ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ชั่วโมงที่ 32–33 สมบัติบางประการ ของคาร์โบไฮเดรต
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19 ชั่วโมงที่ 32–33 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต
2
สารและสมบัติของสาร ม. 4–6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สารชีวโมเลกุล แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต เวลา 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต 2 ชั่วโมง สาระการเรียนรู้ 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต 1.4 บทบาทและหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
3
พอลิแซ็กคาไรด์แบ่งเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
หน่วยย่อยของพอลิแซ็กคาไรด์แต่ละชนิดคืออะไร เราใช้สมบัติใดเพื่อจำแนกพอลิแซ็กคาไรด์ เป็นชนิดต่าง ๆ 1) ครูคลิกตามลำดับเพื่อทบทวนความรู้เดิม แล้วถามคำถามกับนักเรียนว่า – พอลิแซ็กคาไรด์แบ่งเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง – หน่วยย่อยของพอลิแซ็กคาไรด์แต่ละชนิดคืออะไร – เราใช้สมบัติใดเพื่อจำแนกพอลิแซ็กคาไรด์เป็นชนิดต่าง ๆ 2) ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม เพื่อเชื่อมโยงความรู้ใหม่จากบทเรียนกับ ประสบการณ์เดิมของนักเรียน เมื่อนักเรียนอภิปรายคำถามเสร็จแล้ว ครูสรุปแนวคำตอบ ร่วมกันกับนักเรียน – พอลิแซ็กคาไรด์แบ่งเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง (แนวคำตอบ 3 ชนิด คือ แป้ง เซลลูโลส และไกลโคเจน) – หน่วยย่อยของพอลิแซ็กคาไรด์แต่ละชนิดคืออะไร (แนวคำตอบ กลูโคส) – เราใช้สมบัติใดเพื่อจำแนกพอลิแซ็กคาไรด์เป็นชนิดต่าง ๆ (แนวคำตอบ โครงสร้างโมเลกุล และการย่อยสลายในร่างกาย) ครูใช้เวลาในการนำเข้าสู่บทเรียนประมาณ 5 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม)
4
มีหน่วยย่อยเหมือนกัน
1. คาร์โบไฮเดรต แป้ง (starch) เซลลูโลส (cellulose) ไกลโคเจน (glycogen) มีโครงสร้างโมเลกุลต่างกัน 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนว่า พอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ แป้ง (starch) เซลลูโลส (cellulose) และไกลโคเจน (glycogen) โดยทั้ง 3 ชนิดมีหน่วยย่อย คือ กลูโคส เหมือนกัน แต่มีโครงสร้างโมเลกุลที่ต่างกัน ครูใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประมาณ 65 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม) มีหน่วยย่อยเหมือนกัน ( กลูโคส )n
5
นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้
1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตแต่ละชนิด มีสมบัติที่แตกต่างกันอย่างไร นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้ 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูคลิกตามลำดับ แล้วถามนักเรียนว่า คาร์โบไฮเดรตแต่ละชนิดมีสมบัติที่แตกต่างกันอย่างไร ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง จากนั้นครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มแล้วร่วมกันค้นหาคำตอบ เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่การปฏิบัติกิจกรรม 2) นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 23 ทดลองสมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต ในแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช จำกัด
6
1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต กิจกรรมที่ 23 ทดลองสมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต ขั้นตอนการทดลอง ปัญหา คาร์โบไฮเดรตแต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกันหรือไม่ กำหนดสมมุติฐาน คาร์โบไฮเดรตแต่ละประเภทน่าจะมีสมบัติแตกต่างกัน 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูให้นักเรียนร่วมกันตั้งคำถามเพื่อกำหนดปัญหาก่อนปฏิบัติกิจกรรม โดยครูช่วยสรุป การตั้งคำถามของนักเรียน แล้วร่วมกันกำหนดเป็นปัญหาที่สอดคล้องกับการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงปัญหาของกิจกรรม 3) ครูให้นักเรียนร่วมกันกำหนดสมมุติฐานก่อนปฏิบัติกิจกรรม โดยครูช่วยสรุปการกำหนด สมมุติฐานของนักเรียน เพื่อใช้เป็นสมมุติฐานของการทดลองที่สอดคล้องกับการปฏิบัติกิจกรรม 4) ครูคลิกเพื่อแสดงกำหนดสมมุติฐานการทดลอง
7
1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต อุปกรณ์ 1. น้ำตาลกลูโคส กรัม 9. กระดาษลิตมัสสีน้ำเงิน 2. แป้งมัน กรัม และสีแดงอย่างละ แผ่น 3. น้ำกลั่น ลบ.ซม สำลีขนาดแท่งชอล์ก ยาว 1 ซม. 1 ชิ้น 4. สารละลายไอโอดีน ลบ.ซม หลอดหยด หลอด 5. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ หลอดทดลองขนาดกลาง หลอด เข้มข้น 6 โมลต่อลิตร ลบ.ซม บีกเกอร์ขนาด 250 ลบ.ซม ใบ 6. น้ำตาลซูโครส กรัม ไม้ขีดไฟ กล่อง 7. สารละลายเบเนดิกต์ ลบ.ซม กระบอกตวง ขนาด 10 ลบ.ซม. 1 ใบ 8. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อม เข้มข้น 6 โมล/ลิตร ลบ.ซม ที่กั้นลมและตะแกรงลวด ชุด 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต ครูคลิกเพื่อแสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม
8
1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต ขั้นตอน ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลซูโครส แป้งมัน สำลี 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูอธิบายวิธีการเตรียมสารก่อนการปฏิบัติกิจกรรม คือ สารละลายไอโอดีน (ครูดูวิธีการเตรียมสารจากหมายเหตุ ในแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด) 1. สังเกตลักษณะภายนอกของน้ำตาลกลูโคส น้ำตาลซูโครส แป้งมัน และสำลี แล้วบันทึกผล 2. ใส่น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลซูโครส แป้งมัน และสำลีลงในหลอดทดลองขนาดกลาง 4 หลอด หลอดละ 0.5 กรัม แล้วเติมน้ำกลั่นลงไปหลอดละประมาณ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร เขย่าหลอดทดลองแต่ละหลอดเบา ๆ สังเกตและบันทึกผลการเปลี่ยนแปลง
9
1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลซูโครส แป้งมัน สำลี สารละลายเบเนดิกต์ 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูให้นักเรียนควบคุมการหยดสารละลายเบเนดิกต์ด้วยหลอดหยด โดยครูอธิบายว่าควรหยด แต่ละครั้งในปริมาณที่เท่ากัน และระวังไม่ให้สารละลายเบเนดิกต์หยดข้างหลอดทดลอง เพื่อให้ผลการทดลองถูกต้องมากที่สุด 3. หยดสารละลายเบเนดิกต์ลงในหลอดทดลองทั้ง 4 หลอด หลอดละ 5 หยด สังเกต และบันทึกผลการเปลี่ยนแปลง
10
1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต น้ำเดือด 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 4. ใส่น้ำกลั่นลงไปในบีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ประมาณ 125 ลูกบาศก์เซนติเมตร ต้มให้เดือด แล้วนำหลอดทดลองในข้อ 3 แช่ลงไปในน้ำเดือดประมาณ 2 นาที สังเกตและบันทึกผลการเปลี่ยนแปลง
11
1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลซูโครส แป้งมัน สำลี สารละลายไอโอดีน 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 5. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 2 แล้วหยดสารละลายไอโอดีนลงในแต่ละหลอด หลอดละประมาณ 3 หยด เขย่าให้สารในหลอดผสมเข้าด้วยกัน สังเกตและบันทึกผลการเปลี่ยนแปลง
12
1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลซูโครส แป้งมัน สำลี สารละลาย กรดไฮโดรคลอริก 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 6. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 2 เติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริกลงไปหลอดละ 1 ลูกบาศก์-เซนติเมตร นำไปต้มในน้ำเดือดประมาณ 15 นาที ทิ้งให้เย็น ทำให้เป็นกลางโดยการหยดสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงไปในหลอดทดลองทีละหยด และทดสอบความเป็นกลางด้วยกระดาษลิตมัส
13
1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต ทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์ ทดสอบกับสารละลายไอโอดีน 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและเปิด โอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา 7. แบ่งสารละลายทั้ง 4 หลอด จากข้อ 6 ออกเป็นหลอดละ 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ส่วนที่ 1 ทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์ และส่วนที่ 2 ทดสอบกับสารละลายไอโอดีน สังเกตและบันทึกผล การเปลี่ยนแปลง
14
1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต บันทึกผล ชนิดของคาร์โบไฮเดรต ลักษณะภายนอก ที่สังเกตได้ การละลาย น้ำ ผลการทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์ ผลการทดสอบกับสารละลายไอโอดีน ก่อนต้ม หลังต้ม หลังเติมกรดไฮโดรคลอริก ก่อนเติมกรดไฮโดรคลอริก น้ำตาล กลูโคส ซูโครส แป้งมัน สำลี ผลึกสีขาว สารละลาย สีฟ้า เปลี่ยนเป็นสี เขียว เหลือง และตะกอนสี ส้มแดง ตามลำดับ ไม่มีการ เปลี่ยนแปลง ผลึกสีขาว สารละลาย สีฟ้า เปลี่ยนแปลง เหมือนกลูโคส แต่ช้ากว่า ไม่มีการ 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต 1) เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จ ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตารางบันทึกผล 3) ครูคลิกเพื่อแสดงแนวคำตอบของการปฏิบัติกิจกรรม ผงสีขาว สารละลาย สีฟ้า เปลี่ยนแปลง เหมือนกลูโคส มีสีน้ำเงินเข้มหรือสีม่วงดำเกิดขึ้น ไม่มีการ เส้นใย สีขาว สารละลาย สีฟ้า ไม่มีการ เปลี่ยนแปลง
15
