งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นางอำพรรณี ศรีทอง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ฝ่ายควบคุมโรค รพ.แม่อาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นางอำพรรณี ศรีทอง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ฝ่ายควบคุมโรค รพ.แม่อาย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นางอำพรรณี ศรีทอง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ฝ่ายควบคุมโรค รพ.แม่อาย
การมีเพศสัมพันธ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในระบบการศึกษา อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ (Sexual Intercourse and Factors Associating Sexual Intercourse Among Adolescent in Mae-ai District, Chiang Mai Province) นางอำพรรณี ศรีทอง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ฝ่ายควบคุมโรค รพ.แม่อาย

2 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สังคม วัฒนธรรม พัฒนาการของวัยรุ่น เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สื่อ การปรับตัวของวัยรุ่น ความเครียด ความวิตกกังวล พฤติกรรมทางสังคมที่ไม่เหมาะสมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น การใช้สาร เสพติด การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

3 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา(ต่อ)
พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ประกอบด้วย การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน (McEvoy & Coupey, 2002; Taylor – Seehafer & Rew, อ้างใน วารุณี ฟองแก้ว, 2554)

4 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา(ต่อ)
ข้อมูลการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกลุ่มเยาวชนในโรงเรียน พบวัยรุ่นไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศเพิ่มขึ้น มีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น (อายุเฉลี่ย 12 ปี) อัตราการมีคู่นอนมากกว่า 1 คนเพิ่มขึ้น วัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ (สำนักระบาดวิทยา, 2554; กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2555) เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น

5 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา(ต่อ)
ผลกระทบจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มวัยรุ่นอายุ ปี ในระดับโลก พบผู้ติดเชื้อฯใหม่ประมาณ ร้อยละ 39 (WHO, 2013) ประเทศไทย มีอัตราอุบัติการณ์การติดเชื้อฯเพิ่มขึ้น (สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค, 2555) ปีพ.ศ ประเทศไทย มีอัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า อัตราการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นเพิ่มขึ้น เท่า อัตราแม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 16.6 วัยรุ่นทำแท้งจำนวนมากถึง 300,000 คนต่อปี (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข, 2557)

6 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา(ต่อ)
ผลกระทบด้านสุขภาพกาย พบอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดาอายุน้อยที่ทำแท้งผิดกฎหมายถึงร้อยละ (นารายณ์ สุธีรศักดิ์, 2547) ,OI และ อื่นๆ ด้านจิตใจและอารมณ์ วัยรุ่นมักเก็บตัว วิตกกังวล เครียด มีพฤติกรรมการเรียน และ ผลการเรียนตกต่ำลง การเคารพและเห็นคุณค่าตนเองน้อยลง ในด้านสังคม ต้องออกจากการศึกษากลางคัน การหย่าร้างในคู่วัยรุ่นครอบครัวแตกแยก ด้านเศรฐกิจและสังคม พบเด็กกำพร้าถูกทอดทิ้งจำนวน 88,730 คน (Ruangkanchanasetr et al., 2005; กระทรวงสาธารณสุข ,2557)

7 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา(ต่อ)
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น ปัจจัยระดับครอบครัว ปัจจัยระดับกลุ่มเพื่อน ปัจจัยระดับบุคคล การมีเพศสัมพันธ์ ในวัยรุ่น ปัจจัยระดับชุมชน ปัจจัยระดับโรงเรียน ปัจจัยอื่นๆ ปัจจัยด้านสื่อ (WHO, 2005)

8 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา(ต่อ)
จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่เสี่ยงสูงสุดต่อการเกิดโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ เนื่องจาก มีอัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15 – 24 ปี สูงที่สุด ในเขตภาคเหนือตอนบน อัตราการใช้ถุงยางอนามัยครั้งล่าสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ของนักเรียนชายชั้น ม. 5 เพียงร้อยละ อำเภอแม่อายเป็น 1 ใน 7 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงสูง ต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 , 2556)

