ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การบริหารงานและการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
วันจันทร์ที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๙ แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง โดย นางสาวปรียานุช พิบูลสราวุธ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ณ โรงแรมเดอะโรสกาเดน เอไพรม รีสอร์ท สวนสามพราน จ. นครปฐม ระหว่างวันที่ ๓๐-๓๑ มกราคม ๒๕๔๗ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
2
หยุดคิด ๕ นาที กรุณาตอบคำถามทั้ง ๓ ข้อข้างล่าง และเขียนชื่อที่มุมขวาบนของกระดาษคำตอบที่แจก “เศรษฐกิจพอเพียง” สำหรับท่านหมายความว่าอย่างไร (ก่อนฟังบรรยาย) ในชีวิตประจำวัน ท่านได้ทำกิจกรรมอะไรบ้างที่ท่านคิดว่าสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้นกับ ตนเอง/ครอบครัว/สังคม ท่านคาดหวังอยากเรียนรู้เรื่องอะไรจากการฝึกอบรมครั้งนี้
3
ประเด็นของการนำเสนอ ความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในระดับต่างๆ ๒.๑ ระดับบุคคล/ครอบครัว ๒.๒ ระดับชุมชน ๒.๓ ระดับองค์กรและภาคธุรกิจ การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา
4
๑
5
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๑ “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ กรอบแนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ คุณลักษณะ ความพอเพียง หมายถึง ความพอ คำนิยาม ประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผล กระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึก ในดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความ คุณธรรมความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่ เหมาะสม ทั้งนี้ รอบคอบ และความระมัดระวัง เงื่อนไข เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี แนวปฏิบัติและ ผลที่คาดหมาย
6
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๑ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดี ทางสายกลาง พอประมาณ เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต สติปัญญาขยันอดทน แบ่งปัน เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร เศรษฐกิจพอเพียงมีกรอบแนวคิดคือ เป็นปรัชญาชี้แนะแนวทางปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น มีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตของสังคมไทย และเป็นการมองโลกเชิงพลวัตร มุ่งเน้นการรอดพ้นจากวิกฤต ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน บนพื้นฐานของความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง รวมทั้งจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนให้มีสำนึกใน คุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญา เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า กล่าวคือ - ความพอเพียงในระดับบุคคล/ครอบครัว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๑ - ความพอเพียงในระดับชุมชน/ระดับองค์กร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าซึ่งครอบคลุม ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๒ - ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจ พอเพียงแบบก้าวหน้า ครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๓ นำไปสู่ สมดุล/พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม
7
เศรษฐกิจพอเพียง & ทฤษฎีใหม่
๑ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๓ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๒ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๑ เศรษฐกิจพอเพียง แบบพื้นฐาน แบบก้าวหน้า ความพอเพียงระดับชุมชน /องค์กร ความพอเพียงระดับบุคคล ความพอเพียงระดับประเทศ
8
