ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 4 ตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย
บทที่ 4 ตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
2
เนื้อหาในบทเรียน 7. ความหมายของสมมติฐานการวิจัย 1.ความหมายของตัวแปร
2.ความสำคัญของตัวแปร 3.ประเภทของตัวแปร 4. การนิยามตัวแปร 5.ประเภทของคำศัพท์ที่ต้องนิยาม 6.หลักการเขียนคำนิยามตัวแปร 7. ความหมายของสมมติฐานการวิจัย 8. ประเภทของสมมติฐาน 9. วิธีการตั้งสมมติฐาน 10.หลักการเขียนสมมติฐานการวิจัย 11.ลักษณะของสมมติฐานที่ดี 12.แหล่งที่มาของสมมติฐานการวิจัย 13.ประโยชน์ของสมมติฐาน
3
ความหมายของตัวแปร ตัวแปร (Variable) หมายถึงอะไร ?
คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งที่สนใจศึกษา สามารถแปรเปลี่ยนค่าได้มากกว่า 1 ค่า เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น ชาย, หญิง ศาสนา แปรค่าได้เป็น พุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู
4
ความสำคัญของตัวแปร 1 2 3 4 เป็นตัวเชื่อมโยงกับแนวคิดและทฤษฎี
เป็นตัวเชื่อมโยงกับสมมติฐานการวิจัย 2 ช่วยทำให้สามารถวัดและทดสอบได้ 3 ช่วยให้เลือกใช้สถิติวิเคราะห์ได้เหมาะสม 4
5
ประเภทของตัวแปร 1. พิจารณาตามลักษณะของพฤติกรรมมนุษย์ 1.1 ตัวแปรเชิงมโนทัศน์ (Concept variable) แสดงความหมายในลักษณะที่คนทั่วไปเข้าใจรับรู้ได้ตรงกัน เป็นรูปธรรม สังเกตได้ชัดเจน เช่น เพศ อาชีพ อายุ น้ำหนัก 1.2 ตัวแปรเชิงโครงสร้าง (Construct variable) แสดงความหมายในลักษณะที่รับรู้กันเฉพาะบุคคล เป็นนามธรรมและไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง เช่น ทัศนคติ ความก้าวร้าว ความเกรงใจ เป็นต้น ตัวแปรในลักษณะนี้ต้องนิยามให้ชัดเจนและระบุวิธีการวัดด้วย
6
ประเภทของตัวแปร 2. พิจารณาตามลักษณะของคุณสมบัติที่แปรค่าออกมา 2.1 ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative Variable) แสดงออกมาเป็นจำนวนหรือปริมาณ เช่น ระยะทาง เงินเดือน อายุ เป็นต้น 2.2 ตัวแปรเชิงคุณภาพ (Qualitative variable) ไม่สามารถแสดงออกมาเป็นจำนวนหรือปริมาณได้ แต่ระบุ ความแตกต่างตามคุณลักษณะได้ เช่น ศาสนา อาจแบ่งออกเป็น 3 รายการ คือ พุทธ คริสต์ อิสลาม
7
ประเภทของตัวแปร 3. พิจารณาตามความต่อเนื่องของคุณลักษณะ
3.1 ตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous variable) แปรค่า ได้อย่างต่อเนื่องกันภายในช่วงใดช่วงหนึ่งอย่างน้อย 2 ค่าของตัวแปร สะท้อนถึงอันดับที่หรือค่าที่มากกว่าน้อยกว่าได้ เช่น ความยาว น้ำหนัก อายุ ระยะทาง IQ GPA เป็นต้น 3.2 ตัวแปรไม่ต่อเนื่อง (Discrete variable) เช่น ศาสนา ให้ 1 แทนพุทธ, 2 แทนคริสต์, 3 แทนอิสลาม ตำแหน่ง ให้ 1 แทนผู้บริหาร, 2 แทนครูผู้ช่วย, 3 แทนครู
8
ประเภทของตัวแปร 4. พิจารณาตามความสัมพันธ์ของตัวแปร
4.1 ตัวแปรที่ต้องการศึกษา ได้แก่ 4.1.1 ตัวแปรอิสระ(Independent variable), ตัวแปรต้น, ตัวแปรทดลอง ตัวแปรที่เป็นสาเหตุให้ตัวแปรอื่นเปลี่ยนแปลง 4.1.2 ตัวแปรตาม(Dependent variable), ตัวแปรผล ตัวแปรที่ต้องการทราบการเปลี่ยนแปลงค่าอันเนื่องมาจากตัวแปรอิสระ 4.1.3 ตัวแปรปรับ(moderator variable) ตัวแปรอิสระตัว ที่สอง เนื่องจากตัวแปรที่ผู้วิจัยสนใจว่าจะมีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามเปลี่ยนไปหรือไม่
9
