งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

HRM 229 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "HRM 229 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 HRM 229 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)

2 คำอธิบายรายวิชา ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องการวางแผนกำลังคน การสรรหาคัดเลือก การฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน การบริหารค่าตอบแทน แรงงานสัมพันธ์ ความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุ การดูแลรักษาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการ ปฏิบัติงาน

3 การจัดการทรัพยากรมนุษย์
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการที่ผู้บริหารใช้ ศิลปะและกลยุทธ์ดำเนินการสรรหา คัดเลือก และบรรจุบุคคล ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้ปฏิบัติงานในองค์การ พร้อมทั้งสนใจ การพัฒนาการบำรุงรักษาให้สมาชิกที่ปฏิบัติงานภายใน องค์การสามารถเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ เพื่อการทุ่มเท การทำงานให้กับองค์การ และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ อย่างมีความสุข(วิชัย โถสุวรรณ,2546:2)

4 กรอบการศึกษา การดูแลรักษาบุคลากร การวางแผนกำลังคน การสรรหาคัดเลือก
การประเมินผลการปฏิบัติงาน การบริหารค่าตอบแทน แรงงานสัมพันธ์ การฝึกอบรมและการพัฒนา ความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุ การดูแลรักษาบุคลากร

5 การวางแผนกำลังคน หมายถึงการแสวงหาคนที่เหมาะสมบรรจุตรงกับงานตามเวลาที่ต้องการด้วย ค่าจ้างที่สมเหตุสมผลดังภาษาอังกฤษ(Attwood&Dimmock,1989:12) The right people In the right numbers With the right knowledge, skills and experience In the right job In the place At the right time At the right cost.

6 กระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
แผนธุรกิจ การพยากรณ์ระดับ การทำกิจกรรม การวิเคราะห์ความต้องการ จำนวนคน ทักษะและพฤติกรรม การพยากรณ์จำนวน แรงงานที่มีให้เลือก การพยากรณ์ความ ต้องการแรงงาน การพยากรณ์ความ ต้องการในอนาคต การวางแผน ปฏิบัติงาน 6 6

7 การสรรหา ความหมาย: กระบวนการในการค้นหาและ ดึงดูดให้กลุ่มคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับ งานมาสมัครงานในตำแหน่งงานที่ว่างอยู่ (Lloyd L. Byars and Leslie W. Rue,2000:150)

8 แหล่งการสรรหา แหล่งภายในองค์การ (Internal Source) การติดบอร์ด
ผ่านอินทราเน็ต เสียงตามสาย หนังสือเวียน แหล่งภายนอกองค์การ (External Source) สำนักจัดหางานของรัฐ สำนักจัดหางานเอกชน การสรรหาในสถาบันการศึกษา จากผู้มาสมัครงานด้วยตนเอง การลงโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์ และวารสาร การสมัครโดยใช้สื่ออิเล็คโทรนิค วันตลาดนัดแรงงาน แหล่งอื่นๆ

9 การคัดเลือก การคัดเลือก หมายถึง กระบวนการที่องค์การดำเนินการโดยใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครที่มีจำนวนมากให้หรือจำนวนตามความต้องการขององค์การ ซึ่งจะต้องได้คนดีที่สุดและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแต่ละงาน(Lloyd L. Byars and Leslie W. Rue,2000:176)

10 Step in the selection process
Completion and screening of the Application form Preliminary interview Diagnostic interview Employment testing Reference checking Physical Examination Final decision Step in the selection process

11 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
การจัดการผลการปฏิบัติงาน หมายถึง แนวทางเชิงกล ยุทธ์หรือแนวทางบูรณาการ เพื่อให้องค์การประสบ ความสำเร็จอย่างยั่งยืน โดยการปรับปรุงผลการ ปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การด้วยวิธีการพัฒนา ให้พนักงานแต่ละคนขององค์การตลอดจนทีมงาน ต่างๆในองค์การมีขีดความสามารถในการทำงาน เพิ่มสูงขึ้น(Armstrong and Baron,1998 อ้างในทวีศักดิ์ สูทกวาทิน,2551)

12 ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน
แสดงแผนผังในการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการประเมินผลของการปฏิบัติงาน การเลือก การประเมินผล ที่มีรูปแบบและ ไม่มีรูปแบบ การเลือกตัวแปร เพื่อใช้ประเมินผล (พฤติกรรม การแสดงออก การทุ่มเท ฯลฯ) การเลือก วิธีการใน การประเมินผล การเลือกผู้ที่จะ ประเมิน ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ที่มา : วิเชียร วิทยอุดม,2552:127

13 ผู้ทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงาน
ผู้บังคับ บัญชาโดยตรง ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน ผู้รับการประเมิน ผู้ใต้บังคับ บัญชา