สรุปหลักการทรงงาน คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ปฏิบัติอย่างพอเพียง
๓ สรุปหลักการทรงงาน ระเบิดจากข้างใน ปลูกจิตสำนึก เน้นให้พึ่งตนเองได้ คำนึงถึงภูมิสังคม ทำตามลำดับขั้น ประหยัด เรียบง่าย ประโยชน์สูงสุด บริการที่จุดเดียว แก้ปัญหาจากจุดเล็ก ไม่ติดตำรา ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ การมีส่วนร่วม รู้ รัก สามัคคี มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่ คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ปฏิบัติอย่างพอเพียง เป้าหมายคือสังคมพอเพียง
9
บนพื้นฐาน เศรษฐกิจ พอเพียง
แนวทางการขับเคลื่อน หลัง ๒๕๕๐ ผลระยะยาว กลไก การขับเคลื่อน คนไทย ใช้ชีวิต บนพื้นฐาน เศรษฐกิจ พอเพียง สร้างองค์ความรู้ ฐานข้อมูล สร้างเพื่อน สานข่าย ขยายผล ผู้นำทาง ความคิด ประชาสังคม คณะที่ปรึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะอนุ กรรมการ ขับเคลื่อนฯ คณะทำงานเครือข่ายต่างๆ วิชาการ พัฒนาเครือข่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง องค์กร ภาครัฐ สังคมไทย มีเครือข่าย ความร่วมมือ เศรษฐกิจ พอเพียง สถาบัน การเมือง องค์กร ภาคเอกชน สถาบัน การศึกษา และเยาวชน สื่อมวลชน และประชาชน แนวคิดและขอบเขตการดำเนินงานขับเคลื่อน การขับเคลื่อนฯ จะเป็นไปในลักษณะเครือข่าย โดยมีแกนกลางในการขับเคลื่อน ๓ ระดับ ได้แก่ คณะ ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง(โดยมีท่านจิรายุ เป็นประธาน คุณจักรมณฑ์ ลศช. เป็นรองประธาน และกระผม เป็นเลขานุการ) และกลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียง ใน สศช. เป็นหน่วยปฏิบัติการในการดำเนินงาน และเป็นฝ่ายเลขานุการจัดการสัมมนาในวันนี้ เป้าหมายหลักของการสร้างขบวนการฯ คือ เพื่อมุ่งสร้างกระแสสังคมให้นำหลักปรัชญาฯไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม และเกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตและวิถีปฏิบัติ ให้อยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจ พอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนาให้บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเครือข่าย เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาชน และเยาวชน เป้าหมายการขับเคลื่อนฯ แบ่งเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะสั้น (ในช่วง ๔ ปี) จะมุ่งสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง สร้างเพื่อน/ พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยค้นหาตัวอย่างที่เป็น รูปธรรม และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ระยะยาว คนไทยในระดับต่างๆ ดำเนินชีวิตบนพื้นฐานหลักเศรษฐกิจพอเพียง สังคม ไทยมีเครือข่ายการเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และ เกิดระบบ/โครงสร้าง ของการพัฒนาประเทศ อยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนฯ จะดำเนินการในระยะเวลา ๔ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๔๖-๒๕๕๐ โดยจะทูลเกล้าฯ ถวายผลการดำเนินงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสครบ รอบพระชนมพรรษา ๘๐ ปี ในเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ การพัฒนา อยู่บน พื้นฐาน เศรษฐกิจ พอเพียง ค้นหาตัวอย่างรูปธรรม ที่หลากหลาย พัฒนากระบวนการเรียนรู้ ที่เหมาะสม กับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ๒๕๔๖ ระยะเวลาขับเคลื่อน ๔ ปี ๒๕๕๐
10
ขั้นตอนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง (๒๕๔๗ – ๒๕๕๐)
๔๘ ๔๙ ๕๐ สานแกนนำ ขับเคลื่อน เครื่องมือเรียนรู้ แผน/ทิศทางขับเคลื่อน สร้างแกนนำ เครือข่าย พัฒนาคน พัฒนาสื่อเรียนรู้ ขยาย แหล่งเรียนรู้ ขยายเครือข่าย สื่อสารแบบ ผสมผสาน สู่สาธารณชน เทิดพระเกียรติ แต่ละเครือข่าย ร่วมนำ เสนอผลงาน จุดประกาย ตอกเสาเข็ม ขยายผล เห็นคุณค่า นำไปปฏิบัติ
11
๒. การประยุกต์ใช้ในระดับต่างๆ