9 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา(ต่อ)
ผู้ติดเชื้อฯรายใหม่ อยู่ในกลุ่มวัยรุ่น อายุ ปีมากที่สุด สาเหตุหลักของการติดเชื้อเอชไอวี คือ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ (สรุปรายงานสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ รพ.แม่อาย, 2556) ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพิ่มขึ้น โดยพบอัตราการคลอดในมารดา อายุ ปีเพิ่มขึ้น จาก ต่อพันประชากรในปี พ.ศ เป็น ต่อพันประชากรในปีพ.ศ (รายงานสรุปผลงาน อำเภอแม่อายฝ่ายแผนงานรพ.แม่อาย, 2557)

10 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา(ต่อ)
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่ แต่ในการดำเนินงานเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาดังกล่าวในพื้นที่ยังขาดข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับอัตราการมีเพศสัมพันธ์ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในพื้นที่ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่องดังกล่าว เพื่อนำข้อมูลไปแก้ปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในพื้นที่อำเภอแม่อาย

11 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษา อัตราการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

12 ตัวแปรที่ศึกษา(กรอบแนวคิด)
ปัจจัยระดับบุคคล ลักษณะทางประชากรและสังคม ได้แก่ อายุ เพศ ที่พักอาศัยปัจจุบัน บุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วยในปัจจุบัน ชาติพันธุ์ ระดับการศึกษา ผลการเรียน การใช้สารเสพย์ติด การดื่มแอลกอฮอลล์และการสูบบุหรี่ การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น ปัจจัยระดับครอบครัว สถานภาพสมรสของบิดา มารดา ระดับการศึกษาสูงสุดของบิดา มารดา อาชีพของบิดา มารดา ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว การพูดคุยสื่อสารเรื่องเพศกับบิดา มารดา ปัจจัยระดับกลุ่มเพื่อน เพื่อนชักชวนให้มีเพศสัมพันธ์ การมีเพื่อนในกลุ่มหรือเพื่อนสนิทที่เคยมีเพศสัมพันธ์ ปัจจัยด้านสื่อ - การเข้าถึงสื่อต่าง ๆ - การเคยดูสื่อลามกอนาจาร - ช่องทางการเข้าถึงสื่อลามกอนาจาร

13 วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study)
ประชากร คือ กลุ่มวัยรุ่นที่กำลังศึกษาในระบบโรงเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 เขตอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน คน ในรร. 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 1 แห่ง โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษกระทรวงศึกษาธิการ 1 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง เก็บในประชากรทุกคน ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือน มิถุนายน 2558

14 วิธีการศึกษา(ต่อ) เครื่องมือในการวิจัย ดัดแปลงจากแบบสอบถาม ของโครงการวิจัย 1. การป้องกันเอดส์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่ วิถีชีวิตและความสัมพันธ์ทางเพศของวัยรุ่นในเมืองเชียงใหม่ ประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลลักษณะประชากรและสังคม ส่วนที่ 2 พฤติกรรมสุขภาพ ส่วนที่ 3 ปัจจัยระดับครอบครัว ระดับกลุ่มเพื่อน และด้านสื่อ ส่วนที่ 4 การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น

15 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
วิธีการศึกษา(ต่อ) การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ นำแบบสอบถามมาตรวจสอบความเข้าใจและความง่ายในการตอบแบบสอบถามโดยนำไปทดลองใช้กับวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 ในโรงเรียนที่มีบริบทคล้ายโรงเรียนที่ศึกษาจำนวน 20 ราย (ชาย 10 คน หญิง 10 คน) และนำข้อคิดเห็นของผู้ทดลองใช้ไปปรับปรุงแบบสอบถาม

16 วิธีการศึกษา(ต่อ) วิธีเก็บข้อมูล มีขั้นตอนดังนี้ ขออนุญาต จากผู้อำนวยการโรงเรียนเป้าหมาย ขอความยินยอมจากผู้ปกครองกลุ่มตัวอย่าง และกลุ่มตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลในนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ตรวจสอบความครบถ้วน สมบูรณ์ของข้อมูล รวบรวม และนำข้อมูลไปวิเคราะห์

