งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 6 การบริหารและการวางแผนการผลิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 6 การบริหารและการวางแผนการผลิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 6 การบริหารและการวางแผนการผลิต
ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา yalada

2 ความหมายของการผลิตและการปฏิบัติการ
“การปฏิบัติการ” หมายถึง การทำงานตามหน้าที่ สำหรับการดำเนินธุรกิจแล้ว ต้องเป็นหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบในการผลิตสินค้าหรือบริการ นำไปเสนอขายต่อตลาดเป้าหมาย การผลิตสินค้าหรือบริการทำให้การปฏิบัติการในทุกองค์การเป็นระบบที่มีลักษณะเฉพาะร่วมกันอยู่ คือ ต้องแปรรูป สิ่งป้อนเข้า กลายเป็นสิ่งออกนำไปเสนอขายต่อตลาดเป้าหมาย การผลิต (Production) เป็นการสร้างสินค้า มีความหมายเน้นเฉพาะการผลิตสินค้าที่มีตัวตนไม่ใช่การบริการ การปฏิบัติการ (Operations) เป็นกระบวนการภายในองค์การที่เกิดขึ้น โดยใช้ปัจจัยนำเข้า (Input) เช่น คน เงินทุน วัตถุดิบ ฯลฯ แปลงสภาพเป็น ปัจจัยนำออก (Output) ในรูปของการผลิตและการบริการ yalada

3 ความแตกต่างของสินค้าและการบริการ
yalada

4 ลักษณะของสินค้า (Goods)(ผลิตภัณฑ์ที่มีตัวตน)
1. สินค้าสามารถนำมาขายซ้ำได้ 2. สินค้าสามารถผลิตแล้วเก็บเป็นสินค้าคงคลังได้ 3. สินค้าสามารถวัดลักษณะคุณภาพบางอย่างได้ 4. สินค้าจะต้องมีการผลิตไว้เพื่อการขาย 5. สินค้าสามารถขนส่งได้ 6. สินค้าจะต้องมีสถานที่ผลิตซึ่งมีความสำคัญต่อต้นทุน 7. สินค้าง่ายต่อการผลิตแบบอัตโนมัติ 8. สินค้าจะมีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ที่มีตัวตน yalada

5 ลักษณะของบริการ (Service)(ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตัวตน)
1. การบริการแต่ละครั้งยากที่จะแก้ไขเมื่อผิดพลาด 2. การบริการไม่สามารถผลิตเก็บไว้ในคลังสินค้าได้ 3. การบริการจะวัดด้านคุณภาพได้ยาก 4. การบริการจะมีการขายเป็นส่วนหนึ่งด้วย 5. การบริการเป็นเรื่องการจัดหาไม่มีตัวสินค้า จึงไม่มีการขนส่ง 6. การบริการเป็นการให้ความสะดวกแก่ลูกค้าและอาจไม่ต้องใช้สถานที่7. การบริการเป็นสิ่งที่ยากที่จะทำแบบอัตโนมัติ 8. การบริการมีรายได้ที่เกิดจากสิ่งที่ไม่มีตัวตน yalada

6 ระบบการผลิต ระบบการผลิต คือ กระบวนการในการผลิตสิ่งของชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยมีการใช้ปัจจัยการผลิต ผ่านกระบวนการผลิต เพื่อเป็นสินค้าที่จะออกสู่ตลาด ปัจจัย การผลิต กระบวนการผลิต ผลผลิต yalada

7 ระบบการผลิต ปัจจัยการผลิต หมายถึง สิ่งที่นำเข้าสู่ระบบการผลิตประกอบไปด้วยวัตถุดิบ เช่นที่ดิน อาคาร เครื่องจักร พนักงาน เงินทุนหมุนเวียน การจัดการ กระบวนการผลิต หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่ในการนำปัจจัยการผลิตมาแปรสภาพให้เป็นสินค้า หรือบริการตามที่ต้องการ วิธีการในการผลิตสินค้า การจัดลำดับการผลิต การวางแผนการผลิต และการจัดสรรกำลังคนเพื่อการผลิต ผลผลิต หมายถึง สินค้าและบริการที่เกิดจากการแปลงสภาพพร้อมที่จะนำเสนอขายให้กับลูกค้าหรือผู้บริโภค yalada