ประเภทของตัวแปร 4.2 ตัวแปรที่ไม่ต้องการ ตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่สนใจจะศึกษา แต่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม และจะมีผลทำให้ ค่าของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรตามที่วัดได้ผิดไปจากความเป็นจริง ในการทำวิจัยจึงต้องพยายามควบคุมตัวแปรชนิดนี้ให้มีอิทธิพลน้อยที่สุด บางครั้งเรียก ตัวแปรเกินหรือตัวแปรแทรกซ้อน 4.2.1 พิจารณาคุณสมบัติของตัวแปร (1) ตัวแปรลักษณะทางกายภาพ เช่น อายุ ภูมิลำเนา วุฒิการศึกษา (2) ตัวแปรลักษณะแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ แสง เสียง บรรยากาศ
10
ประเภทของตัวแปร 4.2.2 พิจารณาตามบทบาทของตัวแปร (1) ตัวแปรสอดแทรก (Intervening variable) ตัวแปรอิสระที่ไม่ต้องการศึกษา แต่ส่งผลต่อตัวแปรตาม (2) ตัวแปรที่มาก่อน (antecedent variable) ตัวแปรที่มาก่อนมีอิทธิพลอยู่เหนือตัวแปรอิสระ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตามลดน้อยลงหรือหมดไป การอ้างถึงตัวแปรที่มีมาก่อนนี้เพียงเพื่อต้องการจะค้นหาลำดับของการเป็นเหตุและผลที่เกิดขึ้น เพื่อการสรุป อภิปรายผลจะทำได้ชัดเจนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
11
ประเภทของตัวแปร 4.3 ตัวแปรคลาดเคลื่อน (Error variable) ตัวแปรที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในผลการวิจัย ไม่สามารถควบคุมได้ ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่ามีอะไรบ้างและจะเกิดขึ้นเมื่อใด บางครั้งเรียก ตัวแปรรบกวน, ตัวแปรร่วม ต้องพยายามลดความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากตัวแปรเหล่านี้ให้มากที่สุด ตัวแปรคลาดเคลื่อน ได้แก่ ความเสื่อมของเครื่องมือวัด ความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการสุ่มตัวอย่างหรือการวัด เป็นต้น
12
2. การนิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational definition)
การนิยามตัวแปร เป็นการนิยามตัวแปรตามทฤษฎี ตามความหมายในพจนานุกรม โดยใช้ภาษาที่เป็นทางการเพื่อมาอธิบายความหมายของตัวแปรนั้น ค่อนข้างเป็นนามธรรม ไม่ชัดเจนในแง่ของการวัดและการจัดกระทำกับตัวแปร 1. การนิยามเชิงทฤษฎี หรือการนิยามเชิงมโนทัศน์ (Conceptual definition) หรือการนิยามเชิงบัญญัติ (Constitutive definition) เป็นการให้ความหมายของตัวแปรในเชิงรูปธรรม หรือให้ความหมายในรูปขององค์ประกอบของตัวแปร อาจมีตัวบ่งชี้ กิจกรรมหรือพฤติกรรมที่วัดได้ สังเกตได้ หรือจัดกระทำได้ 2. การนิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational definition)
13
ประเภทของคำศัพท์ที่ต้องนิยาม
เช่น ท้องถิ่น ประชาธิปไตย เช่น นักศึกษาระดับปริญญาตรีคู่ขนาน เช่น ประชากร การทดลอง ยุทธศาสตร์ ชีวิต อารมณ์ เช่น การประกันคุณภาพ การประเมินตนเอง การเรียนรู้ ความสนใจใฝ่รู้ 1.คำศัพท์วิชาการ, เฉพาะศาสตร์ (technical term) 2. คำศัพท์ ที่มีหลายความหมาย 3. คำศัพท์ ที่เข้าใจ ไม่ตรงกัน 4. คำหรือข้อความ ที่เป็นวลียาว
14
หลักการเขียนคำนิยามตัวแปร
1. เขียนคำนิยามให้กับตัวแปรทุกตัว โดยเฉพาะตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม 2. ไม่ควรแยกนิยามโดยการตัดออกเป็นส่วน ๆ เช่น ความพึงพอใจ ต่อการจัดการศึกษา, ความคิดเห็นต่อการจัดบรรยากาศ 3. ตัวแปรที่มีความซับซ้อนหลายมโนทัศน์ (concept) ก็ควรให้นิยามเกี่ยวกับมโนทัศน์อื่นๆ ก่อน แล้วจึงให้นิยามตัวแปรนั้น 4. ตัวแปรบางตัวที่ไม่ใช่ตัวแปรในการวิจัย แต่เป็นคำสำคัญก็ควรจะนิยามให้เข้าใจตรงกัน (นิยามเชิงทฤษฎี)
15
หลักการเขียนคำนิยามตัวแปร
