ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177181)
สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
2
โครงสร้างความรับผิดทางอาญา
เค้าโครงการบรรยาย โครงสร้างความรับผิดทางอาญา การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติหรือไม่ การกระทำมีกฎหมายยกเว้นความผิดหรือไม่ การกระทำมีกฎหมายยกเว้นโทษหรือไม่ มีเหตุลดโทษหรือบรรเทาโทษหรือไม่
3
เค้าโครงการบรรยาย การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมาย บัญญัติหรือไม่
1.1) การกระทำในทางอาญา 1.2) การกระทำครบองค์ประกอบภายนอก 1.3) การกระทำครบองค์ประกอบภายใน 1.4) ผลของการกระทำสัมพันธ์กับการกระทำ
4
การวินิจฉัยความรับผิดทางอาญา
ขั้นที่ 1. การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายกำหนด หรือไม่ ขั้นที่ 2. มีกฎหมายยกเว้นความผิดหรือไม่ ขั้นที่ 3. มีกฎหมายยกเว้นโทษหรือไม่ ขั้นที่ 4. มีเหตุลดโทษ บรรเทาโทษหรือไม่
5
ตัวอย่างกรณีทหารยิงพนักงานยึดรถ
ขั้นที่ 1. การกระทำครบองค์ประกอบตามที่กฎหมายกำหนด 1) มีการกระทำ คือ การยิงปืน 2)ครบองค์ประกอบภายนอก เพราะมีผู้กระทำ การกระทำและผู้ถูกกระทำ 3) ครบองค์ประกอบภายในเพราะการยิงบริเวณจุดสำคัญของร่างกายแสดงว่ามีเจตนาประสงค์ให้ตาย 4) ผล คือ การตายสัมพันธ์กับการกระทำคือการยิง
6
ตัวอย่างกรณีทหารยิงคนตามยึดรถ
ขั้นที่ 2. มีกฎหมายยกเว้นความผิดหรือไม่ 1) อ้างป้องกันได้หรือไม่ 2) มีกฎหมายอื่นยกเว้นความผิดหรือไม่ ขั้นที่ 3. มีกฎหมายยกเว้นโทษหรือไม่ 1) อ้างจำเป็นได้หรือไม่ 2) มีเหตุยกเว้นโทษอื่นหรือไม่
7
ตัวอย่างกรณีทหารยิงคนตามยึดรถ
ขั้นที่ 4. มีเหตุลดโทษหรือบรรเทาโทษหรือไม่ 1) ไม่รู้กฎหมาย 2) วิกลจริต ซึ่งยังสามารถรู้ผิดชอบบ้างหรือบังคับตนเองได้บ้าง สรุปผลทางกฎหมาย :
8
1.2 การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายนอก
องค์ประกอบภายนอกประกอบด้วย ผู้กระทำ การกระทำ วัตถุแห่งการกระทำ
9
คดีข่มขืนศพ Illegal Alien Says Sex With Dead Girl Wasn’t Rape
He claims that a dead body cannot be sexually assaulted because a corpse cannot be forced or coerced into sex. Therefore they claim that the man’s conviction should be overturned. ที่มา : Daily Headline, 24 มกราคม 2559
10
ผู้กระทำ ผู้กระทำ กระทำการด้วยตนเอง การกระทำผิดทางอ้อม
การกระทำผิดทางอ้อมกับการใช้ให้กระทำความผิด
11
ผู้กระทำ กระทำการด้วยตนเอง
เคลื่อนไหวร่างกาย ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย การสั่งให้สัตว์กระทำ สะกดจิตให้ผู้อื่นกระทำ
12
การกระทำความผิดทางอ้อม
หลอกให้ผู้อื่นกระทำความผิด โดยที่ผู้อื่นไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็น อปก. ภายนอกของความผิดนั้น เช่น นายจันทร์หลอกให้นายยอดชายหยิบกระเป๋าสตางค์ของ นางสมศรีมาให้ตนโดยบอกนายยอดชายว่า กระเป๋า ดังกล่าวเป็นของตน
13
การกระทำความผิดทางอ้อม