12
การประยุกต์ใช้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๒ โดยพื้นฐานก็คือ การพึ่งตนเอง เป็นหลัก การทำอะไรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รอบคอบ ระมัดระวัง พิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร ความสมเหตุสมผล และการพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง การสร้างสามัคคีให้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความสมดุลใน แต่ละสัดส่วนแต่ละระดับ ครอบคลุมทั้งทางด้านจิตใจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเศรษฐกิจ
13
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ในด้านต่างๆ
๒ ด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ /มีจิตสำนึกที่ดี /เอื้ออาทรประนีประนอม /นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ด้านสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน /รู้รักสามัคคี /สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน ด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ / เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด ด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม (ภูมิสังคม) /พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านเองก่อน /ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก
14
แนวทางการวิเคราะห์ความพอเพียง สัปปุริสธรรม ๗
๒ แนวทางการวิเคราะห์ความพอเพียง สัปปุริสธรรม ๗ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้บุคคล รู้ชุมชน ความมีเหตุมีผล ความพอประมาณ ภูมิคุ้มกัน
15
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล
๒.๑ สำหรับวิกฤตปี 2540 ของไทย เมื่อวิเคราะห์แล้ว พบว่ามีสาเหตุสำคัญใน 3 ระดับที่ร่วมกันส่งผลให้เกิดความเปราะบางขึ้นในระบบ กล่าวคือ ปัญหาเงินทุนที่ไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากในช่วงก่อนหน้า ปัญหาระบบการเงินและระบบสถาบันการเงินที่ยังอ่อนแอ ปัญหาระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่แต่มีการเปิดเสรี ที่ทำให้ภาคเอกชนกู้ยืม จากต่างประเทศระยะสั้นโดยไม่ได้มีการป้องกันความเสี่ยงตามควร จากความเปราะบางดังกล่าว เมื่อเกิดปัญหา จึงมีความรุนแรงเป็นพิเศษ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาจึงต้องเข้าใจว่ากลไกในการเกิดวิกฤตคืออะไร ความเปราะบางเกิดจากอะไร
16
การประยุกต์ใช้ในระดับ บุคคลและครอบครัว
๒.๑ ตัวอย่างการใช้จ่ายอย่างพอเพียง พอประมาณ : รายจ่ายสมดุลกับรายรับ มีเหตุมีผล : ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล /มีความจำเป็น /ไม่ใช้สิ่งของเกินฐานะ /ใช้ของอย่างคุ้มค่าประหยัด มีภูมิคุ้มกัน : มีเงินออม /แบ่งปันผู้อื่น /ทำบุญ ความรู้คู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจต่างๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการ เปลี่ยนแปลง
17
คุณลักษณะของ คน/กิจกรรม ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
๒.๑ พอประมาณ พอเหมาะกับสภาพ ของตน พอควรกับสิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ / สังคม (ไม่โลภจนเบียดเบียนตัวเอง/ ผู้อื่น / ทำลายสิ่งแวดล้อม) มีเหตุมีผล ไม่ประมาท (รอบรู้/มีสติ) รู้สาเหตุ – ทำไม รู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ในด้านต่างๆ มีภูมิคุ้มกันที่ดี สุขภาพดี พร้อมรับความเสี่ยงต่างๆ (วางแผน/เงินออม/ประกัน) ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น/ สังคม เรียนรู้ / พัฒนาตน อย่างต่อเนื่อง สามารถพึ่งตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ ในที่สุด
18
การประยุกต์ใช้ในระดับชุมชน
