ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยวิภา บราวน์ ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
รายงานประจำปี 2559 คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ANNUAL REPORT 2559
2
สารจากคณบดี รายงานประจำปี 2559 ของคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศฉบับนี้จัดทำขึ้น เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน และความก้าวหน้าของคณะบริหารธุรกิจฯ ในรอบปีที่ผ่านมาโดยรวบรวมข้อมูล และกิจกรรมต่าง ๆ ที่แสดงผลการดำเนินงานของคณะบริหารธุรกิจฯ ตามปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจหลักของคณะบริหารธุรกิจฯ ทั้ง 5 ด้าน คือ การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ การสร้างงานวิจัยนวัตกรรม การบริการวิชาการสู่สังคม ชุมชน การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการที่ทันสมัย และมีธรรมาภิบาล คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานประจำปีฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้ที่สนใจในกิจกรรมของคณะบริหารธุรกิจฯ ตามสมควร ท้ายนี้ ขอถือโอกาสขอบคุณ ผู้บริหาร คณาจารย์ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ รวมทั้งนักศึกษาทุกคนที่มีส่วนร่วมในการผลักดัน ให้การดำเนินงานของคณะบริหารธุรกิจฯ สำเร็จตาม วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินงานทุกประการ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาลินันท์ บุญมี) คณบดีคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
ตราสัญลักษณ์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตราประกอบด้วย รูป –ใบเรือสำเภา และเป็นตัวบีที่ซ้อนกันอยู่ แสดงถึงความเป็นคณะบริหารฯ และมีรูปที่เป็นเซลล์หรือ pixel หลายจุดเป็นการแสดงถึง คณะบริหารธุรกิจฯ จะต้องประกอบด้วยคณะบุคลากรทั้งหมด ที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้คณะก้าวไปข้างหน้า ตัวอักษร - ตัวอักษรย่อ B A & I T - ตัวอักษรเต็ม ความหมายโดยรวม เป็นภาพใบเรือสำเภาสีฟ้า และอาจมองเป็นตัวอักษรย่อ B แสดงถึงความเป็นคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศและอีกนัยหนึ่งจะเป็นเซลล์หรือ pixel หลายจุดเป็นการแสดงถึงบุคลากรทั้งหมด ที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้คณะก้าวไปข้างหน้า
4
ประวัติของคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ เดิมเป็นสถานที่ตั้งของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2548 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทำให้เกิดมหาวิทยาลัยอีก 9 แห่ง โดยแต่ละแห่งมีอำนาจในการบริหารจัดการองค์กรของตนเอง สำหรับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี”และเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดตั้งหน่วยงานเพื่อจัดการศึกษาเป็นคณะ จำนวน 6 คณะ โดยคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีสถานที่ตั้งสำนักงานคณบดีอยู่ที่ศูนย์วาสุกรี เลขที่ 19 หมู่ 3 ถนนอู่ทอง ตำบลท่าวาสุกรีอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมีศูนย์ของมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชาในคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ อีก 3 ศูนย์ คือ ศูนย์หันตรา ศูนย์นนทบุรี และศูนย์สุพรรณบุรี นอกจากนี้ คณะยังได้ดำเนินการจัดการศึกษานอกที่ตั้งอีก 1 ศูนย์ คือ ศูนย์การศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ ตามโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิกับวิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ เพื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี 2 ปีที่ใช้การเทียบโอนหน่วยกิตการเรียนสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ และสาขาวิชาการจัดการโดยจัดการเรียนการสอนวันเสาร์และอาทิตย์
5
ปณิธาน (Determination)
ปรัชญา (Philosophy) การบริหารจัดการงานในองค์กรจะสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องพัฒนาคนให้เป็นคนดีคนเก่งมีความสามารถอย่างแท้จริงเข้าไปปฏิบัติงานในองค์กรนั้น ๆ ปณิธาน (Determination) มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตให้เป็นคนดี มีความรู้ รักสู้งาน เชี่ยวชาญการปฏิบัติ พัฒนางานวิชาการที่มีคุณภาพสู่สังคมและชุมชน วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านบริหารธุรกิจ ที่บูรณาการวิชาชีพและเทคโนโลยี เพื่อเป็นที่พึ่งของชุมชน สังคม และนานาชาติ พันธกิจ (Mission) การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ การสร้างงานวิจัยนวัตกรรม การบริการวิชาการสู่สังคม ชุมชน การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการที่ทันสมัย และมีธรรมาภิบาล
