ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
หายนะพลังงานไทย ?
2
ภาพรวมสถานการณ์พลังงานไทยและแนวโน้มในอนาคต (Thailand Energy Outlook)
เป็นผู้นำเข้าพลังงานสุทธิ (net importer) - มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงานมีจำกัด มีแต่จะหมดไปและหาทดแทนได้ยากขึ้น - ก๊าซธรรมชาติอ่าวไทยมีแนวโน้มจะหมดไปในอีกไม่เกิน ปีข้างหน้า - ควรจะใช้อย่างประหยัดและมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังมีโอกาสได้ใช้ประโยชน์บ้าง ประเทศชาติต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศอย่างมหาศาลในการนำเข้าพลังงาน - ปึละ ล้านล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเพื่อการบริโภค ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของไทยยังไม่ดีพอ - เราบริโภคพลังงานสูงเป็นอันคับสองในกลุ่มอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย - ทั้งๆที่เรามีจำนวนประชากรเป็นอันดับสี่ในกลุ่มอาเซียน (อินโดนีเซีย/ฟิลิปปินส์/เวียตนาม) - สัดส่วนการบริโภคพลังงานของคนไทยต่อ GDP สูงกว่าทุกประเทศในกลุ่มอาเซียน - และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก
3
ภาพรวมสถานการณ์พลังงานไทยและแนวโน้มในอนาคต (Thailand Energy Outlook)
มีความเสี่ยงสูงในการต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ - โดยเฉพาะจากประเทศเพื่อนบ้าน - ทั้งก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า นำเข้าก๊าซธรรมชาติเพิ่มจาก 21% ในปัจจุบันเป็น 52% ในปีพ.ศ. 2573 - เริ่มนำเข้าก๊าซธรรมชาติอัดเหลว (LNG) ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป - ในระคับ 5 ล้านตัน/ปี และเพิ่มเป็น 30.2 ล้านตัน/ปี ในปีพ.ศ. 2573 - นำเข้าก๊าซ LPG จาก 1.8 ล้านตัน/ปี เป็น 8 ล้านตัน/ปี ในปีพ.ศ. 2573 - นำเข้าไฟฟ้าจากประเทศพื่อนบ้านเพิ่มจาก 3% เป็น 21% ในปีพ.ศ (สูงกว่า15%ในแผนPDP) - ล่าสุดรมว.พลังงานสั่งการให้ปรับแผนซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่ม - พม่า: จาก 1,500 MW เป็น 10,000 MW - ลาว: จาก 7,000 MW เป็น 10,000 MW - มากกว่าที่กำหนดไว้ในแผน PDP 2010 Rev.3 ที่ให้ซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้าน 6,572 MW - เนื่องจากปรากฏการณ์ NIMBY
4
สถานการณ์พลังงานปี 2555 ประเทศไทยใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 4.7%
ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น 9.2% ถ่านหินนำเข้าเพิ่มขึ้น 14.6% มูลค่าการนำเข้าพลังงานรวม 1.44 ล้านล้านบาท (+16.1%) - เป็นการนำเข้าน้ำมันดิบมากที่สุด 8.6 แสนบาร์เรล/วัน - มูลค่า 1.1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% - ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 114 $/bbl. - เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่ราคาฉลี่ยอยู่ที่ 110 $/bbl.