1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต สรุป 1) จากการทดสอบสมบัติการละลายน้ำของคาร์โบไฮเดรตทั้ง 4 ชนิด พบว่า มีสมบัติแตกต่างกัน คือ น้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลซูโครสมีสมบัติละลายน้ำได้ดี ส่วนแป้งมันและสำลีไม่ละลายน้ำ 2) เมื่อทดสอบคาร์โบไฮเดรตทั้ง 4 ชนิดกับสารละลายเบเนดิกต์พบว่า น้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลซูโครส ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ได้ คือ เมื่อนำไปต้มสารละลายเบเนดิกต์จะเปลี่ยนสีจากสารละลายสีฟ้าเป็นสารละลายสีเขียว สีเหลือง และสีส้ม หรือตะกอนสีส้มแดงตามลำดับ โดยน้ำตาลซูโครสทำปฏิกิริยาได้ช้ากว่าน้ำตาลกลูโคส เพราะเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ ต้องย่อยสลายให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อนจึงจะเกิดปฏิกิริยา ส่วนแป้งมันและสำลีจะไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ ต้องนำไปต้มกับกรดไฮโดร- คลอริก เพื่อให้ได้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อน 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต 1) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงสรุปผลของกิจกรรมตามลำดับ 3) เมื่อทดสอบคาร์โบไฮเดรตทั้ง 4 ชนิดกับสารละลายไอโอดีน พบว่าน้ำแป้งที่ไม่นำไปต้มกับกรดไฮโดรคลอริกเท่านั้นที่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีนได้ คือเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีนเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือสีม่วงดำ นอกนั้นไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน
16
1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต ค้นหาคำตอบ 1. น้ำตาลกลูโคสเหมือนหรือแตกต่างจากน้ำตาลซูโครสในเรื่องใด น้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลซูโครสเป็นคาร์โบไฮเดรตเหมือนกัน แต่น้ำตาลกลูโคสเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทมอโนแซ็กคาไรด์ ส่วนน้ำตาลซูโครสเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทไดแซ็กคาไรด์ 2. การทดลองนี้ใช้สารใดในการปรับสารละลายที่ทดสอบให้เป็นกลาง สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 3. ก่อนเติมกรดไฮโดรคลอริก น้ำตาลซูโครสสามารถเปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์ ได้หรือไม่ เพราะอะไร 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายซักถามและแสดงความคิดเห็นผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถามจากกรอบค้นหาคำตอบท้ายกิจกรรม ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) น้ำตาลซูโครสสามารถเปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์ได้เป็นสีเขียว สีเหลือง และตะกอนสีส้มแดงแต่ช้ากว่ากลูโคส เพราะน้ำตาลซูโครสเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ ต้องย่อยสลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อน
17
1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต ค้นหาคำตอบ 4. ก่อนเติมกรดไฮโดรคลอริก แป้งมันและสำลีสามารถทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน ได้หรือไม่ ลักษณะใด ก่อนเติมกรดไฮโดรคลอริกแป้งมันจะเปลี่ยนสารละลายไอโอดีนเป็นตะกอนสีน้ำเงินเข้มหรือม่วงดำได้ ส่วนสำลีไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน 5. ลักษณะภายนอกของน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลซูโครสเหมือนหรือแตกต่างกัน นักเรียนจะมีวิธีการทดสอบเพื่อแยกความแตกต่างได้อย่างไร 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) น้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลซูโครสมีลักษณะภายนอกเป็นผลึกสีขาวเหมือนกัน สามารถแยกความแตกต่างของน้ำตาลทั้ง 2 ชนิดได้จากเวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ โดยน้ำตาลซูโครสจะเกิดปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ได้ช้ากว่าน้ำตาลกลูโคส
18
1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต ค้นหาคำตอบ 6. ผลสรุปของการทดลองนี้คืออะไร 1) น้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลซูโครสมีสมบัติสามารถละลายในน้ำได้ดี ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ได้ สามารถเปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์ จากสีฟ้าเป็นสีเขียว สีเหลือง สีส้ม และตะกอนสีส้มแดงได้ โดยน้ำตาลซูโครส จะเกิดปฏิกิริยาได้ช้ากว่า เพราะเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ 2) แป้งมันและสำลีมีสมบัติไม่ละลายน้ำ ไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ แต่หลังต้มกับกรดไฮโดรคลอริกแล้ว แป้งมันจะเปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์ได้ และเมื่อนำไปทดสอบกับสารละลายไอโอดีน พบว่าน้ำแป้งที่ไม่นำไปต้มกับ กรดไฮโดรคลอริกเท่านั้นที่เกิดปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน 1. คาร์โบไฮเดรต 1.3 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยตามลำดับ)