8 ระบบการผลิต แบ่งเป็นสองระบบใหญ่ มีลักษณะดังนี้
ระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Production) เป็นระบบการผลิตที่รวมเอาเครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิตมาเรียงไว้ตามลำดับก่อนหลังต้องทำงานร่วมกันเรียกว่า สถานีงาน สถานีงานหลาย ๆ สถานีงานเมื่อเรียงเป็นลำดับเข้าไว้ทั้งหมดแล้วเรียกว่า สายการผลิต สถานีงานสุดท้ายของสายการผลิตจะเป็นจุดที่วัตถุดิบกลายสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูปออกมาในคลังสินค้ารอไว้จำหน่าย yalada

9 ระบบการผลิตตามสั่ง (Intermittent Production)
ระบบการผลิตที่รวบรวมเอาอุปกรณ์การผลิตหรือสถานีงานที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกันเข้าไว้ด้วยกันเรียกว่า ศูนย์การทำงาน (work center) แต่ไม่มีการเรียงลำดับก่อนหลังของศูนย์การทำงานไว้คงที่ yalada

10 ระบบการผลิต สิ่งส่งออกOutput การควบคุม ข้อมูลป้อนกลับ Feedback
สิ่งป้อนเข้า Input ปัจจัยการผลิต การแปรรูปProcess กระบวนการผลิต สิ่งส่งออกOutput ผลผลิต การควบคุม ข้อมูลป้อนกลับ Feedback yalada

11 ประเภทการผลิต แบ่งเป็นสามประเภท มีลักษณะดังนี้
ประเภทการผลิตตามสั่ง (Order) ผลิตตามใบสั่ง (production to order) เป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า ระบบการผลิตที่รวบรวมเอาอุปกรณ์การผลิตหรือสถานีงานที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกันเข้าไว้ด้วยกันเรียกว่า ศูนย์การทำงาน (work center) แต่ไม่มีการเรียงลำดับก่อนหลังของศูนย์การทำงานไว้คงที่ ผลิตเพื่อเก็บในคลังสินค้า(production to stock) เป็นจุดที่วัตถุดิบกลายสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูปออกมาในคลังสินค้ารอไว้จำหน่าย yalada

12 ประเภทการผลิตตามปริมาณการผลิต
การผลิตแบบโครงการ (project) เป็นการผลิตสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะเป็นรายๆไป เช่น รับเหมาก่อสร้างบ้าน สร้างถนน การผลิตแบบครั้งคราว(job shop) เป็นการผลิตสินค้าจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตทั้งหมด การผลิตแบบงานช่วง(intermittent ) เป็นการผลิตสินค้าแบบงานช่วงการผลิตทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็นงานย่อยๆจะถูกทำให้เสร็จสิ้นทั้งหมดก่อนส่งต่องานย่อยถัดไปเป็นจุดที่วัตถุดิบกลายสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูปออกมาในคลังสินค้ารอไว้จำหน่าย การผลิตแบบต่อเนื่อง() เป็นการผลิตสินค้าครั้งละจำนวนมากๆไหลเวียนของวัตถุดิบและการผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีลักษณะไม่ขาดตอนเแบบต่อเนื่อง yalada

13 ประเภทการผลิตตามลักษณะผลิตภัณฑ์
การผลิตแบบประกอบ (discrete-part production) เป็นการผลิตสินค้าโดยนำชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตรถยนต์ การผลิตแบบกระบวนการ (process production) เป็นลักษณะการผลิตสินค้าที่เมื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้ว ไม่สามารถแบ่งแยกสินค้าหรือถอดประกอบออกมาเป็นชิ้นส่วนเหมือนเก่าได้อีก เช่น ผลิตน้ำตาลทราย yalada

