งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักการ แนวคิด เทคนิค และวิธีการ มีส่วนร่วมของประชาชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักการ แนวคิด เทคนิค และวิธีการ มีส่วนร่วมของประชาชน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักการ แนวคิด เทคนิค และวิธีการ มีส่วนร่วมของประชาชน
อรพินท์ สพโชคชัย กรรมการ ก.พ.ร. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ 10 กรกฎาคม 2550

2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสังคมยุคใหม่
สังคมไทยและคนไทยกำลังพัฒนาสู่สังคมประชาธิปไตยยุคใหม่ ภาคประชาสังคมและประชาชนต้องการเข้ามามีบทบาทและเรียกร้องสิทธิในการรับรู้ ตัดสินใจ และมีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดิน หลักการบริหารราชการแนวใหม่ที่เน้นทำงานร่วมกับภาคประชาชนเป็นรูปแบบของระบบราชการ ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญและกำลังมุ่งพัฒนา เพราะ ภาครัฐเริ่มได้บทเรียนและเรียนรู้จากการสูญเสียต่างๆ ปรับเปลี่ยน แสวงหารูปแบบ และนำไปประยุกต์ใช้

3 นิยามความหมาย การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation)
กระบวนการที่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีโอกาสได้เข้าร่วมใน การแสดงทัศนะ ร่วมแสนอปัญหา/ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา และร่วมในกระบวนการตัดสินใจ การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance) แนวทางการบริหารราชการยุคใหม่ที่จัดระบบการบริหารราชการ ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติงาน และโครงสร้างของการบริหารราชการ ซึ่งเป็นที่ระบบเปิดให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม เป็นไปตามหลักการธรรมาภิบาลที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) เปิดเผยโปร่งใส เท่าเทียมกัน เป็นประชาธิปไตย เน้นที่ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

4 การมีส่วนร่วมของประชาชนและการพัฒนาระบบราชการ
การพัฒนาระบบราชการสู่ ราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน 3 การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance) 2 1 การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation)

5 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการแผ่นดิน
กระบวนการที่เชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ (ภาคราชการ) และภาคีอื่นๆ นอกภาครัฐ เช่น ธุรกิจเอกชน ประชาชน ชุมชน และองค์กรต่างๆ ให้ได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ร่วมคิดและเสนอแนะความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจ และร่วมดำเนินการ เพราะ “การดำเนินงาน การตัดสินใจ และการให้บริการสาธารณะของภาคราชการเกี่ยวข้องชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ใช้ทรัพยากรจากภาษีอากรของประชาชน และจำเป็นต้องทำเป็นประโยชน์สุขของประชาชน

6 การมีส่วนร่วมของประชาชนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ สามารถให้ความ คิดเห็นและข้อเสนอแนะ 4. มีส่วนร่วมใน การดำเนินงาน ติดตามตรวจสอบ 5. มีส่วนร่วมรับประโยชน์ และเป็นเจ้าของ นโยบายสาธารณะ 2. มีส่วนร่วมในการเลือก และเสนอแนวทาง เพื่อตัดสินใจ 3. มีส่วนร่วมในกระบวนการ ตัดสินใจ

7 คำถามสำคัญสำหรับการบริหารราชการแผ่นดินสมัยใหม่ “ประชาชนโดยรวมควรมีสิทธิและหน้าที่ในการเข้าร่วมใน ภารกิจของภาครัฐ และกิจการสาธารณะในระดับใด” International Association for Public Participation, หรือ IAP2 ได้ศึกษาและเสนอกรอบความคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็น 5 ระดับเรียกว่า Public Participation Spectrum

8 ระดับการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมสูงขึ้น
IAP2’s Public Participation Spectrum เสริมพลังอำนาจ ให้ประชาชน (Empower) ระดับการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมสูงขึ้น ร่วมมือร่วมแรง (Collaboration) เกี่ยวข้อง มีบทบาท (Involve) ตัดสินใจเอง ฟังความคิดเห็น (Consult) เข้าร่วม ทำงานด้วย สมัครใจเข้าร่วม แบ่งปัน ข้อมูลข่าวสาร (Inform) ร่วมแสดง ความเห็น รับฟังเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของประชาชน

9 ระดับการมีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้น
IAP2 Public Participation Spectrum พัฒนาโดย International Association for Public Participation ระดับการมีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้น การแบ่งปันข้อมูล (Inform) ปรึกษาหารือ (Consult) การเข้ามาเกี่ยวข้อง (Involve) การร่วมมือ (Collaborate) เสริมพลังเพิ่มอำนาจ (Empower) นำเสนอข้อมูล ข่าวสารที่เป็นจริง สมดุล ทันสมัย ซึ่งจะช่วยให้สาธารณชนมีความรู้ความเข้าใจปัญหา ทางเลือก และ/หรือแนวทางแก้ไข รับฟังความเห็นข้อเสนอแนะเพื่อประกอบการวิเคราะห์ กำหนดทางเลือก และตัดสินใจ ทำงานร่วมกับสาธารณชนตลอดกระบวนการเพื่อยืนยันว่าเข้าใจความคิดและความต้องการของประชาชนและถูกนำมาพิจารณา ทำงานเป็นหุ้นส่วนในทุกแง่มุมของกระบวนการตัดสินใจ รวมถึงการเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา มอบการตัดสินใจสุดท้ายให้สาธารณชนเป็นผู้กำหนด จะนำเสนอข้อมูลให้อย่างสม่ำเสมอ จะนำเสนอข้อมูลให้อย่างสม่ำเสมอ รับฟังความเห็น เข้าใจถึงความกังวล เหตุผล ความคิดเห็น และจะแจ้งผลการนำข้อมูลไปใช้อย่างสม่ำเสมอ จะทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อยืนยันว่าความคิด ข้อเสนอแนะและความต้องการที่ได้ จะเป็นส่วนที่กำหนดทางเลือก แนวทางแก้ไข และจะแจ้งว่าใช้ในการตัดสินใจอย่างไร จะให้สาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะ และคิดค้นวิธีการ จัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงจะนำข้อเสนอแนะมาประกอบการตัดสินใจ จะดำเนินการตามที่สาธารณชนตัดสินใจ เอกสารข้อมูล เวปไซด์ Open House การรับฟังความเห็น เสวนากลุ่มสนใจ สำรวจ เวทีประชาชน ประชุมปฏิบัติการ Deliberative Polling คณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน กระบวนการฉันทามติ & ตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม ลงประชามติ ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป้าหมาย การมี ส่วนร่วม คำมั่นสัญญา ตัวอย่าง เทคนิค

10 ลักษณะของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
เป็นองค์กรที่เปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ (Accessibility) ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ติดต่อสื่อสารสองทางกับประชาชน (Dialogue) อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะประเด็นนโยบายสำคัญๆ หารือและทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมในการหาวิธีการ และทางเลือกในการแก้ไขปัญหาต่างๆ (Deliberative Dialogue) นำข้อคิดเห็นของประชาชนมาประกอบการตัดสินใจขององค์กร + อธิบายเหตุผล มีการจัดกระบวนการการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทันท่วงที ถูกต้อง โปร่งใสและจริงใจ

11 การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมมีประโยชน์อย่างไร
ภาคราชการ ทราบถึงปัญหาและการแก้ไขก่อนที่จะบานปลาย ลดความขัดแย้ง/การต่อต้านจากประชาชน ช่วยให้งานบรรลุผลสำเร็จตรงความต้องการของประชาชน ได้รับความร่วมมือ + การสนับสนุนและความไว้ใจจากประชาชน ภาคประชาชน เข้าใจการทำงานของภาครัฐมากขึ้นและให้ความร่วมมือมากขึ้น เชื่อมั่นในการตัดสินใจของภาครัฐ

12 ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบการบริหารราชการของไทย
ปัญหาความเข้าใจเรื่อง ”การมีส่วนร่วมของประชาชน” เพราะ ไม่ใช่การจัดเวทีประชาพิจารณ์ และการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ไม่ใช่การประชาสัมพันธ์หรือชี้แจงข้อมูล ผู้บริหารและข้าราชการส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงไม่สามารถดำเนินกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิผล นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง ข้อพิพาษณ์ และปัญหาสังคม หากเป็นไปได้ หน่วยราชการมักหลีกเลี่ยงกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน

13 ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบการบริหารราชการของไทย
มีกรอบกฎหมายกำหนดให้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม แต่ยังขาดความตระหนัก จิตสำนึก และความมุ่งมั่นที่แท้จริง ข้าราชการคุ้นเคยกับการทำงานแบบรวมศูนย์ คิดว่าเสียเวลา สิ้นเปลือง และขาดการสนับสนุน แนวทาง มาตรการ และกฎระเบียบชี้นำให้ข้าราชการเข้าใจผิดและดำเนินงานที่ผิดพลาด ให้ความสำคัญกับการจัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การประชาพิจารณ์เช่น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548

14 ข้อเสนอแนะ การพัฒนาระบบราชการ: กำหนดนโยบาย และมาตรการ เพื่อกระตุ้นการพัฒนาระบบราชการสู่การบริหาราชการแบบมีส่วนร่วม ส่งเสริมและพัฒนาความรู้และทักษะเกี่ยวกับประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติหลัก (ตามประเด็นนโยบาย) สร้างสายสัมพันธ์และความเชื่อมั่นศรัทธากับภาคประชาชนสังคมอย่างต่อเนื่อง (ความเชื่อมั่นศรัทธาใช้เวลาและอ่อนไหวต่อพฤติกรรม ท่าที และผลของกระบวนการ)

15 Thank you for your attention 

16 ศาสตร์ (Science) = เรียนรู้เทคนิคเชิงวิชาการได้
เทคนิคการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและ การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์ (Science) = เรียนรู้เทคนิคเชิงวิชาการได้ ผู้บริหารและข้าราชการต้องมีความเข้าใจในเทคนิควิธีการและ สามารถวางแผน กำหนดรูปแบบ และเลือกใช้เทคนิคได้ พัฒนาปรับปรุงและประยุกต์เทคนิคต่างๆ ได้ สามารถคิดค้นแนวทางใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่นความขัดแย้ง ศิลป์ (Art) = พัฒนาทักษะ ผู้บริหารและข้าราชการต้องมีคิลปะในการสื่อสารและพัฒนาลีลาในการบริหารที่เป็นประชาธิปไตย ประยุกต์วิธีการให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างมีศิลปะ แสดงออกถึงความจริงใจและจริงจัง เป็นที่เชื่อมั่นศรัทธา

17 เหตุใดจึงต้องสนใจ เข้าใจ และสามารถเลือกใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม
ภารกิจของภาคราชการในแต่ละส่วนต้องการระดับการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกัน ขึ้นกับประเภทของงาน ห้วงเวลา หรือกลุ่มเป้าหมายเช่น บางกลุ่มเป้าหมายจำเป็นต้อง เน้นการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มต่างๆ และ Feedback สร้างเวทีสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่จริงใจ/โปร่งใส สร้างเวทีสมานฉันท์ มีการทำข้อตกลงภาครัฐ/ประชาชน เปิดเวทีสาธารณะ การเลือกใช้เทคนิควิธีการที่เหมาะสมทำให้การทำงานและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนประสบความสำเร็จ เหตุใดจึงต้องมีการใช้เทคนิคการมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อรวบรวมข้อมูลจากประชาชนกลุ่มต่างๆ และภาครัฐมีการ feedback ต่อข้อมูลดังกล่าว (หมายถึงการแจ้งกลับต่อประชาชนว่า ข้อมูลที่ได้รับนั้น ภาครัฐนำไปใช้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นเพราะเหตุใด) เพื่อสร้างเวทีการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่แสดงความจริงใจและโปร่งใส เพื่อสร้างเวทีสมานฉันท์มีข้อตกลงร่วมมือกันทำงานระหว่างภาครัฐกับประชาชนในการจัดทำโครงการ เพื่อเปิดเวทีสาธารณะ

18 การใช้เทคนิคประเภทต่างๆ ต้องคำนึงถึง
กระบวนการมีส่วนร่วมเป็นแผนงานงานที่มีวัตถุประสงค์หลายระดับ และมีความซับซ้อน...จึงจำเป็นต้องเลือกใช้เทคนิคที่หลากหลาย การใช้เทคนิคประเภทต่างๆ ต้องคำนึงถึง ใช้เทคนิคที่แตกต่างกันสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน เช่น กลุ่มสนใจวงนอกหรือกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง การดำเนินการในช่วงต่างๆ ของกระบวนการ หรือ ในช่วง กระบวนการตัดสินใจระดับต่างๆของการมีส่วนร่วม คุณภาพของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสำคัญกว่าเทคนิค

