ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า
บทที่ 5 การจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา Logistics
2
ความหมายของการจัดการคลังสินค้า
(Introduction to Warehouse Management) คลังสินค้า หมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้าระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ 2. สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่ การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) เป็นการจัดการในการรับการจัดเก็บ หมายถึง การจัดส่งสินค้าให้ผู้รับเพื่อกิจกรรมการขาย เป้าหมายหลักในการบริหาร ดำเนินธุรกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าก็เพื่อให้เกิดการดำเนินการเป็นระบบให้คุ้มกับการลงทุน การควบคุมคุณภาพของการเก็บ การหยิบสินค้า การป้องกัน ลดการสูญเสียจากการดำเนินงานเพื่อให้ต้นทุนการดำเนินงานต่ำที่สุด และการใช้ประโยชน์เต็มที่จากพื้นที่
3
คลังสินค้า Warehouse ตามความหมายของโลจิสติกส์
สถานที่ใช้ในการเก็บรักษาสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดี และคุณสมบัติที่พร้อมจะส่งมอบให้กับบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยบรรลุเป้าหมายแบบ Right Time , Right Quality , Right Quantities , Right Place ภาระกิจที่สำคัญคลังสินค้าจึงทำหน้าที่เป็น “ที่พักและเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบหรือวัสดุสิ่งของต่างๆ โดยเป็นสถานที่ซึ่งใช้ในการพักสินค้าชั่วคราวจนกว่าจะมีการเคลื่อนย้ายไปสู่ผู้ที่มีความต้องการไม่ว่าจะเพื่อการผลิตหรือเพื่อจำหน่ายจ่ายแจก หรือขาย หรือส่งมอบ”
4
สาเหตุที่ต้องมีสินค้าคงคลัง
- ช่วยประหยัดค่าขนส่ง และต้นทุนการผลิต จากส่วนลดเพื่อซื้อสินค้นจำนวนมาก - สร้างความสมดุลระหว่างผู้ใช้วัตถุดิบและผู้ขาย - ช่วยป้องกันสินค้าขาดแคลน - ช่วยสนับสนุนนโยบายการให้บริการลูกค้าของกิจการ - ช่วยให้เกิดความพร้อมที่จะเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของตลาด
5
หน้าที่ของระบบคลังสินค้า หน้าที่การจัดเก็บของคลังสินค้า
Receiving หน้าที่ในการรับสินค้า(Storage &Responsibility) หน้าที่ในการควบคุมและรับผิดชอบต่อสินค้า ที่จัดเก็บอยู่ในคลัง Send & Distribution หน้าที่ในการส่งมอบจ่ายแจกสินค้า Liability หน้าที่ความรับผิดชอบทางกฎหมายในการชดใช้ความเสียหาย การเก็บรักษา ศูนย์รวมของสินค้าจากที่ต่างๆ การกระจายสินค้าจากโรงงานใหญ่ ศูนย์กระจายสินค้า
6
รูปแบบคลังสินค้า คลังสินค้าของบริษัทเป็นคลังสินค้าที่บริษัทตั้งขึ้นมาเอง เช่าพื้นที่คลังสินค้า เช่าพื้นที่จากบริษัทจดทะเบียนเป็นบริษัทคลังสินค้า ทำสัญญาเช่าระยะยาว เช่าจากผู้ดำเนินกิจการคลังสินค้าระยะยาวเป็นปี การเก็บรักษาระหว่างเดินทาง ตู้คอนเทรนเนอร์
