งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเป็นผู้นำทางวิชาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเป็นผู้นำทางวิชาการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเป็นผู้นำทางวิชาการ

2 ความหมายของผู้นำ และภาวะผู้นำ
ผู้นำ คือ “บุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ปัญญาชี้นำ เพื่อปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์ บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ต่อองค์กรและต่อตนเอง โดยอาศัยเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ในทิศทางที่พึงประสงค์” ผู้นำ ได้มาโดยศักยภาพ ความสามารถเฉพาะตัว ไม่จำเป็นต้องอาศัยตำแหน่ง กฎระเบียบ อาศัยความคิดสร้างสรรค์เป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นได้ หรือกล่าวได้ว่า “นำไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหาร”

3 ความหมายของผู้นำ และภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึง สภาพหรือลักษณะที่แสดงออกของผู้นำ ซึ่งเป็นผลรวมของบุคลิกภาพ เช่น ลักษณะทางกาย ทางอารมณ์ ทางสังคมและมนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้น ผู้นำทางการศึกษา หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ความสามารถใช้ปัญญาชี้นำ และเป็นต้นแบบที่ด้านการศึกษา

4 บทบาทของผู้นำทางการศึกษา
บทบาทของผู้นำ เป็นการแสดงออกโดยอิสระที่มีผลดีต่อผู้อื่นหรือสังคม เช่น การตัดสินใจ การจูงใจให้คนทำงาน การแสดงออกทางความคิด การพูด พฤติกรรมทางอารมณ์ การอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม เป็นต้น

5 บทบาทของผู้นำทางการศึกษา
1. เป็นผู้ชี้นำให้คำปรึกษาหารือในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรม ในสังคมแห่งความรู้มีความต้องการบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถชี้นำ เช่น ครูมืออาชีพ ผู้บริหารมืออาชีพ นักธุรกิจมืออาชีพ เป็นต้น คุณลักษณะมืออาชีพประกอบด้วยความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งเจตคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพของตนเอง

6 บทบาทของผู้นำทางการศึกษา
2. เป็นผู้จูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องตามตัวแบบหรือตัวอย่างที่ดีได้ ผู้นำจึงต้องปฏิบัติตนเป็นต้นแบบที่ดี ทำให้ผู้อื่นเชื่อถือ ศรัทธา ยอมรับในบุคลิกภาพและยอมรับในพฤติกรรมดังกล่าว เช่น ครู อาจารย์ พระสงฆ์ โต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม

7 บทบาทของผู้นำทางการศึกษา
3. เป็นผู้พัฒนาให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่พึงประสงค์ขององค์การหรือสังคม ผู้นำจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ มองไกลในอนาคต และทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ไม่เห็นแก่ตัวมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมและเป็นผู้พัฒนา สร้างความสามัคคี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น และมีความคิดเชิงบวก มองโลกในทางดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม

8 บทบาทของผู้นำทางการศึกษา
4. บทบาทในเชิงวิชาการ ผู้นำควรต้องมีความรู้ ความสามารถด้านวิชาการที่เป็นวิชาชีพของตนอย่างลุ่มลึก จนสามารถใช้ใน การให้คำแนะนำ ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อใช้ความรู้ในสาขาของตน อธิบายเหตุการณ์ รวมทั้งมีผลงานเป็นที่ยอมรับ มีการพัฒนานวัตกรรมเชิงวิชาชีพ และมีผลงานเผยแพร่

9 บทบาทของผู้นำทางการศึกษา
5. บทบาทในการเป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ มีความเฉลียวฉลาด อารมณ์มั่นคง และมีคุณธรรม จริยธรรมสูง มีมนุษย์สัมพันธ์ดีสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นทีมงานที่เข้มแข็ง มีบุคลิกภาพที่ดี

10 3. สถานการณ์ ทำให้เกิดภาวะผู้นำและจะส่งผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการ 1. คุณลักษณะ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะการพูดและมี บุคลิกลักษณะที่ดี 2. พฤติกรรม มีลักษณะเด่นชัดทางพฤติกรรม เช่น มีมนุษย์สัมพันธ์ดี พูดจาดี เป็นต้น 3. สถานการณ์ ทำให้เกิดภาวะผู้นำและจะส่งผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 4. ความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมผู้นำกับสถานการณ์ 5. ประสิทธิผลความพึงพอใจ ผลการจูงใจและผลผลิตที่เกิดขึ้นในกลุ่มหรือในองค์กร

11 1.พัฒนาคุณสมบัติ / คุณลักษณะส่วนตน
แนวทางการพัฒนาผู้นำทางวิชาการ 1.พัฒนาคุณสมบัติ / คุณลักษณะส่วนตน 1.1 มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มองอนาคต มีทัศนะคติเชิงบวก เปิดใจกว้าง 1.2 มีอุปนิสัยพื้นฐานทางบวก ขยัน ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม จริยธรรม มีมนุษย์สัมพันธ์ 1.3 เป็นบุคคลเรียนรู้ สนใจใฝ่ศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทบทวนไตร่ตรองพิจารณา 1.4 สร้างผลงาน สานสัมพันธ์ คิดสร้างสรรค์ สร้างจินตนาการ หาทางพัฒนาตน พัฒนางาน