14 การฝึกอบรมและการพัฒนา
การฝึกอบรม หมายถึงกระบวนการที่จะทำให้ผู้เข้ารับ การอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกิดความชำนาญ และเกิดทัศนคติที่เหมาะสม เกี่ยวกับเรื่องที่อบรม จนกระทั่งผู้เข้ารับการอบรมเกิดการเรียนรู้และ สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดหรือพฤติกรรมไปตาม วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล (สุวิทย์ มูลคำ.2541,31)

15 กระบวนการของการจัดการฝึกอบรม
การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม กำหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม คัดเลือกและออกแบบโครงการฝึกอบรม จัดการฝึกอบรม การประเมินผล สร้างเกณฑ์สำหรับประเมินผล ความแม่นตรงของผลที่ได้รับจากการฝึกอบรม

16 การบริหารค่าตอบแทน ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์(Compensation) หมายถึง“เงิน”หรือ “สินทรัพย์ ”หรือ“บริการ” ที่ สามารถวัดค่าเป็นตัวเงินได้ ตลอดจน“สิทธิ ประโยชน์” ต่างๆซึ่งพนักงานได้รับเป็นสิ่งตอบแทน จากการทำงานให้กับองค์การตามเงื่อนไขของการ ทำงาน(Milkovick and Newman,1999อ้างในทวีศักดิ์ สูทกวาทิน,2551)

17 ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน
ทางตรง ค่าจ้าง เงินเดือน โบนัส ค่านายหน้า ทางอ้อม ค่าประกันคุณภาพ ค่าประกันชีวิต ค่ารักษาพยาบาล เงินสงเคราะห์ทางสังคม เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ค่าจ้างในวันลา

18 ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน
งาน งานที่น่าสนใจ งานที่ท้าทาย ความรับผิดชอบ โอกาสก้าวหน้า การยกย่องยอมรับ ความภาคภูมิใจในงาน สภาพแวดล้อมของงาน นโยบายค่าตอบแทนที่ดี การบังคับบัญชาที่ดี ทีมงาน การยืดหยุ่นเวลาทำงาน การมีส่วนร่วม สภาพการทำงานที่ดี

19 แรงงานสัมพันธ์ หมายถึง บทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างองค์การในฐานะนายจ้าง และ บุคลากรในฐานะลูกจ้าง ซึ่งมีผลต่อการบริหารจัดการและการจัดการ ภายในองค์กร หรือทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศ แรงงานสัมพันธ์ ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดนโยบายบุคคล การว่าจ้างไป จนถึงการเลิกจ้าง รวมทั้งวิธีทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างกัน และรวมถึงบุคคลฝ่ายที่สามคือรัฐบาลที่เข้าไปมีบทบาท อย่างสำคัญ ในการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่าง นายจ้างกับลูกจ้าง

20 ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
มาตรา ๖๑ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ในวันทำงาน ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้าง ในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อ ชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่ น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวัน ทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่ง ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

21             มาตรา ๖๒ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานใน วันหยุดตามมาตรา ๒๘มาตรา ๒๙ หรือมาตรา ๓๐ ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างใน อัตราดังต่อไปนี้             (๑) สำหรับลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ในวันหยุด ให้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่า หนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตาม จำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตรา ค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำ ได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย คำนวณเป็นหน่วย

22 (๒) สำหรับลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

23             มาตรา ๖๓ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้าง ทำงานล่วงเวลาในวันหยุดให้นายจ้างจ่าย ค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา ไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อ ชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อ หน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำ ได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย

24 ค่าชดเชย             มาตรา ๑๑๘ ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้             (๑) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ หนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อย กว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อย กว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย คำนวณเป็นหน่วย

25 (๒) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรา สุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการ ทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ ค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย (๓) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย หนึ่งร้อยแปดสิบวัน  หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของ การทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับ ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณ เป็นหน่วย

26 (๔) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรา สุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่า ค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวัน สุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย (๕) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้น ไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย สามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการ ทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่ง ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็น หน่วย

27 มาตรา ๑๑๙ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้             (๑) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำ ความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง             (๒) จงใจทำให้นายจ้างได้รับ ความเสียหาย             (๓) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

28             (๔) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือ คำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน            หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่ วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด             (๕) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงาน ติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุ อันสมควร             (๖) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้ จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ

29 ความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุ
การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย (Safe and Healthy Environment) ด้วยการจัดหา ติดตั้ง และมีอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่ เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน และไม่มีสภาพที่ก่อให้เกิด อันตรายใดๆ อีกทั้งยัง ต้องมีแผนระวังภัยที่ดีด้วย

30 การดูแลรักษาบุคลากร เป็นกลยุทธ์ของ การแสวงหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อการผูก ใจให้พนักงานที่องค์การ พึงประสงค์ให้พนักงานมี ความจงรักภักดีต่อองค์การ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจ่ายค่าตอบแทนที่มีความยุติธรรมให้ พนักงานมี ความสุขกายสุขใจ เมื่อขณะปฏิบัติงานก็มีความ ปลอดภัย จากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม


ดาวน์โหลด ppt HRM 229 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google