19 กลุ่มของเทคนิคการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม
“I cannot participate, if I don’t know anything” กลุ่มของเทคนิคการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม กลุ่มเทคนิคการให้ข้อมูลแก่ประชาชน (Sharing Information) กลุ่มเทคนิคการรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Collecting Input and Providing Feedback) กลุ่มเทคนิคนำประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วม (Bringing People Together) รูปแบบของกลุ่มเทคนิค เนื่องจากเทคนิคการมีส่วนร่วมมีหลากหลาย เพื่อให้ผู้ใช้ได้เห็นถึงความแตกต่างในลักษณะของเทคนิค จึงแบ่งกลุ่มเทคนิคการมีส่วนร่วมออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มเทคนิคการมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลแก่ประชาชน เป็นกลุ่มเทคนิคที่มีการสื่อสารทางเดียว เพื่อต้องการให้ประชาชนรับทราบข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการใช้สื่อประเภทต่างๆ ได้แก่ สื่อเอกสาร ยกตัวอย่างเช่น การจัดทำเอกสารข้อเท็จจริง จดหมายข่าว การจัดทำสื่อวีดีทัศน์ หรือ ศูนย์ข้อมูล นอกจากนี้ กลุ่มเทคนิคนี้ ยังรวมรูปแบบของการสื่อสารกับประชาชนประเภทต่างๆ เช่น วิทยุ การแถลงข่าว การสัมนาวิชาการให้กับสื่อมวลชน การชี้แจงข้อมูลในการประชุมของทางการ เป็นต้น กลุ่มเทคนิคการมีส่วนร่วมที่เน้นการรับฟังความคิดเห็น หลายเทคนิคในกลุ่มนี้เป็นการสื่อสารแบบสองทาง มีการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นได้ แต่จุดเน้นหรือวัตถุประสงค์หลักของเทคนิคอยู่ที่การได้ข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชน เช่น การสัมภาษณ์รายบุคคล ที่ผู้สัมภาษณ์ควรพูดคุยให้ข้อมูล หรือ การจัดทำประชาพิจารณ์ เป็นต้น กลุ่มเทคนิคการมีส่วนร่วมแบบปรึกษาหารือ เป็นรูปแบบที่เป็นการสื่อสาร สองทาง มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแสดงความคิดเห็นในเนื้อหาของเทคนิคอย่างชัดเจน จึงเป็นกลุ่มเทคนิคการมีส่วนร่วมที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจในระดับค่อนข้างสูง ตัวอย่างเทคนิคได้แก่ เวทีสาธารณะ เวทีผู้มีส่วนได้เสีย การประชุมระดมสมอง เป็นต้น

20 ตัวอย่างกลุ่มเทคนิคการให้ข้อมูลแก่ประชาชน (Sharing Information)
เอกสารข้อเท็จจริง (Fact sheet) จดหมายข่าว รายงานการศึกษา การจัดวีดีทัศน์ เวทีนำเสนอข้อมูล ทัศนศึกษา/เยี่ยมชมโครงการเพื่อให้เข้าใจข้อมูล การเปิด website ให้ข้อมูล

21 ตัวอย่างกลุ่มเทคนิคการรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Collecting Input and Providing Feedback)
การสัมภาษณ์รายบุคคล การสนทนาลุ่มย่อย การแสดงความคิดเห็นผ่าน website การสำรวจความคิดเห็น การจัดเวทีเสาวนาประชาชน (Citizens’ panel) การจัดทำประชาพิจารณ์ การจัดหาวิทยากรกระบวนการ (Facilitation)

22 ตัวอย่างกลุ่มเทคนิคนำประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ามามีส่วนร่วม (Bringing People Together)
การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อการวางแผน/แลกเปลี่ยนความคิดเห็น คณะกรรมการที่ปรึกษา (Advisory Committee) การจัดเวทีการเสวนาอย่างเป็นระบบโดยมีวิทยากรกระบวนการ จัดเวทีการประชุมผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Workshop) การจัดเวทีเพื่อการวางแผนต่างๆ (Planning Forum) เช่น เทคนิคกระบวนการทำแผนที่ความคิดและสร้างอนาคตร่วมกัน (Mind Map and Future Search Conference)