14 ความหมายและความสำคัญของการวางแผนกำลังการผลิต
กำลังการผลิต หมายถึง ความสามารถสูงที่สุดของเครื่องจักร ปัจจัยการผลิต และ สิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถผลิตสินค้าหรือบริการได้มากที่สุดในช่วงเวลาที่กำหนดภายใต้ สภาวะปกติ มีหน่วยวัดปริมาณผลิต่อเวลาเป็นเวลา เช่น ชิ้นต่อสัปดาห์ ตันต่อเดือน ตันต่อปี เป็นต้น การประมาณความต้องการกำลังการผลิตอาจประเมินได้ใน 3 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 ความต้องการในระยะสั้น ผู้บริหารสามารถประมาณการความต้องการกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของความต้องการสินค้าในระยะสั้นระยะเวลาของแผน 1- 3 เดือน ซึ่งจากปริมาณความต้องการของสินค้าและบริการที่พยากรณ์ได้ ผู้บริหารสามารถกำหนดได้ว่ากำลังการผลิตที่จำเป็นจะต้องเป็นเท่าใด จึงจะสามารถตอบสนองความต้องการได้ ลักษณะที่ 2 ความต้องการระยะปานกลาง การวางแผนกำลังการผลิต 6-18 เดือนข้างหน้า โดยผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการตอบสนองความต้องการในช่วงเวลา 1 ปี เรียกว่า การวางแผนกำลังการผลิตรวม (aggregate planning) ลักษณะที่ 3 ความต้องการระยะยาว การวางแผนเพื่อให้รู้ถึงกำลังการผลิตที่จะเป็นจะต้องมีในระยะยาวเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก และมีปัจจัยในด้านความไม่แน่นอนของการตลาดของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้วย การวางแผนกำลังการผลิตว่าในอีก 3 หรือ 10 ปีข้างหน้า จะผลิตสินค้าปริมาณเท่าใด ซึ่งเป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก ทั้งนี้เพราะอีก 3 ปีข้างหน้า สินค้าอยู่ในวันนี้อาจล้าสมัยไปแล้ว ปริมาณความต้องการของสินค้าจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และมีความสัมพันธ์ที่เรียกว่า วัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (product life cycle) yalada

15 ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย(บาท)
การวางแผนการผลิต 70 60 50 40 1000 2000 4000 6000 จำนวนหน่วยที่ผลิต ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย(บาท) yalada

16 แผนภูมิ Gantt Chart เทคนิคการกำหนดเวลาทำงาน
เป็นการกำหนดตารางเวลาการทำงานในแต่ละกิจกรรมใช้เวลาการทำงานเท่าใด เริ่มเมื่อใดต้องเสร็จสิ้นเมื่อไร ที่นิยมใช้มี 2 วิธี แผนภูมิ Gantt Chart แผนภูมิ Gantt Chart เป็นแผนภูมิชนิดหนึ่งที่มีการใช้งานมาช้านาน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนและกำหนดเวลาในการทำงานของโครงการ ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อนไม่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างงานได้อย่างชัดเจน และไม่สามารถบอกได้ว่างานที่ปฏิบัติการล่าช้าจะมีผลต่อโครงการด้วย yalada

17 รูปที่ 5.1 ตารางการดำเนินงาน
งาน งานที่ต้องทำเสร็จก่อน เวลา(สัปดาห์) A B C B 3 D A C 4 E D 8 F C 2 G F 4 H F 2 I B 5 J E G H 3 yalada

18 รูป 5.2 แผนภูมิแบบแกนต์Gantt chart
ABCDEFGHI J งานที่ดำเนินการเสร็จแล้ว งานที่ยังไม่ได้ดำเนินการ เวลา(สัปดาห์) yalada

19 เพิร์ต(PERT) และซีพีเอ็ม(CPM)
การบริหารโครงการด้วยการวางแผน ควบคุมโดยใช้เทคนิค เพิร์ตPERT (Program Evaluation and Review Technique) และซีพีเอ็ม CPM(Critical Path Method)เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารโครงการ ที่มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการ มีส่วนงานย่อยต่างๆ ที่มีการกระจายโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หลักการของ PERT และ CPM หลักการของเพิร์ตPERT และซีพีเอ็ม CPM จะมี พื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน เพิร์ตPERT จะเน้นด้านเวลาในการดำเนินโครงการ ซีพีเอ็ม CPM จะเน้นด้านค่าใช้จ่ายของโครงการ ปัจจุบันได้มีการนำมาใช้งานร่วมกัน โดยใช้คำว่า เพิร์ตPERT เพียงคำเดียว อาจหมายถึงการนำเทคนิค ของ CPM มาใช้ร่วมด้วย yalada

20 เน้นเวลาในการดำเนินโครงการ เน้นด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ
ดังนั้นโครงการขนาดใหญ่ที่มีระบบงานที่กระจายเป็นระบบย่อย ๆ และมีจำนวนมาก มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ซับซ้อน จึงมักนำเทคนิคของเพิร์ต(PERT) และซีพีเอ็ม(CPM)มาประยุกต์การใช้งานมากกว่า สรุป PERT เน้นเวลาในการดำเนินโครงการ CPM เน้นด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ yalada