7
ชนิดคลังสินค้า คลังสินค้าเฉพาะ (Commodities Warehouse) เป็นคลังสินค้าที่จัดขึ้นมาเพื่อเก็บสินค้าเฉพาะอย่าง เช่น คลังสินค้าเก็บข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวโพด มันสำปะหลัง ถั่งเหลือง เป็นต้น คลังสินค้าประเภทนี้ควรมีระบบการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และป้องกันเรื่องแมลงต่าง ๆ คลังสินค้าสำหรับจัดเก็บสินค้าประเภทของเหลว (Bulk Storage Warehouse) เป็นคลังสินค้าที่สร้างขึ้นมาในลักษณะพิเศษแตกต่างจากคลังสินค้าทั่ว ๆ ไป ใช้สำหรับจัดเก็บสินค้าประเภทของเหลวประเภท เช่นน้ำ น้ำมัน ลักษณะเป็นภาชนะสำหรับใช้บรรจุของเหลว เช่น แท้งน้ำมัน
8
ชนิดคลังสินค้า คลังสินค้าห้องเย็นและไซโล (Cold Storage Warehouse) เป็นคลังสินค้าที่สร้างขึ้นในลักษณะพิเศษ แต่เป็นคลังสินค้าที่ออกแบบเพื่อจัดเก็บสินค้าที่มีอุณหภูมิต่ำ ใช้สำหรับการจัดเก็บสินค้าที่เน่าเสียหายง่ายได้ เช่น ผัก ผลไม้ อาหารสดหรืออาหารทะเล ดังนี้ในคลังสินค้านี้ จึงจะต้องถูกปรับอุณหภูมิให้อยู่ในระดับพอเหมาะ สำหรับการจัดเก็บสินค้าแต่ละชนิด คลังสินค้าทั่วไป (General Merchandise Warehouse) เป็นคลังสินค้าใช้เก็บสินค้าธรรมดาหลาย ๆ ประเภท เป็นคลังสินค้าธรรมดาไม่มีระบบการควบคุมอุณหภูมิ หรือระบบการควบคุมความชื้น และไม่รับฝากสินค้าที่จำเป็นต้องมีการดูแลรักษาเป็นพิเศษ
9
ชนิดคลังสินค้า คลังสินค้าเครื่องใช้ประจำบ้าน จัดเก็บและบริการเครื่องมือประจำบ้าน ไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษ บริษัทขายเครื่องเรือนใช้คลังสินค้าชนิดนี้ คลังสินค้าทัณฑ์บน เป็นคลังสินค้าเก็บสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่ยังไม่เสียภาษีอากรขาเข้า นำมาเพื่อปรับสภาพสินค้า และต้องนำส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศใหม่
10
ประโยชน์ของคลังสินค้า
Price Security เครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพของระดับราคาสินค้า ทำหน้าที่เป็นแหล่งสินเชื่อ และทำหน้าที่เป็นสถานที่เก็บสินค้าเพื่อประโยชน์ด้านการตลาด Demand Buffer สามารถรองรับอุปทานของสินค้าที่เข้าสู่ตลาดในช่วงหลังการเก็บเกี่ยว และสามารถระบายสินค้าออกให้เพียงพอกับความต้องการได้ในช่วงที่ขาดแคลน หรือเมื่อราคาดีขึ้น Price Control การควบคุมปริมาณสินค้าในคลังสินค้า ให้สอดคล้องกับราคาสินค้าในตลาดต่างประเทศ เป็นการรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตร โดยใช้คลังสินค้าเป็นเครื่องมืออย่างเพียงพอ
11
ประโยชน์ของคลังสินค้า