23 ข้อเตือนใจในการเลือกใช้เทคนิคการมีส่วนร่วม
“There are no magic techniques, just magic behaviors” วิธีการและเทคนิคในการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมมีหลายระดับ ซึ่งจะเหมาะสมกับประเด็น โครงการ งาน และสถานการณ์ ที่แตกต่างกัน สิ่งที่สำคัญ คือ ผู้บริหารและผู้ใช้เทคนิคจำเป็น ต้องเข้าใจว่าเมื่อใด สถานการณ์ใด หรืองานประเภทใดจึงเลือกเทคนิคหรือวิธีการนั้นๆ ต้อเข้าใจเทคนิคและขั้นตอนต่างๆ ของแต่ละเทคนิค ต้องรู้ว่าจะนำเทคนิคที่เลือกไปใช้อย่างไรควรศึกษาและมีข้อมูลว่าการใช้เทคนิคแต่ละอย่างนั้น จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการมีส่วนร่วมในระดับใด หรือจะช่วยกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมใด ต้องสามารถเลือกทีมงาน (ภายนอกหรือภายใน) ที่มีความรู้ความสามารถ ข้อสังเกตจากเป้าหมายที่กล่าวมาข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ปัญหาการเลือกเทคนิคการมีส่วนร่วม มิได้อยู่ที่ ตัวเทคนิค ที่เลือก แต่ขึ้นอยู่กับ คำถามและวิธีคิด ที่สำคัญ 3 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. คำถามที่ว่า ทำไม เราจึงเลือกเทคนิคหรือเครื่องมือการมีส่วนร่วมอันนั้น 2. เราจะนำเทคนิคที่เลือกมาใช้ได้อย่างไร 3. พฤติกรรม และ ทัศนคติที่จริงใจ และโปร่งใส ที่หน่วยงานผู้จัดมีจัดกระบวนการการมีส่วนร่วมมีความสำคัญต่อการสร้างความไว้วางใจและเชื่อมั่นที่ประชาชนมีให้ภาครัฐจะช่วยทำให้ภาครัฐสามารถจัดทำโครงการได้อย่างสัมฤทธิผลและยั่งยืน

24 ปัจจัยที่ทำให้การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประสบความสำเร็จและเป็นประโยชน์
มีแนวทางการบริหารงานที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในสิทธิของประชาชน ระบบราชการมีจิตสำนึกและตระหนักถึงการรับใช้ประชาชนและสังคม การแสดงออก (พฤติกรรมและทัศนคติ) ที่จริงใจและโปร่งใสของภาคราชการ นำไปสู่ ความไว้วางใจและเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อระบบราชการ ความร่วมมือในโครงการของภาครัฐ

25 การมีส่วนร่วมของประชาชนมีประโยชน์อย่างไร
ส่วนราชการ ทราบความต้องการของประชาชน สามารถจัดบริการที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง ช่วยให้การบริหารงานบรรลุผลสำเร็จตรงความต้องการของประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลในการดำเนินงาน ทราบถึงปัญหาและสามารถแก้ไขก่อนที่จะบานปลาย ลดความขัดแย้ง/การต่อต้านจากประชาชน ได้รับความร่วมมือ + การสนับสนุน และความไว้ใจจากประชาชน พัฒนาระบบการบริหารราชการที่สุจริตโปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล

26 การมีส่วนร่วมของประชาชนมีประโยชน์อย่างไร
ภาคประชาชน เข้าใจการทำงานวิธีคิด ข้อจำกัด ความจำเป็น ประโยชน์ และหลักการเหตุผลของส่วนราชการมากขึ้น สามารถติดตามตรวจสอบการทำงานของท้องถิ่น เชื่อมั่นในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับภูมิภาคและท้องถิ่น ให้ความร่วมมือในกิจการ ข้อบังคับ และนโยบายต่างๆ ที่ภาครัฐกำหนด เช่น นโยบาย กฎกติกาต่างๆ ในบริหารสาธารณะ การดำเนินโครงการต่าง ที่มีผลกระทบในวงกว้าง ช่วยสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบทบาทของภาคประชาชนในเชิงสร้างสรรค์ วางพื้นฐานสังคมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participative Democratic Society)

27 ขอขอบคุณและสวัสดีค่ะ
& ขอขอบคุณและสวัสดีค่ะ


ดาวน์โหลด ppt หลักการ แนวคิด เทคนิค และวิธีการ มีส่วนร่วมของประชาชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google