6
ประเด็นยุทธศาสตร์ พัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับชาติและนานาชาติ สร้างและพัฒนางานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ ปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน สังคม และสร้างรายได้ให้กับคณะ สืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน สนับสนุนและส่งเสริมเพื่อให้นักศึกษามีพัฒนาการครบทุกด้าน พัฒนาคุณภาพของอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน บริหารจัดการคณะเชิงบูรณาการด้วยหลักธรรมาภิบาล และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาคณะเข้าสู่อาเซียน
7
เป้าประสงค์ ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands-on) ด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีคุณภาพตรงความต้องการของตลาดแรงงาน ชุมชน สังคม ระดับชาติและนานาชาติ งานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ มีคุณภาพ สามารถนำไปพัฒนาชุมชน สังคมให้เข้มแข็ง และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันแก่ธุรกิจ อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม เป็นแหล่งให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อให้ชุมชนเป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) ที่มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บุคลากรและนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย และสิ่งแวดล้อม นักศึกษาเป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ของผู้เรียน อาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน มีศักยภาพในการปฏิบัติงาน และมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน การบริหารงานคณะมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักธรรมมาภิบาลและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คณะมีศักยภาพในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
9
งานสารบรรณ จำนวนหนังสือรับภายนอก ประจำปี 2559 (ม.ค.-ธ.ค. 2559) เดือน
(ฉบับ) มกราคม 250 กุมภาพันธ์ 310 มีนาคม 300 เมษายน 285 พฤษภาคม มิถุนายน 275 กรกฎาคม 315 สิงหาคม 350 กันยายน ตุลาคม 265 พฤศจิกายน ธันวาคม 311 รวม 3621
10
จำนวนหนังสือส่งภายนอก (ออกเลขส่งภายนอก ศธ. ) ประจำปี 2559 (ม. ค. -ธ. ค
จำนวนหนังสือส่งภายนอก (ออกเลขส่งภายนอก ศธ.) ประจำปี 2559 (ม.ค.-ธ.ค. 2559) เดือน จำนวน(ฉบับ) มกราคม 200 กุมภาพันธ์ 180 มีนาคม 240 เมษายน 160 พฤษภาคม มิถุนายน 184 กรกฎาคม 260 สิงหาคม 308 กันยายน 230 ตุลาคม 265 พฤศจิกายน 135 ธันวาคม 315 รวม 2657
11
จำนวนคำสั่ง ประจำปี 2559 (ม.ค.-ธ.ค. 2559)
เดือน จำนวน(ฉบับ) มกราคม 20 กุมภาพันธ์ 45 มีนาคม 90 เมษายน 55 พฤษภาคม 30 มิถุนายน 36 กรกฎาคม 50 สิงหาคม 43 กันยายน 35 ตุลาคม 46 พฤศจิกายน 48 ธันวาคม 53 รวม 551
12
จำนวนหนังสือส่งภายนอก ประจำปี 2559 (ม.ค.-ธ.ค. 2559)
เดือน จำนวน(ฉบับ) มกราคม 40 กุมภาพันธ์ 45 มีนาคม เมษายน 58 พฤษภาคม 43 มิถุนายน 42 กรกฎาคม 53 สิงหาคม 55 กันยายน 56 ตุลาคม 80 พฤศจิกายน 65 ธันวาคม 32 รวม 614
13
จำนวนหนังสือรับ-ส่ง ด้านบริหารและวางแผน ประจำปี 2559 (ม.ค.-ธ.ค. 2559)
เดือน ภายในคณะ ภายนอกคณะ รับ ส่ง มกราคม 230 30 120 72 กุมภาพันธ์ 241 15 150 55 มีนาคม 223 35 129 38 เมษายน 210 20 130 63 พฤษภาคม 253 14 80 53 มิถุนายน 160 22 145 45 กรกฎาคม 270 28 125 60 สิงหาคม 282 26 138 กันยายน 86 66 ตุลาคม 235 92 พฤศจิกายน 164 24 110 76 ธันวาคม 142 18 32 2620 295 1430 693
14
งานบุคลากร ตารางแสดงจำนวนบุคลากรแยกตามศูนย์ ศูนย์ สายงาน ข้าราชการ
พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ศูนย์วาสุกรี วิชาการ 32 64 สนับสนุน 18 5 1 ศูนย์หันตรา 11 17 2 ศูนย์นนทบุรี 8 10 ศูนย์สุพรรณบุรี 16 6 รวมบุคลากรทั้งหมด 224 คน
15
ตารางแสดงจำนวนบุคลากรแยกตามวุฒิการศึกษา
สายงาน วาสุกรี หันตรา นนทบุรี สุพรรณบุรี ปริญญาเอก วิชาการ 7 3 4 สนับสนุน ปริญญาโท 84 25 14 41 1 ปริญญาตรี 5 22 2 6 ปวส. ปวช.