17 แนวทางวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้
วิธีการศึกษา(ต่อ) แนวทางวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้ วิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้อมูลด้านบุคคล ครอบครัว เพื่อน การใช้สื่อต่าง ๆ และข้อมูลการมีเพศสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น โดยใช้สถิติทดสอบไคสแคว์ (Chi-Square Test) ค่าอัตราส่วนออดส์ (Odds Ratio)โดยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression)

18 ผลการศึกษา มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 385 คน
พบอัตราการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ร้อยละ 18.6 (เพศชาย ร้อยละ เพศหญิง ร้อยละ 15.4) อายุเฉลี่ยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ปี (เพศชาย ปี และเพศหญิง ปี) การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมีเพศสัมพันธ์กับแฟนเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 77 ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ร้อยละ 44.8

19 ผลการศึกษา(ต่อ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ปัจจัยระดับบุคคล ได้แก่ เพศ (p value = 0.019, OR= , 95%CI [1.106, 3.222]) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ช่วง ระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา (p value =0.001, OR = 6.540, 95%CI [3.297, ]) ปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ต่อครั้ง (p value =0.002, OR = , 95%CI [0.105, 0.617]) การสูบบุหรี่ช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา (p value = 0.001, OR = 5.532, 95%CI [2.638, ]) การเสพสารเสพย์ติด ช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา(p value =0.036, OR = 0.733, 95%CI [0.149, ])

20 ผลการศึกษา(ต่อ) ปัจจัยระดับกลุ่มเพื่อน ได้แก่ การเคยถูกเพื่อนชักชวนให้มีเพศสัมพันธ์ (p value =0.001, OR = 3.000, 95%CI [1.607, 5.601]) มีเพื่อนในกลุ่ม หรือเพื่อนสนิทที่เคยมีเพศสัมพันธ์ (p value =0.001, OR = 3.125, 95%CI [1.748, 5.587]) ปัจจัยด้านสื่อ ได้แก่ การเคยดูภาพ/สื่อลามก อนาจาร (p value =0.001, OR = 0.373, 95%CI [0.210, 0.661]) ชนิดสื่อที่ ใช้ดูภาพ/สื่อลามกอนาจารได้แก่ วีซีดี/วีดีโอ(p value =0.025, OR = , 95%CI [0.246, 0.912]) และโทรศัพท์มือถือ (p value =0.035, OR = 0.493, 95%CI [0.256, 0.951])

21 ลักษณะทางประชากรและสังคม
ผลการศึกษา(ต่อ) ตารางที่ 1 ข้อมูลลักษณะทางประชากรและสังคม ลักษณะทางประชากรและสังคม เพศชาย (n=122) เพศหญิง (n=263) รวม (n=385) จำนวน ร้อยละ อายุ (ปี) 15-16 17-18 19-20 (ค่าเฉลี่ย =17.03, S.D.= 0.871) ชาติพันธุ์ ไทย ต่างด้าว/ชาวเขา ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 มัธยมศึกษาปีที่ 6 25 85 6 48 71 45 77 21.6 28.7 26.4 40.3 59.7 36.9 63.1 166 10 107 151 126 136 67.2 40.0 41.5 58.5 48.1 51.9 96 251 16 155 222 171 213 69.1 4.4 41.1 58.9 44.5 55.5

22 ลักษณะทางประชากรและสังคม
ผลการศึกษา(ต่อ) ตารางที่ 1 ข้อมูลลักษณะทางประชากรและสังคม(ต่อ) ลักษณะทางประชากรและสังคม เพศชาย (n=122) เพศหญิง (n=263) รวม (n=385) จำนวน ร้อยละ ที่พักอาศัยปัจจุบัน อยู่บ้านตนเอง อยู่บ้านเช่า/หอพักนอกโรงเรียน อยู่หอพักในโรงเรียน บุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วยในปัจจุบัน บิดา มารดา เพื่อน อยู่คนเดียว อยู่กับญาติ อื่น ๆ (ครู) 76 4 42  66 1 16 35 62.3 3.3 34.4  54.1 0.8 13.1 28.7 164 7 92  130 3 38 90 62.4 2.7 35.0  49.6 1.1 0.4 14.5 240 11 134  196 2 54 125 2.9 34.8  51.0 1.8 0.5 14.1 32.6

