ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
นโยบาย กรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปี ๒๕๕๙
นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เอกสารประกอบการสัมมนา การสัมมนานโยบายและแนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเกษตร ประจำปี ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น
2
นโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร
ประจำปี ๒๕๕๙ ก้าวเข้าสู่ปีที่ ๓ ของนโยบาย MRCF - ขับเคลื่อนระบบ MRCF อย่างต่อเนื่อง - ให้เป็นระบบงานพื้นฐาน - เป็นระบบที่ทุกหน่วยงานเข้ามาร่วมปฏิบัติงานได้ เนื้อหาของนโยบายปี ๒๕๕๙ ประกอบด้วย 2 ส่วน - นโยบายในการปฏิบัติงาน - งานสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
3
นโยบายในการปฎิบัติงาน
4
นโยบายในการปฎิบัติงาน
๑. สนับสนุนโครงการพระราชดำริ และขยายผลสู่เกษตรกร ให้มากขึ้น ๒. ให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา และมุ่งผลสัมฤทธิ์ ที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรเป็นหลัก ๓. ยึดพื้นที่เป็นเป้าหมายในการปฏิบัติงาน กำหนดพื้นที่ ดำเนินการที่ชัดเจน มองภาพ “พื้นที่-คน-สินค้า” เข้าด้วยกัน
5
นโยบายในการปฏิบัติงาน (ต่อ)
๔. ขับเคลื่อนนโยบายการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มโอกาส ในการแข่งขัน ดำเนินการใน ๔ ด้าน : การลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย การบริหารจัดการ และการตลาด ลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ ลดต้นทุนโดยการทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยเฉพาะเกษตรทฤษฎีใหม่
6
นโยบายในการปฏิบัติงาน (ต่อ)
๕. ขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยใช้ระบบงาน กลไก และเครือข่าย มุ่งเน้นให้เกษตรกรพัฒนาเกษตรกรด้วยกันเอง ใช้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เป็นศูนย์กลางทางวิชาการและองค์ความรู้ และเป็นแหล่งเรียนรู้ ในพื้นที่ ใช้ ศบกต. เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการและเชื่อมโยง กลไกงานส่งเสริมฯ โดยเฉพาะ ศจช. และ ศดปช. เร่งรัดการดำเนินงานตามหลัก Zoning และการใช้ระบบ MRCF ในทุกพื้นที่
7
นโยบายในการปฏิบัติงาน (ต่อ)
๖. เสริมสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน พัฒนานักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ เป็น Smart Officer และผู้นำการเปลี่ยนแปลง สำนักงานเกษตรอำเภอเป็นแกนหลักในการปฏิบัติงาน ให้บริการแบบ Smart Office ศูนย์ปฏิบัติการเชื่อมโยงกับจังหวัด และอำเภอ Smart Officer
8
นโยบายในการปฏิบัติงาน (ต่อ)
๗. มุ่งเน้นการทำงานให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายของงาน ส่งเสริมการเกษตร ๕ Smarts Smart Officer Smart Office Smart Farmer Smart Group Smart Product
9
งานสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
10
งานสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
๑. ส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ ดำเนินการต่อเนื่องจากปี ๒๕๕๘ บูรณาการโครงการและกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่แปลงใหญ่
11
งานสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ (ต่อ)
๒. พัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สินค้าเกษตร พัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ ทั้ง 882 ศูนย์ - มีความพร้อมในการให้บริการ - เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นที่พึ่งของเกษตรกร - จัดระบบให้เกษตรกรเข้ามาเรียนรู้ สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ศูนย์ฯ เป็นที่รู้จัก ยอมรับ และ ใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจัดงานวันถ่ายทอด เทคโนโลยี (Field Day)
12
งานสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ (ต่อ)
๓. ปรับปรุงฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร เร่งรัดการปรับปรุงฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้สำเร็จโดยเร็ว พัฒนาระบบในการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน - จ้าง อกม. เป็นผู้จัดเก็บข้อมูล - กำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนในการจัดเก็บ และปรับปรุงข้อมูล - เชื่อมโยงการตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - วางระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกัน
13
งานสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ (ต่อ)
๔. ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งและภัยพิบัติต่างๆ เร่งรัดดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยให้เกษตรกรและ ชุมชนมีส่วนร่วม จัดระบบให้ทุกหน่วยงานเข้ามาร่วมสนับสนุนกิจกรรม ตามแผนชุมชน
14
งานสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ (ต่อ)
๕. พัฒนาเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ พัฒนา Smart Farmer - มุ่งเน้นพัฒนาเกษตรกรในพื้นที่แปลงใหญ่เป็นลำดับแรก - กำหนดแนวทางการพัฒนาเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ส่งเสริมฯ ทั้งหมดให้เป็น Smart Farmer - พัฒนากลุ่ม/องค์กรเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน เข้าสู่ การเป็น Smart Group พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ และสนับสนุนกิจกรรม ของยุวเกษตรกร
15
งานสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ (ต่อ)
๖. พัฒนาวิสาหกิจชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มุ่งเน้นการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในเชิงคุณภาพ และพัฒนาสู่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการเกษตร (A-SMEs) และวิสาหกิจเพื่อสังคม พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และเชื่อมโยงกับเส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการ
16
นักส่งเสริมการเกษตร มิตรแท้ของเกษตรกร
17
ขอบคุณ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.