16
ตารางแสดงจำนวนตำแหน่งทางวิชาการของแต่ละศูนย์
ตำแหน่ง ทางวิชาการ วาสุกรี หันตรา นนทบุรี สุพรรณบุรี ศ. รศ. 1 ผศ. 18 5 4 7 อ. 78 22 14 41
17
ตารางแสดงจำนวนตำแหน่งทางวิชาการของแต่ละศูนย์
ตำแหน่ง ทางวิชาการ วาสุกรี หันตรา นนทบุรี สุพรรณบุรี ศ. รศ. 1 ผศ. 18 5 4 7 อ. 78 22 14 41
18
ตารางแสดงจำนวนบุคลากรที่ลาศึกษาต่อ
ภาค วาสุกรี หันตรา นนทบุรี สุพรรณบุรี ภาคปกติ 1 3 ภาคนอกเวลาราชการ 16 4 8 รายงานตัวกลับแต่ยังไม่จบการศึกษา 2
19
สรุปรายงานจำนวนบุคลากรที่เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ประจำปี พ. ศ
สรุปรายงานจำนวนบุคลากรที่เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ประจำปี พ.ศ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
20
สรุปรายงานจำนวนบุคลากรที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการ ประจำปี พ. ศ
สรุปรายงานจำนวนบุคลากรที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการ ประจำปี พ.ศ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
21
สรุปรายชื่อผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ประจำปี พ. ศ
สรุปรายชื่อผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ประจำปี พ.ศ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
22
สรุปรายชื่อผู้ที่ได้รับกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ประจำปี พ. ศ
สรุปรายชื่อผู้ที่ได้รับกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ประจำปี พ.ศ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
23
สรุปรายงานผลบุคลากร (สายวิชาการ สายสนับสนุน) ที่ได้รับการเพิ่มพูนความรู้/ประสบการณ์ทางวิชาการ วิชาชีพ และภาษาอังกฤษ ประจำปี พ.ศ. 2559
24
ตารางงบประมาณเงินรายจ่ายจากเงินรายได้
งานแผนและงบประมาณ ตารางงบประมาณเงินรายจ่ายจากเงินรายได้ ภาคปกติ งบประมาณ งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบอุดหนุน งบลงทุน งบรายจ่ายอื่น งบกลาง รวม ประจำปี 2559 - 12,211,400 713,300 1,424,100 8,013,200 500,000 22,862,000
25
ภาคสมทบ งบประมาณ งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบอุดหนุน งบลงทุน งบรายจ่ายอื่น งบกลาง รวม ประจำปี 2559 - 9,683,400 230,000 235,900 782,600 124,400 11,056,300
26
สหกิจศึกษา งบประมาณ งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบอุดหนุน งบลงทุน งบรายจ่ายอื่น งบกลาง รวม ประจำปี 2559 - 2,780,900
27
ตารางงบประมาณรายจ่าย
งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบอุดหนุน งบลงทุน งบรายจ่ายอื่น รวม ประจำปี 2559 - 7,670,680.00 4,876,800.00 8,964,000.00 1,250,930.00 22,762,410.00
28
คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อมูลสรุปงบประมาณเปรียบเทียบงบประมาณรายจ่ายและงบประมาณรายได้ที่ได้รับจัดสรร คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคปกติ ลำดับ รายการ ปีงบประมาณ 2557 ปีงบประมาณ 2558 ปีงบประมาณ 2559 รวม รวมทั้งสิ้น งบรายจ่าย งบรายได้ 1 งบบุคลากร 37,014,010 8,167,680 38,428,300 5,939,760 - 75,442,310 14,107,440 89,549,750 2 งบดำเนินการ 7,956,080 5,291,070 7,670,680 10,642,650 12,211,400 23,297,440 28,145,120 51,442,560 3 งบลงทุน 6,538,700 1,706,400 1,625,500 8,964,000 1,424,100 15,502,700 4,756,000 20,258,700 4 งบเงินอุดหนุน 1,521,500 157,100 2,906,800 70,000 4,876,800 713,300 9,305,100 940,400 10,245,500 5 งบรายจ่ายอื่น 2,450,730 6,108,710 1,287,530 5,580,250 1,250,930 8,013,200 4,989,190 19,702,160 24,691,350 6 งบกลาง 5,175,200 1,382,500 500,000 7,057,700 55,481,020 26,606,160 50,293,310 25,240,660 22,762,410 22,862,000 128,536,740 74,708,820 203,245,560 82,087,180 75,533,970 45,624,410
29
กราฟแสดงการเปรียบเทียบงบประมาณที่ได้รับจัดสรรประจำปี งบประมาณรายจ่ายและงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ ปี 2557 – 2559
30
งานติดตามประเมินผลและรายงาน
แผนการจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศปีการศึกษา 2559 แผนการจัดการความรู้นี้กำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายและแผนการปฏิบัติในระบบการจัดการความรู้สำหรับคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะ ระบบการจัดการความรู้นี้พัฒนาตามแนวคิดของการจัดการความรู้ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรและกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรโดยเน้นที่การให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากความรู้และการบริหารความรู้ อีกทั้งการดำเนินการในส่วนของการจัดการความรู้นั้น ไม่เป็นภาระที่เพิ่มมากขึ้นกับบุคลากรและองค์กรด้วย วิสัยทัศน์ เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านบริหารธุรกิจที่บูรณาการวิชาชีพและเทคโนโลยี เพื่อเป็นที่พึ่งของชุมชน สัมคม และนานาชาติ พันธกิจ 1. การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ 2. การสร้างงานวิจัยนวัตกรรม 3. การบริการวิชาการสู่สังคม ชุมชน 4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม 5. บริหารจัดการที่ทันสมัย และมีธรรมาภิบาล วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ (KM Vision) การนำระบบการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือเสริมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการเรียน การสอนการวิจัยพัฒนา การบริการสังคมและการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม โดยเน้นให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากความรู้ ที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดและบรรลุเป้าหมายตามที่ทางคณะกำหนดไว้
31
เป้าหมาย ของตัวชี้วัด แผนการจัดการความรู้ ร้อยละ 75
การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ ชื่อส่วนราชการ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เป้าประสงค์ (Objective) องค์ความรู้ที่จำเป็น ต่อการปฏิบัติราชการ ตามประเด็นยุทธศาสตร์ กลุ่มเป้าหมาย เป้าหมาย ของตัวชี้วัด แผนการจัดการความรู้ ประเด็นยุทธศาสตร์ แผนที่ 1 ด้านผลิตบัณฑิต 1. พัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับชาติและนานาชาติ 1. ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands-on) ด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีคุณภาพตรงความต้องการของตลาดแรงงาน ชุมชน สังคม ระดับชาติและนานาชาติ กระบวนการการพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้บัณฑิตที่พึงประสงค์ บุคลากรภายในคณะ ร้อยละ 75 แผนที่ 2 ด้านงานวิจัย 2. สร้างและพัฒนางานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศชาติ 2. งานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ มีคุณภาพสามารถนำไปพัฒนาชุมชน สังคมให้เข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม กระบวนการการพัฒนาการเขียน ข้อเสนอการวิจัยให้ได้รับทุนสนับสนุน แผนที่ 3 ด้านบริการวิชาการ 3. ปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน สังคม และสร้างรายได้ให้กับคณะ 3. เป็นแหล่งให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อให้ชุมชนเป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) ที่มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เทคนิคการให้บริการวิชาการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน
32
สรุปรางวัลแนวปฏิบัติที่ดี ประจำปีการศึกษา 2559
แผนที่ 1 ด้านการผลิตบัณฑิต รางวัลที่ 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลัดดาวัลย์ สำราญ รางวัลที่ 2 อาจารย์คณัสนันท์ สงวนสัตย์ รางวัลที่ 3 ดร.อาณัติ รัตนถิรกุล แผนที่ 2 ด้านงานวิจัย รางวัลที่ 1 ดร.แสงทอง บุญยิ่ง รางวัลที่ 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วสุธิดา นุริตมนต์ รางวัลที่ 3 อาจารย์ศุภกร ลิ้มคุณธรรมโม รางวัลที่ 3 อาจารย์กิตติยา ปัญญาเยาว์ แผนที่ 3 ด้านการบริการวิชาการ รางวัลที่ 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญส่ง วงษ์ฤทธิ์ รางวัลที่ 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนกพร ภาคีฉาย รางวัลที่ 3 อาจารย์ศิริพร มาลัยเปีย
33
ระดับความเสี่ยงลดลงคงเหลือ