๒.๒ การประยุกต์ใช้ในระดับชุมชน ลักษณะชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจพอเพียง มีจิตสำนึกสาธารณะ มีความเอื้ออาทร มีผู้นำที่ดี มีคุณธรรม มีเมตาธรรม รู้จักวิเคราะห์ข้อมูลของตนเอง มีกระบวนการเรียนรู้ พัฒนากิจกรรมบนพื้นฐานของศักยภาพของชุมชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างสมดุล มีกระบวนการติดตาม และพัฒนาอย่างเป็นพลวัตร พอเพียง (พอประมาณ / มีเหตุมีผล /มีภูมิคุ้มกันที่ดี) เงื่อนไข ความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง ) คุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต สติปัญญา ขยันอดทน แบ่งปัน)
19
เศรษฐกิจพอเพียงและภาคธุรกิจ
๒.๓ เศรษฐกิจพอเพียงและภาคธุรกิจ ภาคธุรกิจเป็นปัจจัยที่จะกำหนด ค่าเงิน ค่าจ้าง การ เจริญเติบโตของระบบ หลายคนคิดว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของชุมชนและ ชนบทเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว เศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ได้กับภาคธุรกิจเช่นเดียวกัน หัวใจคือการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจที่พอประมาณ มี เหตุผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง บนพื้นฐานของ ความรู้และคุณธรรม สำหรับวิกฤตปี 2540 ของไทย เมื่อวิเคราะห์แล้ว พบว่ามีสาเหตุสำคัญใน 3 ระดับที่ร่วมกันส่งผลให้เกิดความเปราะบางขึ้นในระบบ กล่าวคือ ปัญหาเงินทุนที่ไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากในช่วงก่อนหน้า ปัญหาระบบการเงินและระบบสถาบันการเงินที่ยังอ่อนแอ ปัญหาระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่แต่มีการเปิดเสรี ที่ทำให้ภาคเอกชนกู้ยืม จากต่างประเทศระยะสั้นโดยไม่ได้มีการป้องกันความเสี่ยงตามควร จากความเปราะบางดังกล่าว เมื่อเกิดปัญหา จึงมีความรุนแรงเป็นพิเศษ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาจึงต้องเข้าใจว่ากลไกในการเกิดวิกฤตคืออะไร ความเปราะบางเกิดจากอะไร
20
ตัวอย่างความพอเพียงในองค์กรเอกชน แพรนด้าจิวเวอรี่
๒.๓ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ผลิตเพื่อกลุ่มลูกค้าชั้นดีที่ มีช่องทางการขายชัดเจน ยึดหลักความเสี่ยง ปานกลางเพื่อกำไรปกติ ยึดหลักการแบ่งปันและ ไม่เบียดเบียนคู่ค้าธุรกิจ มีเครือข่ายผู้ประกอบการ รายย่อย ช่วยจัดส่งงาน เมื่อยอดการสั่งสินค้าเพิ่ม สร้าง Brand ของตัวเองอย่าง ต่อเนื่อง และมี Brand ต่างกัน สำหรับแต่ละระดับของตลาด ตรวจสอบการทำงานของ บริษัทเทียบกับคู่แข่งอย่าง สม่ำเสมอ ขยายการผลิตไปยังประเทศ ที่มีค่าแรงถูก มีความยืดหยุ่นในการเสนอ ผลิตภัณฑ์ตามความต้องการ กระจายผลิตภัณฑ์ในหลายระดับและขยายตลาดในหลายประเทศ ให้ราคาแก่ Suppliers อย่างเหมาะสม มีนโยบายจ่ายเงินปันผล ไม่เกิน ๖๐%ของกำไรสุทธิ ประเมินความเสี่ยงของกิจการทุกๆ ๖ เดือน ป้องกันความเสี่ยง โดยซื้อขายเงินตราล่วงหน้า เงื่อนไข ความรู้ พัฒนาและเรียนรู้ เพื่อสร้างนวัตกรรมและโอกาสทางธุรกิจเสมอๆ จัดทำโครงการศึกษาทวิภาคีเพื่อเด็กด้อยโอกาสและพนักงานของบริษัท ร่วมในเครือข่าย SVN ในการพัฒนาความรู้และมาตรฐานธุรกิจ เงื่อนไข คุณธรรม จัดโครงการร่วมบริจาคโลหิตให้สภากาชาดเป็นประจำทุก ๓ เดือน เป็นโครงการโรงงานสีขาวดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในองค์กร
21
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ ในภาคธุรกิจเอกชน
๒.๓ ข้อสังเกตเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ ในภาคธุรกิจเอกชน การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเกิดได้หลายด้าน และหลายรูปแบบ ไม่มีสูตรสำเร็จ ผู้ประกอบการแต่ละคนจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสม ให้สอดคล้องกับเงื่อนไข และสภาวะที่ตนเผชิญอยู่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้ผู้ประกอบการ “ฉุกคิด” ว่ามีทางเลือกอีกทางหนึ่ง ที่จะช่วยให้เกิดความยั่งยืน และสมดุลในระยะยาว
22
๓. การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา
๓. การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา
23
โครงสร้างการบริหารสถานศึกษา
คณะผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มบริหารสถานศึกษา กลุ่มบริหารการศึกษา พัฒนาคุณภาพวิชาการ ๘ กลุ่มสาระเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แผนกธุรการ แผนกการเงิน ภาษาไทย คณิตศาสตร์ แผนกสถานที่ แผนกบุคคล วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนผ่าน โครงการและกิจกรรม เสริมหลักสูตร ภาษาต่างประเทศ โครงสร้างการบริหารสถานศึกษา ๓.๑
24
เครือข่ายโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
๓.๓ เครือข่ายโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง ปี ๒๕๔๘ ภาคเหนือตอนบน รร. เทศบาลจามเทวี ภาคเหนือตอนล่าง รร. กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบน ตอนกลาง รร. บ้านเหลากกหุ่งสว่าง ภาคตะวันออก รร. มกุฏเมืองราชวิทยาลัย ภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนล่าง รร. บ้านกุดเชียงหมี รร. ศกพ. ภาคกลางตอนบนและตะวันตก รร. จุฬาภรณราชวิทยาลัย ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย รร. กัลยาณีศรีธรรมราช ภาคใต้ฝั่งอันดามัน รร. ไทยรัฐวิทยา กทม.และปริมณฑล รร. ราชวินิต มัธยม
25
ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
๓ ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา หลักปฏิบัติ ตัวอย่างกิจกรรม รู้จักการใช้จ่ายของตนเอง ใช้จ่ายอย่างมีเหตุมีผล ใช้จ่ายอย่างพอประมาณ ใช้จ่ายอย่างประหยัด ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น บันทึกบัญชีรายรับและรายจ่าย วิเคราะห์บัญชีรายรับและรายจ่าย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย
26
ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษา (ต่อ)
๓ ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษา (ต่อ) หลักปฏิบัติ ตัวอย่างกิจกรรม รู้จักออมเงิน มีกลไก ลดความเสี่ยง ระบบสวัสดิการ ระบบออมเงิน ระบบสหกรณ์ การประกันต่างๆ ออมวันละหนึ่งบาท สัปดาห์การออม จัดตั้งกลุ่ม/สหกรณ์ ออมทรัพย์ จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน
27
ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา(ต่อ)
๓ ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา(ต่อ) หลักปฏิบัติ ตัวอย่างกิจกรรม รู้จักประหยัด ใช้และกินอย่างมีเหตุผล ไม่ฟุ่มเฟือย ใช้พลังงานเท่าที่จำเป็น ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ไว้กิน ไว้ขาย ใช้สินค้าที่ประหยัดพลังงาน รีไซเคิลขยะเพื่อนำมาใช้ใหม่ นำของเหลือใช้ มาทำให้เกิดประโยชน์
28
ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา(ต่อ)
๓ หลักปฏิบัติ ตัวอย่างกิจกรรม พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจโดยผลิต หรือสร้างรายได้ ที่ สอดคล้องกับความต้องการ สอดคล้องกับภูมิสังคม สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น สอดคล้องกับทรัพยากรท้องถิ่น เน้นการผลิตเพื่อพึ่งตนเอง ให้พอเพียงกับการบริโภค และการผลิตที่หลากหลาย เช่น ปลูกพืชผักผสมผสาน ปลูกพืชสมุนไพรไทย ผลิตสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดอบรมพัฒนาอาชีพในชุมชน
29
ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา(ต่อ)
๓ ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา(ต่อ) หลักปฏิบัติ ตัวอย่างกิจกรรม รู้จักช่วยเหลือสังคม หรือชุมชน ปลูกจิตสำนึกสาธารณะ ปลูกฝังความสามัคคี ปลูกฝังความเสียสละ เผยแพร่องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาความรู้คู่คุณธรรม ผ่านกิจกรรมรวมกลุ่มต่างๆ จัดกิจกรรมลด ละ เลิก อบายมุข จัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส จัดค่ายพัฒนาเยาวชน จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ภายในชุมชน
30
ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา (ต่อ)