หลอกให้ผู้อื่นกระทำความผิดโดยที่ผู้ถูกหลอกไม่ต้องรับผิดเพราะมีกฎหมายยกเว้นความผิด เช่น อภิชาตหลอกตำรวจที่มาตามจับสุรชัย ให้จับสุรศักดิ์ซึ่งเป็นฝาแฝดของสุรชัยไป เพราะโกรธเคืองสุรศักดิ์ กรณีดังกล่าวตำรวจต้องรับผิดหรือไม่ อย่างไร
14
การกระทำความผิดทางอ้อม
หลอกให้ผู้อื่นกระทำความผิดโดยประมาท เช่น ผดุงต้องการฆ่าสุรเดช แต่ไม่กล้าลงมือด้วยตัวเองจึงหลอกให้ปื๊ดเอาปืนของตน ซึ่งมีลูกกระสุนอยู่ไปยิงสุรเดช โดยหลอกปื๊ดว่าปืนดังกล่าวไม่มีลูกกระสุนอยู่ ปื๊ดไม่ได้ตรวจสอบให้ดีว่าปืนดังกล่าวมีลูกกระสุนหรือไม่ นำปืนดังกล่าวไปยิงสุรเดช ทำให้สุรเดชถึงแก่ความตาย
15
การกระทำความผิดทางอ้อม
ใช้บุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติกระทำความผิดในฐานความผิดนั้นได้ เช่น เก่งเป็นพนักงานมีหน้าที่จัดทำบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งเป็นเอกสารราชการ ใช้กล้าซึ่งเป็นราษฎรปลอมแปลงเอกสารดังกล่าว
16
การกระทำความผิดทางอ้อม
ผู้ที่บังคับหรือหลอกให้ผู้เสียหายกระทำความผิดต่อผู้เสียหายเอง เช่น คดีหมอดูในคราบโจรฆ่าชิงทรัพย์ พบศพนักศึกษา สาวเสียชีวิตริมถนนโดยไม่ทราบสาเหตุ ก่อนติดตามจนเจอ ตัวมือฆ่าเป็นหมอดู สารภาพผสมยาเบื่อปลาให้ดื่มขณะทำ พิธีสะเดาะเคราะห์หวังเอาทรัพย์ ก่อนหนีกบดาน
17
การกระทำผิดทางอ้อมกับการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด
การใช้ตาม ม. 84 “ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้างวาน หรือยุยงส่งเสริมหรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิด ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ หากความผิดมิได้กระทำลง ผู้ใช้ต้องระวางโทษหนึ่งในสาม”
18
กรณีศึกษา แสวงหลอกให้แสงน้องชายไปรับของจากเพื่อนมาให้ โดยบอกว่าเป็นยาแก้ไขที่บรรจุในหลอด น้องชายไปรับของมาให้โดยไม่รู้ว่าที่บรรจุในหลอดนั้นคือยาบ้า แสวงขอร้องให้แสงน้องชายไปรับของจากเพื่อนมาให้ โดยบอกให้ระวังตัวให้ดียาบ้าชุดนี้ราคาหลายบาท จะเอามาขายเพื่อหาเงินซื้อยามารักษาไม่ที่ป่วย
19
ข้อเหมือนและข้อต่างของผู้กระทำความผิดทางอ้อมกับ ผู้ใช้ให้กระทำความผิด
ผู้กระทำผิดทางอ้อมและผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด ล้วนมี เจตนาในการกระทำความผิด ข้อต่าง ผู้ถูกหลอกในการกระทำความผิดทางอ้อมไม่มีเจตนาในการกระทำความผิด แต่ผู้ถูกใช้ให้กระทำความผิดมีเจตนาในการกระทำความผิด
20
ผลของความแตกต่าง ขั้นตอนใดที่ถือว่าได้มีการลงมือกระทำความผิดแล้ว
ม. 80 “ผู้ใดลงมือกระทำความผิด แต่กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำ ไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด” กรณีการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดถือว่า “ลงมือ” เมื่อผู้ถูกใช้ได้ “ลงมือ” กระทำการตามที่ใช้ในขั้นตอนสุดท้าย กรณีการกระทำความผิดทางอ้อมถือว่า “ลงมือ” เมื่อได้หลอกผู้อื่นสำเร็จแล้ว เพราะถือว่าผู้กระทำผิดได้กระทำการขั้นตอนสุดท้ายแล้ว
21