19
1.4 บทบาทและหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรต 1.4 บทบาทและหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต ช่วยเผาผลาญไขมัน ให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ให้พลังงานแก่ร่างกาย 1 กรัม = 4 กิโลแคลอรี ช่วยประหยัดการ ใช้โปรตีนในร่างกาย บทบาทและหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงาน สำรองของร่างกาย ช่วยในการทำงาน ของลำไส้ และการขับถ่าย 1. คาร์โบไฮเดรต 1.4 บทบาทและหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต ครูขยายความรู้โดยคลิกตามลำดับ เพื่อแสดงบทบาทและหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต พร้อมอธิบาย ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม.4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ช่วยทำลายพิษของสาร บางชนิดที่เข้าสู่ร่างกาย ช่วยรักษาภาวะน้ำตาล ในเลือดให้เป็นปกติ
20
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง เรามาตรวจสอบความเข้าใจกัน
1. คาร์โบไฮเดรตแต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกันหรือไม่ เพราะเหตุใด แตกต่างกัน เพราะลักษณะการรวมตัวหรือโครงสร้างของโมเลกุลต่างกัน 2. นักเรียนมีวิธีการทดสอบเพื่อแยกคาร์โบไฮเดรตประเภทมอโนแซ็กคาไรด์ และพอลิแซ็กคาไรด์ได้ด้วยวิธีใด การใช้สารละลายเบเนดิกต์ โดยสารละลายเบเนดิกต์จะเปลี่ยนสีเมื่อหยดลงในมอโนแซ็กคาไรด์ เท่านั้น 1) ครูถามนักเรียนว่าในหัวข้อนี้มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจ ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติม 2) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถาม ให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและคำตอบทีละข้อ)
21
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
1. พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ แล้วลงความคิดเห็นข้อมูลว่าสารใดเป็นคาร์โบไฮเดรต และทราบได้จากอะไร สาร สูตรโมเลกุล สมบัติ A C2H4O ไม่มีรสหวาน สถานะเป็นของเหลว B C6H12O6 มีรสหวาน ลักษณะเป็นผลึก C (C6H10O5)n ไม่มีรสหวาน ไม่ละลายน้ำ เป็นผงสีขาว 1) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถามจากกิจกรรมประจำหน่วย ใน หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน แล้วให้นักเรียน ช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยตามลำดับ) สาร B และ C เพราะมีสูตรโมเลกุลพื้นฐาน คือ Cx(H2O)y และมีสมบัติของคาร์โบไฮเดรต
22
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
2. ให้นักเรียนลงความคิดเห็นข้อมูลเกี่ยวกับคำกล่าวที่ว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของเอทิลแอลกอฮอล์มีทั้งประโยชน์และโทษต่อร่างกาย แนวคำตอบ การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของเอทิลแอลกอฮอล์ในปริมาณเล็กน้อยมีความเชื่อว่า อาจลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้และช่วยให้เจริญอาหาร แต่ถ้าดื่มในปริมาณมากจะเสียสุขภาพ สมองและตับจะถูกทำลาย หรือเกิดอุบัติเหตุได้ ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน แล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยตามลำดับ)
23
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารและดูแลตนเองอย่างไร ลดการรับประทานอาหารจำพวกแป้ง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันแล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยตามลำดับ)
24
สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต
สรุป แป้ง เซลลูโลส ไกลโคเจน เรียนรู้เกี่ยวกับ ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์หลังเติม HCl ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีนก่อนเติม HCl สมบัติ เช่น ไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ และสารละลายไอโอดีน สมบัติ เช่น ไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ และสารละลายไอโอดีน สมบัติ เช่น ให้พลังงาน รักษาภาวะน้ำตาลในเลือดให้คงที่ หน้าที่ เช่น ช่วยในการทำงานของลำไส้ หน้าที่ เช่น ประหยัดการใช้โปรตีนในร่างกาย เป็นพลังงานสำรองของร่างกาย หน้าที่ เช่น 1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต โดยครูให้นักเรียน แต่ละคนเขียนสรุปเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ทีละขั้น พร้อมสรุปทีละประเด็น 3) ครูอาจให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม โดยดูจากคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ครูใช้เวลาในการสรุปประมาณ 10 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.