5
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย
ประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติได้เป็นอันดับที่ 24 ของโลก - คิดเป็นปริมาณเท่ากับ 1.1% ของการผลิตก๊าซทั้งโลก - ในขณะที่สหรัฐฯผลิตได้ 19.3% และรัสเซียผลิตได้ 18.4% แต่เราใช้ก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก และเป็นผู้นำเข้าก๊าซฯเป็นอันดับที่ 21 ของโลก ที่มา: Website ของ EIA-Energy Information Administration, กระทรวงพลังงาน สหรัฐฯ
6
ผลกระทบและความเสี่ยง
รายจ่ายด้านพลังงานของประเทศจะขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการขยายตัวของรายได้ของประเทศ - ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจและการคลังของประเทศอ่อนแอลง - อาจขาดดุลทั้งการค้า/ดุลการชำระเงิน/และขาดดุลงบประมาณในอัตราสูง การพึ่งพาการนำเข้าพลังงานในระดับสูง ทำให้พลังงานมีราคาแพง - ค่าไฟฟ้าฐานอาจขึ้นไปถึง 5-6 บาท/หน่วยในปีพ.ศ. 2573 - จากการนำเข้า LNG และใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า อุคสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศจะขาดแคลนวัตถุดิบในอนาคต - ประมาณ 36 ล้านตัน (ปีพ.ศ ) - สูญเสียรายได้ประมาณ 2 ล้านล้านบาท - ต้องเปลี่ยนจาก Gas Base เป็น Liquid Base - ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง จนอาจต้องย้ายฐานการผลิตหรือเลิกกิจการ - มูลค่าธุรกิจภาคปิโตรเคมีต่อเศรษฐกิจไทยสูงถึง 700,000 ล้านบาทต่อปี - กระทบการส่งออกซึ่งติดอันดับ 3 ของประเทศ และการจ้างงานมากกว่า 3 แสนคน การพึ่งพาพลังงานชนิดเดียวในการผลิตไฟฟ้ามากเกินไป และพึ่งพาการนำเข้าในอัตราที่สูง - ทำให้มีความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง (Black Out) สูงมาก การพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้านในด้านพลังงานมากจนเกินไป - ทำให้ขาดความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายด้านการเมืองระหว่างประเทศ
7
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทย
มีการเก็บภาษีซ้ำซ้อนในอัตราสูงในบางผลิตภัณฑ์ - ภาษีสรรพสามิต/ภาษีเทศบาล/ภาษีมูลค่าเพิ่ม - กองทุนน้ำมันฯ/กองทุนอนุรักษ์พลังงาน - เบนซิน 95/91 เสียภาษี + กองทุน = บาท/ลิตร ( 42-43% ของราคาขายปลีก) - แก๊สโซฮอล 95/91 เสียภาษี + กองทุน = บาท/ลิตร ( 31-35% ของราคาขายปลีก) - ในขณะที่น้ำมันดีเซล เสียภาษี + กองทุน = 4.42 บาท/ลิตร ( 14% ของราคาขายปลีก) โครงสร้างราคาไม่เป็นธรรม - เก็บจากผู้ใช้กลุ่มหนึ่งไปอุดหนุนผู้ใช้อีกกลุ่มหนึ่ง (Cross Subsidization) โครงสร้างราคาไม่ส่งเสริมการใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดการนำเข้า - อุดหนุนราคาพลังงานบางชนิดจนต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง (LPG) โครงสร้างภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลถูกบิดเบือน - ทำให้มีการใช้น้ำมันดีเซลเพิ่มมากขึ้น - ส่งผลเสียต่อภาวะโลกร้อน - ไม่เป็นธรรมต่อผู้ใช้น้ำมันประเภทอื่น
8
รัฐบาลใช้เงินจำนวนมากในการอุดหนุนราคาพลังงาน
ใช้เงินกองทุนน้ำมันปี 55 ประมาณ 48,300 ล้านบาท (108,000 ล้านตั้งแต่ปี 51) - ชดเชยราคานำเข้า LPG จากต่างประเทศ ปีละ ล้านตัน - ที่ราคาตลาดโลก 600-1,200 $/ton (910 $/ton - ก.พ. 56) - ราคาหน้าโรงแยกก๊าซ 333 $/ton - เป็นเงิน 34,600 ล้านบาท - ชดเชยราคาให้โรงกลั่นน้ำมันอีก 13,700 ล้านบาท ใช้เงินภาษีสรรพสามิตอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท - สูญเสียรายได้ที่ควรเป็นงบประมาณเอาไปพัฒนาประเทศปีละ 108,000 ล้านบาท - ตั้งแต่ 21 เม.ย. ’54 รวม 1 ปี 9 เดือน เป็นเงิน 186,000 ล้านบาท - ยังไม่นับเงินกองทุนน้ำมันฯที่เอาไปอุดหนุนราคาไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตรก่อนหน้านี้อีก 23,000 ล้านบาท รวมเป็น 210,000 ล้านบาท รวมเป็นเงินที่ใช้อุดหนุนราคาพลังงานทั้งสิ้น 318,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
