ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
รูปแบบการเรียนการสอน
วิธีการสอน เทคนิคการสอน
2
รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบ และแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม
(Group Investigation Instructional Model)
3
รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม
ทฤษฏีรูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มของจอยส์ และวีล เป็นผู้พัฒนารูปแบบนี้จากแนวคิดหลักของเธเลน 2 แนวคิด คือ แนวคิดเกี่ยวกับการสืบสอบหาความรู้และแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ ได้อธิบายว่า “สิ่งสำคัญที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกหรือความต้องการที่จะสืบค้นหรือเสาะแสวงหาความรู้ก็คือตัวปัญหา แต่ตัวปัญหานั้นจะต้องมีลักษณะที่มีความหมายต่อผู้เรียนและท้าทายเพียงพอที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะแสวงหาคำตอบนอกจากนั้นปัญหาที่มีลักษณะชวนให้เกิดงุนงงสงสัย หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด จะยิ่งทำให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเสาะแสวงหาความรู้หรือคำตอบมากยิ่งขึ้น ดังนั้นความรู้จึงเป็นสิ่งที่ค้นพบผ่านทางกระบวนการสืบสอบโดยอาศัยความรู้และประสมการณ์”
4
เป้าหมายของรูปแบบ รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาทักษะในการสืบสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจโดยอาศัยกลุ่มซึ่งเป็นเครื่องมือทางสังคมช่วยกระตุ้นความสนใจหรือความความอยากรู้และดำเนินงานการแสวงหาความรู้หรือคำตอบที่ต้องการ
5
ขั้นตอนกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ให้ผู้เรียนเผชิญปัญหาหรือสถานการณ์ที่ชวนให้งุนงงสงสัย ปัญหาหรือสถานการณ์ที่ใช้ในการกระตุ้นความสนใจและความต้องการในสืบสอบและแสวงหาความรู้ต่อไปนั้นควรเป็นปัญหาคือสถานการณ์ที่เหมาะสมกับวัย ขั้นที่ 2 ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาหรือสถานการณ์นั้น ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางและพยายามกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งหรือความแตกต่างทางความคิดขึ้น เพื่อท้ายทายให้ผู้เรียนพยายามหาทางเสาะแสวงหาข้อมูลและให้ผู้เรียนรวมกลุ่มกัน
6
ขั้นที่ 3 ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มรวมกลุ่มการวางแผนในการแสวงหาความรู้
สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผน ว่าจะแสวงหาข้อมูลอะไร จะพิสูจน์อะไร จะตั้งสมมุติฐานอย่างไรกลุ่มจำเป็นต้องมีข้อมูลอย่างไร ขั้นที่ ๔ ให้ผู้เรียนดำเนินการแสวงหาความรู้ ผู้เรียนดำเนินการเสาะแสวงหาความรู้ตามแผนงานที่กำหนดไว้
7
ขั้นที่ ๕ ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลข้อมูล นำเสนอและอภิปรายผล
เมื่อกลุ่มรวบรวมข้อมูลมาแล้วกลุ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ผู้สอนช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ขั้นที่ 6 ให้ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการสืบเสาะหาคำตอบต่อไป ผู้เรียนจะสามารถสืบสอบและแสวงหาความรู้ของกลุ่มตามขั้นตอนข้างต้นช่วยให้กลุ่มได้รับความรู้ ความเข้าใจ และคำตอบในเรื่องที่ศึกษา
8
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถสืบสอบและแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองเกิดความใฝ่รู้และมีความมั่งใจในตนเองเพิ่มขึ้นและได้พัฒนาทักษะการสืบสอบ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะการทำงานกลุ่ม
9
ข้อดีของวิธีการสอน แบบสืบเสาะหาความรู้
ได้พัฒนาความคิดอย่างเต็มที่ ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจึงมีความอยากริอยู่ตลอดเวลา ฝึกความคิด ฝึกการกระทำ ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการจัดการระบบความคิด ข้อดีของวิธีการสอน แบบสืบเสาะหาความรู้ สามรารถจดจำได้นาน และนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้อีกด้วย สามารถเรียนรู้มโนมติและหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้เร็วขึ้น
10
วิธีการสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)
กระบวนการที่ผู้สอนในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยการจัดผู้เรียนเป็นกลุ่มๆ ประมาณ ๔- ๘ คน และให้ผู้เรียนในกลุ่มแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และประสบการณ์ในประเด็นที่กำหนดให้ และสรุปผลการอภิปรายออกมาเป็นข้อสรุปของกลุ่ม
11
เป้าหมายของการสอน วิธีการสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย เป็นวิธีการมุ่งช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนรวมในกิจกกรมการเรียนรู้อย่างทั่วถึง มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในเรื่องที่กว่างขึ้น
12
ขั้นตอนวิธีการสอน ขั้นที่ ๑ ผู้สอนจัดผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มละประมาร ๔ – ๘ คน ขั้นที่ ๒ ผู้สอน/ผู้เรียนกำหนดประเด็นในการอภิปราย ขั้นที่ ๓ ผู้เรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันตามประเด็นอภิปราย ขั้นที่ ๔ ผู้เรียนสรุปสาระที่สมาชิกกลุ่มได้อภิปรายร่วมกันเป็นข้อสรุปของกลุ่ม ขั้นที่ ๖ ผู้สอนและผู้เรียนนำข้อสรุปของกลุ่มย่อยมาใช้ในการสรุปบทเรียน ขั้นที่ ๗ ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
13
เทคนิคการสอน เทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาลักษณะการเกิดคิดที่พึงประสงค์
การสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาการคิดของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น จึงเป็นหน้าที่ประการสำคัญของครุทุกคน การคิดมีลักษณะเป็นกระบวนการการที่มองไม่เห็นและมีความคลุมเครือ ไม่มีลักษณะเป็นเนื้อหาที่ครูสามารถเห็นได้ง่าย จึงทำไห้การสอนหรือฝึกทักษะการคิดเป็นเรื่องยาก ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดและพัฒนาลักษณะการคิดนั้นๆ
14
เป้าหมายของการสอนการใช้คำถามเพื่อพัฒนาลักษณะการเกิดคิดที่พึงประสงค์
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่างๆที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผลวิเคราะห์ สังเคราะห์หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น
15
ขั้นตอนการสอนการใช้คำถามเพื่อพัฒนาลักษณะการเกิดคิดที่พึงประสงค์
ขั้นที่ ๑. ขั้นวางแผนการใช้คำถาม รูปแบบหรือประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน ขั้นที่ ๒. ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
16
ขั้นที่ ๓. ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระ ขั้นที่ ๔. ขั้นสรุปและประเมินผลการสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้ การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
17
จากการที่ศึกษารูปแบบการสอน วิธีการสอน และเทคนิคการสอนพบว่าทั้ง ๓ อย่าง มีรูปแบบและวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในการสืบสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจโดยอาศัยกลุ่มและยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในเรื่องที่กว่างขึ้นให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนนั้นๆ
18
อ้างอิง
19
จัดทำโดย ๑.น.ส.พรพิรุฬห์ จำนงค์สัตย์ รหัส ๐๐๔
๑.น.ส.พรพิรุฬห์ จำนงค์สัตย์ รหัส ๐๐๔ ๒.น.ส.ธนาพร เพชรวิศิษฐ รหัส ๐๐๖ ๓.นายพิชากร กุมมารสิทธิ์ รหัส ๐๐๗ สาขานาฏศิลป์ไทย เสนอ ผศ.ไพรัช สู่แสงสุข ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.