ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย
ดร. ชัชวีร์ แก้วมณี สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
2
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ของ โรงเรียน อำเภอ จังหวัด สังกัด เอกสารวิชาการลำดับที่...../..... ประกอบการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปกหน้า ชื่อหลักสูตร ชื่อสถานศึกษา ที่ตั้ง/สังกัด อาจระบุลำดับเอกสารตามระบบที่สถานศึกษากำหนดขึ้น (หน้าปกเอกสาร อาจจัดทำเป็นภาพประกอบเพื่อความสวยงามได้ตามหลักของการจัดทำเอกสารวิชาการ)
3
(รองปก) รองปก ใช้ข้อความเช่นเดียวกับหน้าปก (อาจออกแบบขนาดและประเภทของตัวอักษรให้สวยงามตามหลักของการจัดทำเอกสารวิชาการ)
4
คำนำ คำนำ เป็นสาระที่ควรเขียนถึง ความเป็นมา สรุปเนื้อหาสาระในเล่ม แนวการใช้ประโยชน์จากเอกสาร ความคาดหวังจากการใช้เอกสาร ประกาศคุณูปการ เจ้าของผู้รับผิดชอบ
5
สารบัญ สารบัญ เรื่องหรือเนื้อหาตามลำดับเนื้อหาเอกสาร ระบุเฉพาะชื่อหัวข้อหลัก หรือชื่อหัวข้อย่อยด้วยก็ได้ (ให้คำนึงถึงความสะดวกของผู้ใช้ คือความง่ายในการค้นหาเนื้อหาสาระ)
6
ข้อมูลทั่วไป (๑) ข้อมูลทั่วไป เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา สถานที่ตั้ง ข้อมูลอื่นๆที่เห็นว่าน่าสนใจ เช่น บุคลากร นักเรียน อาคารสถานที่ โครงสร้างระบบการบริหารจัดการ ฯลฯ (เขียนบรรยายให้กระชับ ชัดเจน)
7
ปรัชญา (๒) ปรัชญา ความเชื่อ หลักการหรืออุดมคติที่ตั้งไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ซึ่งครอบคลุมในประเด็นสำคัญ ต่อไปนี้ เด็กเรียนรู้ได้อย่างไร ใช้วิธีการใดในการพัฒนาเด็ก เห็นความสำคัญในการพัฒนาเด็กอย่างไร
8
วิสัยทัศน์ (๓) วิสัยทัศน์ เจตนารมณ์หรืออุดมคติของโรงเรียนที่คาดหวังจะพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยมีระยะเวลาเป็นตัวกำหนดและมีความเป็นไปได้ โดยระบุคุณลักษณะของเด็กที่ต้องการให้เป็นว่ามีลักษณะอย่างไรซึ่งครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน เขียนให้ชัดเจน สอดคล้องกับปรัชญา สภาพปัจจุบันและแนวโน้มของสังคม รวมทั้งความต้องการพื้นฐานของหลักสูตรปฐมวัย
9
(๔) ภารกิจ (หรือ พันธกิจ)
เป้าหมาย (๔) ภารกิจ (หรือ พันธกิจ) ระบุกิจกรรมหรืองานที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนด โดยสะท้อนความคิดและการปฏิบัติงานของสถานศึกษาให้ชัดเจน (๕) เป้าหมาย คุณภาพของผู้เรียนที่คาดหวัง ซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรมที่ปฏิบัติ อาจระบุเป็นระดับชั้น (อนุบาลปีที่ ๑ .... ๒ หรือ ๓ (ควรมีทั้งเป้าหมายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)
10
(๖) คุณลักษณะที่พึงประสงค์
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ โรงเรียนได้กำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนแต่ละระดับชั้นไว้ดังนี้ (๖) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ความสามารถหรือพฤติกรรมตามพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านของเด็กที่โรงเรียนคาดหวัง เมื่อได้รับการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมตามวัย โรงเรียนควรเพิ่มเติมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เป็นความต้องการของชุมชนตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียนเข้าไว้ด้วย มาตรฐานที่พึงประสงค์ สภาพที่พึงประสงค์ อบ.๑ อบ.๒ อบ.๓ ๑ ๒ ๑ ๒ ๓
11
(๗) โครงสร้างเวลาเรียน ระดับชั้น กลุ่มอายุ เวลาเรียน
โรงเรียนกำหนดช่วงระยะเวลาเรียนของนักเรียนแต่ละระดับชั้นไว้ดังนี้ (๗) โครงสร้างเวลาเรียน ระบุช่วงระยะเวลาที่โรงเรียนจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กกลุ่มอายุ ๓-๕ ปีตามที่ได้รับอนุญาต ระบุช่วงอายุของเด็กแต่ละระดับให้ชัดเจนว่ากำหนดให้เรียนรู้อยู่ในระดับชั้นใด แสดงเนื้อหาตามหลักสูตรให้เห็นอย่างกว้างๆว่าแต่ละสัปดาห์ทั้งตลอดปีการศึกษาไว้อย่างไร และด้วยสาระอะไร ระดับชั้น กลุ่มอายุ เวลาเรียน อนุบาล ๑ ๓ - ๔ ปี ๑ปี(....สป.) อนุบาล ๒ ๔ - ๕ ปี อนุบาล ๓ ๕ - ๖ ปี
12
สาระการเรียนรู้รายปี (๘) สาระการเรียนรู้รายปี
สาระการเรียนรู้รายปีแต่ละระดับชั้นประกอบด้วยองค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการ และค่านิยม คุณธรรมจริยธรรม ใช้หลักการจัดการเรียนรู้จากเรื่องใกล้ตัวเด็กก่อนเรียนรู้ไกลตัว จากง่ายไปหายาก และจากน้อยไปหามาก สาระการเรียนรู้ไม่เน้นเนื้อหาและการท่องจำ มีส่วนประกอบที่แสดงให้เห็น ๒ ส่วนคือ ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ ราย ละ เอียด ประสบการณ์สำคัญ สาระที่ควรเรียนรู้รายปี อบ.๑ อบ.๒ อบ.๓ ๑ ๒ ร่างกาย สังคม
13
การจัดประสบการณ์เรียนรู้รายปี ชื่อหน่วยการเรียนรู้