Goods Reserve คลังสินค้าไซโลและห้องเย็นนี้เอง อาจถูกใช้ให้เป็นประโยชน์เพื่อเป็นแหล่งสำรองสินค้า ขยายเงินทุนและพัฒนาระบบการตลาดการค้า Logistics Activity คลังสินค้าเป็นห่วงเชื่อมที่สำคัญในสายโซ่ (Supply Chain) ของการกระจายสินค้าจากผู้ผลิต ไปยังผู้บริโภค Speculate คลังสินค้าทำหน้าที่รักษาสมดุลระหว่างการบริโภค ซึ่งมีอัตราความต้องการไม่สม่ำเสมอ และคาดการณ์ล่วงหน้าได้ยาก
12
สินค้าคงคลังที่อยู่ในระบบหมุนเวียนการจัดส่ง เป็นสินค้าในระบบคงคลัง
ที่มีไว้เพื่อการบริการส่งให้ลูกค้าในระบบการขายและการสั่งซื้อในสถานการณ์ปกติ สินค้าคงคลังที่อยู่ระหว่างการผลิต ประกอบด้วยวัตถุดิบสินค้ากึ่งสำเร็จรูป สินค้าระหว่างเดินทางจัดส่ง สินค้าคงคลังสำรองหรือสินค้าในบริภัณฑ์กันชนของทางราชการ เป็นปริมาณสินค้าที่มีไว้ป้องกันความขาดแคลนในสถานการณ์ที่ไม่คาดหวัง สินค้าตามฤดูกาล เป็นสินค้าที่มีไว้ล่วงหน้าเพื่อการบริการลูกค้าที่ต้องการ สินค้าคงคลังเพื่อการส่งเสริมการขาย เป็นสินค้าที่เตรียมไว้เพื่อส่งให้ร้านค้าตามแผนการส่งเสริมการขายที่ฝ่ายการตลาดกำหนดที่คาดว่ามีการจำหน่ายได้มากกว่าในสถานการณ์ปกติ สินค้าคงคลังเพื่อการเสี่ยงการขาดตลาดและการขึ้นราคา สินค้าคงคลังที่หมดความนิยมและขายไม่ได้แล้วและต้องผลิตน้อยลงให้เพียงพอกับความต้องการตลาดที่ค่อยๆลดลง
13
การลงทุนสร้างคลังสินค้าไว้ใช้เอง
คลังสินค้าของบริษัทมีตั้งแต่เล็กสุดไปจนถึงคลังขนาดใหญ่เป็นหลายไร่ คลังสินค้าคล่องตัวและถูกกว่าเช่า ควบคุมง่ายมีประสิทธิภาพในการใช้งานสูงและให้บริการได้คล่องตัวกรณีทำงานล่วงเวลา มีความจำเป็นในบางบริษัทที่ต้องมีคลังสินค้าของบริษัทเอง สร้างในที่ดินของตัวเองทำให้เกิดทรัพย์สินเพิ่มขึ้นและสามารถปรับเปลี่ยนนำไปใช้ในงานอื่นๆได้
14
คลังสินค้าเช่า ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุน
ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าถ้าใช้คลังสินค้าที่ไม่มากนัก มีความคล่องตัวในการเลือกตำแหน่งที่ตั้ง ถ้าตลาดและลูกค้าเปลี่ยนแปลงสามารถย้ายคลังสินค้าไปเช่าที่ใหม่ได้ตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด
15
บริการคลังสินค้า จัดส่ง จัดเก็บ กระจายสินค้า บริการรายชิ้นหรือตามน้ำหนัก จัดเก็บ พักสินค้าระหว่างการเดินทาง เป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน เป็นคลังสินค้าห้องเย็น ให้เช่าคลังสินค้าตามขนาดเป็นตารางเมตร ให้เช่าสำนักงาน ที่แสดงสินค้า บริการด้านงานเลขา คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ บริการข้อมูลการขนส่ง บริการจัดส่งและการเช่ารถขนส่ง
16
บริการคลังสินค้า บริการทำหีบห่อและรวมสินค้าเข้าหีบห่อ
บริการทำรมยาเคมีฆ่าเชื้อพืชไร่ เป็นจุดนำสินค้าขึ้นรถบรรทุกและลงของจากรถ ซ่อมสินค้า ชักตัวอย่าง ชั่งน้ำหนักและตรวจสอบ รับจัดส่งระยะทางไกลและใกล้ รับจำนองสินค้า รับฝากพืชไร่เก็บไว้ในคลังสินค้าแล้วบรรจุกระสอบและรับฝาก จัดเก็บและรับฝากสินค้าที่บรรจุในคอนเทนเนอร์