23 ผลการศึกษา(ต่อ) ตารางที่ 2 การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น การมีเพศสัมพันธ์
เพศชาย (n=122) เพศหญิง (n=263) รวม (n=385) จำนวน ร้อยละ เคย ไม่เคย 30 87 25.6 74.4 40 219 15.4 84.6 70 306 18.6 81.4

24 อายุที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ ครั้งแรก (ปี)
ผลการศึกษา(ต่อ) ตารางที่ 3 อายุที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของวัยรุ่น อายุที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ ครั้งแรก (ปี) เพศชาย (n=30) เพศหญิง (n=40) รวม (n=70) จำนวน ร้อยละ 7 9 10 12 14 15 16 17 18 2 4 6 5 3 7.1 0.0 14.3 21.4 17.9 10.7 1 20 11 2.5 12.5 50.0 27.5 7.5 25 2.9 1.5 5.9 16.2 36.8 22.1 8.8 อายุเฉลี่ย (S.D.) 14.50 (2.988) 16.13 (1.399) 15.46 (2.321)

25 บุคคลที่วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกด้วย
ผลการศึกษา(ต่อ) ตารางที่ 4 การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นแยกตามบุคคลที่วัยรุ่น มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกด้วย บุคคลที่วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกด้วย เพศชาย (n=30) เพศหญิง (n=40) รวม (n=70) จำนวน ร้อยละ แฟน เพื่อน หญิงหรือชายที่ขาย บริการทางเพศ อื่น ๆ** 20 3 1 4 71.4 10.7 3.6 14.3 34 5 85.0 12.5 0.0 2.5 54 8 79.4 11.8 1.5 7.4 ** บุคคลที่วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกด้วยอื่น ๆ ได้แก่ ญาติ คนรู้จัก และคนแปลกหน้า

26 ผลการศึกษา(ต่อ) การใช้ถุงยางอนามัย เพศชาย (n=30) เพศหญิง (n=40)
ตารางที่ 5 การใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของวัยรุ่น การใช้ถุงยางอนามัย เพศชาย (n=30) เพศหญิง (n=40) รวม (n=70) จำนวน ร้อยละ ใช้ ไม่ใช้ 13 15 46.4 53.6 17 22 43.6 56.4 30 37 44.8 55.2

27 ผลการศึกษา(ต่อ) ตารางที่ 6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นกับการมี เพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น (ต่อ) ปัจจัย c2 OR 95%CI p-value เพศ อายุ ชาติพันธุ์ ระดับการศึกษา ที่พักอาศัยปัจจุบัน บุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วยในปัจจุบัน ผลการเรียน(เกรดเฉลี่ย) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ช่วง ระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา 5.531 0.240 1.988 2.710 - 34.694 1.888 0.857 1.464 0.638 0.504 0.805 1.500 6.540 0.019* 0.624 0.159 0.100 0.289 0.799 0.643 0.001*

28 ผลการศึกษา(ต่อ) ตารางที่ 6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นกับการมี เพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น (ต่อ) ปัจจัย c2 OR 95%CI p-value ความถี่ในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ต่อครั้ง การสูบบุหรี่ช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ความถี่ในการสูบบุหรี่ การเสพสารเสพย์ติดช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา การศึกษาสูงสุดของบิดา การศึกษาสูงสุดของมารดา อาชีพของบิดา/มารดา  - - 24.162 0.267 4.383  0.490 0.255 5.532 1.556 0.733 0.760 0.398    0.302 0.002* 0.001* 0.606 0.036* 0.326 0.244