โรงเรียนได้กำหนดการจัดประสบการณ์เรียนรู้รายปี โดย ซึ่งได้กำหนดการจัดประสบการณ์แต่ละระดับชั้น ดังนี้ (๙) การจัดประสบการณ์เรียนรู้รายปี ระบุหลักการ แนวทางหรือวิธีการนาการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กโดยเขียนบรรยายให้ทราบ แสดงลำดับสป.และวันเวลาที่ ร.ร.จัดประสบการณ์ให้แก่เด็กในแต่ละระดับชั้นตลอดปีการศึกษา นำเอาสาระการเรียนรู้รายปี รายชั้น ที่วิเคราะห์ไว้แล้วมาคลี่ออกแล้วจัดวางให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่สอดคล้องสภาพหรือกิจกรรมของชุมชน เพื่อแสดงให้เห็นภาพรวมว่าสป.ใด เดือนใดจะจัดประสบการณ์เรียนรู้เรื่องอะไร อาจกำหนดเป็นหน่วยการเรียนรู้ก็ได้ สป.ที่ ว.ด.ป. ชื่อหน่วยการเรียนรู้ อบ.๑ อบ.๒ อบ.๓ ๑ ๒ ๓ ๔ ๔๐
14
(๑๐) การกำหนดตารางกิจกรรมประจำวัน
โรงเรียนได้กำหนดตารางกิจกรรมประจำวันสำหรับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของน.ร.ชั้น อ.๑ ชั้น อ.๒ และชั้น อ.๓ ไว้ดังนี้ ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ (๑๐) การกำหนดตารางกิจกรรมประจำวัน แสดงการจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามตารางกิจกรรมประจำวัน ตามรูปแบบที่ร.ร.ได้เลือกไว้ให้สอดคล้อง เหมาะสมกับสภาพของชุมชนหรือตามลักษณะของการจัดกิจกรรม ใช้หลักการและขอบข่ายของการจัดกิจกรรมประจำวันตามที่หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ได้กำหนดไว้ เวลา กิจกรรมประจำวัน ๐๘.๐๐-๐๘.๓๐ ๐๘.๓๐-๐๘.๔๕ ๐๘.๔๕-๐๙.๐๐ ๐๙.๐๐-๐๙.๒๐ ๐๙.๒๐-๑๐.๒๐ ๑๔.๕๐-๑๓.๐๐ รับเด็ก เคารพธงชาติ ตรวจสุขภาพ ไปห้องน้ำ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์และเสรี เตรียมตัวกลับบ้าน
15
การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
(๑๑) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ระบุการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ของโรงเรียนทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน โดยคำนึงถึง วัยและพัฒนาการของเด็ก ความสะดวก สะอาด ปลอดภัยและร่มรื่น ความเหมาะสมเพียงพอของสื่อ เครื่องเล่นและพื้นที่ปฏิบัติกิจกรรม ความพร้อมของอาคารสถานที่ การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับเด็ก พฤติกรรมการจัดประสบการณ์ฯของครูและอื่นๆ
16
สื่อและแหล่งเรียนรู้
การประเมินพัฒนาการ สื่อและแหล่งเรียนรู้ (๑๒) การประเมินพัฒนาการ ระบุถึงหลักการ แนวทางและวิธีการประเมินผลพัฒนาการ เกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโดยยึดหลักการประเมินตามสภาพที่แท้จริง (เขียนบรรยายอย่างกว้างๆ) (๑๓) สื่อและแหล่งเรียนรู้ กล่าวถึงสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่ร.ร.จัดให้เด็กตามสภาพความเป็นจริง โดยคำนึงถึงความหลากหลาย ปลอดภัยและสอดคล้องกับการจัดประสบการณ์ (เขียนบรรยายเป็นความเรียงหรือเป็นข้อๆ เพื่อให้เห็นสภาพการดำเนินงานของโรงเรียน
17
การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์
(๑๔) การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ ระบุถึงขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ วิธีการนำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ การยึดตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สาระการเรียนรู้รายปี รายชั้น การจัดประสบการณ์ สื่อและแหล่งเรียนรู้ การประเมินพัฒนาการ ที่โรงเรียนได้กำหนดได้ตั้งแต่ต้น (เขียนให้เห็นกระบวนการหรือขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ของโรงเรียนตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนมาเป็นแผนการเรียนรู้สำหรับจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก)
18
บรรณานุกรม ศึกษาธิการ,กระทรวง. หลักสูตร การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐
บรรณานุกรม ศึกษาธิการ,กระทรวง. หลักสูตร การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐. กรุงเทพฯ : คุรุสภา ลาดพร้าว. ๒๕๖๐ (๑๕) บรรณานุกรม (ถ้ามี) แสดงรายชื่อเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิง และใช้ประกอบการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน (จัดแสดงบรรณานุกรมตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง)
19
ภาคผนวก (๑๖) ภาคผนวก แสดงข้อมูลอื่นๆ ที่เห็นว่าจำเป็นและเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาการศึกษาปฐมวัย โดยนำมาแสดงไว้ตามที่เห็นสมควร (แต่ไม่ควรมีมากจนเกินไป) เช่น รายชื่อคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา รายชื่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรของโรงเรียน คำลั่งแต่งตั้งคณะทำงาน รายนามผู้จัดทำเอกสาร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.