9
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน
นโยบายโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ไทยในช่วง 50 ปีผ่านมา - เน้นการพัฒนาระบบคมนาคมทางถนนมากจนเกินไป - ละเลยระบบขนส่งมวลชนที่ขนคนได้ในปริมาณมากๆ สะดวกและรวดเร็ว - ไม่สนับสนุนระบบขนส่งทางราง ปล่อยให้ดำเนินการอย่างไร้ประสิทธิภาพ - ไม่พัฒนาการขนส่งทางน้ำที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า - ไม่ส่งเสริมให้มีการขนส่งระบบท่อที่มีประสิทธิภาพสูง ลดการสูญเสีย และอุบัติเหตุ ส่งผลให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ต่อ GDP ของไทยสูงถึง 15.2% - เพราะมีการขนส่งสินค้าและบริการทางถนนสูงถึง 82.6% - มีการใช้น้ำมันในภาคการขนส่งเป็นสัดส่วนสูงถึง 35% - คิดเป็นเงินถึง 7 แสนล้านบาท/ปี ความสามารถในการแข่งขันลดลงอย่างต่อเนื่อง - โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานล้าหลังประเทศเพื่อนบ้าน - ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพถนน/ระบบราง/ท่าเรือ/ท่าอากาศยาน - ล้วนแต่ล้าหลังสิงคโปร์และมาเลเซียทั้งสิ้น
10
ข้อเสนอเพื่อพิจารณาในการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน
ทบทวนสูตรราคาหน้าโรงกลั่นใหม่เพื่อความเหมาะสม - ระหว่าง import parity/export parity ปรับราคา LPG หน้าโรงกลั่นให้เป็นไปตามราคาในตลาดโลก ปรับโครงสร้างราคา LPG หน้าโรงแยกก๊าซให้เป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริง ยกเลิกการอุดหนุนการนำเข้าก๊าซ LPG ปรับโครงสร้างราคาขายก๊าซ LPG ตามแผนที่กระทรวงพลังงานกำหนด กำหนดสูตรราคาซื้อขายก๊าซระหว่างธุรกิจปิโตรเคมีกับโรงแยกก๊าซให้ชัดเจนและโปร่งใส ลดภาระของกองทุนน้ำมันฯให้พ้นจากการติดลบโดยเร็วที่สุด และรักษาสถานะกองทุนให้เป็นบวกอย่างน้อย 20,000 ล้านบาทตลอดเวลา ปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตน้ำมัน โดยลดการจัดเก็บในส่วนของเบนซิน/แก๊สโซฮอลและเพิ่มในส่วนของน้ำมันดีเซลเพื่อความเป็นธรรมและลดมลภาวะ
11
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาพลังงาน
เร่งปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบโดยรีบด่วนโดยเฉพาะ LPG/ดีเซล - เพื่อลดภาระเงินอุดหนุนของกองทุนน้ำมันฯ - เพิ่มรายได้ให้กับภาครัฐในส่วนของภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล - เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานอย่างประหยัด - ลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 10 ปี (AEDP) อย่างจริงจัง ปฏิบัติการตามแผนอนุรักษ์ 20 ปี (EE) เพื่อลดการใช้พลังงานฟอสซิลลง - หันไปพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในระบบรางที่ใช้ไฟฟ้าแทน - ส่งเสริมให้มีการผลิตและใช้รถยนต์/รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้มากขื้น - โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพปริมณฑล/ในเมืองใหญ่ๆและในเขตเทศบาล เร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามยุทธศาสตร์ Thailand 2020
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.