5. การนิยามเชิงปฏิบัติการ นิยามได้ 3 แบบ คือ 5.1 การกำหนดสิ่งที่ผู้วิจัยต้องสร้างขึ้นมาเป็นเงื่อนไข เพื่อเป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดปรากฏการณ์ หรือสภาวะที่ต้องการให้นิยาม เช่น ความเครียด ความก้าวร้าว 5.2 การสร้างพฤติกรรมหรือแสดงอาการ เพื่อบ่งบอกลักษณะถึงคุณสมบัติที่สามารถเคลื่อนไหวได้หรือคุณสมบัติที่คงที่ ซึ่งเหมาะกับ ตัวแปรที่เป็นลักษณะของคน เช่น ความตั้งใจเรียน 5.3 ความหมายเชิงรูปธรรมของสิ่งที่ถูกวัด และระบุวิธีการเก็บข้อมูล เช่น เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทย
16
ความหมายของสมมติฐานการวิจัย
สมมติฐานการวิจัย (Research hypothesis) คืออะไร? ข้อความที่คาดคะเนคำตอบของการวิจัยอย่างมีเหตุผล มีประเด็นสอดคล้องกับปัญหาการวิจัยหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา มีการทดสอบโดยอาศัยข้อมูลและวิธีการทางสถิติว่าสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้เป็นความจริงหรือไม่
17
ประเภทของสมมติฐาน สมมติฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมมติฐานการวิจัย เขียนอยู่ในรูปข้อความที่แสดงถึงคำตอบที่คาดหวังเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ 1.1 สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียนโดยระบุทิศทางของความสัมพันธ์ของตัวแปร หรือ ในกรณีของการเปรียบเทียบก็ให้ระบุทิศทางความแตกต่าง เช่น สัมพันธ์กับทางบวก – สัมพันธ์กันทางลบ, มากกว่า – น้อยกว่า, สูงกว่า – ต่ำกว่า, เพิ่มขึ้น - ลดลง เป็นต้น 1.2 สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (Non-directional hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียนโดยไม่ได้ระบุทิศทางของความสัมพันธ์กัน หรือแตกต่างกันเท่านั้น
18
ประเภทของสมมติฐาน 2. สมมติฐานทางสถิติ เปลี่ยนรูปจากสมมติฐานการวิจัยให้อยู่ในรูป โครงสร้างทางคณิตศาสตร์ โดยใช้สัญลักษณ์แทนคุณลักษณะของประชากรที่เรียกว่า “ค่าพารามิเตอร์(parameter)” มาเขียนอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรหรืออธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่ม มี 2 แบบ คือ 2.1 สมมติฐานที่เป็นกลาง (Null hypothesis) แทนด้วย Ho ที่ เขียนอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่ไม่มีความสัมพันธ์กันหรือคุณลักษณะไม่แตกต่างกัน ตัวอย่างสมมติฐานที่เป็นกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร H0 : ρAB = 0 การเปรียบเทียบตัวแปร H0 : μA = μB
19
ประเภทของสมมติฐาน 2.2 สมติฐานที่เป็นทางเลือก (Alternative hypothesis) แทนด้วย H1 หรือ HA ที่เขียนอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตัวอย่างสมมติฐานที่เป็นทางเลือก ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร H1 : ρ AB ≠ 0 หรือ H1 : ρ AB > 0 (เป็นบวก) หรือ H1 : ρ AB < 0 (เป็นลบ) การเปรียบเทียบตัวแปร H1 : μA ≠ μB หรือ H1 : μA > μB หรือ H1 : μA < μB
20
วิธีการตั้งสมมติฐาน วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กรณีตั้งสมมติฐานแบบมีทิศทาง สมมติฐานการวิจัย : แรงจูงใจในการเรียนของนักเรียน มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนทางบวก สมมติฐานทางสถิติ : H0 : ρ AB = 0 H1 : ρ AB > 0 กรณีตั้งสมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง สมมติฐานการวิจัย : แรงจูงใจในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีความสัมพันธ์กัน H1 : ρ AB ≠ 0
21