21 ตัวอย่าง PERT แบบที่ 4 ที่แสดงระยะเวลาของแต่ละงาน
สายงานที่ 1 =2+3+3=8 สายงานที่ 2 1-4-7 = 1+3=4 สายงานที่ 3 = =5 งาน งานที่ต้องเสร็จก่อน ระยะเวลา(สัปดาห์) A B C D A E B F C G D H F D,3 3 G,3 2 A,2 E,3 B,1 7 1 4 H,2 F,2 C,1 5 6 yalada

22 เร่งกิจกรรม B H D F และA C,9 2 4 G,13 A,6 D,9 8 1 5 H,12 E,8 B,6 3 6 I,14 F,8 7 สายงานที่ =6+9+13= สายงานที่ = =27 สายงานที่ = =26 สายงานที่ = =28 yalada

23 รายละเอียดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งโครงการเป็น 28 วัน
หลังจากที่ได้ทำการลดกิจกรรม A B D F และ H จึงทำให้โครงการเสร็จภายใน 28 วัน ตามแผนที่ได้กำหนดไว้ โดยจะได้สายงานวิกฤตอยู่ 2 สาย และมีจำนวนวันยาวนานที่สุดคือ 28 วัน และค่าใช้จ่ายต้องเพิ่มจากการเร่งงาน ดังตาราง รายละเอียดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งโครงการเป็น 28 วัน กิจกรรมที่เร่ง จำนวนวัน ค่าใช่จ่ายต่อวัน รวม(บาท) A B D F H รวมค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งโครงการ 850 yalada

24 แนวคิดและเทคนิคการพัฒนาระบบบริหารคุณภาพ
การบริหารคุณภาพเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการทุกเรื่องในองค์การให้ได้ตาม นโยบายคุณภาพที่กำหนดไว้โดย เริ่มจากกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์และนโยบายที่ชัดเจน มีการวางแผนจัดเตรียมทรัพยากร และกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการสร้างคุณภาพตลอดจนตัวชี้วัดคุณภาพที่สอดคล้องกับความความต้องการของลูกค้าที่ชัดเจน ต้องมีการวางแผนปฏิบัติการ จัดเตรียมทีมงานฝึกอบรมบุคลากร กำหนดวิธีการกระบวนงาน ขั้นตอนการทำงาน งบประมาณ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อนำมาใช้เป็นปัจจัยในการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด ต้องกำหนดเทคนิคหรือกิจกรรมที่จะนำมาใช้เพื่อก่อให้เกิดผลผลิต หรือบริการที่มีคุณภาพตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ หลังจากประกาศนโยบายคุณภาพแล้ว ฝ่ายบริหารจะต้องนำนโยบายออกเผยแพร่ให้ทุกคนทุกระดับได้รับทราบและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความจำเป็นที่องค์การต้องมีการปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวเข้าสู่ระบบการบริหารคุณภาพ จากก้าวแรกของการนำองค์การสู่ระบบการบริหารคุณภาพ สิ่งสำคัญผู้บริหารต้อง ตัดสินใจเลือกเทคนิคหรือระบบการบริหารคุณภาพแบบใดมาใช้เป็น แนวทางในการปฏิรูปพัฒนาแก้ไขดำเนินงานในองค์การให้มีคุณภาพขึ้นอยู่กับความพร้อมหรือศักยภาพขององค์การ yalada

25 การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร การจัดการคุณภาพโดยรวม
Total Quality Management Total ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการบริหารระบบคุณภาพ Quality การสร้างความพึงพอใจของลูกค้า โดยใช้แนวความคิดเชิงระบบของการจัดการ Management ระบบการบริหารจัดการคุณภาพ yalada

26 โครงสร้างพื้นฐานของ TQM
การเน้นที่ลูกค้า Customer Focus ความคิดเน้นที่คุณภาพ Obsession with Quality หลักความจริงและมีเหตุมีผล Scientific Approach คำมั่นสัญญาระยะยาว Long-Term Commitment การทำงานเป็นกลุ่ม Teamwork yalada

27 โครงสร้างพื้นฐานของ TQM
ระบบการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง Continual Improvement of System การศึกษาและการฝึกอบรม Education and Training จุดมุ่งหมายที่เป็นเอกภาพ Unity of Purpose พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมและอำนาจในการทำงาน Employs Involvement and Empowerment yalada

28 จบบทที่ 5 แล้วจ้า ขอขอบคุณที่สนใจฟัง... yalada


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 6 การบริหารและการวางแผนการผลิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google