หน่วยงานคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ แบบสรุปความคืบหน้าการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ลำดับที่ ความเสี่ยง ระดับความเสี่ยงลดลงคงเหลือ ความเสี่ยงด้าน ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับชาติและนานาชาติ 1 บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดและสังคม น้อย 2 การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนยังไม่บรรลุมาตรฐานสากล ไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน 3 ระบบการจัดการเรียนการสอนยังขาดการบูรณาการและขาดทรัพยากรสนับสนุนอย่างเพียงพอ 4 หลักสูตรไม่ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษา 5 หลักสูตรอาจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน หมดไป ความเสี่ยงด้าน การสร้างและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ 6 คณาจารย์มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับชาติและระดับนานาชาติในปริมาณที่น้อย ปานกลาง 7 คณาจารย์นำผลงานวิจัยไปบูรณาการกับการเรียนการสอนในปริมาณที่น้อย 8 คณาจารย์ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกจำนวนที่น้อย ความเสี่ยงด้าน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ปรับปรุงและพัฒนาให้บริการวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน สังคม และสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย 9 1.จำนวนหลักสูตรที่สร้างรายได้ไม่เป็นไปตามแผน สูงมาก ความเสี่ยงด้าน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 สืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน 10 ในการติดตามผลการดำเนินโครงการตามแผน ไม่เป็นไปตามกำหนดระยะเวลา ความเสี่ยงด้าน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 สนับสนุนและส่งเสริมเพื่อให้นักศึกษามีพัฒนาการครบทุกด้าน (ไม่มี) 11 จำนวนอาจารย์ประจำของคณะ ที่มีคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษา
34
ตารางสรุปผลการเร่งรัดติดตามผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณ พ. ศ
ตารางสรุปผลการเร่งรัดติดตามผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2559 ไตรมาสที่ 1-4 (ตุลาคม กันยายน 2559) ดำดับ รายการ จำนวนโครงการ รวม สถานะการดำเนินงาน งบ ประมาณแผนดิน ประมาณรายได้ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ยกเลิก คงเหลือ ส่งสรุปแล้ว ยังไม่ส่งสรุป หมายเหตุ 1 รายการครุภัณฑ์ 5 18 23 19 4 2 โครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 6 7 3 โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา 47 50 12 26 29 16 โครงการบริการวิชาการ 11 9 โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 8 โครงการพัฒนาคุณภาพการวิจัย โครงการการวิจัย 27 36 35 กันเงินเหลื่อมปี 24 โครงการ 117 144 58 67 77 41 56 22
35
โครงการที่ยกเลิก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 รวมเป็นเงิน 803,100 บาท
โครงการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยกีฬาและการละเล่นพื้นบ้าน เงินรายได้ 110,700 บาท ด้านกิจการนักศึกษาฯ โครงการบริษัทจำลองเชิงปฏิบัติการด้านบริหารธุรกิจ เงินรายได้ 410,800 บาท ศูนย์หันตรา โครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา/สถานประกอบการเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพแก่นักศึกษา เงินรายได้ 13,000 บาท สาขาวิชาการเงินฯ ศูนย์วาสุกรี โครงการพัฒนาภาวะการเป็นผู้นำของนักศึกษา เงินรายได้ 24,400 บาท ศูนย์สุพรรณบุรี โครงการเสริมสมรรถนะและทดสอบความรู้ด้านไอที เงินรายได้ 27,600 บาท สาขาวิชาระบบสารสนเทศฯ ศูนย์สุพรรณบุรี โครงการศึกษาดูงานด้านวิชาชีพของนักศึกษา เงินรายได้ 21,600 บาท สาขาวิชาการจัดการ ศูนย์สุพรรณบุรี โครงการเตรียมความพร้อมสหกิจต่างประเทศด้านภาษา พัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณภาพสู่ความเป็นสากล เงินรายได้ 50,000 บาท งานสหกิจ วิชาการและวิจัย ศูนย์วาสุกรี เงินอุดหนุนเสริมสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและงานส่งไปเผยแพร่หรือนำไปใช้ประโยชน์สำหรับหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต เงินรายได้ 100,000 บาท เบิกไม่ทันเวลา บัณฑิตศึกษา พฤติกรรมการดูแลตัวเองของผู้สูงอายุในจังหวัดภาคกลางตอนบน เงินรายได้ 45,000 บาท ไม่ขอรับทุน อ.บุญเชิด ศิริยศ
36
งานบริการวิชาการแก่สังคม