๓ หลักปฏิบัติ ตัวอย่างกิจกรรม สร้างสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ ปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูแหล่งเสื่อมโทรมในท้องถิ่น ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น ฟื้นฟูดูแลสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น พัฒนาความรู้เกี่ยวกับดิน น้ำ ป่า เพื่อฟื้นฟู รักษา โครงการชีววิถี จัดอบรมการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ จัดทำฝายแม้ว
31
ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา (ต่อ)
๓ หลักปฏิบัติ ตัวอย่างกิจกรรม สืบสานวัฒนธรรมไทย สร้างจิตสำนึกรักษ์ไทย รักบ้านเกิด ฟื้นฟูและอนุรักษ์อาหารประจำท้องถิ่น ฟื้นฟูและอนุรักษ์ดนตรีไทยและเพลงไทย ฟื้นฟูและอนุรักษ์วัตถุโบราณและโบราณสถาน ปลูกฝังมารยาทไทย ส่งเสริมอาหารประจำท้องถิ่น ส่งเสริมการใช้ภาษาประจำท้องถิ่น ทำนุบำรุงโบราณวัตถุและโบราณสถาน
32
ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา (ต่อ)
๓ ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา (ต่อ) หลักปฏิบัติ ตัวอย่างกิจกรรม ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ปลูกจิตสำนึกความรักชาติ ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ให้ความสำคัญกับการรักษาศีลหรือสวดมนต์เป็นประจำ ส่งเสริมการฝึกอบรมสมาธิ ภาวนา ร่วมกันทะนุบำรุงศาสนา พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น รณรงค์การใช้สินค้าไทย
33
องค์กรหลักในการขับเคลี่อน
๓.๕ แต่ละองค์กรมีแผนงาน/แผนปฏิบัติงานของตนเอง และใช้ทรัพยากรของตนเอง ทุกองค์กรหลักรวมพลังกัน ขับเคลี่อนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมพลัง ขยายกิจกรรม ร่วมมือกับพันธมิตรนอกเครือข่าย เพี่อขยายผล สพฐ. อาชีวศึกษา กกต วพ./ทก. การศึกษา เอกชน ไทยพาณิชย์ กศน. กทม. สานเครือข่าย ขยายความรู้ ควบคู่ประชาสัมพันธ์
34
หลักการปกครองในพระราชดำริ
ทศพิธราชธรรม ๑๐ จักรวรรดิวัตร ๑๒ ราชสังคหวัตถุ ๔
35
๑. ทานัง หรือการให้ หมายถึงการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ การทรงเสียสละพระกำลังในการปกครอง แผ่นดิน การพระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติ การพระราชทานเสรีภาพอันเป็นหัวใจแห่งมนุษย์ ๒. ศีลัง หรือการตั้งและทรงประพฤติพระราชจรรยานุวัตร พระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา อันได้แก่ เบญจศีลมาเสมอ
36
(ต่อ) ๓. ปริจาคัง หรือการบริจาค อันได้แก่ การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า คือ เมื่อถึง คราวก็สละได้ แม้พระราชทรัพย์ ตลอดจนพระโลหิต หรือแม้แต่พระชนม์ชีพ เพื่อรักษาธรรมและพระราชอาณาจักรของ พระองค์ ๔. อาชชะวัง หรือความซื่อตรง อันได้แก่ การที่ทรงซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อ พระราชสัมพันธมิตร และอาณาประชาราษฎร
37
(ต่อ) ๕. มัททะวัง หรือทรงเป็นผู้มีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า ๖. ตะปัง หรือความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะปฏิบัติพระราช กรณียกิจให้เป็นไปด้วยดี โดยปราศจากความเกียจคร้าน
38
(ต่อ) ๗. อักโกธะ หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล และสำหรับ พระมหากษัตริย์นั้นต้องทรงมีพระเมตตาไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใด ไม่ทรงพระพิโรธโดยเหตุที่ไม่ควร และแม้จะทรงพระพิโรธ ก็ทรงข่มเสียให้สงบได้ ๘. อะวีหิสัญจะ คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ทรงปกครอง ประชาชนดังบิดาปกครองบุตร
39
(ต่อ) ๙. ขันติญจะ คือ การที่ทรงมีพระราชจริยานุวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัย และพระอาการ พระกาย พระวาจา ให้เรียบร้อย ๑๐. อะวิโรธะนัง คือ การที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องคนที่มีความชอบ ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดย ปราศจากอำนาจอคติ ๔ ประการ และไม่ทรงแสดงให้เห็นด้วยพระราชหฤทัยยินดียินร้าย