17
เทคนิคและหน้าที่พิเศษของคลังสินค้า
ส่งของแบบข้ามท่า(การส่งสินค้าผ่านคลัง (Cross docking) ) คลังสินค้าใหญ่ๆ มีท่าสำหรับรับสินค้าด้านหนึ่งและท่าสำหรับส่งสินค้าอีกด้านหนึ่ง เมื่อนำสินค้ามาส่งคลังสินค้าจะเก็บของไว้ และส่งให้ลูกค้าเมื่อลูกค้าต้องการ สำหรับส่งของแบบข้ามท่าศูนย์รับฝากและกระจายสินค้าจะรับสินค้าจากโรงงานได้จัดให้นำส่งสินค้าเข้าและคัดสินค้าให้บริษัทผู้รับ ติดฉลากป้ายส่งออก มีชื่อลูกค้าผู้รับของ ปัจจุบันใช้รหัสสากล(Bar Codes) และมีการส่งออกทันทีโดยไม่ต้องมีการขนย้ายเข้าจัดเก็บในคลังสินค้า เป็นการส่งสินค้าผ่านระหว่างจุดที่รับสินค้าเข้าและจุดที่ส่งสินค้าออก โดยไม่ต้องนำสินค้าเข้าไปเก็บในคลังสินค้า การส่งสินค้าผ่านคลังใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ค้าปลีก ซึ่งเป็นการรวบรวมผลิตภัณฑ์จากผู้ค้าส่งหลายรายเข้าด้วยกันเพื่อจัดส่งให้กับร้านค้าย่อยต่อไป โดยทั่วไปนิยมใช้ในการดำเนินงาน เนื่องจากผลกระทบต่อต้นทุนและการให้บริการลูกค้า ตัวอย่างเช่น ประมาณ 75% ของการกระจายสินค้าประเภทอาหารจะใช้การส่งสินค้าผ่านคลัง โดยที่เมื่อรับสินค้าจากซัพพลายเออร์แล้วจะเตรียมส่งต่อไปร้านค้าปลีกทันที โดยไม่ต้องมีการนำสินค้าเข้าเก็บในคลังแต่อย่างใด การส่งผ่านคลังจะช่วยลดเวลาและต้นทุนในการนำสินค้าเข้าเก็บในคลัง และทำให้ระดับการให้บริการลูกค้าสูงขึ้น
18
เทคนิคและหน้าที่พิเศษของคลังสินค้า
คลังสินค้าจัดเก็บแบบสุ่ม นำระบบอ่านข้อมูลอัตโนมัติ (Automatic Identification System : AISs) ส่วนใหญ่ใช้รหัสสากลมาใช้กับระบบข้อมูลสมองกลที่มีประสิทธิภาพสามารถค้นหาและรู้ว่าสินค้าแต่ละชนิดที่นำเข้าเก็บในคลังสินค้ามีจำนวนเท่าไรเก็บไว้ในตำแหน่งใดของคลังสินค้าสามารถดึงมาใช้งานได้ทันที ในการจัดเก็บโดยกำหนดข้อมูล คลังสินค้าบริการตามสั่ง บริการตามคำขอของลูกค้า รับประกอบคอมพิวเตอร์ หรือเปลี่ยนอะไหล่และใส่โปรมแกรม แล้วปิดป้ายชื่อลูกค้าพร้อมส่งให้ลูกค้าเป็นรายบุคคล รับทำสำหรับรายการพิเศษ
19
การบริหารจัดการคลัง มีองค์ประกอบที่สำคัญ
ทำเลที่ตั้งของคลังสินค้า (Location Design) การออกแบบโครงสร้างคลังสินค้า (Construction Design) การออกแบบการใช้งาน (Utility Design) สิ่งจำเป็นและอำนวยความสะดวก (Warehouse Facilities) การเตรียมการเกี่ยวกับบุคลากร (Warehouse Personal) การวางผังตารางกำหนดพื้นที่ใช้สอยในคลังสินค้า yalada
20
การส่งมอบแบบกันบัง (Kanban Method)
Kanban Philosophy เป็นแนวคิดด้านปรัชญาในการผลิตต่อเมื่อมีคำสั่งซื้อและมีการกำหนดระยะเวลาส่งมอบเข้าไปสายการผลิต โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านเข้าไปเก็บในคลังสินค้า ระบบของ Kanban จึงไม่มีทั้งวัตถุดิบคงคลังและสินค้าคงคลัง yalada