การบริการวิชาการเป็นภารกิจหลักอีกอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา คณะควรคำนึงถึงกระบวนการในการให้บริการวิชาการแก่สังคม โดยการศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายนำมาจัดทำแผนบริการวิชาการประจำปี ทั้งการบริการวิชาการที่ทำให้เกิดรายได้และการบริการวิชาการที่คณะจัดทำเพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชน โดยมีการประเมินความสำเร็จของการบริการวิชาการ และนำมาจัดทำเป็นแผนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนแก่นักศึกษาให้มีประสบการณ์จากสภาพจริงและนำมาใช้ประโยชน์จนเกิดผลลัพธ์ที่สร้างความพึงพอใจต่อชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ลักษณะงานการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม 1. การให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบให้เปล่า หมายถึง คณะได้จัดโครงการและงบประมาณเพื่อสนับสนุนการบริการทางวิชาการแก่สังคม โดยผู้รับบริการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ แหล่งงบประมาณได้จากงบประมาณแผ่นดิน งบประมาณเงินรายได้ และ/หรืองบประมาณจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่ได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 2. การให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยไม่มุ่งผลกำไร คณะให้บริการในลักษณะร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน ค่าใช้จ่าย ร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กรภายนอก 3. การให้บริการทางวิชาการแก่สังคมเชิงธุรกิจ เป็นการให้บริการในลักษณะงานรับจ้างเพื่อหารายได้ ได้แก่ งานทดสอบและวิเคราะห์ งานซ่อมบำรุง งานให้คำแนะนำและที่ปรึกษา งานออกแบบสร้างเครื่อง งานจัดฝึกอบรม สัมมนา เป็นการให้บริการวิชาการแก่ภาคเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐ
37
แนวปฏิบัติในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
1. สำรวจและวิเคราะห์ความต้องการ คณะมีการบริการทางวิชาการแก่สังคม สำรวจ และวิเคราะห์ความต้องการของผู้รับบริการทางวิชาการแก่สังคม 2. แผนการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ คณะมีการบริการวิชาการแก่สังคมและมีการจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ 3. ดำเนินงานตามแผนและบูรณาการงานบริการวิชาการวิชาการ คณะดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ และมีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน และ/หรือกับการวิจัย 4. การติดตาม การประเมิน และสรุปผลโครงการ มีการประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบของการบริการทางวิชาการแก่สังคม และผลสำเร็จของการบูรณาการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอน และ/หรือ กับการวิจัย รวมถึงการจัดทำรายงานและสรุปผลโครงการบริการวิชาการ 5. การประเมินผลกระทบของการให้บริการวิชาการ ประเมินผลจากการให้บริการวิชาการ ทางด้านการเรียนการสอน และ/หรือการวิจัย ทั้งในด้านการนำความรู้ ความเชี่ยวชาญไปใช้ประโยชน์ การเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์ การสร้างเครือข่ายกับชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างรายได้จากการให้บริการวิชาการ 6. การนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ คณะมีการติดตามผล การประเมินผลกระทบจากการดำเนินงาน และเสนอต่อคณะกรรมการโครงการบริการวิชาการ เพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงในการจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการต่อไป
38
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
คำนิยามเกี่ยวกับงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม หมายถึง การดำเนินงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติโดยเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าเรื่องศิลปะและวัฒนธรรมที่จำต้องปลูกฝัง ส่งเสริมและพัฒนาสิ่งที่ดีงามความมีสุนทรีย์ และวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สวยงามอย่างมีรสนิยมให้เกิดในจิตสำนึกและในวิถีชีวิต มีความเชื่อมั่นในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า สามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งในเรื่องความเชื่อ ค่านิยม และวัฒนธรรมใหม่ๆ สถานศึกษาจึงมีนโยบายและการดำเนินงานทั้งในระดับบุคคล และสถาบัน โดยมีระบบกลไกเป็นหน่วยส่งเสริม สนับสนุนในลักษณะโครงการและส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้วิถีชีวิตและบรรยากาศ ในมหาวิทยาลัยน่าอยู่มีชีวิตที่มีคุณค่าอย่างมีรสนิยม และสามารถอยู่ในสังคมด้วยความเข้าใจ มีน้ำใจอย่างมีความสุข (ที่มา: คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2554 ของ สมศ.) การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งคณะจำเป็นต้องมีนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และการบริหารจัดการงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน เผยแพร่วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามจุดเน้นของสถาบันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