40
ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนัก และคนภายนอก ให้มีความสุข ไม่ปล่อยปละละเลย
ควรผูกไมตรีกับประเทศอื่น ควรอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์ ๔. ควรเกื้อกูลพราหมณ์ คหบดี และคฤหบดีชน คือเกื้อกูลพราหมณ์และผู้ที่อยู่ในเมือง
41
(ต่อ) ๔. ควรเกื้อกูลพราหมณ์ คหบดี และคฤหบดีชน คือเกื้อกูลพราหมณ์และผู้ที่อยู่ในเมือง ๕. ควรอนุเคราะห์ประชาชนในชนบท ๖. ควรอนุเคราะห์สมณพราหมณ์ผู้มีศีล ๗. ควรจักรักษาฝูงเนื้อ นก และสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธุ์ ๘. ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรม และชักนำด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศลสุจริต
42
(ต่อ) ๙. ควรเลี้ยงดูคนจน เพื่อมิให้ประกอบการทุจริต กุศลและอกุศลต่อสังคม ๑๐. ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์ เพื่อศึกษาบุญและบาป กุศล และอกุศลให้แจ้งชัด ๑๑. ควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปในที่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จ ๑๒. ควรระงับความโลภมิให้ปรารถนาในลาภที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้
43
๑. สะสะเมธัง ความที่ทรงพระปรีชาในการบำรุงธัญญาหารให้บริบูรณ์
๒. ปุริสะเมธัง ความที่ทรงพระปรีชาในการสงเคราะห์บุรุษที่ประพฤติดี ๓. สะสะมาปะลัง ความที่ทรงพระปรีชาในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของราษฎร ๔. วาจาเปยยัง การตรัสพระวาจาที่อ่อนหวานแก่ชนทุกชั้น โดยควรแก่ฐานะ
44
หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม
ระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (ระเบียบสำนักนายกรัฐนมตรี พศ. ๒๕๔๒) หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า
45
“การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี”
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พศ.๒๕๔๖ ให้ความหมาย “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” ว่า ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป่าหมายดังต่อไปนี้ เกิดประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสำฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
46
“การกำกับดูแลกิจการที่ดี” (โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
“การกำกับดูแลกิจการที่ดี” (โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย (Interrest of all stakeholders) ความโปร่งใส (Transparency) ความซื่อสัตย์ (Integrity) ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ (Accountability) ความสามารถในการแข่งขัน(Competitiveness)
47
“บรรษัทภิบาลที่ดี” (Good Corporate Governance) โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย (Interrest of all stakeholders) ความโปร่งใส (Transparency) ความซื่อสัตย์ (Integrity) ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ (Accountability) ความสามารถในการแข่งขัน(Competitiveness)
48
พระราชดำริ สอน "จริยธรรม" ผู้นำ
1.การบริหารจะต้องเป็นการบริหารเพื่อความมั่นคงของชาติ เพื่อความเจริญของประเทศ และเพื่อความผาสุกของประชาชน การบริหารจะต้องไม่เอาประโยชน์ส่วนตัว ประโยชน์ของญาติพี่น้อง ประโยชน์ของบริวารเข้ามาเกี่ยวข้อง 2.จะต้องบริหารด้วยความสามัคคี เพราะจะนำไปสู่ความร่วมมือและความเข้มแข็ง ทำให้งานบรรลุผลสำเร็จ 3.จะต้องบริหารด้วยความซื่อสัตย์สุจริต พระองค์ทรงรับสั่งว่าจะต้องซื่อสัตย์สุจริตทั้งในความคิด การพูด และการกระทำ ผมขอให้ความเห็นส่วนตัว เป็นการขยายความ ผู้บริหารนอกจากจะซื่อสัตย์สุจริตแล้ว ต้องดูแลคนรอบข้างตัวเราให้ซื่อสัตย์สุจริตด้วย ยิ่งไปกว่านั้นผู้บริหารจำต้องเพิ่มเติมคำว่า เสียสละและจงรักภักดีเข้าไปด้วย