21
การจัดการสินค้าคงคลังด้วยวิธีลีน
(Lean pull Method) แนวคิดด้านการจัดการเกี่ยวกับการลดสินค้าคงคลังแบบลีน ได้ถูกนำมาใช้ในการดำเนินการธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งเน้นการแข่งขันและเพิ่มขีดความสามารถ แนวคิดแบบลีนจะสอดคล้องกับภารกิจของโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่เป็นเลิศ (Logistics & Supply Chain) โดยการผลิตแบบลีน มุ่งที่การลดสต๊อกหรือ Inventory โดยการผลิตต่อเมื่อลูกค้ามีคำสั่งซื้อ yalada
22
ปัจจัยสนับสนุนกระบวนการลีนจิสติกส์ (Lean Logistic) (ต่อ)
โลจิสติกส์แบบลีน (Lean Logistics) ปัจจัยสนับสนุนกระบวนการลีนจิสติกส์ (Lean Logistic) (ต่อ) 1. การขนส่งและความถี่เพื่อการส่งมอบ เนื่องจากค่าใช้จ่ายการขนส่งเป็นตัวแปรสำคัญในเกือบทุกธุรกิจโดยเฉพาะการขนส่งขาเข้า (Inbound Transportation) ดังนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษเกี่ยวกับการขนส่งขาเข้า ได้แก่ กำหนดให้ผู้ส่งมอบเพิ่มความถี่ในการส่งมอบ ลดการโอนถ่ายของระหว่างโรงงาน การหลีกเลี่ยงเส้นทางหรือช่องทางการกระจายที่ซ้ำซ้อนและไร้ประสิทธิภาพ การมุ่งใช้อุปกรณ์สนับสนุนการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์ (Asset Utilization) สูงสุด yalada
23
ปัจจัยสนับสนุนกระบวนการลีนจิสติกส์ (Lean Logistic) (ต่อ)
โลจิสติกส์แบบลีน (Lean Logistics) ปัจจัยสนับสนุนกระบวนการลีนจิสติกส์ (Lean Logistic) (ต่อ) 2. กำหนดขนาดรุ่นสั่งซื้ออย่างเหมาะสม หลักการ Lean Logistic ได้มุงเน้นแนวคิด “Total Cost” เกี่ยวกับการจัดหาจัดซื้ออย่างเหมาะสมที่สุด นอกจากจะลดรุ่นการจัดซื้อแล้ว ยังลดการจัดเก็บสต็อกเผื่อในปริมาณมาก ขจัดต้นทุนความสูญเปล่าออกจากระบบ yalada
24
ปัจจัยสนับสนุนกระบวนการลีนจิสติกส์ (Lean Logistic) (ต่อ)
โลจิสติกส์แบบลีน (Lean Logistics) ปัจจัยสนับสนุนกระบวนการลีนจิสติกส์ (Lean Logistic) (ต่อ) 3. การบรรจุหีบห่อ การบรรจุหีบห่อเป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนให้เกิดกระบวนการไหลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการกำหนดเส้นทางการขนส่งเข้าอย่างเหมาะสมที่สุด โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับการหีบห่อ เช่น จำนวนหน่วยต่อขนาดรุ่นหีบห่อ (Part Per Lot Size) จำนวนหีบห่อต่อพาเลต (Number of Lot Per Pallet) และประเภทวัสดุหีบห่อที่ใช้ป้องกันความชำรุด โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมากำหนดขนาดภาระหีบห่อแต่ละรุ่น เส้นทางการจัดส่ง อุปกรณ์ขนถ่ายที่เหมาะสมและรูปแบบการจัดเก็บที่มีความปลอดภัย yalada
25
ปัจจัยสนับสนุนกระบวนการลีนจิสติกส์ (Lean Logistic) (ต่อ)