ผลของความแตกต่าง ตัวอย่างที่ 1 นายจันทร์หลอกให้นายยอดชายหยิบกระเป๋าสตางค์ของนางสมศรีมาให้ตนโดยบอกนายยอดชายว่า กระเป๋าดังกล่าวเป็นของตน กรณีนี้ถือว่ามีการกระทำความผิดเมื่อนายจันทร์หลอกนายยอดชายได้สำเร็จ ตัวอย่างที่ 2 เฉลิมจ้างปื๊ดฆ่าศัตรู กรณีนี้ถือว่าการกระทำ ความผิดเกิดขึ้นเมื่อปื๊ดยกปืนเล็งไปที่ผู้เหยื่อ
22
การกระทำ โดยหลักผู้กระทำต้องรับผิดต่อเมื่อกระทำการโดยเจตนา ม.59
โดยได้ดำเนินการถึงขั้น “ลงมือ” ม.80 ข้อยกเว้นความผิดบางฐาน ที่ต้องรับผิดแม้ยังไม่ถึงขั้น “ลงมือ” เช่น ตระเตรียมวางเพลิง ม. 219 เป็นสมาชิกอั้งยี่หรือซ่องโจร ม.209, 210 เป็นผู้ใช้ตาม ม.84
23
ตัวอย่างความผิดฐานอั้งยี่ซ่องโจร
ศาลฎีกา ออกหมายจับ “กำนันเซี้ย” เบี๊ยวฟังคำพิพากษาคดี เป็นอั้งยี่-ฮั้วประมูลใน จ.กาญจนบุรี พร้อมเลื่อนไปอ่านคำพิพากษาอีกครั้ง 11 มี.ค.นี้ (ม.๒๐๙)
24
วัตถุแห่งการกระทำ คือ สิ่งที่ผู้กระทำมุ่งกระทำต่อ
กฎหมาย อาญา มุ่งป้องกันความสงบเรียบร้อยและป้องกันสิทธิของบุคคลอื่น วัตถุที่มุ่งกระทำต่อจึงเป็นได้ทั้งของปัจเจกบุคคลและของสาธารณะ เช่น ม. 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ม. 219 (4) ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ซึ่งเป็นโรงเรือนอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน
25
การครบ อปก. และ ขาด อปก. ภายนอก
ม. 288 “ผู้ใด ฆ่า ผู้อื่น .....” การครบองค์ประกอบภายนอก คือ มีผู้กระทำ มีการลงมือฆ่า และมีผู้ถูก ฆ่า การขาดองค์ประกอบประกอบภายนอก คือ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งในองค์ประกอบ
26
กรณีศึกษา มาตรา 276 “ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น โดยขู่เข็ญด้วยประการ
ใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถ ขัดขืนได้ หรือทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นบุคคลอื่น” ข่าวหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 20 สิงหาคม 2557 ตำรวจนำตัวชายอเมริกันอดีตสัปเหร่อวัย 60 ปี มาขึ้นศาลหลังเขา รับสารภาพว่าข่มขืนศพหญิงสาวมากว่า 100 ศพ ถ้ากรณีนี้ขึ้นศาลไทยเขาต้องรับผิดตามมาตรา 276 หรือไม่อย่างไร
27
กรณีศึกษาที่ 2 ม. 358 “ผู้ใด ทำให้เสียหาย ทำลายทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย..” สามี ภรรยา มีรถที่ซื้อมาก่อนการแต่งงานคนละ 1 คัน วันหนึ่ง ภรรยานำรถของตนไปขายโดยไม่ได้บอกสามีและขับรถของสามีมา จอดไว้ที่ซึ่งโดยปกติภรรยาจอดประจำและใช้ผ้าคลุมรถไว้ ในวัน ดังกล่าวทั้งคู่ทะเลาะวิวาทกัน อย่างรุนแรง สามีต้องการทำลายรถ ภรรยาจึงนำค้อนมาทุบรถที่จอดอยู่โดยเข้าใจว่าเป็นรถของภรรยา สามีต้องมีความรับ ผิดหรือไม่อย่างไร
28
ความเห็นกรณีขาด อปก. ภายนอก
แนวที่ 1 เห็นว่าเมื่อขาดองค์ประกอบภายนอก ก็ไม่เป็น การกระทำความผิด และไม่เป็นการพยายามกระทำความผิด ตามมาตรา 81 แนวที่ 2 เห็นว่าแม้จะขาดองค์ประกอบภายนอก ก็เป็น ความผิดฐานพยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่าง แน่แท้ตามมาตรา 81
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.