49
พระราชดำริ สอน "จริยธรรม" ผู้นำ (ต่อ)
พระราชดำริ สอน "จริยธรรม" ผู้นำ (ต่อ) 4.จะต้องเป็นการบริหารที่ถูกต้อง คือถูกต้องตามกฎหมาย ตามกฎเกณฑ์ เที่ยงธรรม เที่ยงตรง มีประสิทธิภาพ และให้ประสิทธิผลสูง ความเห็นส่วนตัวของผม เห็นว่าผู้บริหารจะต้องมีมาตรฐานเดียวเสมอหน้ากัน ทั่วถึงกัน ต้องไม่มีหลายมาตรฐาน หรือ ไม่มีมาตรฐานเลย หรือใช้มาตรฐานตามอารมณ์ มาตรฐานตามกิเลส 5.จะต้องเป็นการบริหารงานที่เป็นเอกภาพ คือการประสานงาน ประสานประโยชน์ ระหว่างหน่วยงาน พระราชดำรินี้ชัดเจนและเข้าใจง่าย แต่โดยข้อเท็จจริง หน่วยงานภาครัฐค่อนข้างละเลยจนเป็นอุปสรรคที่ไม่มีในตำรา บางทีก็กลายเป็นการแข่งขัน หรือกลายเป็นการแก่งแย่งกันเองระหว่างหน่วยงานต่างๆ
50
พระราชดำริ สอน "จริยธรรม" ผู้นำ (ต่อ๒)
พระราชดำริ สอน "จริยธรรม" ผู้นำ (ต่อ๒) 6.ต้องบริหารด้วยความเฉียบอย่างต่อเนื่องอย่างเช่น พระมหาชนก ผู้บริหารจะต้องไม่กลัวลำบาก กลัวเหนื่อย ดำรงความมุ่งหมายอย่างกล้าหาญ กล้าเผชิญอุปสรรค และ อดทนต่อความยากลำบาก 7.ผู้บริหารต้องไม่หวาดกลัวต่ออิทธิพลใดๆ และต้องอยู่กันคนละฝ่ายกับความไม่ถูกต้อง 8.ผู้บริหารจะต้องศึกษาหาความรู้อย่างจริงจัง อย่างลึกซึ้ง อย่างกว้างขวาง ทั้งทางลึกและทางกว้าง
51
พระราชดำริ สอน "จริยธรรม" ผู้นำ(ต่อ)
9.ผู้บริหารจะต้องมีความสำนึกในความรับผิดชอบ และเห็นความสำคัญของงาน ความรับผิดชอบหมายรวมถึงความตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุตามกฎที่กำหนด พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า การเห็นความสำคัญของงาน ความสำนึกในความรับผิดชอบ และความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องทำพร้อมและควบคู่กันไป 10.ผู้บริหารจะต้องรู้จักทรัพยากรอย่างประหยัดและฉลาด มีความถูกต้องเหมาะสม การที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานทฤษฎีใหม่ที่ได้ยินจนชินหูว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการชี้แนวทางในการดำรงชีวิตใหม่ให้พวกเราพออยู่พอกิน ทำให้เกิดการสมดุลการดำรงชีพอย่างประหยัดและฉลาด
52
พระราชดำริ สอน "จริยธรรม" ผู้นำ(ต่อ)
11.ผู้บริหารจะต้องมีสติมีปัญหา สามารถพิจารณาปัญหาได้กว้างไกลรอบคอบทุกแง่มุม ส่วนตัวเห็นว่าผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์ ทัน สมัย ทันเหตุการณ์ทั่วโลก โดยเฉพาะในสาขาอาชีพของตน 12.ผู้บริหารต้องแน่วแน่ที่จะแก้ไขในสิ่งผิด ทุกคนคงได้ยิน ผมเชิญมาจากเพลงพระราชนิพนธ์ เห็นว่าผู้บริหารจะต้องกล้าที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่ผิด และมีความแน่วแน่ที่จะแก้ไข การบริหารย่อมผิดพลาดได้ แม้จะรอบคอบ ระมัดระวังแล้ว ดังนั้น การแก้ไขสิ่งที่ผิดจึงไม่ใช่เรื่องน่าละอาย การทำชั่ว ประพฤติชั่วต่างหากที่น่าละอาย
53
พระราชดำริ สอน "จริยธรรม" ผู้นำ(ต่อ)
13.ผู้บริหารจะต้องบริหารแบบปิดทองหลังองค์พระปฏิมา ข้อนี้มาจากเพลงพระราชนิพนธ์เช่นเดียวกัน ผมเดาว่าทรงหมายถึงการไม่โอ้อวดมุ่งแต่ผลงาน ไม่หวังคำชมเชย ภูมิใจแต่ความสำเร็จ 14.ผู้บริหารทุกระดับที่มีผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บริหารต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
54
หยุดคิด ๕ นาที กรุณาตอบคำถามทั้ง ๒ ข้อข้างล่าง และเขียนชื่อที่มุมขวาบน ของกระดาษคำตอบที่แจก ๑ “เศรษฐกิจพอเพียง” สำหรับท่านหมายความว่าอย่างไร (หลังฟังบรรยาย) ๒ ท่านคิดว่าท่านจะสามารถทำกิจกรรมอะไรบ้างที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้นกับ ตนเอง/ครอบครัว/สังคม
55
ติดต่อเรา โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ๑๗๓ ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๐๒-๖๘๗-๓๖๖๒ โทรสาร ๐๒-๒๘๒-๘๒๒๖
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.