โลจิสติกส์แบบลีน (Lean Logistics) ปัจจัยสนับสนุนกระบวนการลีนจิสติกส์ (Lean Logistic) (ต่อ) 4. การไหลอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นการไหลของงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับอุปสงค์หรือความต้องการโดยไม่มีการติดขัด (Interruption) ดังนั้นจึงได้นำระบบแบบดึงที่สามารถตอบสนองได้ตามความต้องการใช้งาน โดยเฉพาะการขนส่งขาเข้าของชิ้นงานที่ต้องสอดคล้องกับรอบเวลากระบวนการ (Production Cycle) และกำหนดการผลิต yalada
26
ปัจจัยสนับสนุนกระบวนการลีนจิสติกส์ (Lean Logistic) (ต่อ)
โลจิสติกส์แบบลีน (Lean Logistics) ปัจจัยสนับสนุนกระบวนการลีนจิสติกส์ (Lean Logistic) (ต่อ) 5. ความสามารถติดตามการไหล มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการไหลของสารสนเทศเพื่อติดตามงานว่าอยู่ในตำแหน่งใดและสามารถเรียกดูได้ทันที เรียกว่า “Pipeline Visibility” โดยมีเทคโนโลยีสนับสนุนมากมาย เช่น ระบบดาวเทียมติดตามตำแหน่ง (Global Positioning System: GPS) การใช้คลื่นความถี่ (Radio Frequency) ในระบบคลังสินค้า เป็นต้น yalada
27
ปัจจัยสนับสนุนกระบวนการลีนจิสติกส์ (Lean Logistic) (ต่อ)
โลจิสติกส์แบบลีน (Lean Logistics) ปัจจัยสนับสนุนกระบวนการลีนจิสติกส์ (Lean Logistic) (ต่อ) 6. การวัดผลทางโลจิสติกส์ การดำเนินงานตามแนว Lean Logistics จะต้องมีการกำหนดมาตรวัดผลเพื่อใช้ติดตามประเมินประสิทธิภาพและแสดงผลลัพธ์ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) โดยมาตรวัดเหล่านี้ประกอบด้วย ความถี่การส่งมอบของแต่ละผู้ส่งมอบ ช่วงเวลานำตั้งแต่การออกคำสั่งซื้อจนกระทั่งเกิดการส่งมอบให้กับผู้สั่งซื้อ อัตราการส่งมอบที่ทันเวลา อัตราการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ขนถ่ายและทรัพยากรสนับสนุน พื้นที่สำหรับจัดเก็บวัตถุดิบของผู้ส่งมอบและผู้ผลิต ระดับสต็อกโดยรวมของระบบห่วงโซ่อุปทาน อัตราการเติมเต็มคำสั่งซื้อของผู้ส่งมอบ (Order fill rate by supplier) yalada
28
การจัดการความสมดุลของต้นทุนสินค้าคงคลังกับค่าขนส่ง
Balance costs between transport & inventory Balancing Transport Cost Inventory Cost (47%) (45%)
29
VMI : Vendor Management Inventory
กลยุทธ์การลดต้นทุนโลจิสติกส์ด้วยการส่งมอบแบบลีน “Lean Process Work to Manage the Total Flow Most Effectively” Stockless Just in Sequent Time Delivery VMI : Vendor Management Inventory Reduced lead time End Customers Stockless Just in Time Delivery Supplier Sources Raw Material Inflow Reduced Variability Finish Goods Out Flow Reduced lot sizes Backhaul Transport Reduced buffer stock ที่มา : ธนิต โสรัตน์ (2007)
30
ขอขอบคุณที่สนใจฟัง...
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.