39
นโยบายในการดำเนินงาน
นโยบายในการดำเนินงาน 1. แนวปฏิบัติการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 1.1 กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 1.2 จัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน 1.3 กำกับติดตามให้มีการดำเนินงานตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 1.4 ประเมินความสำเร็จของตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 1.5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 1.6 เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน 2. ลักษณะโครงการ/กิจกรรม เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าประสงค์ มหาวิทยาลัยจึงกำหนดลักษณะโครงการ/กิจกรรมที่จะให้การสนับสนุนส่งเสริมไว้ดังนี้ 2.1 เป็นโครงการ/กิจกรรมที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสวันสำคัญของชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น พิธีถวายพระพรชัยมงคล งานในวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น 2.2 เป็นโครงการ/กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อนุรักษ์พันธุ์พืช/สัตว์ เช่น วันสงกรานต์ วันลอยกระทง การปลูกข้าว ดำนา อนุรักษ์ไก่พันธุ์พื้นเมือง เป็นต้น 2.3 เป็นโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม ที่จัดร่วมกับชุมชนหรือหน่วยงานตั้งแต่ระดับจังหวัด 2.4 เป็นโครงการ/กิจกรรมที่มีการบูรณาการองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอน หรือพันธกิจอื่น ๆ 2.5 เป็นโครงการฝึกอบรมหรือประชุมสัมมนาทางวิชาการหรือปฏิบัติการด้านศิลปวัฒนธรรม 2.6 เป็นการจัดประกวด/แข่งขัน การแสดง สาธิต กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น ประกวดร้องเพลงไทย ประกวด 2.7 เป็นการสร้างนวัตกรรมองค์ความรู้และการจัดทํามาตรฐานทางด้านศิลปวัฒนธรรม
40
การบริหารจัดการงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ระดับมหาวิทยาลัย ให้มีคณะกรรมการบริหารงานศิลปวัฒนธรรมระดับมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยรองอธิการบดีหรือผู้ช่วยอธิการบดี ที่อธิการบดีมอบหมายเป็นประธาน รองคณบดีด้านกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษทุกคณะเป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกองกลาง ผู้อำนวยการกองบริหารทรัพยากรสุพรรณบุรี ผู้อำนวยการกองบริหารทรัพยากรนนทบุรี ผู้อำนวยการกองบริหารทรัพยากรวาสุกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษาเป็นกรรมการ หัวหน้างานศิลปวัฒนธรรม กองกลาง เป็นกรรมการและเลขานุการ ระดับศูนย์พื้นที่ ให้มีคณะกรรมการบริหารงานศิลปวัฒนธรรมประจำศูนย์พื้นที่ประกอบด้วยรองอธิการบดีหรือผู้ช่วยอธิการบดี ที่อธิการบดีมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบศูนย์พื้นที่นั้น ๆ เป็นประธาน ผู้อำนวยการกองบริหารทรัพยากรในศูนย์พื้นที่นั้นเป็นกรรมการ รองคณบดีด้านกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษของคณะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นั้นเป็นกรรมการ รองคณบดีประจำศูนย์พื้นที่ทุกคณะเป็นกรรมการ หัวหน้างานพัฒนานักศึกษา กองบริหารทรัพยากรในศูนย์พื้นที่นั้นเป็นกรรมการและเลขานุการ หัวหน้าแผนก/หน่วยกิจกรรม กองบริหารทรัพยากรในศูนย์พื้นที่นั้นเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และหัวหน้าแผนก/หน่วยศิลปวัฒนธรรม กองบริหารทรัพยากรในศูนย์พื้นที่นั้น เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ระดับคณะ ให้มีคณะกรรมการบริหารงานศิลปวัฒนธรรมระดับคณะ ประกอบด้วยรองคณบดีด้านกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษเป็นประธาน ผู้ช่วยคณบดีด้านกิจการนักศึกษาเป็นกรรมการ หัวหน้าสาขาวิชาทุกสาขาวิชาหรือผู้แทนเป็นกรรมการ ผู้แทนผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกหลักสูตรของคณะเป็นกรรมการ หัวหน้างานกิจกรรมและหรือหัวหน้างานศิลปวัฒนธรรมของคณะเป็นกรรมการ และหัวหน้างานศิลปวัฒนธรรมของคณะเป็นกรรมการและเลขานุการ
41
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารงานศิลปวัฒนธรรม
1. ให้คณะกรรมการบริหารงานศิลปวัฒนธรรมของแต่ละระดับประชุมร่วมกัน เพื่อจัดทำแผนงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และแผนปฏิบัติการ/แผนดำเนินการประจำปี ด้านศิลปวัฒนธรรม ในระดับที่ตนเองได้รับแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัย 2. ให้คณะกรรมการบริหารงานศิลปวัฒนธรรมของแต่ละดับประชุมร่วมกัน อย่างน้อยภาคการศึกษา 1 ครั้ง เพื่อรับทราบผลการดำเนินงาน ติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงแผนงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และหรือแผนปฏิบัติการประจำปีด้านศิลปวัฒนธรรม 3. ให้คณะกรรมการบริหารงานศิลปวัฒนธรรมร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดโครงการ/กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม นิยามศัพท์ ทำนุบำรุง หมายถึง เอาใจใส่ดูแล ซ่อมแซมรักษา อุดหนุนให้เจริญขึ้น อนุรักษ์ หมายถึง รักษาให้คงเดิม สืบสาน หมายถึง ทำให้ต่อเนื่อง ฟื้นฟู หมายถึง ทำให้กลับเจริญงอกงามขึ้นมาใหม่ ศิลปะ หมายถึง ฝีมือ ฝีมือทางการช่าง การทำให้วิจิตพิสดาร (อ้างอิงจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2554)
42
วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม จารีตประเพณี พิธีกรรม และภูมิปัญญา ซึ่งกลุ่มชนและสังคมได้ร่วมสร้างสรรค์ สั่งสม ปลูกฝัง สืบทอด เรียนรู้ ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม ทั้งด้านจิตใจและวัตถุอย่างสันติสุขและยั่งยืน (อ้างอิงจาก พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2553) โดยองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้แบ่งประเภทวัฒนธรรมออกเป็น 5 สาขา คือ 1. สาขามนุษย์ศาสตร์ (The Humanities) ได้แก่ วัฒนธรรมที่ว่าด้วยเรื่องขนบธรรม ประเพณี คุณธรรม ศีลธรรม ศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี มารยาทในสังคม การปกครอง กฎหมาย เป็นต้น 2. สาขาศิลปะ (The Arts) ได้แก่ วัฒนธรรมว่าด้วยเรื่องภาษา วรรณคดี ดนตรี นาฏศิลป์ วิจิตรศิลป์ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม เป็นต้น 3. สาขาช่างฝีมือ (The Practical Craft) ได้แก่ วัฒนธรรมว่าด้วยเรื่องการเย็บปักถักร้อย การแกะสลัก การทอผ้า การจัดสาน การทำเครื่องเขิน การทำเครื่องเงิน เครื่องทอง การจัดดอกไม้ การประดิษฐ์ การทำเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น 4. สาขาคหกรรมศิลป์ (The Domestic Arts) ได้แก่ วัฒนธรรมที่ว่าด้วยเรื่องอาหาร เสื้อผ้า การแต่งกาย บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ยา การดูแลเด็กและครอบครัว การรู้จักประกอบอาชีพเพื่อช่วยเศรษฐกิจในครอบครัว เป็นต้น 5. สาขากีฬาและนันทนาการ (The Sport and Creation) ได้แก่ วัฒนธรรมที่ว่าด้วยเรื่องการละเล่น มวยไทย ฟันดาบสอบมือ กระบี่กระบอง การเลี้ยงนกเขาหรือไม้ดัดต่าง ๆ เป็นต้น ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง พื้นฐานการประกอบอาชีพและเป็นรากฐานการพัฒนาที่เริ่มจากการพัฒนาเพื่อการพึ่งพาตนเอง การพัฒนาเพื่อการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และการพัฒนาที่เกิดจากการผสมผสานองค์ความรู้สากลบนฐานภูมิปัญญาเดิม เพื่อเกิดเป็นภูมิปัญญาใหม่ที่เหมาะสมกับยุคสมัย (อ้างอิงจากกลุ่มงาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น สำนักพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร gpg=title01 : หน้า 1) สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น
43
สถานที่ตั้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรี ที่ตั้งเลขที่ 19 หมู่ 3 ถนนอู่ทอง ต. ท่าวาสุกรี อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์ : โทรสาร : (ที่ตั้งสำนักงานคณบดี) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา ที่ตั้งเลขที่ 60 หมู่ที่ 3 ต. หันตรา อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์ : โทรสาร :
44
สถานที่ตั้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี
ที่ตั้งเลขที่ 7/1 ถนนนนทบุรี ต. สวนใหญ่ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ : โทรสาร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี ที่ตั้งเลขที่ 450 หมู่ที่ 6 ถนนสุพรรณบุรี - ชัยนาท ต. ย่านยาว อ. สามชุก จ. สุพรรณบุรี 72130 โทรศัพท์ : โทรสาร :
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.