วิธีการตั้งสมมติฐาน วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริหารงานของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยระหว่างอาจารย์รุ่นใหม่กับอาจารย์รุ่นเก่า กรณีตั้งสมมติฐานแบบมีทิศทาง สมมติฐานการวิจัย : อาจารย์รุ่นเก่ามีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยสูงกว่าอาจารย์รุ่นใหม่ สมมติฐานทางสถิติ : H0 : μA = μB H1 : μA > μB กรณีตั้งสมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง สมมติฐานการวิจัย : อาจารย์รุ่นเก่าและอาจารย์รุ่นใหม่มีความพึงพอใจต่อการบริหารงาน ของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย แตกต่างกัน สมมติฐานทางสถิติ : H0 : μA = μB H1 : μA ≠ μB
22
หลักการเขียนสมมติฐานการวิจัย
1. มีเหตุผล เขียนหลังจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างครบสมบูรณ์และละเอียดแล้ว 2. สอดคล้องกับปัญหาวิจัยและวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3. เขียนแยกตามลักษณะของตัวแปรอิสระ หรือแยกเป็นข้อ ๆ 4. เขียนเป็นประโยคบอกเล่าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร ระบุทิศทางของความสัมพันธ์ หรือบอกถึงความแตกต่างระหว่างตัวแปร 5. เขียนในรูปของความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ควรจะทราบสองกลุ่ม เพื่อจะได้ทดสอบว่าแตกต่างก็อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่
23
หลักการเขียนสมมติฐานการวิจัย
6. ใช้ข้อความเพียงประโยคเดียว ไม่สลับซับซ้อน ใช้ภาษาที่ เข้าใจง่าย 7. สามารถทดสอบหาคำตอบได้ ด้วยข้อมูลหรือหลักฐาน 8. ในการทำวิจัยบางเรื่องที่ไม่อาจคาดคะเนคำตอบได้ หรือไม่สามารถเขียนสมมติฐานการวิจัยได้ นักวิจัยควรอธิบายถึงเหตุผล แนวคิดสำคัญ หรือทฤษฎีที่จะใช้ในการวิจัยครั้งนั้น
24
ลักษณะของสมมติฐานที่ดี
1. มีความเกี่ยวข้องกับปัญหา เขียนเป็นประโยคบอกเล่าที่ระบุ ถึงความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย 2. ขอบเขตของสมมติฐาน เป็นประโยคสั้น กะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย 3. ต้องแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ในเชิงของความเป็นเหตุผล ไม่ใช่ตั้งขึ้นจากสามัญสำนึก 4. สามารถทดสอบได้ หรือหาข้อมูล หลักฐานเกี่ยวกับตัวแปรมาเป็นข้อยืนยันสนับสนุนได้ด้วยวิธีการทางสถิติ
25
ลักษณะของสมมติฐานที่ดี
5. สามารถทดสอบซ้ำได้ ไม่ว่าจะใช้ข้อมูลปัจจุบันหรืออนาคต 6. สามารถสรุปอ้างอิงได้ นำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ หรือสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้ 7. มีการนำเสนอที่ดี เขียนเรียงลำดับข้อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป็นแนวทางใน การกำหนดหัวข้อในการวิเคราะห์ ข้อมูล เพื่อทดสอบสมมติฐาน
26
แหล่งที่มาของสมมติฐานการวิจัย
1.ความรู้และประสบการณ์ของผู้วิจัย 2. ความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม 3.ข้อค้นพบที่มีผู้ทำวิจัยไว้แล้ว 4. ทฤษฎีและแนวคิด 5. หลักเหตุผลเชิงเปรียบเทียบเชื่อมโยง สิ่งที่รู้ไปสิ่งที่ยังไม่รู้ 6. การร่วมอภิปราย
27
ประโยชน์ของสมมติฐาน 1. ช่วยกำหนดขอบเขตของการวิจัย
2. ช่วยชี้แนวทางในการออกแบบการวิจัย 3. แปลความหมายของข้อมูลได้ชัดเจน 4. เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่
28
Thank You!
29
Workshop 4 นิสิตแบ่งกลุ่มละ 5 คน 1.เขียนนิยามศัพท์ของตัวแปร
2.เขียนสมมติฐานการวิจัยและสมมติฐานทางสถิติ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.