อผู้วิจัยได้คำตอบการวิจัยจากผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยต้องเขียนรายงาน สรุปผลตามวัตถุประสงค์การวิจัย อภิปรายผลการวิจัย และให้ข้อเสนอแนะ รวมทั้งการเขียนรายงานการวิจัยตลอดกระบวนการวิจัย เพื่อการเผยแพร่ข้อค้นพบของการวิจัย

10

11 การวิจัยแบ่งออกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การพิจารณา
ประเภทของการวิจัย การวิจัยแบ่งออกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การพิจารณา

12 พิจารณาจากประโยชน์ของการนำผลการวิจัยไปใช้ แบ่งเป็น 3 ประเภท
1.1 การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) หรือ การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นการวิจัยเพื่อหาทฤษฎี สูตร หรือสร้างกฎเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องอื่น ๆ ต่อไป 1.2 การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยเพื่อนำผลไปใช้แก้ไขปัญหา เช่น การวิจัยทางแพทย์ 1.3 การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เป็นการวิจัยประยุกต์ในลักษณะหนึ่งที่มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเรื่อง ๆ ไป ผลของการวิจัยนี้ใช้ได้ในการแก้ปัญหาในขอบเขตที่ศึกษา ไม่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้

13 2.พิจารณาจากลักษณะของข้อมูล ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
2.1 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่มีการรวบรวมข้อมูลที่วัดได้เป็นเชิงตัวเลข ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ และสถิติมาสรุปผลยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษา โดยทั่วไปใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่ใช้ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ ความรู้สึกนึกคิด ไม่ใช้ข้อมูลตัวเลข โดยทั่วไปใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

14 3 พิจารณาจากวัตถุประสงค์การวิจัย
3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory หรือ Survey Research) เป็นการวิจัยเพื่อสำรวจข้อมูลหาความจริงหรือศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 3..2 การวิจัยเพื่อทดสอบสมมุติฐาน (Hypothesis Testing Research) การวิจัยประเภทนี้ มี การตั้งสมมุติฐาน และทดสอบว่าผลการศึกษาเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งขึ้นหรือไม่ 3.3 การวิจัยเชิงเหตุผล (Causal Research) เป็นการศึกษาเพื่อใช้อธิบายปัญหา หรือปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อหาเหตุผลและทดสอบความสัมพันธ์ต่าง ๆ สามารถนำมาสรุปเป็นทฤษฎีต่าง ๆ

15 4 พิจารณาจากระเบียบการวิจัย
4.1 วิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) เป็นการศึกษาหาข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องราวในอดีต เพื่อใช้ความรู้มาอธิบายเหตุการณ์ในปัจจุบัน และอนาคต 4.2 วิจัยเชิงพรรณนา (Description Research) เป็นการศึกษาเพื่อบรรยายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 4.3 วิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการศึกษาตัวแปร เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดผลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

16 จรรยาบรรณนักวิจัย (Researcher’s Code Ethic)
1 นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในการดำเนินการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิจัย นักวิจัยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในการทำวิจัยตามข้อตกลงที่ทำไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย และต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด 3 นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย อย่างเพียงพอ

17 จรรยาบรรณนักวิจัย (Researcher’s Code Ethic)
นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตนักวิจัยต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการท าวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างนักวิจัยต้องไม่คำนึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนกระทั่งละเลยและขาดความเคารพในศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะอธิบายจุดมุ่งหมายของการวิจัยแก่บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่างโดยไม่หลอกลวงหรือบีบบังคับและไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

18 6 นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย
7 นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ 8 นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น นักวิจัยพึงมีใจกว้าง พร้อมจะเปิดเผยข้อมูลและขั้นตอนการวิจัย ยอมรับฟังความคิดเห็นและเหตุผลทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขงานวิจัยของตนให้ถูกต้อง

19 โครงร่างการวิจัยและการวิพากษ์งานวิจัย
หมายถึงการกำหนดแผนการทำวิจัยล่วงหน้าก่อนลงมือทําการวิจัย เป็นการแปลงคำถามการวิจัย (Research Question) ให้ออกมาเป็นแผนดำเนินการ (Plan of Action) ของการทำวิจัย ให้ผู้วิจัยมีแนวทางดําเนินการวิจัยได้อย่างมีทิศทาง มีขั้นตอนและมีกรอบการทํางานที่ชัดเจน

20 องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย
ชื่อโครงการหรือชื่อเรื่อง (The Title) 2 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัย (Background and Rationale) 3 คำถามวิจัย (Research Question) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) 5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 6 .ขอบเขตของการวิจัย 7 ตัวแปร สมมติฐานและกรอบแนวคิดในการวิจัย 8 นิยามศัพท์เฉพาะหรือนิยามปฏิบัติการ (Operational Definition)

21 องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย
5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 6 .ขอบเขตของการวิจัย 7 ตัวแปร สมมติฐานและกรอบแนวคิดในการวิจัย 8 นิยามศัพท์เฉพาะหรือนิยามปฏิบัติการ (Operational Definition)

22 9 การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Literature Review)
10. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) 10.1 วิธีวิจัย ระบุให้เห็นว่างานวิจัยนี้ ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีวิจัยประเภทใด เช่นการวิจัยเอกสาร การวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ 10.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) 13 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

23 14 แผนการดำเนินงาน 15 งบประมาณ 16. เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม 17
14 แผนการดำเนินงาน 15 งบประมาณ 16. เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม 17. ภาคผนวก


ดาวน์โหลด ppt กระบวนการวิจัย (Research Process)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google