29 ผลการศึกษา(ต่อ) ตารางที่ 6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นกับการมี เพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น (ต่อ) ปัจจัย c2 OR 95%CI p-value ฐานะทางการเงินของครอบครัว สถานภาพสมรสของบิดา มารดา ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว การพูดคุยสื่อสารกับบิดา มารดาเรื่องเพศหรือได้รับคำแนะนำเรื่องเพศศึกษาจากบิดามารดา การเคยถูกเพื่อนชักชวนให้มีเพศสัมพันธ์ มีเพื่อนในกลุ่มหรือเพื่อนสนิทเคยมีเพศสัมพันธ์ - 2.634 12.695 15.752 0.634 1.555 3.000 3.125 0.883 0.658 0.603 0.105 0.001*

30 ผลการศึกษา(ต่อ) ตารางที่ 6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นกับการ มีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น (ต่อ) ปัจจัย c2 OR 95%CI p-value ช่องทางการรับข่าวสารผ่านสื่อ ต่าง ๆ โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต สถานีวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ หรือ หนังสือพิมพ์  -  0.678 0.638 1.368 0.876 1.029    0.201 0.206 0.296 0.696 0.915

31 ผลการศึกษา(ต่อ) *p<0.05
ตารางที่ 6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นกับการ มีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น (ต่อ) ปัจจัย c2 OR 95%CI p-value การเคยดูภาพ/สื่อลามกอนาจาร ชนิดของสื่อที่ใช้ดูภาพ/สื่อลามกอนาจาร หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ วีซีดี/วีดีโอ อินเตอร์เน็ต หนัง หรือ สื่อภาพยนตร์ โทรศัพท์มือถือ 11.922 -  0.373 1.130 0.473 0.536 1.182 0.493    0.001* 0.793 0.025* 0.104 0.627 0.035* *p<0.05

32 สรุปและอภิปรายผล วัยรุ่นอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นตอนกลาง ซึ่งหากมีเพศสัมพันธ์วัยรุ่นทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ง่ายเนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศมีความอ่อนบาง และมีภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำกว่าผู้ใหญ่ และพบอัตราการใช้ถุงยางอนามัยต่ำกว่าร้อยละ 50 วัยรุ่นอำเภอแม่อายจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ง่าย และพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นทั้งปัจจัยระดับบุคคล ระดับกลุ่มเพื่อน และด้านสื่อ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาขององค์การอนามัยโลก(2005) ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำมาวางแผนป้องกันปัญหาการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นได้

33 ข้อเสนอแนะ การจัดโปรแกรมเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวัยรุ่นในโรงเรียนอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ควรดำเนินการในช่วงก่อนวัยรุ่นตอนต้น เนื่องจากผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นอำเภอ แม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ มีค่าเฉลี่ยของอายุเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเริ่มตั้งแต่ในช่วงปลายวัยรุ่นตอนต้นถึงช่วงวัยรุ่นตอนกลาง เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ วัยรุ่นในระบบการศึกษาเท่านั้น ดังนั้นควรศึกษาวัยรุ่นที่อยู่นอกระบบการศึกษา เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นอำเภอแม่อาย จ.เชียงใหม่ ของวัยรุ่นทั้ง 2 กลุ่มว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่

34 เอกสารอ้างอิง ยุพา พูนขำ และคณะ. (2553). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง และปัญหาสุขภาพเยาวชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ วารุณี ฟองแก้ว และคณะ. (2551). รายงานการประเมินสภาพปัญหาและความต้องการด้าน สุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์และการป้องกันเอชไอวีเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ ของเด็กวัยรุ่น. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศษสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สุปิยา จันทรมณี, นิรมล ปัญสุวรรณ. (2556). ผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติด เชื้อเอชไอวีกลุ่มนักเรียน ประเทศไทย พ.ศ (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนัก ระบาดวิทยา. Arunrat Tangmunkongvorakul et al., (2012). “Use and perceptions of sexual and reproductive health survices among Northern Thailand adolescents.” Southeast Asian J Trop Med Public Health 43(2), WHO. (2005). Risk and protective factors affecting adolescent reproductive health in developing contries. Switzerland.


ดาวน์โหลด ppt นางอำพรรณี ศรีทอง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ฝ่ายควบคุมโรค รพ.แม่อาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google