12 2.1 งานส่วนตน : หากตนพร้อม สมดุลในตน
บทบาทของผู้นำทางการศึกษา 2. ภาระงาน 2.1 งานส่วนตน : หากตนพร้อม สมดุลในตน 1) ดูแล/พัฒนาบุคลิกภาพทั้งภายนอก ภายใน สร้างการยอมรับ ศรัทธา ตามสถานภาพแห่งตน 2) ดูแลรับผิดชอบครอบครัว ชุมชน สังคม/อาชีพ ตามบทบาทแห่งตนในฐานะคนไทย 3) สร้างสมดุลแห่งชีวิตทุกด้าน สุขภาพ กาย จิตและสถานภาพทางสังคม

13 2.2 งานอาชีพ คือ วิถีชีวิต
บทบาทของผู้นำทางการศึกษา 2.2 งานอาชีพ คือ วิถีชีวิต 1) งานประจำ ต้องเข้าใจเป้าหมาย พันธกิจ นโยบายขององค์กรและมุ่งมั่นให้บรรลุตามเป้าหมายในทุกระดับที่รับผิดชอบ มีความพึงพอใจในงาน เพียรพยายามพิจารณา ไตร่ตรองผลงาน เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น

14 บทบาทของผู้นำทางการศึกษา
2) งานสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา ต้องมีความรับผิดชอบในขอบเขตงานที่ตนรับผิดชอบ และมีความสามารถความถนัด ใน ด้านหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ 3) แสดงผลงานให้ปรากฏ เผยแพร่ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ผ่านสื่อ ผ่านกิจกรรมแสดงผลงาน ผ่านการเป็นวิทยากร ผ่านทางกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน

15 ขั้นตอนการพัฒนาภาวะผู้นาทางวิชาการ
1.ศึกษาสำรวจตนเอง เพื่อให้เข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้ง ใช้วิธีการสำรวจ วิเคราะห์ตนเอง และการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใกล้ชิดที่หวังดี สรุปให้เห็น จุดแข็ง จุดอ่อนที่ควรพัฒนา ภายใต้บริบทของการจัดการศึกษาและอุดมคติ อุดมการณ์ของตน

16 ขั้นตอนการพัฒนาภาวะผู้นาทางวิชาการ
2.เลือกคุณสมบัติ พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง เพียงพฤติกรรมเดียวในการพัฒนาแต่ละครั้ง ควรเลือกจากพฤติกรรม/คุณลักษณะที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม

17 ขั้นตอนการพัฒนาภาวะผู้นาทางวิชาการ
3.กำหนดวัตถุประสงค์ ที่สามารถตอบคำถามให้ได้ว่า พฤติกรรม คุณลักษณะที่ตนต้องการเปลี่ยนแปลงนั้นจะทำให้ชีวิตมีจุดด้อยอย่างไรและถ้าพัฒนาแล้วจะส่งผลดี วัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลง จะได้ยึดเป็นเป้าหมายในการพัฒนาตน และใช้เป็นพลังภายใน ที่จะผลักดันให้บรรลุเป้าหมายได้ต่อไป

18 ขั้นตอนการพัฒนาภาวะผู้นาทางวิชาการ
4.หาความรู้ในการพัฒนาพฤติกรรม คุณลักษณะ ด้วยการค้นคว้าตำรา ปรึกษาผู้รู้ เลือกใช้เทคนิควิธี ทีเหมาะสมกับตัวเรา ทั้งความเข้มแข็งของจิตใจ

19 ขั้นตอนการพัฒนาภาวะผู้นาทางวิชาการ
5.ปฏิบัติการตามแผนที่กำหนดไว้ บันทึกผลที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่ปฏิบัติ หากพบผลการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี หากมีผลไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ให้ปรับแผนที่ช่วยให้บรรลุผลได้ดีขึ้น

20 ขั้นตอนการพัฒนาภาวะผู้นาทางวิชาการ
6.เมื่อประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ต้องหาทางเผยแพร่นวัตกรรมที่ค้นพบด้วยตนเอง เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ผู้สนใจต่อไป โดยหลักการกระบวนการดังกล่าว สามารถพัฒนาได้อย่างไม่มีวันรู้จบ

21 ผศ.ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ รายวิชาความเป็นครู รหัส 106101
สมาชิก นางสาวธิดารัตน์ สุวรรณกูฏ รหัสนักศึกษา นางสาวนันธิกา วัฒนากลาง รหัสนักศึกษา นางสาวเฟื่องฟ้า หมั่นมา รหัสนักศึกษา นางสาววรางคณา ยศฉิมพลี รหัสนักศึกษา นางสาวสุพัตรา โทตะคุ รหัสนักศึกษา นายรังสฤษฎ์ ชูขวัญ รหัสนักศึกษา คณะครุศาสตร์ หลักสูตรวิชา เคมี ปี1 เสนอ ผศ.ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ รายวิชาความเป็นครู รหัส มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา


ดาวน์โหลด ppt การเป็นผู้นำทางวิชาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google